เคยลงไว้ในเพจ ขอเอามาลงไว้ที่นี่ด้วยละกันครับ กับสถิติภาพรวมการทำศึกของจูล่งในฐานะขุนพลนำทัพเมื่อมาอยู่กับเล่าปี่ และมีบันทึกไว้ให้อ้างอิงได้
ทั้งนี้ข้อที่ต้องคำนึงคือ จะว่าด้วยในวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ดี ซึ่งถ้าคำนวณแล้วอาจถือได้ว่ามีผลงานระดับต้นๆใน TOP 5 ของยุคสามก๊ก และใกล้เคียงกับคำว่ายอดขุนพลไร้พ่ายที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นเลยครับ
ทั้งนี้ ก่อนอื่นต้องกล่าวว่า ผลงานในด้านการคุมทัพออกศึกของจูล่งทั้งจากในประวัติศาสตร์และในวรรณกรรม แทบจะไม่ต่างกันมากนัก มีจุดที่ต่างกันบ้างก็แค่บางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ในด้านจำนวนครั้งและกำลังพลด้วยก็ไม่ต่างกันมากนัก เพราะฉะนั้นกรณีของจูล่งนี่เราสามารถยกวรรณกรรมมาอ้างอิงได้ในระดับหนึ่งเลย ซึ่งก็คล้ายกับพวกของ แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน เตียวเลี้ยว ซิหลง ม้าเฉียว ฮองตง จิวยี่ ลิบอง กำเหลง อิกิ๋ม อุยเอี๋ยน เกียงอุย เตงงาย และอีกเพียบ
มาดูกันว่า จูล่งมาอยู่ใต้สังกัดเล่าปี่ในปี ค.ศ.199-200 รายละเอียดการเข้ามานั้นต่างกันเยอะ แต่ก็ไม่มีผลอะไร เพราะบทสรุปเหมือนกันจากตอนนี้คือ เล่าปี่หาข้ออ้างไปช่วยเล่าเพ็กทำศึกลอบตีฮูโต๋ และนี่คือศึกแรกที่จูล่งได้คุมทัพในสังกัดเล่าปี่
1.เป็นทัพหน้าบุกปะทะเคาทู อันนี้คือออกศึกในฐานะขุนพลกองหน้า ก็ไม่ได้คุมทัพใหญ่อะไร เพราะเล่าปี่มีทหารมาทั้งหมดราว10,000กว่าคน พอเล่าเพ็กตาย ก็รวบเอาเข้ามาอีกรวมกันแล้วราว20,000คน ศึกนี้จบที่การถอยทัพของเล่าปี่เพราะโจหยินรับศึกเต็มที่และทหารมากกว่า เล่าปี่สั่งถอยทัพ แต่ศึกส่วนตัวคือตีโต้เคาทูให้ต้องถอยได้
2.ศึกปะทะโจหยิน จูล่งยังคงเป็นกองหน้าคุมทหารม้าเข้าตีค่ายกลแปดประตูทองที่ชีซีคิดหาทางแก้ได้ ชนะอย่างสวยงามโดยแผนของชีซีและจูล่งเป็นตัวหลักในการบุก
ศึกนี้ทหารเล่าปี่ไม่แน่ชัด แต่เผลอๆจะไม่ถึงหมื่น เพราะงั้นจูล่งอย่าเรียกส่าคุมทัพเลย เป็นนายกองคุมทหารม้ามากกว่า (แต่กวนอูและเตียวหุยก็ไม่ได้ดีกว่ากัน ตำแหน่งกวนอูได้มาจากโจโฉ เอามาทำอะไรไม่ได้) แต่ละคนคุมทหารม้าและเกาทัณฑ์ราง5,000คน
