ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ฮ่องกง - ศาลสูงพลิกคำตัดสินศาลชั้นต้น ไฟเขียวสาวข้ามเพศสมรสคู่รักหนุ่มได้ ชี้สถาบันครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปมากในสังคมหลากวัฒนธรรม ส่งผลให้ฮ่องกงต้องแก้กฎหมายใน 12 เดือน
ศาลสูงฮ่องกงมีคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์เมื่อวันจันทร์ (13 พ.ค.) อนุญาตให้สตรีข้ามเพศวัย 30 ปีเศษคนหนึ่งที่ใช้ชื่อในคดีฟ้องร้องว่า "ดับเบิลยู" สมรสกับแฟนหนุ่มของเธอได้
คณะผู้พิพากษาระบุในคำวินิจฉัยลายลักษณ์อักษรว่า ธรรมชาติการสมรสในฐานะสถาบันทางสังคมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างไกลในสังคมหลากวัฒนธรรมแบบฮ่องกงทุกวันนี้ การมุ่งที่ลักษณะทางชีวภาพโดยยึดติดกับเวลาถือกำเนิดอย่างเดียวจึงขัดกับหลักการ และกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน บั่นทอนสิทธิในการแต่งงานของดับเบิลยู
ด้านนายไมเคิล วิดเลอร์ ทนายโจทก์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังทราบผลตัดสินว่า นี่เป็นคดีของชนกลุ่มน้อยทางเพศที่จะต้องได้รับการยอมรับ และสิทธิของพวกเขาก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสิทธิของทุกคน จึงถือว่าเป็นคำพิพากษาประวัติศาสตร์
ดับเบิลยูซึ่งเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศเมื่อ 5 ปีก่อนไม่ได้ปรากฏตัวที่ศาลเมื่อวันจันทร์ แต่ได้ออกแถลงการณ์ผ่านทนายว่า เธอใช้ชีวิตเหมือนผู้หญิงคนหนึ่งตลอดมา ได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้หญิงในทุกๆ ด้าน รวมถึงได้รับการระบุเป็นเพศหญิงในหนังสือเดินทางและบัตรประชาชน ยกเว้นอย่างเดียวคือสิทธิแต่งงาน เธอรู้สึกมีความสุขมากที่ศาลได้ยอมรับความปรารถนาในการแต่งงานใช้ชีวิตกับแฟนของเธอ ซึ่งเป็นความปรารถนาที่ไม่ได้แตกต่างจากผู้หญิงทั่วไปในฮ่องกง
อย่างไรก็ดี ศาลระงับคำตัดสินไว้นาน 12 เดือน ยังไม่ให้มีผลทันที เพื่อให้เวลาคณะผู้บริหารและสภานิติบัญญัติปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสมรส
ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาลชั้นต้นตัดสินคดีของดับเบิลยูเมื่อ 3 ปีก่อน ศาลระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานมากพอแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของมติทางสังคมในฮ่องกง ที่เห็นควรให้การแต่งงานหมายรวมไปถึงผู้ที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศด้วย ขณะทนายแย้งว่า หลายประเทศอนุญาตให้ชาวข้ามเพศสมรสกับบุคคลที่มีเพศสภาพตรงข้ามกับเพศใหม่ รวมถึงญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป แคนาดา และจีนแผ่นดินใหญ่ตั้งแต่ปี 2547
นายแพทริค ชาน ผู้พิพากษาหนึ่งเดียวในห้าคนที่ออกเสียงค้านคำตัดสิน กล่าวว่า การรวมสตรีข้ามเพศไว้ในนิยามหญิง-ชาย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติเกี่ยวกับประเพณีการสมรสแบบสุดขั้ว และขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าทัศนคติต่อขนบความคิดเดิมได้เปลี่ยนแปลงแล้วถึงระดับรากฐาน ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมเช่นนี้ควรกระทำผ่านการประชาพิจารณ์ในวงกว้างมากกว่า
