คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
แจ้งความกลับได้ครับ
หลายข้อหาเลย
วิธีตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่
1. ต้องมีหมายศาล (หมายค้นนะครับ ไม่ใช่บันทึกประจำวัน)
ตรวจดูความถูกต้องของหมายค้นให้ละเอียด
(1) วัน เดือน ปี ที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจ ในหมายค้นระบุวันที่เท่าไหร่ ต้องมาวันนั้น มาผิดวันใช้ไม่ได้
(2) บ้านเลขที่ ชื่อร้านต้องตรง ถ้าพิมพ์ชื่อร้านผิด หรือบ้านเลขที่ผิด เราปฏิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที ในกรณีที่ร้านไม่มีบ้านเลขที่ หรือไม่มีชื่อร้าน ในหมายค้นจะต้องระบุอย่างละเอียดว่า เป็นบ้านไม่มีเลขที่ด้านซ้ายอยู่ติดกับร้านอะไร ด้านขวาอยู่ติดกับอะไร มีอะไรเป็นข้อสังเกต หรือชี้ชัดว่าเป็นร้านนี้
(3) ช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจค้น กี่โมง ถึงกี่โมงถึง มีหมายค้นมา แต่ถ้าเลยเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ก็เข้าตรวจค้นไม่ได้
(4) สิ่งของที่ศาลอนุญาตให้ตรวจค้น เช่นตัวแทนลิขสิทธิ์อ้างว่ามาตรวจลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก ในหมายศาลก็ต้องระบุว่า "เพื่อตรวจค้นสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2010" ก็คือ โทรทัศน์, จอ, เครื่องฉายต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาพ ระวังการลักไก่ หากหมายศาลระบุให้ตรวจค้นเรื่องอื่น จะนำมาอ้างตรวจลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกไม่ได้
(5) หมายค้นจะต้องเป็นฉบับจริงเท่านั้น ถ่ายเอกสารไม่ได้
2. ตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีหมายค้นมาแล้วต้องมาพร้อมกับตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่มีชื่ออยู่ในหมายค้นด้วย
(1) ตำรวจชั้นสัญญาบัตร คือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรี ถึงพลตำรวจเอก วิธีดูง่ายๆ ว่าใช่ตำรวจชั้นสัญญาบัตรหรือไม่ คือต้องมีดาวบนบ่าอย่างน้อย 1 ดวง
(2) ตรวจสอบบัตรประจำตัวตำรวจว่า ชื่อ-นามสกุล ตรงกับในหมายค้นหรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง ถ้าหมดอายุแล้ว เราปฏิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที
3. หนังสือแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน คดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีอันยอมความได้ ตามกฎหมายต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานก่อนถึงจะดำเนินการได้ ดังนั้นถ้าไม่มีหนังสือแจ้งความร้องทุกข์มาก็ไม่สามารถเข้าตรวจได้
4. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์
(1) หนังสือมอบอำนาจจะต้องไม่ขาดช่วง ไม่ขาดตอน ตัวอย่างเช่น ฟุตบอลโลก ฟีฟ่ามอบอำนาจมายัง บริษัท TCC และ TCC มอบอำนาจมายัง นาย (ก) เป็นต้น
(2) เจ้าของลิขสิทธิ์ มอบอำนาจให้ขอบเขตแค่ไหน เช่น มอบอำนาจให้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์อย่างเดียว, มอบอำนาจให้ดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเดียว หรือมอบอำนาจให้ทั้ง 2 อย่าง
(3) บัตรประชาชนเจ้าของลิขสิทธิ์ และบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจช่วง พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง เช่นในกรณีฟุตบอลโลก
- เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นชาวต่างชาติก็ต้องมีพาสปอร์ท พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และต้องยังไม่หมดอายุ