3.เผาทุ่งพกป๋อง จูล่งรับบทบาทกองหน้าตัวล่อแฮหัวตุ้นเข้ามา ศึกนี้คือจุดเริ่ม "ขุนพลจับฉ่าย" ของจูล่ง ที่ต้องรับแผนพิเศษจากขงเบ้งไปทำภารกิจบ่อยๆ จำนวนทหารก็เท่าๆเดิม กวนอูและเตียวหุยก็เช่นกัน
4.ศึกเผาซินเอี๋ย เป็นศึกที่น่าจะไม่มีอยู่จริง แต่ก็เท่านั้น เพราะทุกคนคุมทัพเท่าเดิม
5.เนินเตียงปัน วีรกรรมจูล่ง แต่นับได้ในแง่ภารกิจพิเศษเท่านั้น ทุกคนต้องหนีตายกัน มีพิเศษตรงกวนอูที่ไปเอาทหารมากกว่า10,000คนจากเล่ากี๋มาช่วย
6.ผาแดง ต่อเนื่องถึงศึกหนานจวิ้น ขงเบ้งวางแผนตลบหลังจิวยี่ งวดนี้จูล่งรับภารกิจคุมทหารเข้ายึดเมืองกังเหลง กำลังทหารไม่แน่ชัด เชื่อว่าไม่ถึงหมื่น แต่น่าคิดตรงจิวยี่ไม่กล้าตีเมืองคืน แม้จะบอกว่าเพราะเจ็บอยู่ แต่จิวยี่กลับยอมลำบากจะไปเอาหัวเมืองอื่นแทน หมายความว่าทัพจูล่งป้องกันเมืองแลดูเข้มแข็ง และทหาร จิวยี่จึงไม่กล้าประมาท และอาจต้องให้เครดิตขงเบ้งด้วย
7.เมืองฮุยเอี๋ยง จูล่งคุมทหารราวหมื่นคน ยึดเมืองสบายๆ นับว่าเป็นทัพกลางๆ ไม่ได้ใหญ่ แต่ในแง่อำนาจทหาร ถือว่าคือขุนพลหลักที่คุมทหารเข้าตีเมือง แค่จำนวนอาจจะน้อยไปหน่อย
8.นำทัพจากเกงจิ๋วบุกเสฉวนแยกเป็นสามสายกับเตียวหุยและขงเบ้งที่ตามหลังมา ต่างก็คุมกำลังทัพใหญ่ทั้งสามสายเกินหมื่นคน
9.ศึกเตงกุนสัน แบ่งเป็นสองช่วง คือรับตำแหน่งรองแม่ทัพ คอยช่วยฮองตงบุกตีเมือง
10.เตงกุนสันรอบสอง ต้องช่วยกู้วิกฤตฮองตงจากทัพใหญ่โจโฉมาเอง ทัพใหญ่หลักแสนกว่า
จูล่งรับคุมทัพหลักหมื่นต้นๆไปกู้เอาฮองตงกลับมาจากทัพหน้าของโจโฉ แล้วใช้แผนเปิดค่ายหลอกโจโฉที่ตามมาแล้วค่อยตีตลบหลังยับ จนโจโฉต้องถอยร่นไปหลังแม่น้ำ เสียชัยภูมิหลัก ที่มาของประโยคที่โจโฉเตือนทหารตนเองว่าเจอจูล่งคราใดให้ระวังตัวให้ดี ศึกนี้จูล่งได้ความดีความชอบสูงสุด เล่าปี่เอ่ยปากชมมากหลัวตรวจค่าย แล้วเล่าปี่ก็เข้ามาคุมทัพทั้งหมดต่อ
จากนั้นรบกันประปราย ค่อยถอยกันไป เท่ากับเล่าปี่ชนะโจโฉที่ยกทัพใหญ่มาเองได้ด้วยตัวเองครั้งแรก เครดิตจูล่งและฮองตงได้มากที่สุด ส่วนกุนซือ หวดเจ้งได้เครดิตสูงสุด
11.ศึกอิเหลง รับภารกิจพิเศษ และมีหน่วยพิราบขาวของตันเตาเป็นหน่วยในสังกัด ไปกู้เอาเล่าปี่กลับมา ไม่ได้ถือว่าทำศึก
12.บุกปราบเผ่าหมาน มีตีกันจริงนะครับ และเป็นศึกยากจริงๆของขงเบ้งในแง่ต้องเหนื่อยหลายรอบ อันนี้ขอไม่นับ จูล่งก็ตามไปด้วย
13.ปราบฮันเต๊ก คุมทัพใหญ่และเป็นทัพหน้ามาเอง
