สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
จาก link ของจขกท
4. นิ่วถุงน้ำดี อัลตร้าซาวด์จากจำนวน 108 ราย พบนิ่วในถุงน้ำดีจำนวน 15 ราย หลังเข้าคอร์ส นิ่วหายไป 7 ราย (โดยเฉพาะเม็ดเล็กๆ) แต่ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 3.7 เซนติเมตรหายไป 1 ราย นิ่วมีขนาดเล็กลงและหรือลดจำนวนลง 5 ราย และในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 2.2 เซนติเมตรลดลงเหลือ 1.2 เซนติเมตร จำนวน 1 ราย และมี 3 รายมีจำนวนนิ่วและขนาดเท่าเดิม
การศึกษานี้มีข้อบกพร่องมากมาย
1. เป็นการศึกษาที่ไม่มีกลุ่มควบคุม ดังนั้นแทบไม่มีความน่าเชื่อถือเลย อย่างเช่น คนเป็นหวัด 100 ราย ผมให้กินน้ำเก๊กฮวยวันละ 6 แก้ว แล้ว 2 วันต่อมาอาการดีขึ้น 50 ราย และหายดี 20 ราย แล้วผมจะประกาศว่าน้ำเก๊กฮวยใช้รักษาโรคหวัดได้
อย่างนี้ทางการแพทย์ (และวิทยาศาสตร์) คงจะรับไม่ได้
หลายคนคงแย้งว่า นิ่วในถุงน้ำดี ไม่ใช่โรคหวัด มันหายเองไม่ได้ ขอให้ดูข้อ 2, 3 และ 4
2. การใช้ ultrasonogram เป็นวิธีมาตรฐาน เพื่อตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี แต่วิธีนี้ขึ้นกับผู้ตรวจด้วย ภาษาทางวิทยาศาสตร์คือ operator-dependent ดังนั้นถ้าวาง probe (หัวอ่าน ultrasonogram) 2 ครั้งแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ภาพที่ได้ก็จะแตกต่างกัน ถ้าได้ดูภาพประกอบจาก link ของจขกท ก็จะพอเห็นได้ว่า ภาพก่อนและหลังนั้น มีตำแหน่งการวาง probe ที่ต่างกันเล็กน้อย
โดยปกติเราจะไม่ใช้ ultrasonogram ในการติดตามดูก้อนนิ่วในถุงน้ำดี แต่ใช้ติดตามก้อนนิ่วในท่อน้ำดีได้
3. นิ่วในถุงน้ำดี เป็นนิ่วที่เคลื่อน (กลิ้ง) ไปมาได้ ผมไม่ทราบว่า คนตรวจจะรู้ได้อย่างไรว่า นิ่วที่เห็นในการตรวจก่อน และหลัง การล้างพิษตับ (ที่แสนจะหลอกลวง) เป็นก้อนเดียวกัน
4. โดยธรรมชาตินิ่วในถุงน้ำดี หลุดได้เองอยู่แล้วกลายเป็นนิ่วในท่อน้ำดี ซึ่งก็หลุดได้เอง 73.3%
มีการศึกษาใน
Ann R Coll Surg Engl. 2003 May;85(3):174-7.
Spontaneous passage of bile duct stones: frequency of occurrence and relation to clinical presentation.
Tranter SE, Thompson MH.
SourceDepartment of Surgery, North Bristol Trust, Southmead Hospital, Bristol, UK.
Abstract
BACKGROUND: Little is known about the spontaneous passage of bile duct stones. The aim of this study was to determine the rate of spontaneous stone passage and relate it to the clinical presentation of the bile duct stone.
PATIENTS AND METHODS: Prospectively collected data were studied on a total of 1000 consecutive patients undergoing laparoscopic cholecystectomy with or without laparoscopic common duct exploration. Comparisons were made between 142 patients with common bile duct stones (CBDS), 468 patients who had no previous or current evidence of duct stones, and 390 patients who had good evidence of previous duct stones but none at the time of cholecystectomy. The evidence used for previous duct stones included a good history of jaundice or pancreatitis. In patients with biliary colic or cholecystitis, abnormal pre-operative liver function tests and/or a dilated common bile duct were taken as evidence of bile duct stones.
