ต่อเนื่องจากบทความเรื่อง ข้อดีและข้อเสียของการคลอดเองกับผ่าคลอด ในกระทู้ก่อนหน้า
http://ppantip.com/topic/30541199
ก็อยากจะมาเล่าต่ออีกซักนิด ว่าสิ่งที่ว่าที่คุณแม่มักจะต้องเจอ
เมื่อเข้าสู่กระบวนการของการ"เจ็บครรภ์คลอด"นั้นมันมีอะไรบ้าง
เพราะเราเชื่อว่า คนเรามักกลัว"สิ่งที่ไม่รู้"
แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่ยังไงท้ายที่สุดก็ต้องเจอ การศึกษาหาข้อมูลไว้ก่อน
แม้จะจำไม่ได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่า มันจะช่วยให้เรามีสติ ไม่ตื่นตระหนกเมื่อถึงสถานการณ์จริงค่ะ
ออกตัวนิดนึงว่ารายละเอียดคงต่างกันบ้างในแต่ละรพ.
และแพทย์แต่ละท่านก็อาจมีสไตล์ที่ไม่เหมือนกันแน่ๆ
แต่แนวทางคร่าวๆก็คงเป็นประมานนี้ค่ะ โดยเฉพาะในรพ.ของรัฐ(ในประเทศไทยนะ)
****ระยะรอคลอด****
เราจะเริ่มต้นจากจุดที่คุณแม่เข้ามาที่ห้องคลอด ว่าจะเจออะไรบ้างโดยคร่าวๆ
**เงื่อนไขคือจะพูดถึงกรณีที่เป็นคุณแม่ครรภ์เดี่ยว(ไม่ใช่แฝด) ครรภ์ครบกำหนด
ที่จะคลอดทางช่องคลอด(ไม่เคยผ่าคลอดมาก่อนและเด็กเอาหัวลง)
และไม่มีภาวะแทรกซ้อน(เช่น รกเกาะต่ำ โรคหัวใจ ความดัน .etc)ใดๆนะคะ
สิ่งที่จะเกิดขึ้น นอกเหนือไปจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป จะมีประมาณนี้ค่ะ
1. ตรวจภายในแรกรับ
การตรวจภายในมักจะต้องทำในทุกๆรายเมื่อเข้ามาในห้องคลอด
เพื่อประเมินปากมดลูกว่าเปิดเท่าไหร่แล้ว ถุงน้ำคร่ำแตกหรือยัง ส่วนนำของเด็กเป็นหัวหรือไม่ และลงมาต่ำแค่ไหน
ถ้าสงสัยน้ำเดินก็จะมีการใส่ speculum (ที่ตรวจที่คล้ายๆปากเป็ดนะค่ะ) เพื่อพิสูจน์น้ำเดินด้วย
การตรวจในตอนแรกสำคัญมากๆค่ะ เพราะจะเป็นตัวช่วยในการวางแผนการดูแลการคลอด
ซึ่งการตรวจนี้อาจทำโดยแพทย์ หรือพยาบาลก็ได้ ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละรพ.
