วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:48 น. ข่าวสดออนไลน์
ปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ระวังเจ๊งยิ่งกว่าบาทแข็ง
เมืองไทย 25 น.
ทวี มีเงิน
ความขัดแย้ง กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กับ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำลังกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ ป่านนี้ยังจบไม่ลงจะหาทางออกจากเงินบาทแข็งค่าอย่างไร
ยังไงความน่าเบื่อก็ไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจาก "สองเสาหลักเศรษฐกิจ" ทะเลาะกันเอง นั่นเท่ากับเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศ นักลงทุนเริ่มไม่เชื่อมั่น
ยิ่งในฟากของรัฐบาลออกมาพูดจากระแทกกระทั้น ทั้งตัดพ้อทั้งขู่ ถึงขั้นตั้งโต๊ะแถลงตำหนิผสมโรงด้วยกองเชียร์ที่มีความรู้แค่งูๆ ปลาๆ ออกมาช่วยกระพือ ด้วยความโลภ โกรธ หลงก็ตาม มีแต่จะสร้างความเสียหายมากกว่าเงินบาทแข็งค่าเสียอีก
ไม่รู้ว่าเบื้องหลังการถ่ายทำความขัดแย้งของทั้งคู่เป็นมาอย่างไร แต่หากดูเป้าหมายย่อมต่างกันอย่างสิ้นเชิง
รัฐบาลทำยังไงก็ได้ต้องให้จีดีพีโต เศรษฐกิจขยายตัว เพราะนั่นคือคะแนนนิยม หากส่งออกมีปัญหากระทบรายได้เข้าประเทศเสถียรภาพรัฐบาลย่อมสั่นคลอน
ขณะที่แบงก์ชาติ จะเน้นแต่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มองในระยะยาว ถือเป็นปรัชญาการทำงานจะเปลี่ยนแปลงหลักการไม่ได้ มิเช่นนั้นจะไม่มีใครเชื่อถือ แบงก์ชาติทั่วโลกก็เป็นกันอย่างนี้
จึงทำให้เป็นจุดอ่อน ตรงไม่ค่อยยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ปรับตัวไม่ทันโลกแห่งความเป็นจริง
วิธีคิดต่อค่าเงินบาท ของแบงก์ชาติคงไม่ใช้ยาแรงนอกจากทนแรงบีบไม่ไหว
สิ่งที่แบงก์ชาติกลัวที่สุดในกรณี "ลดดอกเบี้ย" คือ ผลข้างเคียงจนเกิด "ฟองสบู่" ตามมาตรงนั้นอาการหนักกว่าค่าเงินบาทแข็งหลายเท่า และหาก "ลด" แล้วเวลาจะ "ดึงขึ้น" ไม่ใช่ง่ายๆ
ที่สำคัญไม่ว่าเป็นแนวคิดลดดอกเบี้ย และการเฝ้าดูสถานการณ์ โดยที่ยังไม่มีการเทกแอ๊กชั่นของ แบงก์ชาติ นั้นมีความเสี่ยงทั้งคู่
เห็นที นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ลงมาจัดการปัญหาด้วยตัวเองจริงๆ เสียที อย่าลอยตัวเหมือนค่าเงินบาท ปล่อยไว้ยิ่งเสียหาย แต่ในฐานะผู้นำประเทศจะต้องใช้อำนาจด้วยความรอบคอบชอบธรรม ต้องมองสังคม ทั้งองคาพยพไม่ใช่แค่ด้านใดด้านหนึ่ง
หากคิดจะปลด "ดร.ประสาร" (ทำได้ไม่ง่าย) เพื่อแก้ปัญหา อาจคิดผิดเพราะผู้ว่าฯคนนี้ต้นทุนทางสังคมสูง เป็นที่ยอมรับในแวดวงการเงิน แม้ไม่ถูกใจทางการเมืองก็ตาม
ทางออกมีหลายทาง หากตัดสินใจพลาดอาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวทำเศรษฐกิจเสียหายได้ ....