RESULTS: Of the 1000 patients studied, 532 had evidence of stones in the common bile duct at some time prior to cholecystectomy. At the time of operation, only 142 patients had bile duct stones. By implication, 80%, 84%, 93% and 55% of patients presenting with pancreatitis, colic, cholecystitis and jaundice (73% overall) had passed their bile duct stones spontaneously. All 4 patients with cholangitis had duct stones at the time of operation.
CONCLUSIONS: It is likely that most bile duct stones (3 in 4) pass spontaneously, especially after pancreatitis, biliary colic and cholecystitis but less commonly after jaundice. Cholangitis appears to be always associated with the presence of duct stones at the time of operation.
ผมสรุปสั้น ๆ คือ ผู้ป่วยที่พิสูจน์แล้วว่ามีนิ่วในท่อน้ำดีจำนวน 532 ราย มารับการผ่าตัดถุงน้ำดี โดยการใช้กล้องส่องผ่านทางหน้าท้อง พบว่ามีเพียง 142 รายเท่านั้นที่ยังมีนิ่วเหลืออยู่ แสดงว่า หลุดได้เอง 390 รายจาก 532 ราย = 73.3%
ในรายงานของกลุ่มล้างพิษ ตาม link นิ่วหายไปเพียง 7 รายใน 15 ราย = 46.67% ซึ่งน้อยกว่ามาก และจำนวนผู้ป่วยที่ทำการศึกษาก็น้อยกว่าอย่างชัดเจน ความน่าเชื่อถือก็ยิ่งน้อยเข้าไปอีก
5. ถึงตรงนี้หลายคน คงสับสนคำว่านิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในท่อน้ำดี จากการศึกษา??? ตาม link ของจขกท ผมก็ไม่แน่ใจ เขาดูนิ่วในถุงน้ำดี หรือนิ่วในท่อน้ำดีกันแน่
6. ผมอยากให้จขกทกล้า นำกระทู้นี้ไป post ในห้องสวนลุมฯ เพราะจะมีแพทย์หลายคนที่รู้จริงมาช่วยตอบ
สำหรับผม ผมขอบอกสั้น ๆ ว่า การล้างพิษตับโดยน้ำมันมะกอก/น้ำมันมะพร้าว หลอกลวงแน่นอน
ส่วนการศึกษาตาม link ของจขกท นั้น เป็นการศึกษาที่ไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะไม่ทำได้ให้ถูกต้องตามระเบียบการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
คนจำนวนมากไม่ยอมเปิดใจให้เชื่อว่า การล้างพิษนี้หลอกลวง ก็เพราะส่วนหนี่ง หลงเชื่อไปแล้ว ไปทำมาแล้ว ดังนั้นในส่วนลึก ๆ ของจิตใจคงไม่อยากยอมรับว่าตนเองถูกเขาหลอกมาแล้ว "เสียเงินไม่ว่า อย่าเสียหน้าก็แล้วกัน" (ผมคงได้ศัตรูจำนวนมากจากข้อความนี้)
4. นิ่วถุงน้ำดี อัลตร้าซาวด์จากจำนวน 108 ราย พบนิ่วในถุงน้ำดีจำนวน 15 ราย หลังเข้าคอร์ส นิ่วหายไป 7 ราย (โดยเฉพาะเม็ดเล็กๆ) แต่ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 3.7 เซนติเมตรหายไป 1 ราย นิ่วมีขนาดเล็กลงและหรือลดจำนวนลง 5 ราย และในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 2.2 เซนติเมตรลดลงเหลือ 1.2 เซนติเมตร จำนวน 1 ราย และมี 3 รายมีจำนวนนิ่วและขนาดเท่าเดิม
การศึกษานี้มีข้อบกพร่องมากมาย
1. เป็นการศึกษาที่ไม่มีกลุ่มควบคุม ดังนั้นแทบไม่มีความน่าเชื่อถือเลย อย่างเช่น คนเป็นหวัด 100 ราย ผมให้กินน้ำเก๊กฮวยวันละ 6 แก้ว แล้ว 2 วันต่อมาอาการดีขึ้น 50 ราย และหายดี 20 ราย แล้วผมจะประกาศว่าน้ำเก๊กฮวยใช้รักษาโรคหวัดได้
