วันนี้ ได้อ่านบทความของ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน นสพ. มติชน (ฉบับวันที่ 27 พ.ค. 56) เขียนเกี่ยวกับเรื่อง พ.ร.บ. ปรองดอง ที่ขณะนี้กำลังเป็นประเด็น hot ระหว่าง ร่าง พ.ร.บ.ฯ ของคุณเฉลิม กับของคุณวรชัย โดย อ. นิธิ ให้ความเห็นบางแง่มุมเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว
ประเด็นแรก ได้พูดถึงกรณีคุณทักษิณว่า คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณทักษิณไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการสืบสวนและตัดสินความผิด หลังจากรัฐประหาร 2549 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณทักษิณไม่มีความผิด ดังนั้น พ.ร.บ. ปรองดองที่ดี ต้องทำให้คุณทักษิณได้รับความยุติธรรม ส่วนที่เป็นข้อสงสัยในความผิดต่างๆ ของคุณทักษิณก็ควรต้องรับภาระเท่าๆ กับประชาชนทั่วไปด้วย คืออาจถูกกล่าวโทษฟ้องร้องได้ โดยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใสและเป็นปกติ
ประเด็นที่สอง คือ การที่ไม่สามารถอภัยโทษให้แก่ผู้นำรัฐบาลที่ปล่อยให้เกิดการสังหารหมู่กลางเมืองในปี 2553 ได้ ต้องมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุดแก่ทุกคนที่มีส่วนรับผิดชอบ โดยการผลักดันให้มีการลงโทษ ที่มิใช่เป็นการลงโทษเพื่อความสะใจส่วนตัว แต่เพื่อคนไทยรุ่นต่อๆ ไป ที่จะได้ไม่ต้องมีชีวิตภายใต้รัฐบาลที่อาจหันมาเป็นศัตรูกับประชาชนของตนเองเมื่อใดก็ได้ รวมทั้งลูกหลานคุณอภิสิทธิ์และคุณสุเทพ และรวมทั้งลูกหลานของทหารทุกคนที่ปฏิบัติการนอกสั่งด้วย อ. นิธิกล่าวว่ากฎหมายปรองดองที่ดี ต้องเป็นกฎหมายที่ไม่ขัดกับหลักของพุทธศาสนา ที่คิดว่าให้เลิกแล้วต่อกันให้หมด นั่นคือการปฏิเสธหน้าที่อันพึงปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน เพราะเท่ากับปล่อยให้คนไทยอีกจำนวนมากทั้งในปัจจุบันและอนาคต ต้องมีชีวิตอยู่ในการเมืองที่ปราศจากความปลอดภัย
ประเด็นที่สามที่ อ. นิธิ กล่าวไว้คือ พ.ร.บ. ปรองดองที่ดีต้องมีลักษะบางอย่างที่ตรงกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของคุณวรชัย เช่น หลักการเหตุผลการออกกฎหมาย ที่ต้องยึดระบอบประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นคนไทยด้วยกันอย่างร่างฯ ของคุณเฉลิม และการใช้กฎหมายควรเป็นไปอย่างสุจริต ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของสถาบันตุลาการที่ผู้พิพากษาต้องใส่ใจหลักการนี้ให้มาก ไม่เช่นนั้น สถาบันตุลาการก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปได้ อีกทั้งกฎหมายที่ดีต้องรวมความผิดใน ม. 112 ไว้ด้วย รวมถึงความผิดทุกอย่างที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการใช้กฎหมายโดยไม่สุจริตเพื่อเป้าหมายทางการเมือง
ท้ายสุด อ. นิธิ ได้สรุปไว้ว่า การปรองดองที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการปรองดองที่อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย-มนุษยธรรม จึงควรที่จะต้องยึดมั่นหลักประชาธิปไตยและมนุษยธรรมไว้ให้มั่น ถ้าหากปรองดองกันแล้วกลายเป็นเผด็จการทหาร เผด็จการอำมาตย์ หรือเผด็จการทักษิณ-เฉลิม ก็ไม่รู้จะปรองดองกันไปทำไม เรื่อยเปื่อยไปเปล่าๆ
จะเห็นได้ว่า อ. นิธิ ได้เน้นให้ปฏิบัติไปตามหลักพระพุทธศาสนา และหลักแห่งความยุติธรรม บนพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมที่มีความโปร่งใส บ้านเมืองก็คงจะเกิดความสงบสุข น่าอยู่เสียที !!
