Credit :
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=55660
Mega Deal/ธันวา เลาหศิริวงศ์
“Mega Deal” ในเชิงธุรกิจหมายถึง ข้อตกลงหรือข้อสัญญาของ “ธุรกรรมซื้อขายที่มีนัยสำคัญ” ทั้งในด้านขนาดมูลค่าของธุรกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แม้มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดธุรกรรม Mega Deal ในแวดวงธุรกิจโลก แต่ทุกธุรกรรมนั้นย่อมบ่งบอกถึง “ศักยภาพ” ของผู้ซื้อ ตลอดจน “โอกาสทางธุรกิจ” ที่ผู้ซื้อมองเห็นนั่นเอง
ในภาวะวงจรขาขึ้นของธุรกิจไทยนั้น มี Mega Deal เกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่เดือนได้แก่ กรณีแรก กลุ่มธุรกิจคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ประสบความสำเร็จในการซื้อหุ้นบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (F&N) บริษัทเก่าแก่ของสิงคโปร์ด้านอาหาร เครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ ด้วยเงินประมาณ 3.37 แสนล้านบาท นับว่าเป็นการซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นไม่นานนัก กลุ่มซีพีนำโดยคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ใช้เงิน 2.82 แสนล้านบาท เข้าซื้อหุ้นบริษัทผิงอัน อินซัวแรนซ์ บริษัทประกันอันดับ 2 ของประเทศจีนในสัดส่วน 15.6% ของทุนจดทะเบียน
ธุรกรรม Mega Deal ครั้งประวัติศาสตร์ของวงการธุรกิจไทย เกิดขึ้นหลังจากประเพณีสงกรานต์เพิ่งเสร็จสิ้นลง นั่นคือในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ บริษัทซีพี ออลล์ (CPALL) ผู้นำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ประกาศเสนอซื้อกิจการบริษัทสยามแม็คโคร (MAKRO) ผู้นำธุรกิจค้าส่งรายใหญ่ของไทย จากบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวีฯ (SHV) และผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วยวงเงินมูลค่าสูงถึง 1.88 แสนล้านบาท ราคาเสนอซื้อที่หุ้นละ 787 บาทนั้นให้ Premium จากราคาซื้อขายในตลาดเดือนก่อนหน้าถึง 30-50% อย่างไรก็ตามธุรกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น CPALL ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ด้วย
คำประกาศเสนอซื้อมูลค่าสูงพร้อมส่วนเพิ่มราคาดังกล่าว ส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาหุ้น CPALL ทันที จากที่เคยซื้อขายเหนือระดับ 45 บาทต่อหุ้นปรับลดลงต่ำสุดที่ 38.5 บาท ด้วยความกังวลเรื่องภาระหนี้มโหฬารส่งผลให้ต้องเพิ่มทุนในที่สุด
จากข้อมูลการประชุมและสื่อนำเสนอ ผู้บริหาร CPALL ในฐานะผู้ซื้อ มองเห็น “โอกาสทางธุรกิจ” ของ MAKRO อย่างไร
ข้อหนึ่ง แม้ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ทุกรูปแบบมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง แต่ทำเลที่มีศักยภาพต่ำกว่านั้นยังจำเป็นต้องมีร้านค้าปลีกดั้งเดิมหรือ “โชว์ห่วย” ซึ่งในปัจจุบันมีกว่า 600,000 รายทั่วประเทศ ข้อสอง MAKRO มีผู้บริหารและทีมงานที่เก่งและมีความสามารถด้านธุรกิจค้าส่ง หากธุรกรรมนี้เกิดขึ้นจริง CPALL จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่สนับสนุนให้ MAKRO เติบโตเร็วขึ้นกว่าในอดีต ข้อสาม ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการรวมตัวกัน (Synergy) จาก Economies of Scale และจากการเพิ่มอำนาจการต่อรองซัพพลายเออร์ ตลอดจนการประหยัดค่ารอยัลตี้ ข้อสี่ โอกาสการขยายธุรกิจค้าส่งของ MAKRO ไปยังประชาคมเศรษฐกิจเอเซียน และข้อห้า การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
