ก็ไม่มีข้อมูลอะไรที่ใหม่มากนะครับ พอดีไปอ่านมติครม. เกี่ยวกับการรับจำนำข้าวรอบ 2 (รอบนี้) ของปีการผลิต 2555/56 ก็เลยเอามาฝาก เพราะอ่านแล้วมีประเด็นอยู่ 2 ประเด็นที่(คิดว่า)น่าสนใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขออ้างอิงกระทู้เก่าประกอบด้วยนะครับ
http://ppantip.com/topic/30317455
http://ppantip.com/topic/30466136
http://ppantip.com/topic/30467472
ในมติครม. มีการอนุมัติหลักการและกรอบวงเงินสำหรับการจำนำข้าวรอบสองนี้ โดยในส่วนของกรอบวงเงิน มีการอนุมัติตัวเลข 105,000 ล้านบาท สำหรับจำนำข้าวจำนวน 7 ล้านตัน
โดยเงินก้อนนี้ ให้นำมาจากเงินที่เหลือจากการจำนำรอบแรก และเงินจากการขายข้าวที่รัฐบาลนี้รับจำนำมา(ทั้งสามรอบ) มารวม ๆ กันเพื่อรับจำนำ
โดยจากกระทู้เมื่อวันก่อน มีการรวม ๆ ตัวเลขแล้ว จะเห็นว่า จากกรอบวงเงินที่อนุมัติให้กู้เพิ่ม เพื่อรับจำนำรอบแรก จะมีเงินเหลือเพียง 130,000 ล้าน ซึ่งจากการรับจำนำรอบแรก ถ้าอ่านในมติครม. หน้า 2 จะเห็นว่า ถึงวันที่ 11 มีนาคม ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรไปแล้ว จำนวน 176,920 ล้านบาท
ซึ่งตัวเลขจำนวนเงินนี้ ยังไม่ใช่ทั้งหมดของรอบแรก เพราะยังมีที่รับจำนำแล้ว อยู่ในขั้นตอนของเอกสาร และยังไม่ถึงระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ
ดังนั้นรอบแรก คิดว่า ต้องใช้เงินรับจำนำไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทแน่นอน
ดังนั้น จากเงินที่มี 130,000 ล้านบาท ก็จะขาดเงินสำหรับการรับจำนำรอบแรก ที่ต้องนำมาจากการระบายข้าว อีกประมาณ 7 หมื่นล้านบาท
นั่นหมายความว่า เงินที่จะใช้รับจำนำรอบสองนี้ จะมีเงินมาจาก การระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้จากการขายข้าวที่รัฐบาลนี้รับจำนำมา 3 รอบ แล้วหักลบด้วย 7 หมื่นล้าน
เช่นขายข้าวได้เงินรวม 1 แสนล้าน ก็จะมีเงินรับจำนำรอบสอง เพียง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
แต่ในมติครม.หน้า 5 ในข้อ 5.9
มีการพูดถึงเงินอีกสองก้อน คือเงินที่โดน ครม.นำไปใช้ในการช่วยเหลือ ราคายาง และมันสำปะหลัง (กระทู้อ้างถึงที่ 2) จำนวนรวม 43,000 ล้านบาท
ว่าขออนุมัตินำเงินก้อนนี้ย้อนกลับมาใช้รับจำนำข้าวรอบนี้ด้วย
ถ้าสามารถนำกลับมาได้ทั้งก้อน คือขายผลผลิตได้เงินเท่าที่ลงทุนไป ก็จะทำให้มีเงินใช้ในโครงการรับจำนำข้าวรอบสองนี้ เพิ่มเป็นประมาณ 7 หมื่นล้าน (ก็จะขาดอีก 3 หมื่นล้านบาท)
แต่จุดที่น่าสังเกตคือ ยาง และ มันสำปะหลัง สองก้อนที่พูดถึง ได้ระบายผลผลิตไปแล้วหรือไม่ แล้วได้เงินมาหรือยัง และถ้าได้มาแล้ว ที่ขายไปขาดทุนเท่าไหร่ จริง ๆ แล้วมีเงินสุทธิที่จะนำมาเพิ่มให้โครงการรับจำนำข้าวได้มากเท่าไหร่
สุดท้ายเงินก้อนนี้ ก็คงสภาพเหมือนกับเงินที่ได้จากการระบายข้าว ที่มีแต่ความคาดหวัง วาดภาพที่สวยงาม ว่าจะได้เงินมาปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้จ่าย
แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไปแต่ละเดือน แต่ละวัน ก็ไม่ได้เงินที่หวังมา
สุดท้ายภาระทั้งหมดก็ต้องตกอยู่กับชาวนา ที่เจอรัฐบาลบีบทุกวิถีทาง เพื่อลดจำนวนข้าวเข้าสู่โครงการรับจำนำให้เหลือน้อยที่สุด เริ่มจากการออกข่าวว่ามีภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดน้อยลงมาก มาถึงการห้ามข้าวอายุสั้นเข้าโครงการ ไม่ให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันในรูปสหกรณ์ นำข้าวมาจำนำ รวมถึงการลดจุดรับจำนำข้าวลง ฯลฯ
ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ถึงวันนี้ ปริมาณข้าวที่เข้าสู่โครงการรับจำนำข้าวของปี 55/56 (ทั้งสองรอบ) มีปริมาณลดน้อยลงกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้มาก
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถที่จะมีเงินพอใช้กับการรับจำนำได้ ก็คงต้องดูว่า รัฐบาลจะยอมควักกระเป๋าเพิ่ม เพื่อเติมเงินให้โครงการจำนำข้าว มีเงินจ่ายให้กับชาวนา ที่เอาข้าวไปฝากไว้กับโรงสีเมื่อไหร่
แต่ที่แน่ ๆ โครงการรับจำนำข้าว ในรอบหน้า รัฐบาลส่งสัญญาณในมติครม.ฉบับนี้แล้วว่า จะมีการปรับเกณฑ์แน่นอน
แต่ก็ไม่รู้ว่า ที่เขียนแบบนี้ คนทำงานไปทำอะไรบ้างแล้ว เพราะข่าวที่ออกมา ก็ยังไม่เห็นกระทรวงเกษตรฯ ประกาศแผนการใด ๆ ที่ชัดเจน และที่สำคัญ กระทรวงพาณิชย์ ก็ยังไม่มีการนำเสนอหลักเกณฑ์ที่จะใช้รับจำนำปีหน้า ว่าจะมีการอ้างอิงจากเนื้อหาในมติครม.ส่วนนี้ยังไง
ก็หวังว่า การประกาศหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวปี 56/57 ที่ออกมา จะไม่เล่นมักง่ายเหมือนกับการประกาศห้ามข้าวอายุสั้นเข้าร่วมโครงการ ที่ประกาศแล้วบังคับใช้เลย
ทั้ง ๆ ที่ตามหลักแล้วควรประกาศก่อนปลูก เพื่อให้ชาวนาได้มีโอกาสตัดสินใจว่า จะปลูกข้าวอายุสั้น หรือว่า จะเอาข้าวไปจำนำกับรัฐดี
แล้วเรื่องการกำหนดโซนนิ่งนี้ก็เช่นกัน ถ้าจะนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ ก็ควรกำหนดให้ชัดเจนก่อนปลูก ไม่ใช่ปล่อยให้ปลูกไปแล้ว ค่อยมาแก้ไขเงื่อนไข เพราะแบบนี้คนที่อยู่นอกเขตคงได้รับผลกระทบแน่ ๆ
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะประกาศเรื่องนี้เมื่อไหร่อย่างไร เพราะตอนนี้ก็ใกล้ระยะเวลาการเริ่มปลูกข้าวนาปีแล้ว
การรับจำนำข้าวรอบที่สอง ปีการผลิต 2555/2556
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขออ้างอิงกระทู้เก่าประกอบด้วยนะครับ
http://ppantip.com/topic/30317455
http://ppantip.com/topic/30466136
http://ppantip.com/topic/30467472
ในมติครม. มีการอนุมัติหลักการและกรอบวงเงินสำหรับการจำนำข้าวรอบสองนี้ โดยในส่วนของกรอบวงเงิน มีการอนุมัติตัวเลข 105,000 ล้านบาท สำหรับจำนำข้าวจำนวน 7 ล้านตัน
โดยเงินก้อนนี้ ให้นำมาจากเงินที่เหลือจากการจำนำรอบแรก และเงินจากการขายข้าวที่รัฐบาลนี้รับจำนำมา(ทั้งสามรอบ) มารวม ๆ กันเพื่อรับจำนำ
โดยจากกระทู้เมื่อวันก่อน มีการรวม ๆ ตัวเลขแล้ว จะเห็นว่า จากกรอบวงเงินที่อนุมัติให้กู้เพิ่ม เพื่อรับจำนำรอบแรก จะมีเงินเหลือเพียง 130,000 ล้าน ซึ่งจากการรับจำนำรอบแรก ถ้าอ่านในมติครม. หน้า 2 จะเห็นว่า ถึงวันที่ 11 มีนาคม ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรไปแล้ว จำนวน 176,920 ล้านบาท
ซึ่งตัวเลขจำนวนเงินนี้ ยังไม่ใช่ทั้งหมดของรอบแรก เพราะยังมีที่รับจำนำแล้ว อยู่ในขั้นตอนของเอกสาร และยังไม่ถึงระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ
ดังนั้นรอบแรก คิดว่า ต้องใช้เงินรับจำนำไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทแน่นอน
ดังนั้น จากเงินที่มี 130,000 ล้านบาท ก็จะขาดเงินสำหรับการรับจำนำรอบแรก ที่ต้องนำมาจากการระบายข้าว อีกประมาณ 7 หมื่นล้านบาท
นั่นหมายความว่า เงินที่จะใช้รับจำนำรอบสองนี้ จะมีเงินมาจาก การระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้จากการขายข้าวที่รัฐบาลนี้รับจำนำมา 3 รอบ แล้วหักลบด้วย 7 หมื่นล้าน
