ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2556 (วัฒนธรรม)
Copy//เมษายนที่ผ่านมาถือเป็นเดือนแห่งการสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 231 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งที่แผ่นดินธรรม แผ่นดินทองอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนไทยผืนนี้ ผ่านกาลเวลา และดำรงความเป็นเอกราชยืนยาวมาจนถึง 231 ปี
แต่ถ้าจะให้จินตนาการกลับไปถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรือกว่าสองร้อยปีก่อนว่าราชธานีแห่งนี้มีบรรยากาศหรือรูปแบบเมืองเป็นเช่นไร ก็คงยากเกินไปที่จะจินตนาการ ยิ่งเมื่อพูดถึงครั้งการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ใหม่ๆ นับจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาและสร้างกรุงเทพเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2325 ก็ยิ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะชี้ชัดว่ารูปแบบเมืองในครั้งนั้นจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร คงเป็นเพียงการคาดคะเนและทึกทักกันเอาเอง ส่วนเรื่องภาพถ่าย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะเทคโนโลยี่การถ่ายภาพ เข้ามายังกรุงสยามก็ล่วงเลยจนกระทั่งขึ้นรัชกาลที่ 3 แล้ว โดยมีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อ ยัง บัปติส ฟังซัว หลุยส์ ลาร์โนดี (Larnaudie) นำกล้องถ่ายรูปพกติดตัวขึ้นเรือมาบางกอกตามคำขอของสังฆราชปาเลอกัว ที่ประจำในสยามก่อนหน้านั้นแล้ว
แต่ความโชคร้ายของสยาม ที่แม้ว่าเทคโนโลยี่การถ่ายภาพจะเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่ก็ยังไม่มีการถ่ายภาพบรรยากาศคนและทิวทัศน์เมืองบางกอกเลย เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีราคาค่างวดสูงมากกับการถ่ายภาพ คงเน้นไปที่การถ่ายภาพตัวบุคคลเสียมากกว่าเพราะสามารถเก็บเงินเก็บทอง ทำกำไรได้ ครั้นจะเอากล้องไปถ่ายรูปวิวรูปเมือง ก็ไม่รู้จะไปเก็บเงินกับใคร สิ้นเปลืองเปล่าๆ
ในเมื่อไม่มีการถ่ายภาพเมืองบางกอกแล้ว และหลักฐานที่กล่าวถึงการสร้างกรุงในยุคแรกๆ เล่า จะพอมีให้อ้างอิงบ้างไหม เท่าที่สืบค้นหลักฐาน ก็ค้นพบว่า มีเพียงรายละเอียดที่ปรากฏในพรราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ซึ่งถือว่าเป็นบรรยากาศการสมโภชพระนครได้ชัดเจนที่สุดดังนี้
“ครั้นการฐาปนาพระนครใหม่สำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองสมโภชพระนคร ให้นิมนต์พระสงฆ์ทุกอารามทั้งในกรุงนอกนอกกรุง ขึ้นสวดพระพุทธมนต์บนเชิงเทินทุกใบเสมาๆละองค์ๆ รอบพระนคร พระราชทานเงิน เกณฑ์ให้ข้าราชการทำกับข้าวกระทงมาเลี้ยงพระสงฆ์ทั่วทั้งสิ้น แล้วให้ตั้งโรงทานรายรอบพระนคร พระราชทานเลี้ยงยาจกวรรณิพกทั้งปวง แล้วให้ตั้งต้นกัลปพฤกษ์รายรอบกำแพงเมือง ทิ้งทายต้นละชั่งทั้งสามวัน สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ให้มีการมหรสพต่างๆ กับทั้งละครผู้หยิงโรงใหญ่ เงินโรงวันละสิบชั่ง สมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับทั้งพระนครด้วยครบสามวันเป็นกำหนด ”
และบันทึกของกรมหลวงนรินทรเทวี พระเจ้าน้องนางเธอในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงจดหมายเหตุไว้ว่า “ณ เดือน 8 ปีมะเสง พระโองการรับสั่งให้มีงานละครผู้หญิงโรงใหญ่สมโภชพระแก้ว ประทานเงินโรงวันละ 10 สามวัน สำหรับพระสงฆ์ ทรงประเคน แล้วทรงถวายน้ำผึ้งไม้ท้าว ศาลาฉ้อทาน ตั้งรายรอบพระนคร ทิ้งต้นกัลปพฤกษ์สามวันต้น มีการมหรศพสมโภชพร้อมเถลิงพระนครด้วย”