นั่นคือ โอกาสทางธุรกิจที่ผู้ซื้อยอมจ่ายส่วนเพิ่มของราคาและที่มาของวลีเด็ดที่ว่า “ซื้อแพงวันนี้ ถูกในวันหน้า” นั่นเอง
ด้วยมูลค่าธุรกรรมจำนวนมหาศาล CPALL ได้เปิดเผยถึงแหล่งเงินทุนในการเข้าซื้อดังนี้ ชำระ 10% ด้วยเงินสดที่มีอยู่ และอีก 90% จากเงินกู้ธนาคาร การทำธุรกรรมดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะที่เรียกว่า LBO (Leverage Buy Out) กล่าวคือ ใช้เงินกู้ในการทำธุรกรรม และคาดหวังให้ MAKRO มีผลประกอบการแบบเติบโตดีอย่างต่อเนื่องและเป็น “เครื่องผลิตเงินสด” เพื่อชำระภาระดอกเบี้ยและทยอยจ่ายเงินต้นจนหมดเมื่อเวลาผ่านไป และในที่สุด CPALL จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธุรกิจค้าส่งรายใหญ่ที่สุดของไทยโดย “ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน” และยังสามารถรักษาระดับการจ่าย “เงินสดปันผลไม่น้อยกว่าเดิม” อีกด้วย
เมื่อนักลงทุนได้รับข้อมูลและมั่นใจมากขึ้น ราคาหุ้น CPALL ได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและปิดที่ 43.75 บาทในวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จนั้นยังต้องขึ้นอยู่กับสองปัจจัยสำคัญได้แก่ หนึ่งต้นทุนทางการเงิน หลังจากหมดข้อเสนอที่ดีสำหรับเงินกู้ระยะสั้นในช่วงแรกแล้ว บริษัทจำเป็นต้องมีแหล่งต้นทุนทางการเงินในระดับที่เหมาะสมและรับได้ บริษัทยังต้องพยายามชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาระและความเสี่ยงดอกเบี้ยขาขึ้นในอนาคตอีกด้วย และสอง CPALL ต้องสนับสนุน MAKRO อย่างเต็มที่เพื่อการเติบโตที่มากกว่าในอดีตและมีผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่องดังที่คาดการณ์ไว้
ในฐานะ Value Investor จำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนประเมินความสามารถของผู้บริหารที่จะทำให้เกิดผลจริง หากยังไม่มั่นใจก็เพียงเฝ้าติดตามพัฒนาการของ Mega Deal นี้โดยต้องไม่ลืมว่าราคาหุ้นมักจะสะท้อนตามความชัดเจนที่เพิ่มขึ้น สำหรับ VI พันธุ์แท้ที่เฝ้าติดตามอุตสาหกรรมค้าปลีกอย่างใกล้ชิดและ “อ่านกลยุทธ์ขาด” แม้มีเพียงข้อมูลเบื้องต้น การตัดสินใจซื้อในวันที่หุ้นตกลงมาก อาจเป็นโอกาสทองในการซื้อหุ้นที่พื้นฐานเปลี่ยนในราคาส่วนลดอีกด้วย
แม้เป็นการเร็วเกินไปที่จะบอกว่าตัดสินว่าถูกหรือผิดที่ซื้อหรือขายหุ้น CPALL ในช่วงนี้ เวลาเท่านั้นที่จะช่วยเฉลย แต่ Mega Deal เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในประเทศไทย นักลงทุนทุกคนจึงควรจะนำสิ่งได้เรียนรู้ครั้งนี้ เพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นสำหรับ Mega Deal ในอนาคตที่อาจจะมาถึง!