14.พลาดท่าโดนเทียบูล้อมจนเกือบจับได้ อันนี้คือศึกที่ยังเถียงกันอยู่ว่าจริงไหม เพราะจูล่งรอดมาได้เมื่อกวนหินและเตียวเปาเข้ามาช่วยหนุนแก้ จูล่งจึงค่อยบุกตีคืนจนแฮหัวหลิมและเทียบูต้องหนีตาย เหตุที่เชื่อกันว่าไม่มีเพราะจริงๆเตียวเปาตายไปนายแล้ว
เข้าใจว่า หลอก้วนจงอยากหาเวทีให้กวนหินและเตียวเปาเพิ่ม กลับอยากใส่บทจูล่งตอนแก่ที่มีผืดพลาดเพราะหัวรั้นบ้าง
15.ศึกเทียนสุย ถ้าจะว่าไปแล้ว นี่แหละคือศึกที่จูล่งแพ้เต็มๆเพราะหลงต่อกลศึกของเกียงอุย ผลคือจำต้องถอยทัพกลับมา ถือเป็นการถอยทัพในฐานะกองหน้าของจูล่งที่ไม่ได้มาจากความผิดพลาดของทัพอื่นๆ แต่มาจากเจ้าตัวจำต้องถอยเองเลย
16.ถอยทัพที่กิสาน ได้ทหารหลักหมื่นเป็นทัพพิเศษที่ออกไปเบี้ยงเบนโจจิ๋น แต่ขงเบ้งคงไม่คิดว่าทหารโจจิ๋นเยอะกว่ามากเป็นเท่าตัว เลยทำได้แค่เข้าปะทะไป ไม่สามารถบุกตีได้ แต่ก็น่าจะยังตามแผนขงเบ้งอยู่
เพราะโดยแผนใหญ่ตอนนั้นจริงๆคือจะรอเบ้งตัดก่อกบฏจากอ้วนเสีย แต่สุมาอี้ดันมาแก้ลำบุกตีเบ้งตัดก่อน แผนพังหมด
ตอนนี้จูล่งคุมทัพใหญ่จริง แต่ศึกยังยืดเยื้อ ออกไปทางเสียเปรียบด้วยเพราะทหารนอนกว่าเยอะ เลยต้องเน้นตรึงกำลัง สุดท้ายพอขงเบ้งถอยทัพใหญ่ ขาดการติดต่อกับทัพจูล่งและเตงจึ๋ เจ้าตัวเลยต้องถอยทัพไปหลอกล่อข้าศึกไป เป็นการถอยทัพขั้นพิเศษ ที่ทำให้ทัพจูล่งเป็นทัพเดียวที่ไม่เสียหายอะไรเลยจนขงเบ้งต้องยกย่องทั้งๆที่ทัพใหญ่จ๊กก๊กแพ้ยับมา
ทีนี้ถ้าลองสรุปสถิติการออกศึกของจูล่งในฐานะผู้นำทัพดูบ้าง เราอาจจะเห็นข้อแตกต่างกันโดยเฉพาะในช่วงที่จูล่งมาอยู่ในสังกัดเล่าปี่ กับตอนอยู่ใต้บัญชาของขงเบ้ง
ในชีวิตเล่าปี่ นับตั้งแต่มีจูล่งมาอยู่ใต้สังกัด ตัวเล่าปี่แกได้ออกศึกใหญ่ที่ตนเองมีกำลังทหารรวมหลักหลายหมื่นถึงหลักแสนคนจนสามารถแต่งตั้งแม่ทัพหรือขุนพลใหญ่ที่จะคุมกำลังเกินหลักหมื่นได้ ไม่ใช่แค่ส่งขุนพลไปเป็นนายกองคุมหลักพัน
จะมีทั้งหมด = 5ครั้ง
สั่งการบุกเกงจิ๋วตอนใต้
บุกเสฉวน
ศึกเตงกุนสันยก 1 และ 2
อิเหลง
ซึ่งใน5ครั้งนี้ จูล่งได้รับความไว้ใจให้คุมทัพใหญ่ หลักเกินหมื่นคน = 5ครั้ง ชนะ 5 ครั้ง
ส่วนการศึกที่เล่าปี่มีทหารรวมๆราว 20,000-30,000 คน เลยทำให้ขุนพลอย่างกวนอู เตียวหุย จูล่ง คุมทหารกองหน้าเป็นตัวหลัก แต่ทหารไม่น่าจะถึงหลักหมื่นคือ
ตลบหลังตีฮูโต๋
ตีค่ายกลประตูทอง
พกป๋อง