2. ฟังเสียงหัวใจทารก
อันนี้จะเป็นการยืนยันว่าทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ และอัตราการเต้นของหัวใจจะเป็นตัวบอกสุขภาพของเด็กได้
โดยปกติหัวใจเด็กจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ คือ 110-160 ครั้งต่อนาทีค่ะ
โดยการตรวจนี้อาจจะใช้หูฟัง หรือใช้เครื่องแบบมีลำโพงให้ได้ยินชัดๆ
จะฟังเป็นช่วงๆหรือติดไว้ต่อเนื่องก็ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละที่เช่นกันค่ะ
3. การเตรียมช่องทางคลอด
ถ้าคุณหมอประเมินแล้วว่าคุณแม่เจ็บครรภ์จริง ก็อาจให้เตรียมคลอด
โดยให้สวนอุจจาระ และโกนขนบริเวณหัวหน่าว เพื่อไม่ให้เกะกะเวลาทำคลอด
แต่จุดนี้ในบางรพ.ก็จะไม่ทำค่ะ ไม่ได้ซีเรียสอะไร
4. งดน้ำงดอาหาร
ส่วนใหญ่หมอจะให้งดน้ำงดอาหารเมื่อปากมดลูกเปิดมาก หรือทำการเร่งคลอดแล้ว
เพราะทุกคนมีโอกาสที่อาจเกิดเหตุฉุกเฉินให้ต้องผ่าตัดคลอดตลอดเวลา
จึงต้องเตรียมพร้อม ไม่ให้มีอาหารอยู่ในกระเพาะ เพราะอาจจะทำให้สำลักอาหารลงไปในปอด
หากต้องผ่าตัด(ซึ่งอาจจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจ)ฉุกเฉิน
5. ประเมินความถี่ของการเจ็บครรภ์
โดยการใช้มือจับบนหน้าท้อง หรือใช้เครื่องติดไว้ที่หน้าท้อง
คุณหมอและพยาบาลจะบอกได้ว่ามดลูกแข็งตัวดีแค่ไหน และะจำเป็นต้องให้ยาเร่งไหม
มดลูกที่แข็งตัวดี จะแข็ง-คลายสลับกัน ทุกๆ 2-3 นาที ครั้งละ 40-60 วินาทีค่ะ
(บางคนมารพ.บอกว่าเจ็บท้อง แต่ถ้าตรวจแล้วมันแข็งงๆ คุณหมอก็อาจจะให้กลับไปนอนเล่นที่บ้านก่อนค่ะ
เพราะอาจจะเป็นแค่การเจ็บเตือน นอนๆไปก็มักไม่ทำอะไรอีกหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน)
6. ยาแก้ปวดระหว่างคลอด
คนที่ผ่านการคลอดมามักบอกว่ามันคือความเจ็บปวดที่สุดในชีวิต (ยังไม่มีประสบการณ์ตรงนะคะ^^)
การบรรเทาความปวดในช่วงนี้มีหลายรูปแบบค่ะ
ที่ได้ผลดีที่สุดน่าจะเป็นการฉีดยาแก้ปวดเข้าทางไขสันหลัง แต่ก็มีที่ๆทำได้จำกัดค่ะ เพราะต้องทำโดยวิสัญญีแพทย์
ที่ใช้บ่อยกว่าคือการฉีดยาแก้ปวดกลุ่ม morphine เข้าทางเส้นเลือด หรือทางกล้ามเนื้อ(ที่ก้น)
ซึ่งอาจจะลดความปวดได้บ้าง แต่ไม่หายสนิทค่ะ และอาจจะมีผลข้างเคียงคือรู้สึกคลื่นไส้
และมึนๆหัว ที่ต้องระวังคืออาจจะทำให้เด็กไม่ร้องหรือหายใจไม่ดีหลังคลอด
จึงไม่นิยมฉีดให้ถ้าหมอประเมินแล้วว่าจะคลอดในอีกไม่นานค่ะ
7. ประเมินการดำเนินการคลอดอย่างต่อเนื่อง
หลังจากทำทุกอย่างในตอนแรกแล้ว
คุณหมอหรือคุณพยาบาลก็จะมาประเมินคุณแม่เป็นระยะๆ
โดยในช่วงแรกๆที่ปากมดลูกยังเปิดน้อยกว่า 4-5 cm การดำเนินการคลอดจะเป็นไปอย่างช้าๆ
บางคนอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นวันเลยค่ะ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปรีบเร่งอะไร
(ยกเว้นว่าน้ำเดินแล้ว คุณหมออาจจะให้ยาเร่งคลอดค่ะ เพราะถ้าน้ำเดินนานๆไปอาจจะทำให้เด็กติดเชื้อได้)
การตรวจต่างๆก็จะตรวจงๆค่ะ เช่นตรวจภายในอาจจะงได้ 3-4 ชม.
แต่พอปากมดลูกเริ่มเปิดมากกว่า4-5 cm ทุกอย่างจะเร็วขึ้นค่ะ
คุณแม่ก็จะโดนตรวจภายในบ่อยขึ้น อาจจะทุก 2 ชม. และตรวจหัวใจเด็กทุกๆ 30 นาที
โดยปากมดลูกจะเปิดด้วยอัตรา 1-2 เซ็นต่อชั่วโมง เมื่อเปิดหมดคือ 10 cm
ก็จะเข้าสู่การ"คลอด"จริงๆซักทีค่ะ...