Mega Deal/ธันวา เลาหศิริวงศ์
Mega Deal/ธันวา เลาหศิริวงศ์
“Mega Deal” ในเชิงธุรกิจหมายถึง ข้อตกลงหรือข้อสัญญาของ “ธุรกรรมซื้อขายที่มีนัยสำคัญ” ทั้งในด้านขนาดมูลค่าของธุรกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แม้มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดธุรกรรม Mega Deal ในแวดวงธุรกิจโลก แต่ทุกธุรกรรมนั้นย่อมบ่งบอกถึง “ศักยภาพ” ของผู้ซื้อ ตลอดจน “โอกาสทางธุรกิจ” ที่ผู้ซื้อมองเห็นนั่นเอง
ในภาวะวงจรขาขึ้นของธุรกิจไทยนั้น มี Mega Deal เกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่เดือนได้แก่ กรณีแรก กลุ่มธุรกิจคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ประสบความสำเร็จในการซื้อหุ้นบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (F&N) บริษัทเก่าแก่ของสิงคโปร์ด้านอาหาร เครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ ด้วยเงินประมาณ 3.37 แสนล้านบาท นับว่าเป็นการซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นไม่นานนัก กลุ่มซีพีนำโดยคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ใช้เงิน 2.82 แสนล้านบาท เข้าซื้อหุ้นบริษัทผิงอัน อินซัวแรนซ์ บริษัทประกันอันดับ 2 ของประเทศจีนในสัดส่วน 15.6% ของทุนจดทะเบียน
ธุรกรรม Mega Deal ครั้งประวัติศาสตร์ของวงการธุรกิจไทย เกิดขึ้นหลังจากประเพณีสงกรานต์เพิ่งเสร็จสิ้นลง นั่นคือในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ บริษัทซีพี ออลล์ (CPALL) ผู้นำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ประกาศเสนอซื้อกิจการบริษัทสยามแม็คโคร (MAKRO) ผู้นำธุรกิจค้าส่งรายใหญ่ของไทย จากบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวีฯ (SHV) และผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วยวงเงินมูลค่าสูงถึง 1.88 แสนล้านบาท ราคาเสนอซื้อที่หุ้นละ 787 บาทนั้นให้ Premium จากราคาซื้อขายในตลาดเดือนก่อนหน้าถึง 30-50% อย่างไรก็ตามธุรกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น CPALL ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ด้วย
คำประกาศเสนอซื้อมูลค่าสูงพร้อมส่วนเพิ่มราคาดังกล่าว ส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาหุ้น CPALL ทันที จากที่เคยซื้อขายเหนือระดับ 45 บาทต่อหุ้นปรับลดลงต่ำสุดที่ 38.5 บาท ด้วยความกังวลเรื่องภาระหนี้มโหฬารส่งผลให้ต้องเพิ่มทุนในที่สุด
จากข้อมูลการประชุมและสื่อนำเสนอ ผู้บริหาร CPALL ในฐานะผู้ซื้อ มองเห็น “โอกาสทางธุรกิจ” ของ MAKRO อย่างไร
ข้อหนึ่ง แม้ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ทุกรูปแบบมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง แต่ทำเลที่มีศักยภาพต่ำกว่านั้นยังจำเป็นต้องมีร้านค้าปลีกดั้งเดิมหรือ “โชว์ห่วย” ซึ่งในปัจจุบันมีกว่า 600,000 รายทั่วประเทศ ข้อสอง MAKRO มีผู้บริหารและทีมงานที่เก่งและมีความสามารถด้านธุรกิจค้าส่ง หากธุรกรรมนี้เกิดขึ้นจริง CPALL จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่สนับสนุนให้ MAKRO เติบโตเร็วขึ้นกว่าในอดีต ข้อสาม ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการรวมตัวกัน (Synergy) จาก Economies of Scale และจากการเพิ่มอำนาจการต่อรองซัพพลายเออร์ ตลอดจนการประหยัดค่ารอยัลตี้ ข้อสี่ โอกาสการขยายธุรกิจค้าส่งของ MAKRO ไปยังประชาคมเศรษฐกิจเอเซียน และข้อห้า การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
