ปฏิจจสมุปบาท กับการเกิดในครรภ์ ตามพระสูตร(พุทธพจน์)

ในโลกปัจจุบันนี้ การเชื่อว่า ตายแล้วเกิด จะลดน้อยถอยไป และจะเชื่อว่า ตายแล้วหมดกันไปหรือสูญ ก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นมากในอนาคต ต่างไปจากอดีตเมื่อ ย้อนไป ประมาณ 50 ปีที่แล้ว จนร้อยปีหรือพันปีที่แล้ว ซึ่งจะเชื่อในเรื่อง การตายแล้วเกิด เหล่านี้มากยิ่งนัก จึงปรุงแต่งเป็นประเพณี และศาสตร์ลึกลับมากมาย

    ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงได้วางท่าที่ทางธรรม กับเรื่องเหล่านี้ดังในพระสูตร

--------------------------------------------------
             [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม
แล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของ
เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป
ในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง
ย่อมติดอยู่อย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างไร ก็
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความ
ปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญ
ย่อมพินาศ เมื่อนั้น
ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้น
ความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง
ย่อมแล่นไปอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อม
ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล ฯ
                          ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วง
                          ความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง
                          เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ ความ
                          เป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม
                          ไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้ ฯ

...

จบทิฐิกถา
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๓๓๓๒ - ๔๐๖๙.  หน้าที่  ๑๓๗ - ๑๖๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=3332&Z=4069&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=294
(จากคุณ JitZungkabuai ในการทู้เก่า)

          ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความเป็นจริง การเกิดในครรภ์ ไว้ถึงสองพระสูตรอย่างนี้
-------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
มหาวรรคที่ ๒
ติตถสูตร

...

  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์
เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เราบัญญัติ
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่

...

   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๔๕๗๑ - ๔๖๘๖.  หน้าที่  ๑๙๗ - ๒๐๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4571&Z=4686&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=501
(จากคุณ JitZungkabuai ในการทู้เก่า)

       ซึ่งในพุทธพจน์ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับ ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายเกิดอย่างชัดเจน

       ต่อไปเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้า ตรัสการเกิดใน ครรภ์ อย่างชัดแจ้ง ดังนี้.
-------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

เหตุแห่งการเกิดในครรภ์

             [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิด
แห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิด
ยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี
ระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดา
ย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน
มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนัก
นั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก.

...
...

จบ มหาตัณหาสังขยสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๘๓๕๙ - ๘๕๐๖.  หน้าที่  ๓๔๒ - ๓๔๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8359&Z=8506&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440

      อธิบาย >>> ในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง  ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย   ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดนั้นเอง

      จึงจะไม่ขัดแย้งกับ  ติตถสูตร ที่ยกมาด้านบนก่อนหน้านี้  ตามพระไตรปิฏก ที่รักษากันมาอย่างดีแล้วนั้นเอง.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่