ข้อความในกระทู้นี้ผมคัดมาจากที่เขียนลงไว้ในFacebookส่วนตัวเมื่อวาน
และ เนื่องจากว่านี่เป็นครั้งแรกที่ตั้งกระทู้เกี่ยวกับหงสาฯ
จึงขอความกรุณา ทุกท่านช่วยชี้แนะหรือแวะพูดคุยกันนะครับ
...........................................
[หงสาจอมราชันย์ 48] (Spoil)
[#1 นกกระจิบผู้ปลดปล่อย]
เป็นที่รู้กันมานานสำหรับหงสาฯเล่มนี้ว่าเตรียมเข้าสู่บทเรียนสามก๊กชั้นม.3
แบบตีความใหม่กับตอนฝ่าทัพรับอาเต๊าในสไตล์เฉินเหมา
.....แต่ก่อนจะถึงตรงนั้น
ช่วงต้นของเล่มนี้โฟกัสไปอยู่ที่ฝ่ายเกงจิ๋วที่โดนการเมืองทั้งภายในและภายนอกรุมกระหน่ำมาโดยตลอดโดยชัวมอเป็นผู้นำฝ่ายยอมรับอำนาจราชสำนักจึงขัดแย้งกับข้าเก่าฝ่ายเล่าเปียวซึ่งต่อต้านโจโฉมาตลอด
แต่หมากการเมืองมีเพียงผู้ที่รวดเร็วกว่าจึงบรรลุ และที่น่่ากลัวที่สุดหมากกระดานนี้ ชัวมอเพียงนั่งบังทางให้แก่ึคนเดินหมากตัวจริงคือ นกกระจิบตาเดียว ซึ่งมิได้มาเพื่อช่วงชิงแต่เพียงนั่งมองอยู่เบื้องหลังเพื่อ ปลดปล่อยเหล่าฝูงอินทรีลงจู่โจมภาคใต้อย่่างเต็มกำลัง
หมากกระดานแรกนี้ แฮหัวตุ้นคุมเกมได้อย่างสง่างาม
แม้จะโผล่หน้ามาน้อยแต่กำลังทัพโจได้มาจากการเข้ายึดเกงจิ๋วของแฮหัวตุ้นทั้งสิ้นรวมถึง
ทัพที่ไปช่วยกาเซี่ยงรบอีกเช่นกัน
[#2 ยอดแม่ทัพแห่งน่านน้ำปะทะปีศาจกลยุทธ]
ศึกนี้ถือเป็นน้ำจิ้มรสเลิศของการแลกกลยุทธในเล่มนี้ทีเดียว
ขณะที่เกงจิ๋วกำลังดำเนินก้าวต่อไป หน้าด่านแดนใต้ศึกเหนือน้ำของศิษย์ร่วมสำนักก็เปิดฉาก ตั้งแต่จิวยี่ปรากฎตัว เฉินเหมาตอกย้ำความเป็นเจ้าแห่งการรบเหนือน้ำของจิวยี่มาตลอด ผ่านศึกตั้งแต่สมัยตั้งตัวกับซุนเซ็กและการคำนวณก่อนตายของกุยแกที่เคยกล่าวกับโจโฉถึงจิวยี่ ไม่เว้นแม้แต่ศึกครั้งนี้ การประกาศก้อง "ไม่มีผู้ใดที่รบทางน้ำแล้วสามารถต่อรองราคากับข้าได้" ยิ่งตอกย้ำฝีมือในด้านนี้อย่างดีที่สุด
พิศดารสามกาเซี่ยงย่อมรู้ฝีมือของศิษย์น้องดี หมากกระดานนี้ถ้าว่ากันตามเนื้อผ้าเขารู้ดีกว่าไม่สามารถเอาชนะจิวยี่ตรงๆได้การทดสอบทัพในคราแรกเพื่อรับมือจิวยี่จึงเป็นการตั้งใจลวงอย่างแท้จริง
แต่ทว่าผู้ที่ทดสอบผู้อื่นในทางตรงข้ามย่อมถูกทดสอบกลัีบเช่นกัน อาจารย์คันฉ่องเคยยกย่องจิวยี่ว่านำทัพเก่งที่สุดในแปดพิศดาร ความหมายของการนำทัพย่อมหมายถึงการรู้จังหวะบุก รู้จังหวะถอยยิ่งชัยภูมิที่เป็นดั่งบ้านของตนเองย่อมไม่สมควรผิดพลาดง่ายๆ
ในบรรดาแปดพิศดารจิวยี่เคยต้องรับมือกับคนที่เร่งรุกที่สุดในแผ่นดินอย่างซุนเซ็กมาแล้ว จังหวะก้าวของเขาจึงมั่นคงเพราะผ่านประสบการณ์เลวร้ายมาแล้ว เส้นทางของเขาจึงไม่จำกัดเพียงการเดินรุดหน้าอย่่างที่ทหารคนอื่นแนะให้รุกไล่กาเซี่ยง แต่มองรอบด้านก่อนจะตัดสินใจเสมอ