นั่นคือ โอกาสทางธุรกิจที่ผู้ซื้อยอมจ่ายส่วนเพิ่มของราคาและที่มาของวลีเด็ดที่ว่า “ซื้อแพงวันนี้ ถูกในวันหน้า” นั่นเอง
ด้วยมูลค่าธุรกรรมจำนวนมหาศาล CPALL ได้เปิดเผยถึงแหล่งเงินทุนในการเข้าซื้อดังนี้ ชำระ 10% ด้วยเงินสดที่มีอยู่ และอีก 90% จากเงินกู้ธนาคาร การทำธุรกรรมดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะที่เรียกว่า LBO (Leverage Buy Out) กล่าวคือ ใช้เงินกู้ในการทำธุรกรรม และคาดหวังให้ MAKRO มีผลประกอบการแบบเติบโตดีอย่างต่อเนื่องและเป็น “เครื่องผลิตเงินสด” เพื่อชำระภาระดอกเบี้ยและทยอยจ่ายเงินต้นจนหมดเมื่อเวลาผ่านไป และในที่สุด CPALL จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธุรกิจค้าส่งรายใหญ่ที่สุดของไทยโดย “ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน” และยังสามารถรักษาระดับการจ่าย “เงินสดปันผลไม่น้อยกว่าเดิม” อีกด้วย
เมื่อนักลงทุนได้รับข้อมูลและมั่นใจมากขึ้น ราคาหุ้น CPALL ได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและปิดที่ 43.75 บาทในวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จนั้นยังต้องขึ้นอยู่กับสองปัจจัยสำคัญได้แก่ หนึ่งต้นทุนทางการเงิน หลังจากหมดข้อเสนอที่ดีสำหรับเงินกู้ระยะสั้นในช่วงแรกแล้ว บริษัทจำเป็นต้องมีแหล่งต้นทุนทางการเงินในระดับที่เหมาะสมและรับได้ บริษัทยังต้องพยายามชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาระและความเสี่ยงดอกเบี้ยขาขึ้นในอนาคตอีกด้วย และสอง CPALL ต้องสนับสนุน MAKRO อย่างเต็มที่เพื่อการเติบโตที่มากกว่าในอดีตและมีผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่องดังที่คาดการณ์ไว้
ในฐานะ Value Investor จำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนประเมินความสามารถของผู้บริหารที่จะทำให้เกิดผลจริง หากยังไม่มั่นใจก็เพียงเฝ้าติดตามพัฒนาการของ Mega Deal นี้โดยต้องไม่ลืมว่าราคาหุ้นมักจะสะท้อนตามความชัดเจนที่เพิ่มขึ้น สำหรับ VI พันธุ์แท้ที่เฝ้าติดตามอุตสาหกรรมค้าปลีกอย่างใกล้ชิดและ “อ่านกลยุทธ์ขาด” แม้มีเพียงข้อมูลเบื้องต้น การตัดสินใจซื้อในวันที่หุ้นตกลงมาก อาจเป็นโอกาสทองในการซื้อหุ้นที่พื้นฐานเปลี่ยนในราคาส่วนลดอีกด้วย
แม้เป็นการเร็วเกินไปที่จะบอกว่าตัดสินว่าถูกหรือผิดที่ซื้อหรือขายหุ้น CPALL ในช่วงนี้ เวลาเท่านั้นที่จะช่วยเฉลย แต่ Mega Deal เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในประเทศไทย นักลงทุนทุกคนจึงควรจะนำสิ่งได้เรียนรู้ครั้งนี้ เพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นสำหรับ Mega Deal ในอนาคตที่อาจจะมาถึง!