สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยนั้น เหล่าผู้มาศึกษาเล่าเรียน จำต้องอาศัยอยู่ภายในมหาวิทยาลัยในขณะศึกษาเล่าเรียน จึงเรียกผู้เล่าเรียนว่า "นิสิต" ซึ่งเป็นคำภาษาบาลี แปลว่า "ผู้อาศัยกับอุปัชฌาย์" หรือแปลง่ายๆว่า "ผู้อยู่อาศัย"
มหาวิทยาลัยที่ใช้คำเรียกว่า "นิสิต" ก็มี จุฬาฯ มศว. เกษตร และมหาวิทยาลัยซึ่งเคยเป็น/เป็นวิทยาเขตของ มศว. และเกษตร
และเมื่อต่อมาได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น จึงเรียกผู้มาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า "นักศึกษา" เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นตลาดวิชา หรือ เป็นมหาวิทยาลัย"เปิด" แห่งแรกของไทย ผู้มาศึกษาเล่าเรียนไม่จำเป็นต้องพักในมหาวิทยาลัยเช่นจุฬาฯ จึงใช้คำเรียกผู้มาศึกษาเล่าเรียนแตกต่างกัน
มหาวิทยาลัยที่ใช้คำเรียกว่า "นิสิต" ก็มี จุฬาฯ มศว. เกษตร และมหาวิทยาลัยซึ่งเคยเป็น/เป็นวิทยาเขตของ มศว. และเกษตร
และเมื่อต่อมาได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น จึงเรียกผู้มาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า "นักศึกษา" เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นตลาดวิชา หรือ เป็นมหาวิทยาลัย"เปิด" แห่งแรกของไทย ผู้มาศึกษาเล่าเรียนไม่จำเป็นต้องพักในมหาวิทยาลัยเช่นจุฬาฯ จึงใช้คำเรียกผู้มาศึกษาเล่าเรียนแตกต่างกัน
แสดงความคิดเห็น
ทำไมถึงต้องมีแบ่งใช้คำว่า นิสิต กับ นักศึกษา ทำไมเราถึงไม่ใช้คำเดียวกันไปเลย
เพื่อจะได้เหมือนๆกัน เพราะบางทีก็ไม่รู้ว่าที่ไหนใช้นิสิตบ้าง จะได้ไม่สับสนด้วย อาจจะใช้คำว่านักศึกษาให้หมดเพราะมันน่าจะสื่อความหมาย
ได้ตรงตัวกว่า นิสิต