พวกพรานป่าฆ่าแรดดำด้วยกระสุนปืนไรเฟิลเก็บเสียงเพื่อตัดนอแรดไปขาย
ที่หนองน้ำใน South Africa’s Hluhluwe-Imfolozi Park
ภาพนี้ได้นำเสนอถึงเรื่องราว
ตลาดมืดของการค้านอแรด
มันเกิดขึ้นตอนกลางคืน
พวกพรานป่าท้องถิ่นลักลอบเข้ามาและร่วมมือกันแบบแบ่งงานกันทำ
พวกมันยิงแรดดำที่หายากตัวหนึ่งด้วยปืนเก็บเสียง
แล้วเลื่อยนอแรดสองอันออกจากหัวแรดที่ตายแล้ว
ก่อนหลบหนีออกไปจากเขตห้ามล่าสัตว์อย่างรวดเร็ว
พวกพรานป่าท้องถิ่นชอบล่าแรดเพื่อขายนอแรด
ให้กับพ่อค้าของเถื่อน/ตลาดมืดชาวจีนหรือชาวเวียตนาม
เพราะได้ราคาดีคุ้มกับความเสี่ยง
เพราะยังมีความเขื่อสืบต่อกันมาในหมู่คนซื้อว่า
นอแรดใช้บำรุงร่างกาย รักษาโรคต่าง ๆ เช่น แก้อาการเมาค้าง
บำรุงสมรรถภาพทางเพศ หรือใช้เป็นส่วนผสมยาจีนแผนโบราณ
หลังจากพวกพรานป่าหลบหนีไปแล้ว
ช่างภาพ Brent Stirton ซึ่งยังอยู่ในค่ายพัก
ก็ได้ร่วมเป็นประจักษ์พยานกับเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่แห่งนี้
ในอาชญากรรมการฆ่าแรดดำในอแฟริกาใต้ครั้งนี้
ประมาณการกันว่ามีแรดดำหลงเหลืออยู่ราว 5,000 ตัวในโลก
ตอนนี้ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Natural History Museum
ได้จดจำรำลึกถึง Brent Stirton ช่างภาพของ National Geographic
ที่เข้าร่วมประกวด Wildlife Photographer of the Year 2017
ภาพการฆ่าสัตว์ที่โหดร้ายทารุณและผิดกฎหมาย
“ ภาพโศกนาฎกรรมเช่นนี้ แสดงถึงพลังอำมหิตในภาพ
กระแสพิฆาตของพรานป่า สมควรที่จะได้รับรางวัลยอดเยี่ยม “
Roz Kidman Cox ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว
“
มันมีความดิบ ความเถื่อน และสะเทือนอารมณ์อย่างแรง
กับสัญรูปการล้มลงของยักษ์ใหญ่ มันคือหนึ่งในสิ่งที่คนไร้ค่าทำ
คนโหดสัตว์ และคนไร้ประโยชน์กับการก่ออาชญกรรมกับสิ่งแวดล้อม
มันคือเรื่องหนึ่งที่สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนจำนวนมากอย่างแรง
ชัยชนะครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งว่า รูปที่คุณรับรู้
การมีส่วนช่วยเหลือชีวิตสัตว์ป่า หรือช่วยเผยแพร่ภาพนี้
ให้คนได้เห็นมากที่สุด ภาพนี่จะได้เห็นกันอีกนานแสนนาน “
Brent Stirton ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว
เรียบเรียง/ที่มา
http://on.natgeo.com/2hRmqCy
แรดดำ
ทั้งแรดดำกับแรดขาวมักจะมีสีเทา
ความแตกต่างไม่ได้อยู่ที่สีผิวหนังแต่อยู่ที่ริมฝีปาก
แรดดำมีจุดสังเกตที่ริมฝีปากด้านบนเสยขึ้น
แรดขาวจะต่างกันตรงที่ริมฝีปากค่อนข้างตรง
ริมฝีปากที่แตกต่างกันมีผลต่อการหาอาหารการกิน
แรดดำหาอาหารจากต้นไม้และพุ่มไม้ต่าง ๆ
ด้วยการดึงใบไม้กับผลไม้จากกิ่งก้านของต้นไม้
ส่วนแรดขาวหากินหญ้าต่าง ๆ ตามพื้นดิน
ด้วยการก้มหัวลงไปใช้ริมฝีปากกัดกินใบหญ้าและพุ่มไม้
ลักษณะนิสัย
แรดดำมักชอบอยู่ตามลำพัง ยกเว้นตัวเมียกับลูก ๆ ของมัน
แรดตัวเมียมีลูกได้ใหม่ในทุกสองหรือสองปีครึ่ง
ลูกแรดมักจะอยู่กับแม่จนกว่าอายุมากกว่าสามปี
แรดดำตะวันออก (
Diceros bicornis michaeli) สายพันธุ์ย่อยของแรดดำ
ถ่ายภาพที่ Great Plains Zoo ใน Sioux Falls รัฐ South Dakota Credit: Joel Sartore
แรดดำตะวันออก (
Diceros bicornis michaeli) สายพันธุ์ย่อยของแรดดำ
ถ่ายภาพที่ Great Plains Zoo ใน Sioux Falls รัฐ South Dakota Credit: Joel Sartore
รายงานข่าวล่าสุด ประเทศจีนกำลังห้ามการซื้อขายนอแรดที่ผิดกฎหมาย
ที่มักจะนำไปผลิตเป็นงานฝีมือและส่วนผสมยาจีนแผนโบราณ Credit : Brent Stirton
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/9jVGWg