ปรองดองทำไม ? โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ประเด็นแรก ได้พูดถึงกรณีคุณทักษิณว่า คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณทักษิณไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการสืบสวนและตัดสินความผิด หลังจากรัฐประหาร 2549 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณทักษิณไม่มีความผิด ดังนั้น พ.ร.บ. ปรองดองที่ดี ต้องทำให้คุณทักษิณได้รับความยุติธรรม ส่วนที่เป็นข้อสงสัยในความผิดต่างๆ ของคุณทักษิณก็ควรต้องรับภาระเท่าๆ กับประชาชนทั่วไปด้วย คืออาจถูกกล่าวโทษฟ้องร้องได้ โดยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใสและเป็นปกติ
ประเด็นที่สอง คือ การที่ไม่สามารถอภัยโทษให้แก่ผู้นำรัฐบาลที่ปล่อยให้เกิดการสังหารหมู่กลางเมืองในปี 2553 ได้ ต้องมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุดแก่ทุกคนที่มีส่วนรับผิดชอบ โดยการผลักดันให้มีการลงโทษ ที่มิใช่เป็นการลงโทษเพื่อความสะใจส่วนตัว แต่เพื่อคนไทยรุ่นต่อๆ ไป ที่จะได้ไม่ต้องมีชีวิตภายใต้รัฐบาลที่อาจหันมาเป็นศัตรูกับประชาชนของตนเองเมื่อใดก็ได้ รวมทั้งลูกหลานคุณอภิสิทธิ์และคุณสุเทพ และรวมทั้งลูกหลานของทหารทุกคนที่ปฏิบัติการนอกสั่งด้วย อ. นิธิกล่าวว่ากฎหมายปรองดองที่ดี ต้องเป็นกฎหมายที่ไม่ขัดกับหลักของพุทธศาสนา ที่คิดว่าให้เลิกแล้วต่อกันให้หมด นั่นคือการปฏิเสธหน้าที่อันพึงปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน เพราะเท่ากับปล่อยให้คนไทยอีกจำนวนมากทั้งในปัจจุบันและอนาคต ต้องมีชีวิตอยู่ในการเมืองที่ปราศจากความปลอดภัย
ประเด็นที่สามที่ อ. นิธิ กล่าวไว้คือ พ.ร.บ. ปรองดองที่ดีต้องมีลักษะบางอย่างที่ตรงกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของคุณวรชัย เช่น หลักการเหตุผลการออกกฎหมาย ที่ต้องยึดระบอบประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นคนไทยด้วยกันอย่างร่างฯ ของคุณเฉลิม และการใช้กฎหมายควรเป็นไปอย่างสุจริต ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของสถาบันตุลาการที่ผู้พิพากษาต้องใส่ใจหลักการนี้ให้มาก ไม่เช่นนั้น สถาบันตุลาการก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปได้ อีกทั้งกฎหมายที่ดีต้องรวมความผิดใน ม. 112 ไว้ด้วย รวมถึงความผิดทุกอย่างที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการใช้กฎหมายโดยไม่สุจริตเพื่อเป้าหมายทางการเมือง
ท้ายสุด อ. นิธิ ได้สรุปไว้ว่า การปรองดองที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการปรองดองที่อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย-มนุษยธรรม จึงควรที่จะต้องยึดมั่นหลักประชาธิปไตยและมนุษยธรรมไว้ให้มั่น ถ้าหากปรองดองกันแล้วกลายเป็นเผด็จการทหาร เผด็จการอำมาตย์ หรือเผด็จการทักษิณ-เฉลิม ก็ไม่รู้จะปรองดองกันไปทำไม เรื่อยเปื่อยไปเปล่าๆ
จะเห็นได้ว่า อ. นิธิ ได้เน้นให้ปฏิบัติไปตามหลักพระพุทธศาสนา และหลักแห่งความยุติธรรม บนพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมที่มีความโปร่งใส บ้านเมืองก็คงจะเกิดความสงบสุข น่าอยู่เสียที !!