ตามความจริง คำว่า จุติ(ตาย) แล้วเกิด(อุปบัติ,ปฏิสนธิ) มีในพุทธพจน์ ตามพระไตรปิฏกนั้นมากมายหลายที่ที่เดียว แต่ผมจะคัดมาเพียงส่วนหนึ่งเพื่อทำความเข้าใจ และผมอธิบายตามความเข้าใจเชื่อมโยงดังนี้
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 19
---------
วิชชาสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ
[๑๒๙๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ ฯลฯ
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เพราะ
ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๓
...
...
[๑๗๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้
ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อน
ไว้ที่ปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้
สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ.
[๑๗๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะ
กลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดใน
พวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
[๑๗๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับมา
เกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
...
...
[๑๘๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัย ไปแล้ว
จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิด
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.
[๑๘๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว
จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดใน
ปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ
ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ จักกเปยยาล
--------
ต่อไปมากล่าวถึงสัตว์ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ในครรภ์ ตามพุทธพจน์
ดังในพระไตรปิฏกเล่มที่ 12
--------
เหตุแห่งการเกิดในครรภ์
[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิด
แห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิด
ยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี
ระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดา
ย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน
มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนัก
นั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก.
---------
อธิบาย>>> จากพุทธพจน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี
จาก พุทธพจน์ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย"
ย่อมมีความสัมพันธ์กับ พุทธพจน์ที่ว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา"
นี้เป็นการนำพุทธพจน์ เทียบกับ พุทธพจน์ ในพระไตรปิฏก เป็นการวิเคราะห์ได้ว่า ไม่ใช่ว่า ทารก จะเกิดขึ้นในครรภ์มารดา ได้เองเพียงลอยๆ ที่รูปเพียงผสมผสานกับเท่านั้น เพราะต้องมีเหตุตามพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย".
ดังนั้น อะไรคือ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" แล้วอะไรนำมาเกิด ???
จากพุทธพจน์เล่มที่ 5
--------
ทรงแสดงจตุราริยสัจ
[๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางตำบลบ้านโกฏิ ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏินั้น
ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาครับสั่งพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวก
เธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไป ตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้
เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ .... ทุกขสมุทยอริยสัจ .... ทุกขนิโรธอริยสัจ ....
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธ
อริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว ได้แทงตลอด
แล้ว ตัดตัณหาในภพได้ขาดแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดก็สิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป.
นิคมคาถา
[๗๖] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยว
ไปในชาตินั้นๆ ตลอดเวลานาน อริยสัจเหล่านั้นนั่น เรา
และพวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดเราและพวก
เธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากแห่งทุกข์ เราและพวกเธอก็ได้
ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.
-------
อธิบาย >>> จากพุทธพจน์ส่วนนี้ก็จะได้ว่า " ตัณหาที่จะนำไปเกิด"
ด้งนั้น จากพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" ก็ด้วยเพราะ " ตัณหาที่จะนำไปเกิด" นั้นเอง
จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 ๙. นิพเพธิกสูตร ที่เป็นพุทธพจน์
-----(หมายเหตุ จัดประโยคเพื่อให้อ่านได้ง่าย)
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรมบุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ
ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษยโลกก็มีที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวก
นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม
ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ
----------
อธิบาย >>> การที่ผมยกเรื่องกรรม ตามพุทธพจน์ส่วนนี้มา ก็เพื่อนำไปสู่ พุทธพจน์ที่ว่า " ตัณหาที่จะนำไปเกิด" นำไปเกิด อย่างไร?