เบื้องหลังข่าวการฆ่าแรดดำ
พวกพรานป่าฆ่าแรดดำด้วยกระสุนปืนไรเฟิลเก็บเสียงเพื่อตัดนอแรดไปขาย
ที่หนองน้ำใน South Africa’s Hluhluwe-Imfolozi Park
ภาพนี้ได้นำเสนอถึงเรื่องราว ตลาดมืดของการค้านอแรด
มันเกิดขึ้นตอนกลางคืน
พวกพรานป่าท้องถิ่นลักลอบเข้ามาและร่วมมือกันแบบแบ่งงานกันทำ
พวกมันยิงแรดดำที่หายากตัวหนึ่งด้วยปืนเก็บเสียง
แล้วเลื่อยนอแรดสองอันออกจากหัวแรดที่ตายแล้ว
ก่อนหลบหนีออกไปจากเขตห้ามล่าสัตว์อย่างรวดเร็ว
พวกพรานป่าท้องถิ่นชอบล่าแรดเพื่อขายนอแรด
ให้กับพ่อค้าของเถื่อน/ตลาดมืดชาวจีนหรือชาวเวียตนาม
เพราะได้ราคาดีคุ้มกับความเสี่ยง
เพราะยังมีความเขื่อสืบต่อกันมาในหมู่คนซื้อว่า
นอแรดใช้บำรุงร่างกาย รักษาโรคต่าง ๆ เช่น แก้อาการเมาค้าง
บำรุงสมรรถภาพทางเพศ หรือใช้เป็นส่วนผสมยาจีนแผนโบราณ
หลังจากพวกพรานป่าหลบหนีไปแล้ว
ช่างภาพ Brent Stirton ซึ่งยังอยู่ในค่ายพัก
ก็ได้ร่วมเป็นประจักษ์พยานกับเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่แห่งนี้
ในอาชญากรรมการฆ่าแรดดำในอแฟริกาใต้ครั้งนี้
ประมาณการกันว่ามีแรดดำหลงเหลืออยู่ราว 5,000 ตัวในโลก
ตอนนี้ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Natural History Museum
ได้จดจำรำลึกถึง Brent Stirton ช่างภาพของ National Geographic
ที่เข้าร่วมประกวด Wildlife Photographer of the Year 2017
ภาพการฆ่าสัตว์ที่โหดร้ายทารุณและผิดกฎหมาย
“ ภาพโศกนาฎกรรมเช่นนี้ แสดงถึงพลังอำมหิตในภาพ
กระแสพิฆาตของพรานป่า สมควรที่จะได้รับรางวัลยอดเยี่ยม “
Roz Kidman Cox ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว
“ มันมีความดิบ ความเถื่อน และสะเทือนอารมณ์อย่างแรง
กับสัญรูปการล้มลงของยักษ์ใหญ่ มันคือหนึ่งในสิ่งที่คนไร้ค่าทำ
คนโหดสัตว์ และคนไร้ประโยชน์กับการก่ออาชญกรรมกับสิ่งแวดล้อม
มันคือเรื่องหนึ่งที่สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนจำนวนมากอย่างแรง
ชัยชนะครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งว่า รูปที่คุณรับรู้
การมีส่วนช่วยเหลือชีวิตสัตว์ป่า หรือช่วยเผยแพร่ภาพนี้
ให้คนได้เห็นมากที่สุด ภาพนี่จะได้เห็นกันอีกนานแสนนาน “
Brent Stirton ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว
เรียบเรียง/ที่มา
http://on.natgeo.com/2hRmqCy
แรดดำ
ทั้งแรดดำกับแรดขาวมักจะมีสีเทา
ความแตกต่างไม่ได้อยู่ที่สีผิวหนังแต่อยู่ที่ริมฝีปาก
แรดดำมีจุดสังเกตที่ริมฝีปากด้านบนเสยขึ้น
แรดขาวจะต่างกันตรงที่ริมฝีปากค่อนข้างตรง
ริมฝีปากที่แตกต่างกันมีผลต่อการหาอาหารการกิน
แรดดำหาอาหารจากต้นไม้และพุ่มไม้ต่าง ๆ
ด้วยการดึงใบไม้กับผลไม้จากกิ่งก้านของต้นไม้
ส่วนแรดขาวหากินหญ้าต่าง ๆ ตามพื้นดิน
ด้วยการก้มหัวลงไปใช้ริมฝีปากกัดกินใบหญ้าและพุ่มไม้
ลักษณะนิสัย
แรดดำมักชอบอยู่ตามลำพัง ยกเว้นตัวเมียกับลูก ๆ ของมัน
แรดตัวเมียมีลูกได้ใหม่ในทุกสองหรือสองปีครึ่ง
ลูกแรดมักจะอยู่กับแม่จนกว่าอายุมากกว่าสามปี
แรดดำตะวันออก (Diceros bicornis michaeli) สายพันธุ์ย่อยของแรดดำ
ถ่ายภาพที่ Great Plains Zoo ใน Sioux Falls รัฐ South Dakota Credit: Joel Sartore
แรดดำตะวันออก (Diceros bicornis michaeli) สายพันธุ์ย่อยของแรดดำ
ถ่ายภาพที่ Great Plains Zoo ใน Sioux Falls รัฐ South Dakota Credit: Joel Sartore
รายงานข่าวล่าสุด ประเทศจีนกำลังห้ามการซื้อขายนอแรดที่ผิดกฎหมาย
ที่มักจะนำไปผลิตเป็นงานฝีมือและส่วนผสมยาจีนแผนโบราณ Credit : Brent Stirton
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/9jVGWg