อย่างนี้ทางการแพทย์ (และวิทยาศาสตร์) คงจะรับไม่ได้
หลายคนคงแย้งว่า นิ่วในถุงน้ำดี ไม่ใช่โรคหวัด มันหายเองไม่ได้ ขอให้ดูข้อ 2, 3 และ 4
2. การใช้ ultrasonogram เป็นวิธีมาตรฐาน เพื่อตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี แต่วิธีนี้ขึ้นกับผู้ตรวจด้วย ภาษาทางวิทยาศาสตร์คือ operator-dependent ดังนั้นถ้าวาง probe (หัวอ่าน ultrasonogram) 2 ครั้งแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ภาพที่ได้ก็จะแตกต่างกัน ถ้าได้ดูภาพประกอบจาก link ของจขกท ก็จะพอเห็นได้ว่า ภาพก่อนและหลังนั้น มีตำแหน่งการวาง probe ที่ต่างกันเล็กน้อย
โดยปกติเราจะไม่ใช้ ultrasonogram ในการติดตามดูก้อนนิ่วในถุงน้ำดี แต่ใช้ติดตามก้อนนิ่วในท่อน้ำดีได้
3. นิ่วในถุงน้ำดี เป็นนิ่วที่เคลื่อน (กลิ้ง) ไปมาได้ ผมไม่ทราบว่า คนตรวจจะรู้ได้อย่างไรว่า นิ่วที่เห็นในการตรวจก่อน และหลัง การล้างพิษตับ (ที่แสนจะหลอกลวง) เป็นก้อนเดียวกัน
4. โดยธรรมชาตินิ่วในถุงน้ำดี หลุดได้เองอยู่แล้วกลายเป็นนิ่วในท่อน้ำดี ซึ่งก็หลุดได้เอง 73.3%
มีการศึกษาใน
Ann R Coll Surg Engl. 2003 May;85(3):174-7.
Spontaneous passage of bile duct stones: frequency of occurrence and relation to clinical presentation.
Tranter SE, Thompson MH.
SourceDepartment of Surgery, North Bristol Trust, Southmead Hospital, Bristol, UK.
Abstract
BACKGROUND: Little is known about the spontaneous passage of bile duct stones. The aim of this study was to determine the rate of spontaneous stone passage and relate it to the clinical presentation of the bile duct stone.
PATIENTS AND METHODS: Prospectively collected data were studied on a total of 1000 consecutive patients undergoing laparoscopic cholecystectomy with or without laparoscopic common duct exploration. Comparisons were made between 142 patients with common bile duct stones (CBDS), 468 patients who had no previous or current evidence of duct stones, and 390 patients who had good evidence of previous duct stones but none at the time of cholecystectomy. The evidence used for previous duct stones included a good history of jaundice or pancreatitis. In patients with biliary colic or cholecystitis, abnormal pre-operative liver function tests and/or a dilated common bile duct were taken as evidence of bile duct stones.
RESULTS: Of the 1000 patients studied, 532 had evidence of stones in the common bile duct at some time prior to cholecystectomy. At the time of operation, only 142 patients had bile duct stones. By implication, 80%, 84%, 93% and 55% of patients presenting with pancreatitis, colic, cholecystitis and jaundice (73% overall) had passed their bile duct stones spontaneously. All 4 patients with cholangitis had duct stones at the time of operation.