ก็เพราะด้วย ตัณหา นี้เองจึงดำริ เกิดเจตนาในการทำกรรมต่างๆ ทั้ง ทางกาย วาจา และใจ
เหตุเกิดกรรมเพราะสนอง ผัสสะ(ที่ดี) > เวทนา(ที่เป็นสุข) ที่ต้องการนั้นเอง
เมื่อกระทำกรรมใดๆ ทางกาย วาจา ใจ ด้วยตัณหา ที่แตกต่างกันด้วยเจตนา กรรมจึงมีความแตกต่างกันตามพุทธพจน์
----
ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษยโลกก็มีที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
----
และกรรมที่ได้ทำไปแล้วด้วยตัณหานั้น ก็ย่อมให้ผลตามลำดับกาล ดังพุทธพจน์
----
ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
----
เมื่อเป็นดังนี้ื ก็จะได้ว่า เกิดทารกในครรภ์(มนุษย์) ย่อมเป็นไปตามธรรม ที่ว่า เพราะยังไม่สิ้นอวิชชาและตัณหา นั้นเอง แล้วย่อมเป็นไปตาม วิบากแห่งกรรม ดังพุทธพจน์ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ เมื่อสิ้นจากภพเดิม(ตาย) แล้ว กรรมที่ให้วิบากในมนุษยโลก ก็ดำเนินนั้นเอง
เมื่อเป็นดังนี้ จากพุทธพจน์ที่ว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ก็คือ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ ที่ตัณหานำไปเกิด นั้นเอง
และจากพุทธพจน์ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" จาก คคห.12 ก็หมายความว่า กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ ปรากฏขึ้น ขณะตายคือ วิญญาณ ก็จุติ(เคลื่อน หรือดับ หรือตาย) จากภพเก่า (เน้น)ไม่ใช่ วิญญาณ นั้นล่องลอยไปจากภพเก่า คือดับที่สังขารเก่า(ขันธ์แตกดับ)นั้นเอง
แต่ที่ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" ตามพุทธพจน์นั้น ก็คือพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวถึงว่า กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ ปรากฏขึ้น พร้อมกับ "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ตามพุทธพจน์ ที่เป็นภพใหม่ พร้อมกับพุทธพจน์ที่ตรัสไว่ว่า กรรมที่ให้วิบากในมนุษยโลก ก็ดำเนินต่อไป ตามเหตุปัจจัย เพราะมีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น การเวียนว่ายตายเกิด ก็ดำเนินต่อไป จนเกิดวิชชา สามารถดับ อวิชชาได้หมดสิ้น นั้นเอง.
----- พระไตรปิฏกเล่มที่ 15
ว่าด้วยสัตว์อยู่ในครรภ์ได้อย่างไร
[๘๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทกยักษ์ ครอบครอง เขต
กรุงราชคฤห์ ฯ
[๘๐๒] ครั้งนั้นแล อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้
กราบทูลด้วยคาถาว่า
"[ถ้า] ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้จะประสพ
ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อ จะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะ
ติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร"
[๘๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "รูปนี้เป็นกลละก่อนจากกลละเป็นอัพพุทะ
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะจากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม
(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดา
ของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์
มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น"ฯ
------
จุติ(ตาย) เกิด(อุปบัติ,ปฏิสนธิ) ตามพระไตรปิฏก(ภาษาไทย)
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 19
---------
วิชชาสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ
[๑๒๙๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ ฯลฯ
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เพราะ
ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๓
...
...
[๑๗๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้
ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อน
ไว้ที่ปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้
สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ.
[๑๗๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะ
กลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดใน
พวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
[๑๗๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับมา
เกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
...
...
[๑๘๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัย ไปแล้ว
จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิด
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.
[๑๘๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว
จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดใน
ปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ
ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ จักกเปยยาล
--------
ต่อไปมากล่าวถึงสัตว์ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ในครรภ์ ตามพุทธพจน์
ดังในพระไตรปิฏกเล่มที่ 12
--------
เหตุแห่งการเกิดในครรภ์
[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิด
แห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิด
ยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี
ระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดา
ย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน
มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนัก
นั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก.
---------
อธิบาย>>> จากพุทธพจน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี
จาก พุทธพจน์ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย"
ย่อมมีความสัมพันธ์กับ พุทธพจน์ที่ว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา"
นี้เป็นการนำพุทธพจน์ เทียบกับ พุทธพจน์ ในพระไตรปิฏก เป็นการวิเคราะห์ได้ว่า ไม่ใช่ว่า ทารก จะเกิดขึ้นในครรภ์มารดา ได้เองเพียงลอยๆ ที่รูปเพียงผสมผสานกับเท่านั้น เพราะต้องมีเหตุตามพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย".
ดังนั้น อะไรคือ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" แล้วอะไรนำมาเกิด ???
จากพุทธพจน์เล่มที่ 5
--------
ทรงแสดงจตุราริยสัจ
[๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางตำบลบ้านโกฏิ ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏินั้น
ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาครับสั่งพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวก
เธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไป ตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้
เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ .... ทุกขสมุทยอริยสัจ .... ทุกขนิโรธอริยสัจ ....