ทว่าการศึกพลิกแพลง กลลวงจึงนำชัย แม้เบื้องหน้าจิวยี่สามารถปักธงชัยแต่หนทางกาเซี่ยงยาวไกลไปถึงเซ็กเพ็กแล้วเช่นกัน ความผิดพลาดประการเดียวของกาเซี่ยงคือล่อให้จิวยี่ก้าวเดินสู่หลุมพรางสุดท้ายไม่ได้เท่านั้น
หมากกระัดานที่2จึงต้องพับไว้เพื่อรอสะสางกันต่อไป
ซึ่งคาดเดาว่าคงซี๊ดซ๊าด มากกว่านี้มากนัก
[#3 ต่างคนต่างอุดมการณ์]
เป้าหมายของเล่มนี้ มาอยู่ที่คำของโจโฉนี้เอง โดยเปรียบเปรยผ่านจูล่งผู้มุ่งค้นหาทางสว่างของตัวเองมาตลอดชีวิต ยิ่งเด่นชัดที่สุดในตอนที่คุยกับพี่ใหญ่เล่าต้า
ในกลียุคที่ทุกคนต้องวิ่งหาหนทางเอาตัวรอด ตลอดมาเล่าต้าผ่านความเจ็บปวดนั้นมาก่อน
เขาจึงมองทุกอย่างเป็นเรื่องของผลประโยชน์และเงินทองและพร่ำสอนจูล่งและผู้อื่นให้เดินตามวิถีแห่งตนมาตลอด
จูล่งอาจมีส่วนคล้ายเขาในความเป็นมือสังหารแต่มนุษย์ต้องมีการพัฒนาถึงจะัมีคุณค่า
เส้นทางแห่งเงินทองและผลประโยชน์ของเล่าต้าจึงไม่อาจโยกคลอนเขาได้ทั้งสิ้น แต่ที่สำคัญที่สุดกลับเป็นอิสระเสรีที่แม้เล่าต้าจะบอกถึงแต่เขาต้องการไปถึงมันด้วยวิถีของตัวเองมากกว่า
จูล่งและเล่าต้าคือคนประเภทเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย แต่แตกต่างออกไปเมื่อจูล่งได้ซึมซับคุณธรรมของผู้คนมากกว่าเล่าต้าในช่วงที่ติดตามเล่าปี่ ไม่ใช่เพียงแสงสว่างที่เขาตามหาเพียงลำพังคนเดียวแต่ยิ่งตอกย้ำความเชื่อในคุณธรรมของเขาผ่านของชาวบ้านที่มีต่อเล่าปี่ (จะไม่ขอกล่าวถึงคำว่าคุณธรรมจอมปลอม) ข้อเสนอของเล่าต้าในแผนลอบสังหารเล่าปี่กับจูกัดเหลียงเพื่อยกฐานะให้สุมาอี้และตัวเองจึงไม่ประสบผล
สังคมในยุคสมัยไหนๆก็ต่างโหยหายูโทเปีย และผู้นำผู้เปี่ยมด้วยความเมตตามาตลอด ภาพของโจโฉผู้เหี้ยมโหดกับผู้ติดตามเล่าปี่ย่อมแตกต่างกันแม้กระทำเพื่อบ้านเมืองเหมือนกันก็ตาม และยูโทเปียของจูล่งก็สะท้อนออกมาผ่านการเลือกติดตามเล่าปี่
.............และในเส้นทางท้ายที่สุดเขาเลือกที่จะโอบอุ้มสายเลือดของเล่าปี่ไว้ยกย่องเป็น
กงจื้อหนึ่งเดียวในใจต่อหน้าอีกหนึ่ง "กงจื้อ" ผู้เคยร่วมทางกันมาและต่อหน้าทัพโจทั้งหมด ยอม"หมดสิ้นน้ำใจ"ต่อกันเพื่อไปสู่แสงสว่างตามที่ใจตน เรียกร้องมาตลอด
ด้วยบทสรุปดั่งคำของโจโฉในข้างต้น
(Spoil) [หงสาจอมราชันย์ 48] ต่างคนต่างอุดมการณ์
และ เนื่องจากว่านี่เป็นครั้งแรกที่ตั้งกระทู้เกี่ยวกับหงสาฯ
จึงขอความกรุณา ทุกท่านช่วยชี้แนะหรือแวะพูดคุยกันนะครับ
...........................................