เราลองมานึกภาพบรรยากาศเกาะรัตนโกสินทร์ เมื่อประมาณ 200 ปีก่อนกันครับ (ตามภาพเก่า ในสายตาฝรั่ง)
Copy//เมษายนที่ผ่านมาถือเป็นเดือนแห่งการสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 231 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งที่แผ่นดินธรรม แผ่นดินทองอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนไทยผืนนี้ ผ่านกาลเวลา และดำรงความเป็นเอกราชยืนยาวมาจนถึง 231 ปี
แต่ถ้าจะให้จินตนาการกลับไปถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรือกว่าสองร้อยปีก่อนว่าราชธานีแห่งนี้มีบรรยากาศหรือรูปแบบเมืองเป็นเช่นไร ก็คงยากเกินไปที่จะจินตนาการ ยิ่งเมื่อพูดถึงครั้งการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ใหม่ๆ นับจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาและสร้างกรุงเทพเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2325 ก็ยิ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะชี้ชัดว่ารูปแบบเมืองในครั้งนั้นจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร คงเป็นเพียงการคาดคะเนและทึกทักกันเอาเอง ส่วนเรื่องภาพถ่าย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะเทคโนโลยี่การถ่ายภาพ เข้ามายังกรุงสยามก็ล่วงเลยจนกระทั่งขึ้นรัชกาลที่ 3 แล้ว โดยมีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อ ยัง บัปติส ฟังซัว หลุยส์ ลาร์โนดี (Larnaudie) นำกล้องถ่ายรูปพกติดตัวขึ้นเรือมาบางกอกตามคำขอของสังฆราชปาเลอกัว ที่ประจำในสยามก่อนหน้านั้นแล้ว
แต่ความโชคร้ายของสยาม ที่แม้ว่าเทคโนโลยี่การถ่ายภาพจะเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่ก็ยังไม่มีการถ่ายภาพบรรยากาศคนและทิวทัศน์เมืองบางกอกเลย เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีราคาค่างวดสูงมากกับการถ่ายภาพ คงเน้นไปที่การถ่ายภาพตัวบุคคลเสียมากกว่าเพราะสามารถเก็บเงินเก็บทอง ทำกำไรได้ ครั้นจะเอากล้องไปถ่ายรูปวิวรูปเมือง ก็ไม่รู้จะไปเก็บเงินกับใคร สิ้นเปลืองเปล่าๆ
ในเมื่อไม่มีการถ่ายภาพเมืองบางกอกแล้ว และหลักฐานที่กล่าวถึงการสร้างกรุงในยุคแรกๆ เล่า จะพอมีให้อ้างอิงบ้างไหม เท่าที่สืบค้นหลักฐาน ก็ค้นพบว่า มีเพียงรายละเอียดที่ปรากฏในพรราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ซึ่งถือว่าเป็นบรรยากาศการสมโภชพระนครได้ชัดเจนที่สุดดังนี้
“ครั้นการฐาปนาพระนครใหม่สำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองสมโภชพระนคร ให้นิมนต์พระสงฆ์ทุกอารามทั้งในกรุงนอกนอกกรุง ขึ้นสวดพระพุทธมนต์บนเชิงเทินทุกใบเสมาๆละองค์ๆ รอบพระนคร พระราชทานเงิน เกณฑ์ให้ข้าราชการทำกับข้าวกระทงมาเลี้ยงพระสงฆ์ทั่วทั้งสิ้น แล้วให้ตั้งโรงทานรายรอบพระนคร พระราชทานเลี้ยงยาจกวรรณิพกทั้งปวง แล้วให้ตั้งต้นกัลปพฤกษ์รายรอบกำแพงเมือง ทิ้งทายต้นละชั่งทั้งสามวัน สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ให้มีการมหรสพต่างๆ กับทั้งละครผู้หยิงโรงใหญ่ เงินโรงวันละสิบชั่ง สมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับทั้งพระนครด้วยครบสามวันเป็นกำหนด ”
และบันทึกของกรมหลวงนรินทรเทวี พระเจ้าน้องนางเธอในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงจดหมายเหตุไว้ว่า “ณ เดือน 8 ปีมะเสง พระโองการรับสั่งให้มีงานละครผู้หญิงโรงใหญ่สมโภชพระแก้ว ประทานเงินโรงวันละ 10 สามวัน สำหรับพระสงฆ์ ทรงประเคน แล้วทรงถวายน้ำผึ้งไม้ท้าว ศาลาฉ้อทาน ตั้งรายรอบพระนคร ทิ้งต้นกัลปพฤกษ์สามวันต้น มีการมหรศพสมโภชพร้อมเถลิงพระนครด้วย”