- เมื่อมอบอำนาจมายัง บริษัท TCC ก็ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของบริษัทหรือผู้มีอำนาจ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และต้องยังไม่หมดอายุ
- และเมื่อมอบอำนาจมาให้ นาย (ก) ก็ต้องมีสำเนาบัตรประชาชน นาย (ก) พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และต้องยังไม่หมดอายุ
(4) ระยะเวลาในการมอบอำนาจ วันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่ หากพ้นกำหนดก็ถือว่าหมดสิทธิ์
5. อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีชื่อในหมายค้น อยู่ในร้าน คนที่ไม่มีชื่อขอความร่วมมือให้รอข้างนอกร้าน โดยให้เหตุผลว่าเราดูแลไม่ทั่วถึง
สิ่งที่เจ้าหน้าที่ควรปฎิบัติ
1. ไม่ควรให้ความร่วมมือมิจฉาชีพ ข้าราชการเป็นอาชีพอันทรงเกียรติ
2. หากตรวจพบการกระทำความผิด ไม่ควรยกเครื่องใดๆ ทั้งสิ้น แต่ควรจะอายัดไว้ในที่เกิดเหตุ ตามแบบสากล
3. ไม่ควรเรียกเงินประกันตัวเกินกว่าที่ รอง ผบ.ตร. กำหนด คือ 5 หมื่นบาท และไม่ควรเรียกร้องเงิน เพื่อให้ยอมความ
สำ หรับแก๊งค์มิจฉาชีพจับลิขสิทธิ์ นั้น จะไม่มีหมายค้นจากศาลมา แต่มักจะเอาใบบันทึกประจำวันมาแอบอ้าง ขอให้ทุกท่าน หนักแน่นเข้าไว้ " ไม่มีหมายศาล ไม่ให้ค้น " ถ้าไม่มีหมายค้นมา ให้ไล่มิจฉาชีพเหล่านั้นออกไป ไล่ไม่ไป โทร. 1195 กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ 24 ชม.
บทความโดย : อ.แมวหลวง
http://ict.in.th กลุ่มร้านอินเตอร์เน็ต คาเฟ่ ไทย
http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=34
ปล ใช้ มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่งั้นคุณก็จะโดนรังแกอยู่ตลอดครับ แนะนำไปแจ้งความได้ครับ
หรือไปปรึกษาในกลุ่มได้ครับ แต่ละคนปึ้กๆทั้งนั้นครับ
http://www.facebook.com/InternetCafeThailand
หลายข้อหาเลย
วิธีตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่
1. ต้องมีหมายศาล (หมายค้นนะครับ ไม่ใช่บันทึกประจำวัน)
ตรวจดูความถูกต้องของหมายค้นให้ละเอียด
(1) วัน เดือน ปี ที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจ ในหมายค้นระบุวันที่เท่าไหร่ ต้องมาวันนั้น มาผิดวันใช้ไม่ได้
(2) บ้านเลขที่ ชื่อร้านต้องตรง ถ้าพิมพ์ชื่อร้านผิด หรือบ้านเลขที่ผิด เราปฏิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที ในกรณีที่ร้านไม่มีบ้านเลขที่ หรือไม่มีชื่อร้าน ในหมายค้นจะต้องระบุอย่างละเอียดว่า เป็นบ้านไม่มีเลขที่ด้านซ้ายอยู่ติดกับร้านอะไร ด้านขวาอยู่ติดกับอะไร มีอะไรเป็นข้อสังเกต หรือชี้ชัดว่าเป็นร้านนี้
(3) ช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจค้น กี่โมง ถึงกี่โมงถึง มีหมายค้นมา แต่ถ้าเลยเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ก็เข้าตรวจค้นไม่ได้
(4) สิ่งของที่ศาลอนุญาตให้ตรวจค้น เช่นตัวแทนลิขสิทธิ์อ้างว่ามาตรวจลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก ในหมายศาลก็ต้องระบุว่า "เพื่อตรวจค้นสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2010" ก็คือ โทรทัศน์, จอ, เครื่องฉายต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาพ ระวังการลักไก่ หากหมายศาลระบุให้ตรวจค้นเรื่องอื่น จะนำมาอ้างตรวจลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกไม่ได้
(5) หมายค้นจะต้องเป็นฉบับจริงเท่านั้น ถ่ายเอกสารไม่ได้
2. ตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีหมายค้นมาแล้วต้องมาพร้อมกับตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่มีชื่ออยู่ในหมายค้นด้วย