ยึดกังเหลง (คาดว่าจะไม่ถึงหมื่น แต่ไม่แน่)
=4 ครั้ง ชนะ 3 เสมอ1
ต่อมาเมื่อขงเบ้งขึ้นเป็นเฉิงเซี่ยง ควบตำแหน่งสมุหกลาโหมไปด้วย จูล่งจึงเป็นขุนพลในบัญชาของขงเบ้งไป
ถ้าไม่นับศึกหมานที่รายละเอียดไม่ชัดเจน
ขงเบ้งออกศึกตั้งแต่ปี ค.ศ. 226-228 คือปีที่จูล่งตาย ศึกสำคัญทางเหนือ แบ่งย่อยได้2-3สมรภูมิ จะพบว่าจูล่งได้ออกรบใหญ่ใต้สังกัดขงเบ้ง 3ครั้งในช่วงนี้คือ
ปราบฮันเต๊ก
หลงกลเกียงอุย
สุดท้ายคือรบโจจิ๋น อันนี้ยืดเยื้อยังไม่ทันรู้ผล แต่ค่อนข้างเสียเปรียบเพราะทหารน้อยกว่ามาก และสุดท้ายต้องถอยกลับก่อนเพราะม้าเจ๊กพลาดที่เกเต๋ง
ยุคขงเบ้ง = 3 ครั้ง ชนะ1 แพ้1 เสมอ1
รวมแล้ว คุมทัพใหญ่หลักหมื่นอัพ แบบเน้นๆตัดยิบย่อยออก 10ครั้ง
ชนะ8 แพ้1 เสมอ1
Total 100/8.5=85%
ส่วนเป็นกองทัพหน้ามนการโจมตี แต่ทหารไม่น่าจะถึงหลักหมื่นคือ 4 ครั้ง ชนะ4 = 100/4 =25 ต่ออัตราส่วน
Total =100%
Grand Total 200/185 =9.75 *100 = 90.75%
ถ้ามองแบบนี้ ก็ถือว่าเป็นขุนพลที่มีสถิติการรบในยุคสามก๊กและในประวัติศาสตร์จีนที่ยอดเยี่ยมมาก แม้อาจจะไม่ถึงขั้นไร้พ่าย แต่ก็ถือว่าเกือบเลย
ก็ถือว่าเป็นการรวบรวมเอาสถิติมาคุยกันสนุกๆนะครับ
จูล่ง เกือบเข้าขั้นไร้พ่าย สถิติภาพรวมการออกศึกในฐานะขุนพลนำทัพหลังจากมาอยู่กับเล่าปี่
ทั้งนี้ข้อที่ต้องคำนึงคือ จะว่าด้วยในวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ดี ซึ่งถ้าคำนวณแล้วอาจถือได้ว่ามีผลงานระดับต้นๆใน TOP 5 ของยุคสามก๊ก และใกล้เคียงกับคำว่ายอดขุนพลไร้พ่ายที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นเลยครับ
ทั้งนี้ ก่อนอื่นต้องกล่าวว่า ผลงานในด้านการคุมทัพออกศึกของจูล่งทั้งจากในประวัติศาสตร์และในวรรณกรรม แทบจะไม่ต่างกันมากนัก มีจุดที่ต่างกันบ้างก็แค่บางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ในด้านจำนวนครั้งและกำลังพลด้วยก็ไม่ต่างกันมากนัก เพราะฉะนั้นกรณีของจูล่งนี่เราสามารถยกวรรณกรรมมาอ้างอิงได้ในระดับหนึ่งเลย ซึ่งก็คล้ายกับพวกของ แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน เตียวเลี้ยว ซิหลง ม้าเฉียว ฮองตง จิวยี่ ลิบอง กำเหลง อิกิ๋ม อุยเอี๋ยน เกียงอุย เตงงาย และอีกเพียบ