ไขปริศนาห้องคลอด ... เกิดอะไรบ้าง ข้างในห้องนั้น
ต่อเนื่องจากบทความเรื่อง ข้อดีและข้อเสียของการคลอดเองกับผ่าคลอด ในกระทู้ก่อนหน้า http://ppantip.com/topic/30541199
ก็อยากจะมาเล่าต่ออีกซักนิด ว่าสิ่งที่ว่าที่คุณแม่มักจะต้องเจอ
เมื่อเข้าสู่กระบวนการของการ"เจ็บครรภ์คลอด"นั้นมันมีอะไรบ้าง
เพราะเราเชื่อว่า คนเรามักกลัว"สิ่งที่ไม่รู้"
แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่ยังไงท้ายที่สุดก็ต้องเจอ การศึกษาหาข้อมูลไว้ก่อน
แม้จะจำไม่ได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่า มันจะช่วยให้เรามีสติ ไม่ตื่นตระหนกเมื่อถึงสถานการณ์จริงค่ะ
ออกตัวนิดนึงว่ารายละเอียดคงต่างกันบ้างในแต่ละรพ.
และแพทย์แต่ละท่านก็อาจมีสไตล์ที่ไม่เหมือนกันแน่ๆ
แต่แนวทางคร่าวๆก็คงเป็นประมานนี้ค่ะ โดยเฉพาะในรพ.ของรัฐ(ในประเทศไทยนะ)
****ระยะรอคลอด****
เราจะเริ่มต้นจากจุดที่คุณแม่เข้ามาที่ห้องคลอด ว่าจะเจออะไรบ้างโดยคร่าวๆ
**เงื่อนไขคือจะพูดถึงกรณีที่เป็นคุณแม่ครรภ์เดี่ยว(ไม่ใช่แฝด) ครรภ์ครบกำหนด
ที่จะคลอดทางช่องคลอด(ไม่เคยผ่าคลอดมาก่อนและเด็กเอาหัวลง)
และไม่มีภาวะแทรกซ้อน(เช่น รกเกาะต่ำ โรคหัวใจ ความดัน .etc)ใดๆนะคะ
สิ่งที่จะเกิดขึ้น นอกเหนือไปจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป จะมีประมาณนี้ค่ะ
1. ตรวจภายในแรกรับ
การตรวจภายในมักจะต้องทำในทุกๆรายเมื่อเข้ามาในห้องคลอด
เพื่อประเมินปากมดลูกว่าเปิดเท่าไหร่แล้ว ถุงน้ำคร่ำแตกหรือยัง ส่วนนำของเด็กเป็นหัวหรือไม่ และลงมาต่ำแค่ไหน
ถ้าสงสัยน้ำเดินก็จะมีการใส่ speculum (ที่ตรวจที่คล้ายๆปากเป็ดนะค่ะ) เพื่อพิสูจน์น้ำเดินด้วย
การตรวจในตอนแรกสำคัญมากๆค่ะ เพราะจะเป็นตัวช่วยในการวางแผนการดูแลการคลอด
ซึ่งการตรวจนี้อาจทำโดยแพทย์ หรือพยาบาลก็ได้ ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละรพ.
