คือ ตอนนี้พิจารณาในเชิงลึกยังไม่ออกว่าเรื่องนี้มีความสำคัญกับชาวไทยพุทธอย่างไรบ้าง? ในเมื่อเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ คนส่วนใหญ่ที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าต่าง ๆ ที่เคร่งครัด ก็นับถือพุทธศาสนากันมาตั้งแต่กำเนิด อาจจะตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามแต่ในท้ายที่สุดก็สนใจถึงแก่นแท้กัน ไม่ใช่แค่เปลือก เพียงแต่ระยะหลังมานี้สังเกตุเห็นว่าพระ(สายวัดป่า) เก่ง ๆ ทางภาคอิสาน ซึ่งรู้แจ้งในธรรมของจริง มักจะหยิบยกเรื่องราวของสุภัททะปริพาชก มาเล่าให้ฟังบ่อย ๆ (สุภัททะเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายที่ได้บวชกับพระพุทธองค์) ว่าเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยกล่าวถึงไว้ แต่คนสมัยปัจจุบันนี้มักจะมองข้ามประเด็นนี้ไป แต่พระท่านก็ไม่เคยบอกชี้ชัด/หรือเราอาจจะยังไม่เคยได้มีโอกาสถามอย่างละเอียด ว่าเรื่องนี้จริง ๆ แล้วสำคัญกับชาวพุทธโดยกำเนิดในประเทศไทยที่ชอบไปปฏิบัติธรรมกันอย่างไร
ขอคำตอบจากผู้ที่เคยปฏิบติธรรมอย่างจริงจัง มานานมาก จนเห็นผลที่น่าอัศจรรย์บางอย่างแล้วเท่านั้นนะครับ เพราะเรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้งกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจตามความเป็นจริงจากการอ่านตำราเฉย ๆ แต่ไม่มีประสบการณ์ที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดหลังจากการเจริญวิปัสนากรรมฐาน
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของสุภัททะปริพาชก:
ในราตรีนั้นได้มีนักบวชปริพาชกนอกพระพุทธศาสนาผู้หนึ่งชื่อ สุภัททะ ขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระอานนท์จึงขอร้องวิงวอนว่า อย่าได้รบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ซึ่งปริพาชกสุภัททะก็ยังกล่าววิงวอน ขอเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจบางประการ พระอานนท์ได้ห้ามว่า
“อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระองค์ทรงลำบากพระวรกายมากอยู่แล้ว
พระองค์ประชวรหนักจะปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้แน่นอน”
ท่านสุภัททะยังได้วิงวอนต่อว่า
“โอกาสของข้าพเจ้าเหลือเพียงเล็กน้อย ขอท่านอาศัยความเอ็นดู
โปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระศาสดาเถิด”
พระอานนท์ทัดทานอย่างเดิม และสุภัททะก็อ้อนวอนเช่นเดิมครั้งแล้วครั้งเล่า
จนได้ยินถึงพระพุทธองค์ จึงรับสั่งว่า
“อานนท์ ! ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคตเถิด”
เมื่อสุภัททะได้เข้าเฝ้าพระศาสดานั้น ก็ขอประทานโอกาสกราบทูลถามข้อข้องใจบางประการ ซึ่งพระพุทธองค์ก็อนุญาตให้ถาม โดยสุภัททะได้กราบทูลถามว่า
“พระองค์ผู้เจริญ คณาจารย์ทั้งหกคือ ปูรณะกัสสปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธะกัจจายนะ
สัญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตร เป็นศาสดาเจ้าลัทธิที่มีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก
ศาสดาเหล่านี้ยังจะเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสหรือประการใด”
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“เรื่องนี้หรือสุภัททะที่เธอดิ้นรนขวนขวายมาหาเราด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด”
พระศาสดาตรัสทั้งยังหลับพระเนตรอยู่ แล้วทรงตรัสแก่สุภัททะว่า
“อย่าสนใจกับเรื่องนี้เลย สุภัททะ เวลาของเราและของเธอเหลือน้อยเต็มทีแล้ว
จงถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เธอเองเถิด”
"ถ้าอย่างนั้น... ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาสามข้อ คือ รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่
สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่"