CONCLUSIONS: It is likely that most bile duct stones (3 in 4) pass spontaneously, especially after pancreatitis, biliary colic and cholecystitis but less commonly after jaundice. Cholangitis appears to be always associated with the presence of duct stones at the time of operation.
ผมสรุปสั้น ๆ คือ ผู้ป่วยที่พิสูจน์แล้วว่ามีนิ่วในท่อน้ำดีจำนวน 532 ราย มารับการผ่าตัดถุงน้ำดี โดยการใช้กล้องส่องผ่านทางหน้าท้อง พบว่ามีเพียง 142 รายเท่านั้นที่ยังมีนิ่วเหลืออยู่ แสดงว่า หลุดได้เอง 390 รายจาก 532 ราย = 73.3%
ในรายงานของกลุ่มล้างพิษ ตาม link นิ่วหายไปเพียง 7 รายใน 15 ราย = 46.67% ซึ่งน้อยกว่ามาก และจำนวนผู้ป่วยที่ทำการศึกษาก็น้อยกว่าอย่างชัดเจน ความน่าเชื่อถือก็ยิ่งน้อยเข้าไปอีก
5. ถึงตรงนี้หลายคน คงสับสนคำว่านิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในท่อน้ำดี จากการศึกษา??? ตาม link ของจขกท ผมก็ไม่แน่ใจ เขาดูนิ่วในถุงน้ำดี หรือนิ่วในท่อน้ำดีกันแน่
6. ผมอยากให้จขกทกล้า นำกระทู้นี้ไป post ในห้องสวนลุมฯ เพราะจะมีแพทย์หลายคนที่รู้จริงมาช่วยตอบ
สำหรับผม ผมขอบอกสั้น ๆ ว่า การล้างพิษตับโดยน้ำมันมะกอก/น้ำมันมะพร้าว หลอกลวงแน่นอน
ส่วนการศึกษาตาม link ของจขกท นั้น เป็นการศึกษาที่ไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะไม่ทำได้ให้ถูกต้องตามระเบียบการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
คนจำนวนมากไม่ยอมเปิดใจให้เชื่อว่า การล้างพิษนี้หลอกลวง ก็เพราะส่วนหนี่ง หลงเชื่อไปแล้ว ไปทำมาแล้ว ดังนั้นในส่วนลึก ๆ ของจิตใจคงไม่อยากยอมรับว่าตนเองถูกเขาหลอกมาแล้ว "เสียเงินไม่ว่า อย่าเสียหน้าก็แล้วกัน" (ผมคงได้ศัตรูจำนวนมากจากข้อความนี้)
ความคิดเห็นที่ 13
ขอตามกัดต่อ
จาก link ของจขกท
4. นิ่วถุงน้ำดี อัลตร้าซาวด์จากจำนวน 108 ราย พบนิ่วในถุงน้ำดีจำนวน 15 ราย หลังเข้าคอร์ส นิ่วหายไป 7 ราย (โดยเฉพาะเม็ดเล็กๆ) แต่ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 3.7 เซนติเมตรหายไป 1 ราย นิ่วมีขนาดเล็กลงและหรือลดจำนวนลง 5 ราย และในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 2.2 เซนติเมตรลดลงเหลือ 1.2 เซนติเมตร จำนวน 1 ราย และมี 3 รายมีจำนวนนิ่วและขนาดเท่าเดิม
15 ราย ใน 108 รายเท่านั้น ที่พบนิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นผมขอถามว่า คนจำนวน 93 รายที่ไม่พบนิ่วในถุงน้ำดี แต่หลังล้างพิษแล้ว ยังถ่ายออกมาเป็นก้อนสีเขียว ๆ ซึ่งก้อนเหล่านี้ถูกอ้างว่าเป็นก้อนนิ่ว แล้วก้อนนิ่วเหล่านี้มาจากไหน