2. ฟังเสียงหัวใจทารก
อันนี้จะเป็นการยืนยันว่าทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ และอัตราการเต้นของหัวใจจะเป็นตัวบอกสุขภาพของเด็กได้
โดยปกติหัวใจเด็กจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ คือ 110-160 ครั้งต่อนาทีค่ะ
โดยการตรวจนี้อาจจะใช้หูฟัง หรือใช้เครื่องแบบมีลำโพงให้ได้ยินชัดๆ
จะฟังเป็นช่วงๆหรือติดไว้ต่อเนื่องก็ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละที่เช่นกันค่ะ
3. การเตรียมช่องทางคลอด
ถ้าคุณหมอประเมินแล้วว่าคุณแม่เจ็บครรภ์จริง ก็อาจให้เตรียมคลอด
โดยให้สวนอุจจาระ และโกนขนบริเวณหัวหน่าว เพื่อไม่ให้เกะกะเวลาทำคลอด
แต่จุดนี้ในบางรพ.ก็จะไม่ทำค่ะ ไม่ได้ซีเรียสอะไร
4. งดน้ำงดอาหาร
ส่วนใหญ่หมอจะให้งดน้ำงดอาหารเมื่อปากมดลูกเปิดมาก หรือทำการเร่งคลอดแล้ว
เพราะทุกคนมีโอกาสที่อาจเกิดเหตุฉุกเฉินให้ต้องผ่าตัดคลอดตลอดเวลา
จึงต้องเตรียมพร้อม ไม่ให้มีอาหารอยู่ในกระเพาะ เพราะอาจจะทำให้สำลักอาหารลงไปในปอด
หากต้องผ่าตัด(ซึ่งอาจจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจ)ฉุกเฉิน
5. ประเมินความถี่ของการเจ็บครรภ์
โดยการใช้มือจับบนหน้าท้อง หรือใช้เครื่องติดไว้ที่หน้าท้อง
คุณหมอและพยาบาลจะบอกได้ว่ามดลูกแข็งตัวดีแค่ไหน และะจำเป็นต้องให้ยาเร่งไหม
มดลูกที่แข็งตัวดี จะแข็ง-คลายสลับกัน ทุกๆ 2-3 นาที ครั้งละ 40-60 วินาทีค่ะ
(บางคนมารพ.บอกว่าเจ็บท้อง แต่ถ้าตรวจแล้วมันแข็งงๆ คุณหมอก็อาจจะให้กลับไปนอนเล่นที่บ้านก่อนค่ะ
เพราะอาจจะเป็นแค่การเจ็บเตือน นอนๆไปก็มักไม่ทำอะไรอีกหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน)
6. ยาแก้ปวดระหว่างคลอด
คนที่ผ่านการคลอดมามักบอกว่ามันคือความเจ็บปวดที่สุดในชีวิต (ยังไม่มีประสบการณ์ตรงนะคะ^^)
การบรรเทาความปวดในช่วงนี้มีหลายรูปแบบค่ะ
ที่ได้ผลดีที่สุดน่าจะเป็นการฉีดยาแก้ปวดเข้าทางไขสันหลัง แต่ก็มีที่ๆทำได้จำกัดค่ะ เพราะต้องทำโดยวิสัญญีแพทย์
ที่ใช้บ่อยกว่าคือการฉีดยาแก้ปวดกลุ่ม morphine เข้าทางเส้นเลือด หรือทางกล้ามเนื้อ(ที่ก้น)
ซึ่งอาจจะลดความปวดได้บ้าง แต่ไม่หายสนิทค่ะ และอาจจะมีผลข้างเคียงคือรู้สึกคลื่นไส้
และมึนๆหัว ที่ต้องระวังคืออาจจะทำให้เด็กไม่ร้องหรือหายใจไม่ดีหลังคลอด
จึงไม่นิยมฉีดให้ถ้าหมอประเมินแล้วว่าจะคลอดในอีกไม่นานค่ะ
7. ประเมินการดำเนินการคลอดอย่างต่อเนื่อง
หลังจากทำทุกอย่างในตอนแรกแล้ว
คุณหมอหรือคุณพยาบาลก็จะมาประเมินคุณแม่เป็นระยะๆ
โดยในช่วงแรกๆที่ปากมดลูกยังเปิดน้อยกว่า 4-5 cm การดำเนินการคลอดจะเป็นไปอย่างช้าๆ
บางคนอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นวันเลยค่ะ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปรีบเร่งอะไร
(ยกเว้นว่าน้ำเดินแล้ว คุณหมออาจจะให้ยาเร่งคลอดค่ะ เพราะถ้าน้ำเดินนานๆไปอาจจะทำให้เด็กติดเชื้อได้)
การตรวจต่างๆก็จะตรวจงๆค่ะ เช่นตรวจภายในอาจจะงได้ 3-4 ชม.
แต่พอปากมดลูกเริ่มเปิดมากกว่า4-5 cm ทุกอย่างจะเร็วขึ้นค่ะ
คุณแม่ก็จะโดนตรวจภายในบ่อยขึ้น อาจจะทุก 2 ชม. และตรวจหัวใจเด็กทุกๆ 30 นาที
โดยปากมดลูกจะเปิดด้วยอัตรา 1-2 เซ็นต่อชั่วโมง เมื่อเปิดหมดคือ 10 cm
ก็จะเข้าสู่การ"คลอด"จริงๆซักทีค่ะ...