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“สุภัททะ ! รอยเท้าในอากาศนั้น ไม่มี ศาสนาใดไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะผู้สงบถึงที่สุด
ในสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ก็ไม่มีในศาสนานั้น
ศาสนาใดมีอริยมรรคมีองค์ ๘ ในศาสนานั้นมีสมณะผู้สงบถึงที่สุดทั้ง ๔ ประเภทนั้น
สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย สุภัททะ ปัญหาของเธอ มีเท่านี้หรือ"
"มีเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธองค์ทรงทราบอุปนิสัยของสุภัททะจึงตรัสว่า
“สุภัททะ ! ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟังแต่โดยย่อ
ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึง
ซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ
ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”
สุภัททะปริพาชก เมื่อได้ฟังพระดำรัสนี้แล้วเกิดความเลื่อมใส ทูลขออุปสมบทบรรพชา พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่าผู้ที่เคยเป็นนักบวชในศาสนาอื่นมาก่อน ถ้าประสงค์จะบวชในศาสนาของพระองค์จะต้องอยู่ “ติตถิยปริวาส” คือ บำเพ็ญตนทำความดีจนภิกษุทั้งหลายไว้ใจ เป็นเวลา ๔ เดือนก่อนแล้วจึงจะบรรพชาอุปสมบทได้ สุภัททะทูลว่าตนเองพอใจอยู่บำรุงปฏิบัตพระภิกษุ ทั้งหลาย ๔ ปี
ในข้อที่เรียกว่าสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น คือพระอริยบุคคลระดับพระโสดาบันทั้ง ๔ คู่ ๘ บุรุษ คือ
๐ พระโสดาบัน ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระโสดาปฏิมรรค ๑ พระโสดาปฏิผล ๑
๐ พระสกทาคามิ ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระสกทาคามิมรรค ๑ พระสกทาคามิผล ๑
๐ พระอนาคามิ ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระอนาคามิมรรค ๑ พระอนาคามิผล ๑
๐ พระอรหันต์ ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระอรหัตมรรค ๑ พระอรหัตผล ๑
ขอถามผู้ที่เคยปฏิบัติธรรมมาเยอะแบบจริงๆจังๆ จนเห็นผล -เรื่องราวเกี่ยวกับสุภัททะปริพาชก มีความสำคัญอย่างไรบ้างครับ?
คือ ตอนนี้พิจารณาในเชิงลึกยังไม่ออกว่าเรื่องนี้มีความสำคัญกับชาวไทยพุทธอย่างไรบ้าง? ในเมื่อเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ คนส่วนใหญ่ที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าต่าง ๆ ที่เคร่งครัด ก็นับถือพุทธศาสนากันมาตั้งแต่กำเนิด อาจจะตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามแต่ในท้ายที่สุดก็สนใจถึงแก่นแท้กัน ไม่ใช่แค่เปลือก เพียงแต่ระยะหลังมานี้สังเกตุเห็นว่าพระ(สายวัดป่า) เก่ง ๆ ทางภาคอิสาน ซึ่งรู้แจ้งในธรรมของจริง มักจะหยิบยกเรื่องราวของสุภัททะปริพาชก มาเล่าให้ฟังบ่อย ๆ (สุภัททะเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายที่ได้บวชกับพระพุทธองค์) ว่าเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยกล่าวถึงไว้ แต่คนสมัยปัจจุบันนี้มักจะมองข้ามประเด็นนี้ไป แต่พระท่านก็ไม่เคยบอกชี้ชัด/หรือเราอาจจะยังไม่เคยได้มีโอกาสถามอย่างละเอียด ว่าเรื่องนี้จริง ๆ แล้วสำคัญกับชาวพุทธโดยกำเนิดในประเทศไทยที่ชอบไปปฏิบัติธรรมกันอย่างไร
ขอคำตอบจากผู้ที่เคยปฏิบติธรรมอย่างจริงจัง มานานมาก จนเห็นผลที่น่าอัศจรรย์บางอย่างแล้วเท่านั้นนะครับ เพราะเรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้งกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจตามความเป็นจริงจากการอ่านตำราเฉย ๆ แต่ไม่มีประสบการณ์ที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดหลังจากการเจริญวิปัสนากรรมฐาน
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของสุภัททะปริพาชก:
ในราตรีนั้นได้มีนักบวชปริพาชกนอกพระพุทธศาสนาผู้หนึ่งชื่อ สุภัททะ ขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระอานนท์จึงขอร้องวิงวอนว่า อย่าได้รบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ซึ่งปริพาชกสุภัททะก็ยังกล่าววิงวอน ขอเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจบางประการ พระอานนท์ได้ห้ามว่า
“อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระองค์ทรงลำบากพระวรกายมากอยู่แล้ว
พระองค์ประชวรหนักจะปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้แน่นอน”
ท่านสุภัททะยังได้วิงวอนต่อว่า
“โอกาสของข้าพเจ้าเหลือเพียงเล็กน้อย ขอท่านอาศัยความเอ็นดู
โปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระศาสดาเถิด”
พระอานนท์ทัดทานอย่างเดิม และสุภัททะก็อ้อนวอนเช่นเดิมครั้งแล้วครั้งเล่า
จนได้ยินถึงพระพุทธองค์ จึงรับสั่งว่า
“อานนท์ ! ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคตเถิด”
เมื่อสุภัททะได้เข้าเฝ้าพระศาสดานั้น ก็ขอประทานโอกาสกราบทูลถามข้อข้องใจบางประการ ซึ่งพระพุทธองค์ก็อนุญาตให้ถาม โดยสุภัททะได้กราบทูลถามว่า
“พระองค์ผู้เจริญ คณาจารย์ทั้งหกคือ ปูรณะกัสสปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธะกัจจายนะ
สัญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตร เป็นศาสดาเจ้าลัทธิที่มีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก
ศาสดาเหล่านี้ยังจะเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสหรือประการใด”
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“เรื่องนี้หรือสุภัททะที่เธอดิ้นรนขวนขวายมาหาเราด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด”
พระศาสดาตรัสทั้งยังหลับพระเนตรอยู่ แล้วทรงตรัสแก่สุภัททะว่า
“อย่าสนใจกับเรื่องนี้เลย สุภัททะ เวลาของเราและของเธอเหลือน้อยเต็มทีแล้ว
จงถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เธอเองเถิด”
"ถ้าอย่างนั้น... ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาสามข้อ คือ รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่
สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่"
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“สุภัททะ ! รอยเท้าในอากาศนั้น ไม่มี ศาสนาใดไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะผู้สงบถึงที่สุด
ในสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ก็ไม่มีในศาสนานั้น
ศาสนาใดมีอริยมรรคมีองค์ ๘ ในศาสนานั้นมีสมณะผู้สงบถึงที่สุดทั้ง ๔ ประเภทนั้น
สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย สุภัททะ ปัญหาของเธอ มีเท่านี้หรือ"
"มีเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธองค์ทรงทราบอุปนิสัยของสุภัททะจึงตรัสว่า
“สุภัททะ ! ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟังแต่โดยย่อ
ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึง
ซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ
ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”
สุภัททะปริพาชก เมื่อได้ฟังพระดำรัสนี้แล้วเกิดความเลื่อมใส ทูลขออุปสมบทบรรพชา พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่าผู้ที่เคยเป็นนักบวชในศาสนาอื่นมาก่อน ถ้าประสงค์จะบวชในศาสนาของพระองค์จะต้องอยู่ “ติตถิยปริวาส” คือ บำเพ็ญตนทำความดีจนภิกษุทั้งหลายไว้ใจ เป็นเวลา ๔ เดือนก่อนแล้วจึงจะบรรพชาอุปสมบทได้ สุภัททะทูลว่าตนเองพอใจอยู่บำรุงปฏิบัตพระภิกษุ ทั้งหลาย ๔ ปี
ในข้อที่เรียกว่าสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น คือพระอริยบุคคลระดับพระโสดาบันทั้ง ๔ คู่ ๘ บุรุษ คือ
๐ พระโสดาบัน ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระโสดาปฏิมรรค ๑ พระโสดาปฏิผล ๑
๐ พระสกทาคามิ ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระสกทาคามิมรรค ๑ พระสกทาคามิผล ๑
๐ พระอนาคามิ ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระอนาคามิมรรค ๑ พระอนาคามิผล ๑
๐ พระอรหันต์ ๑ คู่ ๒ บุรุษ คือ พระอรหัตมรรค ๑ พระอรหัตผล ๑