[หงสาจอมราชันย์ 48] (Spoil)
[#1 นกกระจิบผู้ปลดปล่อย]
เป็นที่รู้กันมานานสำหรับหงสาฯเล่มนี้ว่าเตรียมเข้าสู่บทเรียนสามก๊กชั้นม.3
แบบตีความใหม่กับตอนฝ่าทัพรับอาเต๊าในสไตล์เฉินเหมา
.....แต่ก่อนจะถึงตรงนั้น
ช่วงต้นของเล่มนี้โฟกัสไปอยู่ที่ฝ่ายเกงจิ๋วที่โดนการเมืองทั้งภายในและภายนอกรุมกระหน่ำมาโดยตลอดโดยชัวมอเป็นผู้นำฝ่ายยอมรับอำนาจราชสำนักจึงขัดแย้งกับข้าเก่าฝ่ายเล่าเปียวซึ่งต่อต้านโจโฉมาตลอด
แต่หมากการเมืองมีเพียงผู้ที่รวดเร็วกว่าจึงบรรลุ และที่น่่ากลัวที่สุดหมากกระดานนี้ ชัวมอเพียงนั่งบังทางให้แก่ึคนเดินหมากตัวจริงคือ นกกระจิบตาเดียว ซึ่งมิได้มาเพื่อช่วงชิงแต่เพียงนั่งมองอยู่เบื้องหลังเพื่อ ปลดปล่อยเหล่าฝูงอินทรีลงจู่โจมภาคใต้อย่่างเต็มกำลัง
หมากกระดานแรกนี้ แฮหัวตุ้นคุมเกมได้อย่างสง่างาม
แม้จะโผล่หน้ามาน้อยแต่กำลังทัพโจได้มาจากการเข้ายึดเกงจิ๋วของแฮหัวตุ้นทั้งสิ้นรวมถึง
ทัพที่ไปช่วยกาเซี่ยงรบอีกเช่นกัน
[#2 ยอดแม่ทัพแห่งน่านน้ำปะทะปีศาจกลยุทธ]
ศึกนี้ถือเป็นน้ำจิ้มรสเลิศของการแลกกลยุทธในเล่มนี้ทีเดียว
ขณะที่เกงจิ๋วกำลังดำเนินก้าวต่อไป หน้าด่านแดนใต้ศึกเหนือน้ำของศิษย์ร่วมสำนักก็เปิดฉาก ตั้งแต่จิวยี่ปรากฎตัว เฉินเหมาตอกย้ำความเป็นเจ้าแห่งการรบเหนือน้ำของจิวยี่มาตลอด ผ่านศึกตั้งแต่สมัยตั้งตัวกับซุนเซ็กและการคำนวณก่อนตายของกุยแกที่เคยกล่าวกับโจโฉถึงจิวยี่ ไม่เว้นแม้แต่ศึกครั้งนี้ การประกาศก้อง "ไม่มีผู้ใดที่รบทางน้ำแล้วสามารถต่อรองราคากับข้าได้" ยิ่งตอกย้ำฝีมือในด้านนี้อย่างดีที่สุด
พิศดารสามกาเซี่ยงย่อมรู้ฝีมือของศิษย์น้องดี หมากกระดานนี้ถ้าว่ากันตามเนื้อผ้าเขารู้ดีกว่าไม่สามารถเอาชนะจิวยี่ตรงๆได้การทดสอบทัพในคราแรกเพื่อรับมือจิวยี่จึงเป็นการตั้งใจลวงอย่างแท้จริง
แต่ทว่าผู้ที่ทดสอบผู้อื่นในทางตรงข้ามย่อมถูกทดสอบกลัีบเช่นกัน อาจารย์คันฉ่องเคยยกย่องจิวยี่ว่านำทัพเก่งที่สุดในแปดพิศดาร ความหมายของการนำทัพย่อมหมายถึงการรู้จังหวะบุก รู้จังหวะถอยยิ่งชัยภูมิที่เป็นดั่งบ้านของตนเองย่อมไม่สมควรผิดพลาดง่ายๆ
ในบรรดาแปดพิศดารจิวยี่เคยต้องรับมือกับคนที่เร่งรุกที่สุดในแผ่นดินอย่างซุนเซ็กมาแล้ว จังหวะก้าวของเขาจึงมั่นคงเพราะผ่านประสบการณ์เลวร้ายมาแล้ว เส้นทางของเขาจึงไม่จำกัดเพียงการเดินรุดหน้าอย่่างที่ทหารคนอื่นแนะให้รุกไล่กาเซี่ยง แต่มองรอบด้านก่อนจะตัดสินใจเสมอ