เช่นขายข้าวได้เงินรวม 1 แสนล้าน ก็จะมีเงินรับจำนำรอบสอง เพียง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
แต่ในมติครม.หน้า 5 ในข้อ 5.9
มีการพูดถึงเงินอีกสองก้อน คือเงินที่โดน ครม.นำไปใช้ในการช่วยเหลือ ราคายาง และมันสำปะหลัง (กระทู้อ้างถึงที่ 2) จำนวนรวม 43,000 ล้านบาท
ว่าขออนุมัตินำเงินก้อนนี้ย้อนกลับมาใช้รับจำนำข้าวรอบนี้ด้วย
ถ้าสามารถนำกลับมาได้ทั้งก้อน คือขายผลผลิตได้เงินเท่าที่ลงทุนไป ก็จะทำให้มีเงินใช้ในโครงการรับจำนำข้าวรอบสองนี้ เพิ่มเป็นประมาณ 7 หมื่นล้าน (ก็จะขาดอีก 3 หมื่นล้านบาท)
แต่จุดที่น่าสังเกตคือ ยาง และ มันสำปะหลัง สองก้อนที่พูดถึง ได้ระบายผลผลิตไปแล้วหรือไม่ แล้วได้เงินมาหรือยัง และถ้าได้มาแล้ว ที่ขายไปขาดทุนเท่าไหร่ จริง ๆ แล้วมีเงินสุทธิที่จะนำมาเพิ่มให้โครงการรับจำนำข้าวได้มากเท่าไหร่
สุดท้ายเงินก้อนนี้ ก็คงสภาพเหมือนกับเงินที่ได้จากการระบายข้าว ที่มีแต่ความคาดหวัง วาดภาพที่สวยงาม ว่าจะได้เงินมาปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้จ่าย
แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไปแต่ละเดือน แต่ละวัน ก็ไม่ได้เงินที่หวังมา
สุดท้ายภาระทั้งหมดก็ต้องตกอยู่กับชาวนา ที่เจอรัฐบาลบีบทุกวิถีทาง เพื่อลดจำนวนข้าวเข้าสู่โครงการรับจำนำให้เหลือน้อยที่สุด เริ่มจากการออกข่าวว่ามีภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดน้อยลงมาก มาถึงการห้ามข้าวอายุสั้นเข้าโครงการ ไม่ให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันในรูปสหกรณ์ นำข้าวมาจำนำ รวมถึงการลดจุดรับจำนำข้าวลง ฯลฯ
ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ถึงวันนี้ ปริมาณข้าวที่เข้าสู่โครงการรับจำนำข้าวของปี 55/56 (ทั้งสองรอบ) มีปริมาณลดน้อยลงกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้มาก
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถที่จะมีเงินพอใช้กับการรับจำนำได้ ก็คงต้องดูว่า รัฐบาลจะยอมควักกระเป๋าเพิ่ม เพื่อเติมเงินให้โครงการจำนำข้าว มีเงินจ่ายให้กับชาวนา ที่เอาข้าวไปฝากไว้กับโรงสีเมื่อไหร่
แต่ที่แน่ ๆ โครงการรับจำนำข้าว ในรอบหน้า รัฐบาลส่งสัญญาณในมติครม.ฉบับนี้แล้วว่า จะมีการปรับเกณฑ์แน่นอน
แต่ก็ไม่รู้ว่า ที่เขียนแบบนี้ คนทำงานไปทำอะไรบ้างแล้ว เพราะข่าวที่ออกมา ก็ยังไม่เห็นกระทรวงเกษตรฯ ประกาศแผนการใด ๆ ที่ชัดเจน และที่สำคัญ กระทรวงพาณิชย์ ก็ยังไม่มีการนำเสนอหลักเกณฑ์ที่จะใช้รับจำนำปีหน้า ว่าจะมีการอ้างอิงจากเนื้อหาในมติครม.ส่วนนี้ยังไง
ก็หวังว่า การประกาศหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวปี 56/57 ที่ออกมา จะไม่เล่นมักง่ายเหมือนกับการประกาศห้ามข้าวอายุสั้นเข้าร่วมโครงการ ที่ประกาศแล้วบังคับใช้เลย
ทั้ง ๆ ที่ตามหลักแล้วควรประกาศก่อนปลูก เพื่อให้ชาวนาได้มีโอกาสตัดสินใจว่า จะปลูกข้าวอายุสั้น หรือว่า จะเอาข้าวไปจำนำกับรัฐดี
แล้วเรื่องการกำหนดโซนนิ่งนี้ก็เช่นกัน ถ้าจะนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ ก็ควรกำหนดให้ชัดเจนก่อนปลูก ไม่ใช่ปล่อยให้ปลูกไปแล้ว ค่อยมาแก้ไขเงื่อนไข เพราะแบบนี้คนที่อยู่นอกเขตคงได้รับผลกระทบแน่ ๆ
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะประกาศเรื่องนี้เมื่อไหร่อย่างไร เพราะตอนนี้ก็ใกล้ระยะเวลาการเริ่มปลูกข้าวนาปีแล้ว