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธ
อริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว ได้แทงตลอด
แล้ว ตัดตัณหาในภพได้ขาดแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดก็สิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป.
นิคมคาถา
[๗๖] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยว
ไปในชาตินั้นๆ ตลอดเวลานาน อริยสัจเหล่านั้นนั่น เรา
และพวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดเราและพวก
เธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากแห่งทุกข์ เราและพวกเธอก็ได้
ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.
-------
อธิบาย >>> จากพุทธพจน์ส่วนนี้ก็จะได้ว่า " ตัณหาที่จะนำไปเกิด"
ด้งนั้น จากพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" ก็ด้วยเพราะ " ตัณหาที่จะนำไปเกิด" นั้นเอง
จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 ๙. นิพเพธิกสูตร ที่เป็นพุทธพจน์
-----(หมายเหตุ จัดประโยคเพื่อให้อ่านได้ง่าย)
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรมบุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ
ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษยโลกก็มีที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวก
นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม
ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ
----------
อธิบาย >>> การที่ผมยกเรื่องกรรม ตามพุทธพจน์ส่วนนี้มา ก็เพื่อนำไปสู่ พุทธพจน์ที่ว่า " ตัณหาที่จะนำไปเกิด" นำไปเกิด อย่างไร?
ก็เพราะด้วย ตัณหา นี้เองจึงดำริ เกิดเจตนาในการทำกรรมต่างๆ ทั้ง ทางกาย วาจา และใจ
เหตุเกิดกรรมเพราะสนอง ผัสสะ(ที่ดี) > เวทนา(ที่เป็นสุข) ที่ต้องการนั้นเอง
เมื่อกระทำกรรมใดๆ ทางกาย วาจา ใจ ด้วยตัณหา ที่แตกต่างกันด้วยเจตนา กรรมจึงมีความแตกต่างกันตามพุทธพจน์
----
ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษยโลกก็มีที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
----
และกรรมที่ได้ทำไปแล้วด้วยตัณหานั้น ก็ย่อมให้ผลตามลำดับกาล ดังพุทธพจน์
----
ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
----
เมื่อเป็นดังนี้ื ก็จะได้ว่า เกิดทารกในครรภ์(มนุษย์) ย่อมเป็นไปตามธรรม ที่ว่า เพราะยังไม่สิ้นอวิชชาและตัณหา นั้นเอง แล้วย่อมเป็นไปตาม วิบากแห่งกรรม ดังพุทธพจน์ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ เมื่อสิ้นจากภพเดิม(ตาย) แล้ว กรรมที่ให้วิบากในมนุษยโลก ก็ดำเนินนั้นเอง
เมื่อเป็นดังนี้ จากพุทธพจน์ที่ว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ก็คือ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ ที่ตัณหานำไปเกิด นั้นเอง
และจากพุทธพจน์ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" จาก คคห.12 ก็หมายความว่า กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ ปรากฏขึ้น ขณะตายคือ วิญญาณ ก็จุติ(เคลื่อน หรือดับ หรือตาย) จากภพเก่า (เน้น)ไม่ใช่ วิญญาณ นั้นล่องลอยไปจากภพเก่า คือดับที่สังขารเก่า(ขันธ์แตกดับ)นั้นเอง
แต่ที่ "ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" ตามพุทธพจน์นั้น ก็คือพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวถึงว่า กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ ปรากฏขึ้น พร้อมกับ "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ตามพุทธพจน์ ที่เป็นภพใหม่ พร้อมกับพุทธพจน์ที่ตรัสไว่ว่า กรรมที่ให้วิบากในมนุษยโลก ก็ดำเนินต่อไป ตามเหตุปัจจัย เพราะมีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น การเวียนว่ายตายเกิด ก็ดำเนินต่อไป จนเกิดวิชชา สามารถดับ อวิชชาได้หมดสิ้น นั้นเอง.
----- พระไตรปิฏกเล่มที่ 15
ว่าด้วยสัตว์อยู่ในครรภ์ได้อย่างไร
[๘๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทกยักษ์ ครอบครอง เขต
กรุงราชคฤห์ ฯ
[๘๐๒] ครั้งนั้นแล อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้
กราบทูลด้วยคาถาว่า
"[ถ้า] ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้จะประสพ
ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อ จะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะ
ติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร"
[๘๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "รูปนี้เป็นกลละก่อนจากกลละเป็นอัพพุทะ
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะจากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม
(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดา
ของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์
มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น"ฯ
------