ทว่าการศึกพลิกแพลง กลลวงจึงนำชัย แม้เบื้องหน้าจิวยี่สามารถปักธงชัยแต่หนทางกาเซี่ยงยาวไกลไปถึงเซ็กเพ็กแล้วเช่นกัน ความผิดพลาดประการเดียวของกาเซี่ยงคือล่อให้จิวยี่ก้าวเดินสู่หลุมพรางสุดท้ายไม่ได้เท่านั้น
หมากกระัดานที่2จึงต้องพับไว้เพื่อรอสะสางกันต่อไป
ซึ่งคาดเดาว่าคงซี๊ดซ๊าด มากกว่านี้มากนัก
[#3 ต่างคนต่างอุดมการณ์]
เป้าหมายของเล่มนี้ มาอยู่ที่คำของโจโฉนี้เอง โดยเปรียบเปรยผ่านจูล่งผู้มุ่งค้นหาทางสว่างของตัวเองมาตลอดชีวิต ยิ่งเด่นชัดที่สุดในตอนที่คุยกับพี่ใหญ่เล่าต้า
ในกลียุคที่ทุกคนต้องวิ่งหาหนทางเอาตัวรอด ตลอดมาเล่าต้าผ่านความเจ็บปวดนั้นมาก่อน
เขาจึงมองทุกอย่างเป็นเรื่องของผลประโยชน์และเงินทองและพร่ำสอนจูล่งและผู้อื่นให้เดินตามวิถีแห่งตนมาตลอด
จูล่งอาจมีส่วนคล้ายเขาในความเป็นมือสังหารแต่มนุษย์ต้องมีการพัฒนาถึงจะัมีคุณค่า
เส้นทางแห่งเงินทองและผลประโยชน์ของเล่าต้าจึงไม่อาจโยกคลอนเขาได้ทั้งสิ้น แต่ที่สำคัญที่สุดกลับเป็นอิสระเสรีที่แม้เล่าต้าจะบอกถึงแต่เขาต้องการไปถึงมันด้วยวิถีของตัวเองมากกว่า
จูล่งและเล่าต้าคือคนประเภทเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย แต่แตกต่างออกไปเมื่อจูล่งได้ซึมซับคุณธรรมของผู้คนมากกว่าเล่าต้าในช่วงที่ติดตามเล่าปี่ ไม่ใช่เพียงแสงสว่างที่เขาตามหาเพียงลำพังคนเดียวแต่ยิ่งตอกย้ำความเชื่อในคุณธรรมของเขาผ่านของชาวบ้านที่มีต่อเล่าปี่ (จะไม่ขอกล่าวถึงคำว่าคุณธรรมจอมปลอม) ข้อเสนอของเล่าต้าในแผนลอบสังหารเล่าปี่กับจูกัดเหลียงเพื่อยกฐานะให้สุมาอี้และตัวเองจึงไม่ประสบผล
สังคมในยุคสมัยไหนๆก็ต่างโหยหายูโทเปีย และผู้นำผู้เปี่ยมด้วยความเมตตามาตลอด ภาพของโจโฉผู้เหี้ยมโหดกับผู้ติดตามเล่าปี่ย่อมแตกต่างกันแม้กระทำเพื่อบ้านเมืองเหมือนกันก็ตาม และยูโทเปียของจูล่งก็สะท้อนออกมาผ่านการเลือกติดตามเล่าปี่
.............และในเส้นทางท้ายที่สุดเขาเลือกที่จะโอบอุ้มสายเลือดของเล่าปี่ไว้ยกย่องเป็น
กงจื้อหนึ่งเดียวในใจต่อหน้าอีกหนึ่ง "กงจื้อ" ผู้เคยร่วมทางกันมาและต่อหน้าทัพโจทั้งหมด ยอม"หมดสิ้นน้ำใจ"ต่อกันเพื่อไปสู่แสงสว่างตามที่ใจตน เรียกร้องมาตลอด
ด้วยบทสรุปดั่งคำของโจโฉในข้างต้น