*** ปิดโหวต วันที่ 05 มิถุนายน พ.ศ.2556 เวลา 18:31:06 น.
คุณลืมตอบคำถามที่ * จำเป็นต้องตอบ
ระวัง..จะเจ๊งยิ่งกว่าบาทแข็ง..ถ้าพี่โต้ง....!@$#$$#@^%$@#!^%@$ ฮ้าดเช้ย...ปลด-ไม่ปลด ผู้ว่าแบงค์ชาติ...
ปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ระวังเจ๊งยิ่งกว่าบาทแข็ง
เมืองไทย 25 น.
ทวี มีเงิน
ความขัดแย้ง กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กับ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำลังกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ ป่านนี้ยังจบไม่ลงจะหาทางออกจากเงินบาทแข็งค่าอย่างไร
ยังไงความน่าเบื่อก็ไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจาก "สองเสาหลักเศรษฐกิจ" ทะเลาะกันเอง นั่นเท่ากับเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศ นักลงทุนเริ่มไม่เชื่อมั่น
ยิ่งในฟากของรัฐบาลออกมาพูดจากระแทกกระทั้น ทั้งตัดพ้อทั้งขู่ ถึงขั้นตั้งโต๊ะแถลงตำหนิผสมโรงด้วยกองเชียร์ที่มีความรู้แค่งูๆ ปลาๆ ออกมาช่วยกระพือ ด้วยความโลภ โกรธ หลงก็ตาม มีแต่จะสร้างความเสียหายมากกว่าเงินบาทแข็งค่าเสียอีก
ไม่รู้ว่าเบื้องหลังการถ่ายทำความขัดแย้งของทั้งคู่เป็นมาอย่างไร แต่หากดูเป้าหมายย่อมต่างกันอย่างสิ้นเชิง
รัฐบาลทำยังไงก็ได้ต้องให้จีดีพีโต เศรษฐกิจขยายตัว เพราะนั่นคือคะแนนนิยม หากส่งออกมีปัญหากระทบรายได้เข้าประเทศเสถียรภาพรัฐบาลย่อมสั่นคลอน
ขณะที่แบงก์ชาติ จะเน้นแต่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มองในระยะยาว ถือเป็นปรัชญาการทำงานจะเปลี่ยนแปลงหลักการไม่ได้ มิเช่นนั้นจะไม่มีใครเชื่อถือ แบงก์ชาติทั่วโลกก็เป็นกันอย่างนี้
จึงทำให้เป็นจุดอ่อน ตรงไม่ค่อยยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ปรับตัวไม่ทันโลกแห่งความเป็นจริง
วิธีคิดต่อค่าเงินบาท ของแบงก์ชาติคงไม่ใช้ยาแรงนอกจากทนแรงบีบไม่ไหว
สิ่งที่แบงก์ชาติกลัวที่สุดในกรณี "ลดดอกเบี้ย" คือ ผลข้างเคียงจนเกิด "ฟองสบู่" ตามมาตรงนั้นอาการหนักกว่าค่าเงินบาทแข็งหลายเท่า และหาก "ลด" แล้วเวลาจะ "ดึงขึ้น" ไม่ใช่ง่ายๆ
ที่สำคัญไม่ว่าเป็นแนวคิดลดดอกเบี้ย และการเฝ้าดูสถานการณ์ โดยที่ยังไม่มีการเทกแอ๊กชั่นของ แบงก์ชาติ นั้นมีความเสี่ยงทั้งคู่
เห็นที นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ลงมาจัดการปัญหาด้วยตัวเองจริงๆ เสียที อย่าลอยตัวเหมือนค่าเงินบาท ปล่อยไว้ยิ่งเสียหาย แต่ในฐานะผู้นำประเทศจะต้องใช้อำนาจด้วยความรอบคอบชอบธรรม ต้องมองสังคม ทั้งองคาพยพไม่ใช่แค่ด้านใดด้านหนึ่ง
หากคิดจะปลด "ดร.ประสาร" (ทำได้ไม่ง่าย) เพื่อแก้ปัญหา อาจคิดผิดเพราะผู้ว่าฯคนนี้ต้นทุนทางสังคมสูง เป็นที่ยอมรับในแวดวงการเงิน แม้ไม่ถูกใจทางการเมืองก็ตาม
ทางออกมีหลายทาง หากตัดสินใจพลาดอาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวทำเศรษฐกิจเสียหายได้ ....