เด็กสมัยนี้ไม่มีสัมมาคารวะ ขาดความอดทน และใจไม่สู้เหมือนคนยุคก่อน ยิ่งมาเทียบกับผู้ใหญ่ยุคเบบี้บูม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่สร้างชาติสร้างเศรษฐกิจโลกจนเฟื่องฟูมาถึงยุคปัจจุบัน ยิ่งตอกย้ำถึงความไร้แก่นสารของเจนเนอเรชั่นตัวกูของกู!!
ไม่ได้เหมารวมว่าเด็กยุคใหม่จะเป็นแบบนี้ซะหมด แต่สะกิดใจเข้าอย่างจังเมื่อเห็นปกนิตยสารไทม์เล่มล่าสุด ที่พาดหัวตัวโต THE Me Me Me Generation หยิบยกเรื่อง เจนเนอเรชั่น มิลเลนเนียลส์ ซึ่งขึ้นชื่อว่าหลงตัวเองยิ่งกว่าอะไรดี มาตีแผ่ให้ได้ฮือฮากัน โดยฟันธงว่า เด็กยุคนี้มีบุคลิกภาพแปรปรวนเอาแน่ไม่ได้ ขี้เกียจ เห็นแก่ตัว ไม่ทำงานทำการ และพอใจที่จะเกาะพ่อแม่กิน ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติสำหรับโลกตะวันตก
คนยุคมิลเลนเนียลส์ คือคนที่เกิดระหว่างปี 1980-2000 อายุตั้งแต่ 33-13 ปี เป็นยุครุ่นลูกรุ่นหลานของชาวเบบี้บูม และเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ มักตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมวงกว้าง และถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ล่าสุด “โจเอล สไตน์” คอลัมนิสต์ดังของนิตยสารไทม์ หยิบผลการศึกษาของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกามากะเทาะเปลือก ชี้ให้เห็นความจริงว่า คนยุคมิลเลนเนียลส์ ซึ่งอยู่ในวัยเลขสอง มีบุคลิกภาพแปรปรวนและหลงตัวเองหนักกว่าเกือบ 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนยุคเบบี้บูม ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป กระนั้น น่าเสียดายที่ความมั่นใจในตัวเองที่สูงปรี๊ดทะลุปรอท ไม่ได้ช่วยให้ชาวมิลเลนเนียลส์หางานทำได้ง่ายๆในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังถดถอย จึงไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นนี้จะทำตัวเป็นลูกแหง่ให้พ่อแม่หาเลี้ยงไปเกือบทั้งชีวิต และวันๆเอาแต่หมกอยู่หน้าคอมพิวเตอร์
ด้านองค์การแรง งานระหว่างประเทศจัดทำรายงานสถานการณ์การว่างงานของเยาวชนรุ่นใหม่ประจำปี 2013 โดยระบุว่า อัตราการว่างงานของเยาวชนรุ่นใหม่ทั่วโลกอยู่ที่ 12.6% คิดเป็นจำนวนถึง 73 ล้านคน!! และคาดการณ์ว่า ภายในปี 2018 อัตราการว่างงานของกลุ่มคนที่เป็นอนาคตของชาติอาจขยับขึ้นเป็น 12.8% ซึ่งถือว่าวิกฤติสุดๆ ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็เป็นผลมาจากความถดถอยของเศรษฐกิจโลก ทำให้เด็กจบใหม่ต้องตกงานเป็นเบือ ในขณะที่ตลาดแรงงานเต็มไปด้วยคนว่างงาน เมื่อหางานทำยากเย็นแสนเข็ญนัก เด็กยุคใหม่จึงเลิกล้มความตั้งใจ
รายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งมีจำนวน 161 หน้า ยังบ่งชี้ว่า เด็กจบใหม่ยุคนี้ถูกบีบให้ทำงานพาร์ตไทม์ เป็นพนักงานชั่วคราว และเด็กฝึกงานที่ไม่ได้ค่าจ้าง นอกเหนือจากเรื่องเศรษฐกิจแล้ว ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ เด็กเหล่านี้ขาดทักษะความชำนาญที่ตลาดแรงงานต้องการในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด ขณะที่เด็กบางพวกเก่งวิชาการ และรู้ลึกเรื่องทฤษฎี แต่ไม่เคยปฏิบัติจริง
