เมื่อเวลา 10.30 น. (11 พฤษภาคม) นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แถลงถึงกรณีการที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพูดในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนว่า จะมีการปฏิรูปการศึกษา ว่า
ฟังจากที่พูดแล้ว นายพงศ์เทพ ต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งจุดยืนในวันแรกชัดเจนว่าโรงเรียน 14,000 กว่าโรงจะถูกยุบ แต่พอมีกระแสสังคมต่อต้านก็บอกว่าไม่ถึง 10,000 โรง และลดจำนวนลงมาเรื่อยๆ และท้ายสุดออกมาบอกว่ากระบวนการยุบต้องถามชุมชนก่อน นั้นก็แสดงให้เห็นว่าท่านไม่มีจุดยืนในการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปัตย์ขอเสนอแนวทางออกที่เหมาะสมคือ 1.อยากให้พิจารณาการแบ่งระดับชั้นการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กใหม่ ไหนๆก็จะจัดรถในการเดินทางอยู่แล้ว เช่น ประถมต้น-ปลาย แยกออกจากกัน เป็นโรงเรียนหนึ่งเป็นประถมต้น อีกโรงเรียนเป็นประถมปลาย โรงเรียนก็จะมีเวลาลงรายละเอียดมากขึ้นในการพัฒนา 2.ย้ายครู ทำให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพมารวมกัน จะทำให้การขาดแคลนครูหายไป กระจายตัวออกไปหลายโรงเรียน และ 3.ทำโรงเรียนประจำตำบล ตามนโยบายของปชป.
วันนี้(8พ.ค.<<วันแรกที่ปรากฎข่าว) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเพื่อรับฟังนโยบายเตรียมความพร้อมรับเปิดภาคเรียน 2556 ว่า ตนได้มอบนโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กให้ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา นำไปดำเนินการ โดยถ้าโรงเรียนขนาดเล็กแห่งใดอยู่ในข่ายไม่จำเป็นต้องคงอยู่ก็ให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนั้น โดยโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในข่ายควรยุบรวมจะเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยมาก เป็นโรงเรียนที่ด้อยคุณภาพและมีโรงเรียนใกล้เคียงที่มีคุณภาพรองรับ
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อไปว่า โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง เช่นที่จังหวัดสมุทรสาครบ้านเกิดของตน มีนักเรียนประมาณ 20 คน และเป็นชาวต่างชาติทั้งนั้น ก็ต้องถามว่าอย่างนี้จะเปิดไว้ทำไม คุณภาพก็ไม่ได้ ขณะที่โรงเรียนข้างเคียงที่มีคณภาพก็อยู่ห่างแค่ไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร ถ้ายุบแล้วย้ายเด็กไปเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพมากกว่า จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักเรียนและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในภาพรวม แต่อย่างไรก็ตามในการยุบรวมก็จำเป็นต้องมีการทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อลดการต่อต้านด้วย โดยต้องชี้แจ้งให้ชุมชนเข้าใจว่า รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณจะพัฒนาโรงเรียนทุกแห่งและไม่สามารถนำงบฯจากเงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน ขนาดประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ยังมีการปิดโรงเรียนขนาดเล็ก แม้แต่ในเมืองหลวงกรุงวอชิงตัน ดีซีก็มีการปิดอยู่บ่อยครั้ง ถ้าเห็นว่าโรงเรียนในย่านใดไม่มีประโยชน์จะคงไว้ แม้มีนักเรียน 60 คน หรือโรงเรียนขนาด 300 คนก็ยังถูกปิด
รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน เพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้จัดระบบรับส่งนักเรียนไว้รองรับแล้ว โดยได้เตรียมงบฯจัดซื้อรถตู้ 1,000 คัน แต่ในบางพื้นที่ ตนเห็นว่า อาจให้เอกชนเข้ามาประมูลรับไปบริหารจัดการแทนได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดงบฯของรัฐได้มาก ขณะเดียวกันในกรณีที่เด็กย้ายไปโรงเรียนใหม่ซึ่งอยู่ไม่ไกลมาก อาจจะจัดงบฯซื้อจักรยานให้เด็ก ซึ่งจะเป็นวิธีที่ประหยัดกว่าการจัดรถรับส่ง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่ยังคงอยู่ก็ต้องมีการบริหารจัดการใหม่ ใช้วิธีรวมกลุ่มจัดการเรียนการสอน นำครูและทรัพยากรมาใช้ร่วมกันเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากขึ้น
ส่วนคนที่พูดถึงจำนวน คนนี้ครับ
ด้านดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่ สพฐ.ตั้งเป้ายุบรวมจะเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งก็ต้องไปสำรวจว่ามีจำนวนเท่าใด ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนทั่วประเทศ มีประมาณ 17,000 โรง จากจำนวนโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 3 หมื่นโรง
(เป้าหมายคือ โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้งหมดจะถูกยุบ มีหลักเกณฑ์อีกมากมาย)
ถ้าคุณอ่านข่าวแค่พาดหัว มันก็จะเป็นอย่างนี้และณัฏฐ์
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่วันแรก คุณพงศ์เทพก็พูดไว้ชัดเจนทุกอย่าง
แต่ประชาธิปัตย์ก็อาศัยว่า การยืนให้สัมภาษณ์นั้นไม่ได้ลงรายละเอียด
ประชาธิปัตย์ก็เลยอาศัยช่องโหว่นี้ไปมโนเอาเองว่าจะยุบ โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน ทั้งหมด
ทั้งที่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ หลักเกณฑ์เค้ามีอยู่ พอเค้าออกมาอธิบาย ก็หาว่าไม่มีจุดยืน
ไม่ใช่ว่าท่านรัฐมนตรีวันนึงให้สัมภาษณ์ 1 แล้วอีกวันนึงเปลี่ยนไป 2 นะครับ
ท่านให้สัมภาษณ์ 1 คือกรอบใหญ่ๆ แล้วก็ลงรายละเอียด 1.1 1.2 1.3
พวกสลิ่มเองมิใช่หรือ ที่พอเห็นแค่พาดหัว แล้วก็ตีโพยตีพาย สุดท้ายก็ว่างเปล่าาาาาาา
+++ ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ปล่อยไก่อีกแล้ว คิดจะดิสเครดิตคุณพงศ์เทพ เร็วไปร้อยปีครับ +++
ฟังจากที่พูดแล้ว นายพงศ์เทพ ต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งจุดยืนในวันแรกชัดเจนว่าโรงเรียน 14,000 กว่าโรงจะถูกยุบ แต่พอมีกระแสสังคมต่อต้านก็บอกว่าไม่ถึง 10,000 โรง และลดจำนวนลงมาเรื่อยๆ และท้ายสุดออกมาบอกว่ากระบวนการยุบต้องถามชุมชนก่อน นั้นก็แสดงให้เห็นว่าท่านไม่มีจุดยืนในการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปัตย์ขอเสนอแนวทางออกที่เหมาะสมคือ 1.อยากให้พิจารณาการแบ่งระดับชั้นการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กใหม่ ไหนๆก็จะจัดรถในการเดินทางอยู่แล้ว เช่น ประถมต้น-ปลาย แยกออกจากกัน เป็นโรงเรียนหนึ่งเป็นประถมต้น อีกโรงเรียนเป็นประถมปลาย โรงเรียนก็จะมีเวลาลงรายละเอียดมากขึ้นในการพัฒนา 2.ย้ายครู ทำให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพมารวมกัน จะทำให้การขาดแคลนครูหายไป กระจายตัวออกไปหลายโรงเรียน และ 3.ทำโรงเรียนประจำตำบล ตามนโยบายของปชป.
