รถไฟฟ้า 10 สายทาง ไม่มีอะไรได้มาฟรี

หากสแกนพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงกรุงเทพมหานครยามนี้ ทุกฝ่ายคงได้เห็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ระคนไปกับการก่อสร้างอาคาร คอนโดฯ อสังหาริมทรัพย์ที่ผุดกันขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ทั้งที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้า หรือบริเวณ ใกล้เคียง...

แล้วก็ต้องยอมรับกันด้วยว่าตอนนี้ปริมาณรถในกทท.เพิ่มขึ้นมากเหลือเกิน...ปัญหารถติดจึงหนักสาหัสขึ้นทุกขณะ...ต่างก็หวังว่านอกจากความเจริญรอบๆพื้นที่แนวรถไฟฟ้าแล้ว...ปัญหาการจราจรคงจะคลี่คลายงได้บ้างไม่มากก็น้อย...

แต่...ก็ต้องทำใจด้วยเหมือนกันว่า...การกื่อสร้างรถไฟฟ้า..ต้องแลกมาด้วย... ผลกระทบที่มีต่อชุมชน และประชาชน (บางส่วน) ที่ต้องเสีย สละด้วยกันทั้งสิ้น....ดังตำราเศรษฐศาสตร์ที่ว่า No Free Lunch หรือ“โลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรี”

ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้บางครั้งก็เป็นประเด็นที่ทำให้โครงการหยุดไป...ตัวอย่าง.. อย่างโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ที่ตัดผ่านชุมชน บ้านครัว....และเกิดการฟ้องในที่สุดและต้องยกเลิกไป

หรือทางด่วนขั้นที่ 3 (บางใหญ่-แคราย-เกษตร-มอเตอร์เวย์) ที่ รมว.คมนาคม ผุดแนวคิดจะปรับเปลี่ยน โครงการไปเป็นรถไฟฟ้ามวลเบา “โมโนเรล” หรือปรับเปลี่ยนสายทางใหม่ที่ยังไม่รู้จะออกหัว-ออกก้อยอะไรอีก!

เช่นเดียวกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ทั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการ รถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่แม้บางโครงการจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อหลีกเลี่ยงการ เวนคืนที่ดินที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้างแล้วก็ตาม แต่กระนั้นในบางสายทาง ที่จำเป็นต้องก่อสร้างเป็น ทางยกระดับ ด้วยข้อจำกัดด้านวิศวกรรม หรือจำเป็นต้องเวนคืนที่เวนคืนอาคารเพื่อทำสถานีเชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ

อย่าง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี” ที่บางช่วงของสายทางต้องฝ่าเข้าไปใจกลางชุมชนและย่านธุรกิจอย่าง ประตูน้ำ ราชปรารภ และราชเวที ต้องเวนคืนที่ดินอาคารพาณิชย์เพื่อก่อสร้างสถานีอย่างสถานีราชเทวี สถานีประตูน้ำ หรือสถานีราชปรารภที่ต้องเวนคืนอาคารพาณิชย์ริมถนนราชปรารภร่วม 80 ห้องกว่า 250 เมตร เพื่อก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อรถ ไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์

รวมถึง “รถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)” ที่บางส่วนของสายทางต้องผ่านเข้าไปกลางชุมชน ที่ต้องมี การเวนคืนที่ดิน ตึกแถวนับ 100 หลัง อย่างชุมชนเสริมสิน ก็เช่นกัน แน่นอนว่าความรู้สึกของผู้คนในชุมชนที่ถูกเวนคืนเหล่านี้ ย่อมรู้สึกว่า กำลังถูกริดรอนสิทธิ์ ต้องถูกเวนคืนโยกย้ายจึงตั้งป้อมคัดค้านการเวนคืนอย่างหนัก บ้างก็เสนอให้หน่วยงานรัฐลดขนาดสถานี ลดพื้นที่เวนคืน หรือถึงขั้นให้ปรับเปลี่ยนยุบรวมสถานี หรือปรับเปลี่ยนแนวสายทางรถไฟฟ้าไปเลยก็มี

ต้องบอกว่า...เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจในวิถีชีวิตคนเหล่านี้ที่อาจต้องเปลี่ยนไปตลอดชีวิต แต่เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ส่วนรวม และเป็นการ แก้ไขปัญหาในระยะยาว...แล้วรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นเดินหน้าต่อไป...ด้วยความเป็นธรรมที่จะต้องเกิดขึ้นกับผู้คนหล่านั้น....

ที่มา : http://www.naewna.com/business/columnist/6851
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่