มาดูกันว่า จูล่งมาอยู่ใต้สังกัดเล่าปี่ในปี ค.ศ.199-200 รายละเอียดการเข้ามานั้นต่างกันเยอะ แต่ก็ไม่มีผลอะไร เพราะบทสรุปเหมือนกันจากตอนนี้คือ เล่าปี่หาข้ออ้างไปช่วยเล่าเพ็กทำศึกลอบตีฮูโต๋ และนี่คือศึกแรกที่จูล่งได้คุมทัพในสังกัดเล่าปี่
1.เป็นทัพหน้าบุกปะทะเคาทู อันนี้คือออกศึกในฐานะขุนพลกองหน้า ก็ไม่ได้คุมทัพใหญ่อะไร เพราะเล่าปี่มีทหารมาทั้งหมดราว10,000กว่าคน พอเล่าเพ็กตาย ก็รวบเอาเข้ามาอีกรวมกันแล้วราว20,000คน ศึกนี้จบที่การถอยทัพของเล่าปี่เพราะโจหยินรับศึกเต็มที่และทหารมากกว่า เล่าปี่สั่งถอยทัพ แต่ศึกส่วนตัวคือตีโต้เคาทูให้ต้องถอยได้
2.ศึกปะทะโจหยิน จูล่งยังคงเป็นกองหน้าคุมทหารม้าเข้าตีค่ายกลแปดประตูทองที่ชีซีคิดหาทางแก้ได้ ชนะอย่างสวยงามโดยแผนของชีซีและจูล่งเป็นตัวหลักในการบุก
ศึกนี้ทหารเล่าปี่ไม่แน่ชัด แต่เผลอๆจะไม่ถึงหมื่น เพราะงั้นจูล่งอย่าเรียกส่าคุมทัพเลย เป็นนายกองคุมทหารม้ามากกว่า (แต่กวนอูและเตียวหุยก็ไม่ได้ดีกว่ากัน ตำแหน่งกวนอูได้มาจากโจโฉ เอามาทำอะไรไม่ได้) แต่ละคนคุมทหารม้าและเกาทัณฑ์ราง5,000คน
3.เผาทุ่งพกป๋อง จูล่งรับบทบาทกองหน้าตัวล่อแฮหัวตุ้นเข้ามา ศึกนี้คือจุดเริ่ม "ขุนพลจับฉ่าย" ของจูล่ง ที่ต้องรับแผนพิเศษจากขงเบ้งไปทำภารกิจบ่อยๆ จำนวนทหารก็เท่าๆเดิม กวนอูและเตียวหุยก็เช่นกัน
4.ศึกเผาซินเอี๋ย เป็นศึกที่น่าจะไม่มีอยู่จริง แต่ก็เท่านั้น เพราะทุกคนคุมทัพเท่าเดิม
5.เนินเตียงปัน วีรกรรมจูล่ง แต่นับได้ในแง่ภารกิจพิเศษเท่านั้น ทุกคนต้องหนีตายกัน มีพิเศษตรงกวนอูที่ไปเอาทหารมากกว่า10,000คนจากเล่ากี๋มาช่วย
6.ผาแดง ต่อเนื่องถึงศึกหนานจวิ้น ขงเบ้งวางแผนตลบหลังจิวยี่ งวดนี้จูล่งรับภารกิจคุมทหารเข้ายึดเมืองกังเหลง กำลังทหารไม่แน่ชัด เชื่อว่าไม่ถึงหมื่น แต่น่าคิดตรงจิวยี่ไม่กล้าตีเมืองคืน แม้จะบอกว่าเพราะเจ็บอยู่ แต่จิวยี่กลับยอมลำบากจะไปเอาหัวเมืองอื่นแทน หมายความว่าทัพจูล่งป้องกันเมืองแลดูเข้มแข็ง และทหาร จิวยี่จึงไม่กล้าประมาท และอาจต้องให้เครดิตขงเบ้งด้วย
7.เมืองฮุยเอี๋ยง จูล่งคุมทหารราวหมื่นคน ยึดเมืองสบายๆ นับว่าเป็นทัพกลางๆ ไม่ได้ใหญ่ แต่ในแง่อำนาจทหาร ถือว่าคือขุนพลหลักที่คุมทหารเข้าตีเมือง แค่จำนวนอาจจะน้อยไปหน่อย
8.นำทัพจากเกงจิ๋วบุกเสฉวนแยกเป็นสามสายกับเตียวหุยและขงเบ้งที่ตามหลังมา ต่างก็คุมกำลังทัพใหญ่ทั้งสามสายเกินหมื่นคน
