มันเกิดอะไรขึ้นกับ "หอสมุดแห่งชาติ" ของประเทศเรา

วันนี้มีรุ่นพี่ที่ทำงานถามผมว่า "เราจะสามารถรู้ได้ไหมว่าประเทศไทยพิมพ์หนังสือทั้งหมดกี่เล่มต่อปี"
"สามารถไปค้นคว้าข้อมูลได้ที่ไหน หอสมุดแห่งชาติมีไหม ?" ด้วยผมก็เป็นบัณฑิตบรรณารักษศาสตร์คนนึง
ก็แบบว่าอยากจะป่าวประกาศไปเหลือเกินว่า "ข้อมูลพวกนี้ ประเทศไทยเราไม่มีบันทึกและค้นหาได้เลยครับ"
"ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถิติการอ่านของคนในประเทศ เรื่องพวกนี้ก็เอาความจริงอะไรไม่ได้เลยครับ"

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://atomdekzaa.exteen.com/20110213/entry

เมื่ออธิบายให้พี่เขาฟังเรียบร้อยเราก็เลยแนะนำให้เขาไปเปิดเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติ
โอ้วววว มายก้อตต !!! นี่เว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติหรอเนี๊ยย สถานที่ที่บ่งบอกถึงองค์ความรู้บ้านเมืองเรา

ทำไมหน้าตามันดูบ้านๆมากกก ทั้งๆที่บ้านเมืองเราก็มีเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่พัฒนามากมาย

http://www.nlt.go.th/





เอาจริงๆนะ ผมว่าหอสมุดแห่งชาติควรจะเปลี่ยนแปลงเว็ปไซต์ก่อนเลยเป้นอันดับแรก

เราลองมาดูเว็บไซต์ของหอสมุดแห่งชาติของประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่พัฒนาแล้วนะครับ

1. สิงคโปร์
http://www.nlb.gov.sg/



2. กัมพูชา
http://www.drfcambodia.net/page/guide-to-cambodian-public



3. อินโดนีเซีย
http://www.pnri.go.id/



4. ลาว
http://www.nationallibraryoflaos.org/



5. มาเลเซีย
http://www.pnm.gov.my/main.php



6. ฟิลิปปินส์
http://web.nlp.gov.ph/nlp/



7. เวียดนาม
http://nlv.gov.vn/ef/



8. พม่า
http://www.nlm.gov.mm/



9. อังกฤษ
http://www.bl.uk/whatson/



10. สหรัฐอเมริกา
http://www.loc.gov/index.html




โอเค เรามาลองดูกันนะครับว่า หอสมุดแห่งชาติของเราเข้าสู่โลกออนไลน์กับเขาบ้างแล้วหรือยัง

เริ่มแรกที่เฟสบุ๊คนะครับ
https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand?fref=ts
มีคนกด like เพียง 131 คน T^T



ทวิตเตอร์
https://twitter.com/NLThailand
มีคนกดตาม 10 คน




ยูทูป

ช่องทางนี้ผมยังไม่เคยนะครับ น่าจะยังไม่มี ใครรู้บอกด้วยก็ดีครับ



ทั้งหมดที่บรรยายมานี่ไม่ได้ตั้งใจจะมาดราม่าทางการเมืองอะไรทั้งนั้น (แม้ว่าเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องเต็มๆ)
แค่อยากจะบอกว่า เราพยายามส่งเสริมการอ่านกันมากมาย เป็นเมืองหนังสือด้วย แต่เราเริ่มพัฒนา
ตัวระบบหนังสือของเราไปหรือเปล่า เมื่อไร เมื่อไร บ้านเราจะมีหอสมุดแห่งชาติที่เข้มแข็ง
เพื่อเป็นตัวแรงหลักในการพัฒนาและส่งเสริมการอ่านของเยาวชนและประชาชนชาวไทยอย่างยั่งยืน

ใครอยากได้รายละเอียดระบบหนังสือที่ยั่งยืน สามารถเข้าไปอ่านได้ที่เว็บของสำนักพิมพ์ผีเสื้อครับ
คุณมกุฎ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ ผู้ที่พยายามเรียกร้องถึงความมั่นคงของระบบหนังสือมาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี
ส่งหนังสือไปให้รัฐบาลทุกยุคที่ผ่านมา แต่กลับไม่มีอะไรเป็นรูปเป็นอันขึ้นเลยย ผมสงสารท่านมากจริงๆครับ

รายละเอียดที่ท่านเขียนไว้น่าสนใจมากๆครับ
http://www.bflybook.com/Article/ConceptOfSocialBook/Image/ConceptOfSocialBook.pdf

เมื่อไรผู้หลักผู้ใหญ่ในประเทศจะเห็นความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ซักทีนะ