ตัวการสำคัญที่ฟูมฟักคนยุคมิลเลนเนียลส์ให้เป็นปีศาจน้อยผู้หลงตัวเอง และไม่เคยคิดถึงคนอื่น มีอยู่หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความฮอตฮิตของรายการเรียลลิตี้โชว์ทั้งหลาย ซึ่งปลูกฝังให้เด็กยุคใหม่มองหาทางลัด และความสำเร็จภายในชั่วข้ามคืน จนสะกดคำว่า “รอ” ไม่เป็น!! ขณะที่ความเฟื่องฟูของอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายโซเชียลมิเดียก็กำลังมอมเมาเด็กยุคใหม่ให้ขังตัวเองอยู่กับโลกไซเบอร์ แทนที่จะออกไปหาเพื่อนในโลกแห่งความเป็นจริง
ผลพวงจากคนยุคเบบี้บูม และเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ ที่ทำให้วัฒนธรรมบริโภคนิยมแพร่ระบาดรวดเร็วไปทั่วทุกมุมโลก กำลังย้อนกลับมาทำร้ายลูกหลานของพวกเขา เพราะเด็กยุคมิลเลนเนียลส์เติบโตมากับการนั่งแช่อยู่หน้าทีวี และจ้องซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า สิ่งที่น่ากลัวก็คือ เด็กพวกนี้เติบโตมาแบบไม่มีโรลโมเดลที่เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต พวกเขาโตมากับพ่อแม่ที่ทำตัวเป็นเพื่อนมากกว่าเป็นผู้ปกครอง มีเพื่อนฝูงคอยอวยกับความสำเร็จทุกย่างก้าว จึงช่วยไม่ได้ถ้าพวกเขาจะอีโก้สูง และหมกมุ่นกับเรื่องของตัวเอง รองลงมาจากการติดมือถือและคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าคนยุคมิลเลนเนียลส์จะมีแต่ข้อเสีย พวกเขาก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เพราะเด็กยุคใหม่ปรับตัวเก่งเสียยิ่งกว่าจิ้งจก แถมยังมีความมั่นใจในตัวเองสูง เป็นนักปฏิบัติ มองโลกในแง่ดี และคล่องแคล่วเรื่องเทคโนโลยี พวกเขาออกแบบชีวิตของตัวเอง ขีดเส้นทางเดินเอง และมีมุมมองต่อโลกแตกต่างจากคนรุ่นก่อนอย่างสิ้นเชิง แม้วันนี้จะยังดูไร้แก่นสาร แต่สักวันเราจะพบแสงสว่างที่ปลายถ้ำจากการนำทางของชาวมิลเลนเนียลส์!!
ที่มา : มิสแซฟไฟร์
http://www.thairath.co.th/column/oversea/around/345303
เจนเนอเรชั่นหลงตัวเองกำลังครองโลก
เด็กสมัยนี้ไม่มีสัมมาคารวะ ขาดความอดทน และใจไม่สู้เหมือนคนยุคก่อน ยิ่งมาเทียบกับผู้ใหญ่ยุคเบบี้บูม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่สร้างชาติสร้างเศรษฐกิจโลกจนเฟื่องฟูมาถึงยุคปัจจุบัน ยิ่งตอกย้ำถึงความไร้แก่นสารของเจนเนอเรชั่นตัวกูของกู!!
ไม่ได้เหมารวมว่าเด็กยุคใหม่จะเป็นแบบนี้ซะหมด แต่สะกิดใจเข้าอย่างจังเมื่อเห็นปกนิตยสารไทม์เล่มล่าสุด ที่พาดหัวตัวโต THE Me Me Me Generation หยิบยกเรื่อง เจนเนอเรชั่น มิลเลนเนียลส์ ซึ่งขึ้นชื่อว่าหลงตัวเองยิ่งกว่าอะไรดี มาตีแผ่ให้ได้ฮือฮากัน โดยฟันธงว่า เด็กยุคนี้มีบุคลิกภาพแปรปรวนเอาแน่ไม่ได้ ขี้เกียจ เห็นแก่ตัว ไม่ทำงานทำการ และพอใจที่จะเกาะพ่อแม่กิน ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติสำหรับโลกตะวันตก
คนยุคมิลเลนเนียลส์ คือคนที่เกิดระหว่างปี 1980-2000 อายุตั้งแต่ 33-13 ปี เป็นยุครุ่นลูกรุ่นหลานของชาวเบบี้บูม และเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ มักตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมวงกว้าง และถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ล่าสุด “โจเอล สไตน์” คอลัมนิสต์ดังของนิตยสารไทม์ หยิบผลการศึกษาของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกามากะเทาะเปลือก ชี้ให้เห็นความจริงว่า คนยุคมิลเลนเนียลส์ ซึ่งอยู่ในวัยเลขสอง มีบุคลิกภาพแปรปรวนและหลงตัวเองหนักกว่าเกือบ 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนยุคเบบี้บูม ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป กระนั้น น่าเสียดายที่ความมั่นใจในตัวเองที่สูงปรี๊ดทะลุปรอท ไม่ได้ช่วยให้ชาวมิลเลนเนียลส์หางานทำได้ง่ายๆในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังถดถอย จึงไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นนี้จะทำตัวเป็นลูกแหง่ให้พ่อแม่หาเลี้ยงไปเกือบทั้งชีวิต และวันๆเอาแต่หมกอยู่หน้าคอมพิวเตอร์