9.ศึกเตงกุนสัน แบ่งเป็นสองช่วง คือรับตำแหน่งรองแม่ทัพ คอยช่วยฮองตงบุกตีเมือง
10.เตงกุนสันรอบสอง ต้องช่วยกู้วิกฤตฮองตงจากทัพใหญ่โจโฉมาเอง ทัพใหญ่หลักแสนกว่า
จูล่งรับคุมทัพหลักหมื่นต้นๆไปกู้เอาฮองตงกลับมาจากทัพหน้าของโจโฉ แล้วใช้แผนเปิดค่ายหลอกโจโฉที่ตามมาแล้วค่อยตีตลบหลังยับ จนโจโฉต้องถอยร่นไปหลังแม่น้ำ เสียชัยภูมิหลัก ที่มาของประโยคที่โจโฉเตือนทหารตนเองว่าเจอจูล่งคราใดให้ระวังตัวให้ดี ศึกนี้จูล่งได้ความดีความชอบสูงสุด เล่าปี่เอ่ยปากชมมากหลัวตรวจค่าย แล้วเล่าปี่ก็เข้ามาคุมทัพทั้งหมดต่อ
จากนั้นรบกันประปราย ค่อยถอยกันไป เท่ากับเล่าปี่ชนะโจโฉที่ยกทัพใหญ่มาเองได้ด้วยตัวเองครั้งแรก เครดิตจูล่งและฮองตงได้มากที่สุด ส่วนกุนซือ หวดเจ้งได้เครดิตสูงสุด
11.ศึกอิเหลง รับภารกิจพิเศษ และมีหน่วยพิราบขาวของตันเตาเป็นหน่วยในสังกัด ไปกู้เอาเล่าปี่กลับมา ไม่ได้ถือว่าทำศึก
12.บุกปราบเผ่าหมาน มีตีกันจริงนะครับ และเป็นศึกยากจริงๆของขงเบ้งในแง่ต้องเหนื่อยหลายรอบ อันนี้ขอไม่นับ จูล่งก็ตามไปด้วย
13.ปราบฮันเต๊ก คุมทัพใหญ่และเป็นทัพหน้ามาเอง
14.พลาดท่าโดนเทียบูล้อมจนเกือบจับได้ อันนี้คือศึกที่ยังเถียงกันอยู่ว่าจริงไหม เพราะจูล่งรอดมาได้เมื่อกวนหินและเตียวเปาเข้ามาช่วยหนุนแก้ จูล่งจึงค่อยบุกตีคืนจนแฮหัวหลิมและเทียบูต้องหนีตาย เหตุที่เชื่อกันว่าไม่มีเพราะจริงๆเตียวเปาตายไปนายแล้ว
เข้าใจว่า หลอก้วนจงอยากหาเวทีให้กวนหินและเตียวเปาเพิ่ม กลับอยากใส่บทจูล่งตอนแก่ที่มีผืดพลาดเพราะหัวรั้นบ้าง
15.ศึกเทียนสุย ถ้าจะว่าไปแล้ว นี่แหละคือศึกที่จูล่งแพ้เต็มๆเพราะหลงต่อกลศึกของเกียงอุย ผลคือจำต้องถอยทัพกลับมา ถือเป็นการถอยทัพในฐานะกองหน้าของจูล่งที่ไม่ได้มาจากความผิดพลาดของทัพอื่นๆ แต่มาจากเจ้าตัวจำต้องถอยเองเลย
16.ถอยทัพที่กิสาน ได้ทหารหลักหมื่นเป็นทัพพิเศษที่ออกไปเบี้ยงเบนโจจิ๋น แต่ขงเบ้งคงไม่คิดว่าทหารโจจิ๋นเยอะกว่ามากเป็นเท่าตัว เลยทำได้แค่เข้าปะทะไป ไม่สามารถบุกตีได้ แต่ก็น่าจะยังตามแผนขงเบ้งอยู่
เพราะโดยแผนใหญ่ตอนนั้นจริงๆคือจะรอเบ้งตัดก่อกบฏจากอ้วนเสีย แต่สุมาอี้ดันมาแก้ลำบุกตีเบ้งตัดก่อน แผนพังหมด
