‘5รูปแบบ’อาชญากรใช้ตุ๋นในโลกไซเบอร์! ICT แนะวิธีเลี่ยงไม่ตกเป็นเหยื่อ ‘โอนเงิน’

เคยโดนหลอกแชทยืมเงินกันบ้างไหมคะ เพื่อนเราเพิ่งโดนคนอื่นปลอมตัวล็อกอินเข้าเฟสบุคเพื่อนมาขอยืมเงินแบบในข่าวนี้เลยค่ะ  ธนาคารเค้าบอกว่าโดนกันมาหลายคนแล้ว ระวังตัวกันบ้างนะคะ ใครยืมเงินก็อย่าให้ยืมง่ายๆ ต้องโทรเช็คก่อน อย่าหน้าบาง เพราะเราเกือบโอนไปแล้ว  หน้าบางไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน



‘5รูปแบบ’อาชญากรใช้ตุ๋นในโลกไซเบอร์! ICT แนะวิธีเลี่ยงไม่ตกเป็นเหยื่อ ‘โอนเงิน’

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 พฤษภาคม 2556 10:07 น.

  มิจฉาชีพออนไลน์ขยายตัวเต็มโลกไซเบอร์ พัฒนาสารพัดวิธีหลอกเหยื่อโอนเงิน facebook facebook-E-mail ตำรวจ ปอท. ชี้ครึ่งปี ’56 คดีแฮ็ก facebook หลอกยืมเงินเพื่อนระบาดหนัก เตือนโทรศัพท์เช็กก่อนโอนเงิน ส่วนโจรกรรมตัวพ่อยังมุ่งแฮ็ก E-mail บริษัทเปลี่ยนเลขบัญชีหลอกบริษัทต่างชาติสูญเงินมูลค่าปีละหลายสิบล้าน กระทรวง ICT แจง “5 รูปแบบ” การต้มตุ๋น พร้อมแนวทางป้องกันตัวจากอาชญากรออนไลน์
      
       พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ยอมรับว่าขณะนี้มีคดีที่เกี่ยวกับการหลอกลวงให้โอนเงินผ่าน facebook เกิดขึ้นสูงมากโดยทวีจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้
      
       มิจฉาชีพจะหาทางล็อกอินเข้าสู่ระบบ facebook ของผู้อื่น และทำทีเข้าไปคุยกับเพื่อนในลิสต์เพื่อเล่าว่าตนกำลังเดือดร้อน จำเป็นต้องขอยืมเงินด่วน ซึ่งจะโอนเงินคืนให้ภายในช่วงเย็นของวันนั้น และเขาจะให้เลขบัญชีของบุคคลอื่นซึ่งอ้างว่าเป็นบัญชีของญาติ ขณะที่เหยื่อหลายคนหลงโอนเงินให้เพราะเชื่อว่าเพื่อนกำลังเดือดร้อนจริงๆ แต่เมื่อถึงตอนเย็นก็พบว่า facebook ของเพื่อนที่ยืมเงินนั้นได้หายไปจากระบบเสียแล้ว
      
       ส่วนเจ้าของ facebook ตัวจริงกว่าจะรู้ตัวว่าถูกแอบอ้าง ก็จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบ facebook ในชื่อบัญชีของตนเองได้ เนื่องจากถูกเปลี่ยนรหัสผ่าน ทำให้ต้องรีบไปแจ้งความเพื่อป้องกันตนเองจากการตกเป็นผู้ต้องหาฉ้อโกงทรัพย์เสียเอง
      
       เปลี่ยนรหัสผ่าน facebook สวมรอยแชตยืมเงินเพื่อน
        
      
       เหตุการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นกับ น.ส.รนิดา เชยชุ่ม หัวหน้าภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเธอเล่าว่า ตนถูกมิจฉาชีพแฮ็กรหัสผ่าน facebook ช่วงเวลาประมาณเที่ยงวัน ซึ่งมิจฉาชีพได้เข้าไปคุยกับพื่เอนจำนวน 20 คนทางกล่องข้อความเพื่อขอยืมเงินไปช่วยจ่ายค่าบ้านให้ญาติเป็นจำนวน 3,000 บาท และขอให้โอนเงินเข้าบัญชีญาติอย่างเร่งด่วน โดยตนจะโอนคืนให้เองภายในตอนเย็น
      
       หลังจากนั้นเพียง 20 นาที เพื่อนอาจารย์ที่ถูกยืมเงินได้โทรศัพท์สอบถามเธอเพื่อยืนยันว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ จึงทราบว่าถูกมิจฉาชีพเปลี่ยนรหัสผ่านและสวมรอยยืมเงินเพื่อนและลูกศิษย์
      
