คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ถ้าจะให้วิทยาศาสตร์อธิบายได้ชัดเจนทันทีก็คือถามว่า กลไกร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีอายุขัยไม่เท่ากันอย่างไร ?
แต่ถ้าถามว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีอายุขัยไม่เท่ากัน ? จะเป็นคำถามเชิงปรัชญาวิทยาศาสตร์ ก็คงตอบตามปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเช่นหลัก Biodiversity(ความหลากหลายทางชีวภาพ)
แต่ถ้าถามทำไมถึงมีความแตกต่างในธรรมชาติ ? ทำไมถึงมีสิ่งมีชีวิต ? ทำไมถึงมีสรรพสิ่งความมีอยู่ ? ฯลฯ ถือเป็นคำถามปรัชญาเพียวๆ ซึ่งต้องพยายามวิเคราะห์ผลความมีอยู่เป็นไปของสรรพสิ่งแล้วสังเคราะห์ให้ได้หลักปรัชญาข้อเท็จจริงขึ้นมา ปัจจุบันวิทยาศาสตร์พยายามตอบคำถามปรัชญาต่างๆในธรรมชาติด้วยกระบวนการพิเคราะห์พิสูจน์กันอยู่ เชื่อได้ว่าจะก่อเกิดวิวัฒนาการที่ช่วยสนองความต้องการสนองความรับรู้แก่คนรุ่นหลังได้ยิ่งขึ้นครับ
ส่วนเรื่องกรรมในทางศาสนาเกี่ยวข้องในคำถามนี้หรือไม่อย่างไร ? ก็เอาเป็นว่าเป็นเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตทุกชนิดนั้นต้องอยู่ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมของตนเสมอ ทั้งปัจจัยทางภายภาพ ชีวภาพ รูปธรรม นามธรรม โลกธรรมเหตุการณ์ ฯลฯ ก็ต้องช่วยกันศึกษาให้ได้ข้อสรุปชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีหลักปรัชญาในธรรมชาติที่ควรรู้ควรตระหนักอะไรบ้าง ? ความเชื่อไหนเป็นปรัชญาความจริง ? ความเชื่อไหนเป็นเรื่องไร้สาระ ? ฯลฯ ส่วนบรรดาความเชื่อที่เป็นที่สนองความศรัทธาความอยากรู้แบบดั้งเดิมก็ควรนำมาเข้ากระบวนการพิเคราะห์พิสูจน์ทั้งหมด สมัยนี้อย่าไปยึดถืออย่างคร่ำครึว่าเป็นของสูงห้ามแตะห้ามลบหลู่ห้ามวิจารณ์
แต่ถ้าถามว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีอายุขัยไม่เท่ากัน ? จะเป็นคำถามเชิงปรัชญาวิทยาศาสตร์ ก็คงตอบตามปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเช่นหลัก Biodiversity(ความหลากหลายทางชีวภาพ)
แต่ถ้าถามทำไมถึงมีความแตกต่างในธรรมชาติ ? ทำไมถึงมีสิ่งมีชีวิต ? ทำไมถึงมีสรรพสิ่งความมีอยู่ ? ฯลฯ ถือเป็นคำถามปรัชญาเพียวๆ ซึ่งต้องพยายามวิเคราะห์ผลความมีอยู่เป็นไปของสรรพสิ่งแล้วสังเคราะห์ให้ได้หลักปรัชญาข้อเท็จจริงขึ้นมา ปัจจุบันวิทยาศาสตร์พยายามตอบคำถามปรัชญาต่างๆในธรรมชาติด้วยกระบวนการพิเคราะห์พิสูจน์กันอยู่ เชื่อได้ว่าจะก่อเกิดวิวัฒนาการที่ช่วยสนองความต้องการสนองความรับรู้แก่คนรุ่นหลังได้ยิ่งขึ้นครับ
ส่วนเรื่องกรรมในทางศาสนาเกี่ยวข้องในคำถามนี้หรือไม่อย่างไร ? ก็เอาเป็นว่าเป็นเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตทุกชนิดนั้นต้องอยู่ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมของตนเสมอ ทั้งปัจจัยทางภายภาพ ชีวภาพ รูปธรรม นามธรรม โลกธรรมเหตุการณ์ ฯลฯ ก็ต้องช่วยกันศึกษาให้ได้ข้อสรุปชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีหลักปรัชญาในธรรมชาติที่ควรรู้ควรตระหนักอะไรบ้าง ? ความเชื่อไหนเป็นปรัชญาความจริง ? ความเชื่อไหนเป็นเรื่องไร้สาระ ? ฯลฯ ส่วนบรรดาความเชื่อที่เป็นที่สนองความศรัทธาความอยากรู้แบบดั้งเดิมก็ควรนำมาเข้ากระบวนการพิเคราะห์พิสูจน์ทั้งหมด สมัยนี้อย่าไปยึดถืออย่างคร่ำครึว่าเป็นของสูงห้ามแตะห้ามลบหลู่ห้ามวิจารณ์
แสดงความคิดเห็น
อยากรู้ว่าทำไมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีอายุขัยไม่เท่ากันครับ
อยากได้เหตุผลทั้งวิทย์ศาสตร์และศาสนาครับ
ขอขัดสำหรับคำตอบศาสนาเรื่องกรรรมหน่อยนะครับ ว่าอายุขัยเกิดจากกรรมดีและกรรมชั่ว
เห็นทางวิทยาศาสตร์ก็ศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละอย่างแล้วว่า แต่ละชนิดมีอายุขัยประมาณกี่ปีถึงกี่ปี มันเหมือนเกือบตายตัว