ตอนนี้จูล่งคุมทัพใหญ่จริง แต่ศึกยังยืดเยื้อ ออกไปทางเสียเปรียบด้วยเพราะทหารนอนกว่าเยอะ เลยต้องเน้นตรึงกำลัง สุดท้ายพอขงเบ้งถอยทัพใหญ่ ขาดการติดต่อกับทัพจูล่งและเตงจึ๋ เจ้าตัวเลยต้องถอยทัพไปหลอกล่อข้าศึกไป เป็นการถอยทัพขั้นพิเศษ ที่ทำให้ทัพจูล่งเป็นทัพเดียวที่ไม่เสียหายอะไรเลยจนขงเบ้งต้องยกย่องทั้งๆที่ทัพใหญ่จ๊กก๊กแพ้ยับมา
ทีนี้ถ้าลองสรุปสถิติการออกศึกของจูล่งในฐานะผู้นำทัพดูบ้าง เราอาจจะเห็นข้อแตกต่างกันโดยเฉพาะในช่วงที่จูล่งมาอยู่ในสังกัดเล่าปี่ กับตอนอยู่ใต้บัญชาของขงเบ้ง
ในชีวิตเล่าปี่ นับตั้งแต่มีจูล่งมาอยู่ใต้สังกัด ตัวเล่าปี่แกได้ออกศึกใหญ่ที่ตนเองมีกำลังทหารรวมหลักหลายหมื่นถึงหลักแสนคนจนสามารถแต่งตั้งแม่ทัพหรือขุนพลใหญ่ที่จะคุมกำลังเกินหลักหมื่นได้ ไม่ใช่แค่ส่งขุนพลไปเป็นนายกองคุมหลักพัน
จะมีทั้งหมด = 5ครั้ง
สั่งการบุกเกงจิ๋วตอนใต้
บุกเสฉวน
ศึกเตงกุนสันยก 1 และ 2
อิเหลง
ซึ่งใน5ครั้งนี้ จูล่งได้รับความไว้ใจให้คุมทัพใหญ่ หลักเกินหมื่นคน = 5ครั้ง ชนะ 5 ครั้ง
ส่วนการศึกที่เล่าปี่มีทหารรวมๆราว 20,000-30,000 คน เลยทำให้ขุนพลอย่างกวนอู เตียวหุย จูล่ง คุมทหารกองหน้าเป็นตัวหลัก แต่ทหารไม่น่าจะถึงหลักหมื่นคือ
ตลบหลังตีฮูโต๋
ตีค่ายกลประตูทอง
พกป๋อง
ยึดกังเหลง (คาดว่าจะไม่ถึงหมื่น แต่ไม่แน่)
=4 ครั้ง ชนะ 3 เสมอ1
ต่อมาเมื่อขงเบ้งขึ้นเป็นเฉิงเซี่ยง ควบตำแหน่งสมุหกลาโหมไปด้วย จูล่งจึงเป็นขุนพลในบัญชาของขงเบ้งไป
ถ้าไม่นับศึกหมานที่รายละเอียดไม่ชัดเจน
ขงเบ้งออกศึกตั้งแต่ปี ค.ศ. 226-228 คือปีที่จูล่งตาย ศึกสำคัญทางเหนือ แบ่งย่อยได้2-3สมรภูมิ จะพบว่าจูล่งได้ออกรบใหญ่ใต้สังกัดขงเบ้ง 3ครั้งในช่วงนี้คือ
ปราบฮันเต๊ก
หลงกลเกียงอุย
สุดท้ายคือรบโจจิ๋น อันนี้ยืดเยื้อยังไม่ทันรู้ผล แต่ค่อนข้างเสียเปรียบเพราะทหารน้อยกว่ามาก และสุดท้ายต้องถอยกลับก่อนเพราะม้าเจ๊กพลาดที่เกเต๋ง
ยุคขงเบ้ง = 3 ครั้ง ชนะ1 แพ้1 เสมอ1
รวมแล้ว คุมทัพใหญ่หลักหมื่นอัพ แบบเน้นๆตัดยิบย่อยออก 10ครั้ง
ชนะ8 แพ้1 เสมอ1
Total 100/8.5=85%
ส่วนเป็นกองทัพหน้ามนการโจมตี แต่ทหารไม่น่าจะถึงหลักหมื่นคือ 4 ครั้ง ชนะ4 = 100/4 =25 ต่ออัตราส่วน
Total =100%
Grand Total 200/185 =9.75 *100 = 90.75%
ถ้ามองแบบนี้ ก็ถือว่าเป็นขุนพลที่มีสถิติการรบในยุคสามก๊กและในประวัติศาสตร์จีนที่ยอดเยี่ยมมาก แม้อาจจะไม่ถึงขั้นไร้พ่าย แต่ก็ถือว่าเกือบเลย
ก็ถือว่าเป็นการรวบรวมเอาสถิติมาคุยกันสนุกๆนะครับ