       “ขณะนั้นไม่สามารถล็อกอินเข้าสู่ระบบได้ โดยมีคำแจ้งเตือนขึ้นมาว่าบัญชี facebook ได้ถูกเปลี่ยนรหัสผ่านเมื่อเวลา 12.30 น. และตอนนั้นลูกศิษย์หลายคนเริ่มโทรศัพท์เข้ามาเช็กและบอกว่าตนกำลังยืนอยู่หน้าตู้เอทีเอ็มรอโอนเงินให้แล้ว”
      
       น.ส.รนิดาเล่าอีกว่า หลังจากพยายามกระจายข่าวเตือนเพื่อนๆ ไม่ให้หลงโอนเงิน เธอจึงไปแจ้งความที่ สน.ท้องที่ และติดต่อไปยังธนาคารตามหมายเลขบัญชีของมิจฉาชีพ จึงทราบเพิ่มเติมว่า บัญชีเดียวกันนี้เพิ่งมีคนแจ้งมาว่าถูกหลอกให้โอนเงินเข้าบัญชีจำนวน 8,000 บาท โดยมีการโอนเข้าครั้งละ 2,500-3,000 บาท
        



        
       ส่อง facebook ก่อนโทร.หลอกยืมเงินหลักหมื่น
        
      
       อีกกรณีหนึ่งเป็นมุกคลาสสิกของอาชญากรที่ชอบโทรศัพท์ไปตีเนียนอำว่าเป็นคนรู้จัก เมื่อเหยื่อจำไม่ได้ ก็ให้ทาย จนเหยื่อหลุดพูดชื่อใดชื่อหนึ่งออกมา จึงหวานคอแร้งมิจฉาชีพที่ได้ชื่อไปใช้แอบอ้างว่ากำลังเดือดร้อนและต้องการยืมเงินด่วนทันที
      
       แหล่งข่าวเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องมือทางการแพทย์แห่งหนึ่งเล่าว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา พบเบอร์โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับสาย จึงโทร.กลับไป โดยมีการสนทนากันดังนี้ A: สวัสดีค่ะ B: จำไม่ได้เหรอ เพื่อนเยอะเนอะ A: นกเหรอ B: ใช่ ฉันเอง ฉันโดนกรีดกระเป๋าที่สำเพ็ง โดยขโมยเงินไปหมดเลย 4 หมื่น โทรศัพท์มือถือก็ถูกขโมยไปด้วย ฉันขอยืมเงินหมื่นหนึ่งได้ไหม เดี๋ยวคืนให้พร้อมดอกเบี้ย เดี๋ยวฉันให้เลขบัญชีน้องชายนะ เพราะเอทีเอ็มถูกขโมยไปแล้ว
      
       แหล่งข่าวโอนเงินผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร และถูกโทรศัพท์กลับมาขอยืมเพิ่มอีกหลายครั้งภายในระยะเวลาไล่เลี่ย จนในที่สุดก็ตรวจสอบพบว่าไม่ใช่เพื่อนตัวจริง จึงต้องแจ้งความตามจับกันไปตามระเบียบ
        
       กรณีนี้แม้เป็นมุกเก่าที่หลอกให้โอนเงินทางโทรศัพท์ ทว่า เมื่อตรวจสอบชื่อบัญชีธนาคารที่มิจฉาชีพให้มา พบว่าชื่อและนามสกุลตรงกับเพื่อนใน facebook รายหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
      
       จึงเป็นไปได้ที่มิจฉาชีพรายนี้จะเข้ามาเพื่อเก็บข้อมูล ก่อนทำการหลอกให้โอนเงินโดยเฉพาะ



        
       ตำรวจชี้คดีหลอกโอนเงินผ่าน facebook เพิ่มเยอะ แต่จับยาก
        
      
       ขณะที่ ร.ต.ท.ขัตติยะ พลดงนอก พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เปิดเผยว่า คดีหลอกลวงให้โอนเงินบนอินเทอร์เน็ตเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ โดยคนร้ายอาจจะเป็นคนร้ายกลุ่มเดียวกันซึ่งเปลี่ยนเหยื่อไปเรื่อยๆ
      
       โดยวิธีการของคนร้ายมีหลายรูปแบบ เช่น การหลอกว่ากำลังเดือดร้อน ต้องการขอยืมเงินด่วน โดยจำเป็นต้องให้หมายเลขบัญชีของญาติ หรือการขอให้เพื่อนเติมเงินมือถือให้ซึ่งมีตั้งแต่จำนวนเงินน้อยๆ ไปจนถึงหลักพัน..........
      

เครดิตข่าว http://astv.mobi/ARHsi9a
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่