(1) ตำรวจชั้นสัญญาบัตร คือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรี ถึงพลตำรวจเอก วิธีดูง่ายๆ ว่าใช่ตำรวจชั้นสัญญาบัตรหรือไม่ คือต้องมีดาวบนบ่าอย่างน้อย 1 ดวง
(2) ตรวจสอบบัตรประจำตัวตำรวจว่า ชื่อ-นามสกุล ตรงกับในหมายค้นหรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง ถ้าหมดอายุแล้ว เราปฏิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที
3. หนังสือแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน คดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีอันยอมความได้ ตามกฎหมายต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานก่อนถึงจะดำเนินการได้ ดังนั้นถ้าไม่มีหนังสือแจ้งความร้องทุกข์มาก็ไม่สามารถเข้าตรวจได้
4. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์
(1) หนังสือมอบอำนาจจะต้องไม่ขาดช่วง ไม่ขาดตอน ตัวอย่างเช่น ฟุตบอลโลก ฟีฟ่ามอบอำนาจมายัง บริษัท TCC และ TCC มอบอำนาจมายัง นาย (ก) เป็นต้น
(2) เจ้าของลิขสิทธิ์ มอบอำนาจให้ขอบเขตแค่ไหน เช่น มอบอำนาจให้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์อย่างเดียว, มอบอำนาจให้ดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเดียว หรือมอบอำนาจให้ทั้ง 2 อย่าง
(3) บัตรประชาชนเจ้าของลิขสิทธิ์ และบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจช่วง พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง เช่นในกรณีฟุตบอลโลก
- เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นชาวต่างชาติก็ต้องมีพาสปอร์ท พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และต้องยังไม่หมดอายุ
- เมื่อมอบอำนาจมายัง บริษัท TCC ก็ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของบริษัทหรือผู้มีอำนาจ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และต้องยังไม่หมดอายุ
- และเมื่อมอบอำนาจมาให้ นาย (ก) ก็ต้องมีสำเนาบัตรประชาชน นาย (ก) พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และต้องยังไม่หมดอายุ
(4) ระยะเวลาในการมอบอำนาจ วันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่ หากพ้นกำหนดก็ถือว่าหมดสิทธิ์
5. อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีชื่อในหมายค้น อยู่ในร้าน คนที่ไม่มีชื่อขอความร่วมมือให้รอข้างนอกร้าน โดยให้เหตุผลว่าเราดูแลไม่ทั่วถึง
สิ่งที่เจ้าหน้าที่ควรปฎิบัติ
1. ไม่ควรให้ความร่วมมือมิจฉาชีพ ข้าราชการเป็นอาชีพอันทรงเกียรติ
2. หากตรวจพบการกระทำความผิด ไม่ควรยกเครื่องใดๆ ทั้งสิ้น แต่ควรจะอายัดไว้ในที่เกิดเหตุ ตามแบบสากล
3. ไม่ควรเรียกเงินประกันตัวเกินกว่าที่ รอง ผบ.ตร. กำหนด คือ 5 หมื่นบาท และไม่ควรเรียกร้องเงิน เพื่อให้ยอมความ
สำ หรับแก๊งค์มิจฉาชีพจับลิขสิทธิ์ นั้น จะไม่มีหมายค้นจากศาลมา แต่มักจะเอาใบบันทึกประจำวันมาแอบอ้าง ขอให้ทุกท่าน หนักแน่นเข้าไว้ " ไม่มีหมายศาล ไม่ให้ค้น " ถ้าไม่มีหมายค้นมา ให้ไล่มิจฉาชีพเหล่านั้นออกไป ไล่ไม่ไป โทร. 1195 กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ 24 ชม.
บทความโดย : อ.แมวหลวง
http://ict.in.th กลุ่มร้านอินเตอร์เน็ต คาเฟ่ ไทย
http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=34
ปล ใช้ มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่งั้นคุณก็จะโดนรังแกอยู่ตลอดครับ แนะนำไปแจ้งความได้ครับ
หรือไปปรึกษาในกลุ่มได้ครับ แต่ละคนปึ้กๆทั้งนั้นครับ
http://www.facebook.com/InternetCafeThailand
แสดงความคิดเห็น
ถูกตำรวจรังแกเรื่องลิขสิทธิ์
ขอขอบคุณล่วงหน้าไว้ ณ ที่นี้