ด้านองค์การแรง งานระหว่างประเทศจัดทำรายงานสถานการณ์การว่างงานของเยาวชนรุ่นใหม่ประจำปี 2013 โดยระบุว่า อัตราการว่างงานของเยาวชนรุ่นใหม่ทั่วโลกอยู่ที่ 12.6% คิดเป็นจำนวนถึง 73 ล้านคน!! และคาดการณ์ว่า ภายในปี 2018 อัตราการว่างงานของกลุ่มคนที่เป็นอนาคตของชาติอาจขยับขึ้นเป็น 12.8% ซึ่งถือว่าวิกฤติสุดๆ ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็เป็นผลมาจากความถดถอยของเศรษฐกิจโลก ทำให้เด็กจบใหม่ต้องตกงานเป็นเบือ ในขณะที่ตลาดแรงงานเต็มไปด้วยคนว่างงาน เมื่อหางานทำยากเย็นแสนเข็ญนัก เด็กยุคใหม่จึงเลิกล้มความตั้งใจ
รายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งมีจำนวน 161 หน้า ยังบ่งชี้ว่า เด็กจบใหม่ยุคนี้ถูกบีบให้ทำงานพาร์ตไทม์ เป็นพนักงานชั่วคราว และเด็กฝึกงานที่ไม่ได้ค่าจ้าง นอกเหนือจากเรื่องเศรษฐกิจแล้ว ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ เด็กเหล่านี้ขาดทักษะความชำนาญที่ตลาดแรงงานต้องการในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด ขณะที่เด็กบางพวกเก่งวิชาการ และรู้ลึกเรื่องทฤษฎี แต่ไม่เคยปฏิบัติจริง
ตัวการสำคัญที่ฟูมฟักคนยุคมิลเลนเนียลส์ให้เป็นปีศาจน้อยผู้หลงตัวเอง และไม่เคยคิดถึงคนอื่น มีอยู่หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความฮอตฮิตของรายการเรียลลิตี้โชว์ทั้งหลาย ซึ่งปลูกฝังให้เด็กยุคใหม่มองหาทางลัด และความสำเร็จภายในชั่วข้ามคืน จนสะกดคำว่า “รอ” ไม่เป็น!! ขณะที่ความเฟื่องฟูของอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายโซเชียลมิเดียก็กำลังมอมเมาเด็กยุคใหม่ให้ขังตัวเองอยู่กับโลกไซเบอร์ แทนที่จะออกไปหาเพื่อนในโลกแห่งความเป็นจริง
ผลพวงจากคนยุคเบบี้บูม และเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ ที่ทำให้วัฒนธรรมบริโภคนิยมแพร่ระบาดรวดเร็วไปทั่วทุกมุมโลก กำลังย้อนกลับมาทำร้ายลูกหลานของพวกเขา เพราะเด็กยุคมิลเลนเนียลส์เติบโตมากับการนั่งแช่อยู่หน้าทีวี และจ้องซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า สิ่งที่น่ากลัวก็คือ เด็กพวกนี้เติบโตมาแบบไม่มีโรลโมเดลที่เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต พวกเขาโตมากับพ่อแม่ที่ทำตัวเป็นเพื่อนมากกว่าเป็นผู้ปกครอง มีเพื่อนฝูงคอยอวยกับความสำเร็จทุกย่างก้าว จึงช่วยไม่ได้ถ้าพวกเขาจะอีโก้สูง และหมกมุ่นกับเรื่องของตัวเอง รองลงมาจากการติดมือถือและคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าคนยุคมิลเลนเนียลส์จะมีแต่ข้อเสีย พวกเขาก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เพราะเด็กยุคใหม่ปรับตัวเก่งเสียยิ่งกว่าจิ้งจก แถมยังมีความมั่นใจในตัวเองสูง เป็นนักปฏิบัติ มองโลกในแง่ดี และคล่องแคล่วเรื่องเทคโนโลยี พวกเขาออกแบบชีวิตของตัวเอง ขีดเส้นทางเดินเอง และมีมุมมองต่อโลกแตกต่างจากคนรุ่นก่อนอย่างสิ้นเชิง แม้วันนี้จะยังดูไร้แก่นสาร แต่สักวันเราจะพบแสงสว่างที่ปลายถ้ำจากการนำทางของชาวมิลเลนเนียลส์!!
ที่มา : มิสแซฟไฟร์
http://www.thairath.co.th/column/oversea/around/345303