วันนี้(8พ.ค.<<วันแรกที่ปรากฎข่าว) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเพื่อรับฟังนโยบายเตรียมความพร้อมรับเปิดภาคเรียน 2556 ว่า ตนได้มอบนโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กให้ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา นำไปดำเนินการ โดยถ้าโรงเรียนขนาดเล็กแห่งใดอยู่ในข่ายไม่จำเป็นต้องคงอยู่ก็ให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนั้น โดยโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในข่ายควรยุบรวมจะเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยมาก เป็นโรงเรียนที่ด้อยคุณภาพและมีโรงเรียนใกล้เคียงที่มีคุณภาพรองรับ
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อไปว่า โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง เช่นที่จังหวัดสมุทรสาครบ้านเกิดของตน มีนักเรียนประมาณ 20 คน และเป็นชาวต่างชาติทั้งนั้น ก็ต้องถามว่าอย่างนี้จะเปิดไว้ทำไม คุณภาพก็ไม่ได้ ขณะที่โรงเรียนข้างเคียงที่มีคณภาพก็อยู่ห่างแค่ไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร ถ้ายุบแล้วย้ายเด็กไปเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพมากกว่า จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักเรียนและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในภาพรวม แต่อย่างไรก็ตามในการยุบรวมก็จำเป็นต้องมีการทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อลดการต่อต้านด้วย โดยต้องชี้แจ้งให้ชุมชนเข้าใจว่า รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณจะพัฒนาโรงเรียนทุกแห่งและไม่สามารถนำงบฯจากเงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน ขนาดประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ยังมีการปิดโรงเรียนขนาดเล็ก แม้แต่ในเมืองหลวงกรุงวอชิงตัน ดีซีก็มีการปิดอยู่บ่อยครั้ง ถ้าเห็นว่าโรงเรียนในย่านใดไม่มีประโยชน์จะคงไว้ แม้มีนักเรียน 60 คน หรือโรงเรียนขนาด 300 คนก็ยังถูกปิด
รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน เพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้จัดระบบรับส่งนักเรียนไว้รองรับแล้ว โดยได้เตรียมงบฯจัดซื้อรถตู้ 1,000 คัน แต่ในบางพื้นที่ ตนเห็นว่า อาจให้เอกชนเข้ามาประมูลรับไปบริหารจัดการแทนได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดงบฯของรัฐได้มาก ขณะเดียวกันในกรณีที่เด็กย้ายไปโรงเรียนใหม่ซึ่งอยู่ไม่ไกลมาก อาจจะจัดงบฯซื้อจักรยานให้เด็ก ซึ่งจะเป็นวิธีที่ประหยัดกว่าการจัดรถรับส่ง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่ยังคงอยู่ก็ต้องมีการบริหารจัดการใหม่ ใช้วิธีรวมกลุ่มจัดการเรียนการสอน นำครูและทรัพยากรมาใช้ร่วมกันเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากขึ้น
ส่วนคนที่พูดถึงจำนวน คนนี้ครับ
ด้านดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่ สพฐ.ตั้งเป้ายุบรวมจะเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งก็ต้องไปสำรวจว่ามีจำนวนเท่าใด ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนทั่วประเทศ มีประมาณ 17,000 โรง จากจำนวนโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 3 หมื่นโรง
(เป้าหมายคือ โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้งหมดจะถูกยุบ มีหลักเกณฑ์อีกมากมาย)
ถ้าคุณอ่านข่าวแค่พาดหัว มันก็จะเป็นอย่างนี้และณัฏฐ์
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่วันแรก คุณพงศ์เทพก็พูดไว้ชัดเจนทุกอย่าง
แต่ประชาธิปัตย์ก็อาศัยว่า การยืนให้สัมภาษณ์นั้นไม่ได้ลงรายละเอียด
ประชาธิปัตย์ก็เลยอาศัยช่องโหว่นี้ไปมโนเอาเองว่าจะยุบ โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน ทั้งหมด
ทั้งที่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ หลักเกณฑ์เค้ามีอยู่ พอเค้าออกมาอธิบาย ก็หาว่าไม่มีจุดยืน
ไม่ใช่ว่าท่านรัฐมนตรีวันนึงให้สัมภาษณ์ 1 แล้วอีกวันนึงเปลี่ยนไป 2 นะครับ
ท่านให้สัมภาษณ์ 1 คือกรอบใหญ่ๆ แล้วก็ลงรายละเอียด 1.1 1.2 1.3
พวกสลิ่มเองมิใช่หรือ ที่พอเห็นแค่พาดหัว แล้วก็ตีโพยตีพาย สุดท้ายก็ว่างเปล่าาาาาาา