"ถึงเวลาแล้วหรือยังครับ ที่เราจะช่วยกัน ทำในสิ่งที่ยั่งยืนสำหรับลูกหลานของเรา"
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 28
ควรโอนย้ายหอสมุดแห่งชาติ ไปสังกัดหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการศึกษา อย่างกระทรวงศึกษาธิการ หรือไม่ก็ยกฐานะตัวเองเป็นองค์การมหาชน เพราะปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติ อยู่ในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างที่ควร การที่จะทำให้หอสมุดเป็นที่ดึงดูดใจสำหรับผู้ใช้บริการ ผู้บริหารควรศึกษาการบริหารของห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานเอกชน ที่มีการบริหารจัดการที่เป็นสากล หรือไปศึกษาดูงานในประเทศที่ จขกท. ได้อ้างถึง เพราะอีก 2 ปีก็จะเข้าสู่อาเซียนแล้ว ในส่วนของเว็บไซต์นั้น ต้องยอบรับว่า เว็บไซต์ของรัฐนั้น แตกต่างจากของเอกชนอย่างมาก คงเป็นเพราะหน่วยงานรัฐขาดแคลนคนที่มีความสามารถทางด้าน ICT แต่สามารถแก้ปัญหาได้โดยการรับคนที่มีความสามารถทางด้าน ICT มาเป็นลูกจ้างของหน่วยงาน หรือไม่ก็จ้าง Outsource มาทำก็ได้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
อย่าว่าแต่เรื่องนี้เลย ครับ

พูดถึงประเทศไทย เทียบกับนานา ชาติ

การศึกษา สามัญสำนึก คุณภาพชีวิต

เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตำรวจ และ ทุกๆเรื่อง

ผมไม่เห็นหน่วยงานไหน ทำงานเพื่อ ประชาชน ที่แท้ จริงๆ

โดยเฉพาะ ภาครัฐ

พูดไป เดี๋ยวคนก็ไล่ ให้ไปอยู่ต่างประเทศอีก
ความคิดเห็นที่ 15
เพิ่งกลับจากหอสมุดแห่งชาติ ช่วงนี้ได้อาศัยเป็นที่แช่แอร์เย็น ๆ อ่านนิยายกำลังภายในเพลิน ๆ โดยไม่ต้องเสียตังซื้อเอง (บางเรื่องซื้อแล้วไม่คุ้มเลย เพราะอ่านทีเดียวก็ไม่คิดอยากจะอ่านรอบสองรอบสาม)

เท่าที่ดูแล้วผู้มาใช้บริการก็มีพอสมควร แต่ไม่มากเท่าไหร่ เท่าที่เห็นในห้องวรรณกรรม มีประมาณวันละ 20-40 คน แต่อาจจะเพราะเป็นวันธรรมดาก็ได้ คนเลยไม่มาก

ถ้าพูดตามจริง หอสมุดแห่งชาติของเรา ยังติดอยู่ในระบบราชการค่อนข้างมากครับ จึงไม่เอื้อต่อการให้บริการประชาชนเท่าไหร่ อย่างเวลาเปิดทำการนี่ก็อย่างหนึ่งครับ วันทำงานเปิดถึงแค่ 6 โมงครึ่ง คนทั่วไปที่เรียนหรือทำงาน จะให้เข้ามาใช้บริการก็หมดสิทธิ์ แถมยังหยุดตามวันหยุดราชการซะอีก ทั้ง ๆ ที่ความจริงวันเหล่านี้แหละคือวันที่จะมีคนว่างมาใช้บริการเยอะกว่าวันปกติ แต่พอหอสมุดไม่เปิด เขาก็ต้องไปที่อื่น

บางทีถ้าหอสมุดแห่งชาติ "ออกนอกระบบ" ในความหมายที่แท้จริง คือไม่ยึดอยู่กับกรอบความคิดในระบบราชการ แต่เน้นที่ความต้องการของประชาชนเป็นหลัก คุณภาพการให้บริการน่าจะดีขึ้นเยอะครับ

ส่วนเรื่องเว็บไซต์ ไม่รู้ว่าเขามีคนทาง IT ประจำหรือเปล่า เพราะบางครั้งหน่วยงานราชการก็ไม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ไม่เห็นว่าการมีเว็บไซต์ที่อัพเดตข่าวสารข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ตลอดเวลามีความสำคัญแค่ไหน ทั้งที่ความจริงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดเลยสำหรับโลกยุคนี้
ความคิดเห็นที่ 5
มันก็ไม่ต่างจากอาชีพบรรณารักษ์ที่มีผู้คนมากมายในประเทศนี้ แทบจะไม่เห็นความสำคัญ แต่อันที่จริง ในนานาอารยประเทศที่ใส่ใจเรื่องการศึกษาและพัฒนาคน บรรณารักษ์กลับเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับกันมากในวงกว้าง ซึ่งงานบรรณารักษ์เองก็ยุ่งยากมากเหลือเกินสำหรับห้องสมุดเล็ก ๆ ที่บุคลากรน้อย(บางที่อาจมีแค่คนเดียว) รวมไปถึงงบประมาณอันจิ้บจ้อยที่ใช้นำมาพัฒนาแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนแหล่งนี้ ซึ่งบรรณารักษ์อยากจะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นิทรรศการ,กิจกรรมเอ้าดอร์เพื่อทำการตลาดรณรงค์รักการอ่าน ฯลฯ บางครั้งยังได้เจียดเงินตัวเองมาช่วยออก
..............
หลาย ๆ คนยังเข้าใจว่า บรรณารักษ์มีหน้าที่แค่จัดชั้นหนังสือ ปัดฝุ่นหนังสือ และทำความสะอาดห้องสมุด เท่านั้น แต่ท่านคิดบ้างหรือไม่ว่า ถ้ามีแค่นั้น จะมีหลักสูตรจนถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิตไปทำไมกันเล่า
............
จะดีหน่อยก็หอสมุดตามมหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ เข้ามาใช้ไม่ขาด นั่นแสดงถึง คนไทยยังไม่รู้จักการพัฒนาตนโดยการศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิต
.................

บรรณารักษ์คนหนึ่ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่