กรุณาอย่าบอกว่า "นิ่วในตับ" นะครับ เพราะพบได้น้อยมาก และถึงจะมี ก็เห็นได้จาก ultrasonogram
ดังนั้น 93 รายจาก 108 ราย ที่ถ่ายออกมาเป็นก้อนเขียว ๆ ก็น่าจะเชื่อได้ว่า เป็นก้อนที่เกิดจากปฏิกริยาทางเคมีของสารที่กินเข้าไปนั่นเอง
หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ คือไม่ใช่เป็นก้อนนิ่ว เพราะก่อนทำก็ตรวจแล้วว่าไม่มีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี
เห้อ ผมละเพลีย
จาก link ของจขกท
4. นิ่วถุงน้ำดี อัลตร้าซาวด์จากจำนวน 108 ราย พบนิ่วในถุงน้ำดีจำนวน 15 ราย หลังเข้าคอร์ส นิ่วหายไป 7 ราย (โดยเฉพาะเม็ดเล็กๆ) แต่ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 3.7 เซนติเมตรหายไป 1 ราย นิ่วมีขนาดเล็กลงและหรือลดจำนวนลง 5 ราย และในจำนวนนี้มีนิ่วขนาด 2.2 เซนติเมตรลดลงเหลือ 1.2 เซนติเมตร จำนวน 1 ราย และมี 3 รายมีจำนวนนิ่วและขนาดเท่าเดิม
15 ราย ใน 108 รายเท่านั้น ที่พบนิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นผมขอถามว่า คนจำนวน 93 รายที่ไม่พบนิ่วในถุงน้ำดี แต่หลังล้างพิษแล้ว ยังถ่ายออกมาเป็นก้อนสีเขียว ๆ ซึ่งก้อนเหล่านี้ถูกอ้างว่าเป็นก้อนนิ่ว แล้วก้อนนิ่วเหล่านี้มาจากไหน
กรุณาอย่าบอกว่า "นิ่วในตับ" นะครับ เพราะพบได้น้อยมาก และถึงจะมี ก็เห็นได้จาก ultrasonogram
ดังนั้น 93 รายจาก 108 ราย ที่ถ่ายออกมาเป็นก้อนเขียว ๆ ก็น่าจะเชื่อได้ว่า เป็นก้อนที่เกิดจากปฏิกริยาทางเคมีของสารที่กินเข้าไปนั่นเอง
หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ คือไม่ใช่เป็นก้อนนิ่ว เพราะก่อนทำก็ตรวจแล้วว่าไม่มีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี
เห้อ ผมละเพลีย
แสดงความคิดเห็น
เขาว่าล้างพิษตับเป็นเรื่อง“หลอกลวง” (ตอนที่ 3)
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000062477
อ้างอิงจากกลุ่มที่ถูกพาดพิง
การโต้แย้งได้มีการตอบกลับด้วยข้อมูล แม้อาจดูไม่เป็นทางการ(paper)
แต่อย่างน้อยยังมีปฎิกิริยาที่เป็นรูปธรรม คืออาศัยการทดลองจริงๆ จากบุคคลที่น่าเชื่อถือ เครื่องมือที่น่าเชื่อถือ
จึงเห็นว่าการโต้แย้งแบบนี้ ควรเป็นบรรทัดฐาน(จากการกระทำ)
ที่ดีมากกว่าการนำข้อมูล ตัดแปะ โยงนู่นโยงนี่ แล้วตัวเองนั่งด่า....เกาพุงนอนหลับ
หากมีการโต้แย้งอีกผมว่า ควรทำเช่นเดียวกันคือ การนำผู้ป่วย มาวินิจฉัยโดยตรงหรือทำการทดลอง เพื่อหักล้างข้อมูลดังกล่าว
เหมือนเช่นที่ความใจกว้างของวิทยาศาสตร์ที่ว่า "พร้อมที่จะยอมรับ หากมีข้อมูลมาลบล้าง"
คนถูกกล่าวหา เขาทำแล้ว ผู้กล่าวหาจะยอมนั่งเทียนตัดแปะอีกหรือ........น่าคิดนะ