สาวข้ามเพศฮ่องกงได้สิทธิแต่งงาน ศาลสูงชี้เป็นสิทธิตามกฎหมาย
ฮ่องกง - ศาลสูงพลิกคำตัดสินศาลชั้นต้น ไฟเขียวสาวข้ามเพศสมรสคู่รักหนุ่มได้ ชี้สถาบันครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปมากในสังคมหลากวัฒนธรรม ส่งผลให้ฮ่องกงต้องแก้กฎหมายใน 12 เดือน
ศาลสูงฮ่องกงมีคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์เมื่อวันจันทร์ (13 พ.ค.) อนุญาตให้สตรีข้ามเพศวัย 30 ปีเศษคนหนึ่งที่ใช้ชื่อในคดีฟ้องร้องว่า "ดับเบิลยู" สมรสกับแฟนหนุ่มของเธอได้
คณะผู้พิพากษาระบุในคำวินิจฉัยลายลักษณ์อักษรว่า ธรรมชาติการสมรสในฐานะสถาบันทางสังคมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างไกลในสังคมหลากวัฒนธรรมแบบฮ่องกงทุกวันนี้ การมุ่งที่ลักษณะทางชีวภาพโดยยึดติดกับเวลาถือกำเนิดอย่างเดียวจึงขัดกับหลักการ และกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน บั่นทอนสิทธิในการแต่งงานของดับเบิลยู
ด้านนายไมเคิล วิดเลอร์ ทนายโจทก์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังทราบผลตัดสินว่า นี่เป็นคดีของชนกลุ่มน้อยทางเพศที่จะต้องได้รับการยอมรับ และสิทธิของพวกเขาก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสิทธิของทุกคน จึงถือว่าเป็นคำพิพากษาประวัติศาสตร์
ดับเบิลยูซึ่งเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศเมื่อ 5 ปีก่อนไม่ได้ปรากฏตัวที่ศาลเมื่อวันจันทร์ แต่ได้ออกแถลงการณ์ผ่านทนายว่า เธอใช้ชีวิตเหมือนผู้หญิงคนหนึ่งตลอดมา ได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้หญิงในทุกๆ ด้าน รวมถึงได้รับการระบุเป็นเพศหญิงในหนังสือเดินทางและบัตรประชาชน ยกเว้นอย่างเดียวคือสิทธิแต่งงาน เธอรู้สึกมีความสุขมากที่ศาลได้ยอมรับความปรารถนาในการแต่งงานใช้ชีวิตกับแฟนของเธอ ซึ่งเป็นความปรารถนาที่ไม่ได้แตกต่างจากผู้หญิงทั่วไปในฮ่องกง
อย่างไรก็ดี ศาลระงับคำตัดสินไว้นาน 12 เดือน ยังไม่ให้มีผลทันที เพื่อให้เวลาคณะผู้บริหารและสภานิติบัญญัติปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสมรส
ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาลชั้นต้นตัดสินคดีของดับเบิลยูเมื่อ 3 ปีก่อน ศาลระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานมากพอแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของมติทางสังคมในฮ่องกง ที่เห็นควรให้การแต่งงานหมายรวมไปถึงผู้ที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศด้วย ขณะทนายแย้งว่า หลายประเทศอนุญาตให้ชาวข้ามเพศสมรสกับบุคคลที่มีเพศสภาพตรงข้ามกับเพศใหม่ รวมถึงญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป แคนาดา และจีนแผ่นดินใหญ่ตั้งแต่ปี 2547
นายแพทริค ชาน ผู้พิพากษาหนึ่งเดียวในห้าคนที่ออกเสียงค้านคำตัดสิน กล่าวว่า การรวมสตรีข้ามเพศไว้ในนิยามหญิง-ชาย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติเกี่ยวกับประเพณีการสมรสแบบสุดขั้ว และขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าทัศนคติต่อขนบความคิดเดิมได้เปลี่ยนแปลงแล้วถึงระดับรากฐาน ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมเช่นนี้ควรกระทำผ่านการประชาพิจารณ์ในวงกว้างมากกว่า