บังเอิญได้ไปอ่านมา เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่ชอบเลี้ยงกล้วยไม้

กระทู้สนทนา
บังเอิญได้ไปอ่านมา เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่ชอบเลี้ยงกล้วยไม้
สรุปได้ใจความว่า...
กล้วยไม้ที่เป็นชนิด Crassulacean Acid Metabolism (CAM)
จะเปิดปากใบในเวลากลางคืนและจะปิดปากใบในเวลากลางวัน การเปิดปากใบก็เพื่อ
1.จับตรึง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาเก็บไว้ในรูปของกรดมาลิคในแวคคิวโอล เมื่อมีแสงแดดพอเหมาะก็จะมีการสังเคราะห์แสง โดยนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกรดมาลิคที่เก็บไว้มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง
(การจับตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 22 น.
และจะมีอัตราสูงที่สุดในช่วงเวลา 03-04 น. สิ้นสุดกระบวนการเวลาประมาณ 07.30 น.)
2.คายน้ำเมื่อตอนเปิดปากใบในเวลากลางคืน และลดการคายน้ำในขณะที่ปิดปากใบในเวลากลางวัน และปากใบจะเปิดกว้างมากในช่วงกลางคืนที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมี 70-80%

การให้น้ำกล้วยไม้ ในช่วงกลางคืนควรควบคุมความชื้นในอากาศให้ได้ 70-80%
ในคืนที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำกว่า70%
ใช้วิธีฉีดน้ำเป็นละอองฝอยในอากาศในช่วงหัวค่ำเป็นต้นไปเป็นการให้ความชื้นในโรงเรือนสูงขึ้นและเป็นการลดอุณหภูมิในโรงเรือนให้ต่ำลง(ไม่ใช่การรดน้ำเพื่อให้เครื่องปลูกเปียก) เพื่อเร่งให้กล้วยไม้เปิดปากใบเร็วขึ้นซึ่งนั่นหมายถึงเพิ่มระยะเวลาการจับตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ยาวนานขึ้นไปด้วย ส่วนการให้น้ำและปุ๋ยผ่านทางราก(ช่วงนี้แหละที่รดน้ำให้เครื่องปลูกเปียกชุ่มโชก) ควรให้ในเวลา 04 - 05 น. ซึ่งเป็นช่วงที่อัตราการไหลของน้ำที่ปากใบสูงสุด (มีการคายน้ำมากที่สุด) ซึ่งปุ๋ยจะถูกส่งผ่านจากรากเข้าสู่ลำต้นได้ดีที่สุด
นั่นเป็นข้อสรุปของผมเองนะครับ

ส่วนเนื้อหาทั้งหมด สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ทางอินเตอร์เน็ท....
"วารสาร วิทยาศาสตร์เกษตร"
เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนแก๊สในรอบวัน ของใบกล้วยไม้สกุลหวาย พันธุ์บอมโจ
โดย พรรณี ชื่นนคร และ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่