(เนื้อหาข่าวอยู่ในสปอยล์ค่ะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เปิดคำพิจารณา หนัง 'ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง' ห้ามฉายในราชอาณาจักร
Wed, 2013-04-24 11:45
อ่านคำพิจารณาโดยละเอียด แบน "ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง" อ้างข้อมูลภูมิซรอลและกรณีสลายชุมนุมเสื้อแดงไม่เป็นที่ยุติและไม่มีข้อสรุปทางเอกสาร ขัดความมั่นคงและกระทบสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ
สำหรับการพิจารณาอ้างเนื้อหาของภาพยนตร์จากอนุกรรมการฯ มีรายละเอียดดังนี้
ผลการตรวจพิจารณาภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวมีเนื้อหาสาระโดยรวม...เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ณ พื้นที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ของกรุงเทพฯ ที่ประชาชนใช้เป็นสถานที่จัดงานฉลองปีใหม่ รวมไปถึงการชุมนุมของมวลชนและความสูญเสีย จนกระทั่งนำเสนอภาพวิถีชีวิตของคนในต่างจังหวัดและชีวิตของคนชายแดนทั้งหมู่บ้านภูมิซรอล ติดกับเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ และบริเวณปราสาทตาควาย ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
เนื้อหาสาระและข้อสังเกตของภาพยนตร์ มีรายละเอียดดังนี้
1. บทบรรยายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ถูกต้อง ดังเช่น ในนาที 0.29 "งานฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ 84 พรรษา" เมื่อนำเหตุการณ์มาเชื่อมโยงกับสถาบันฯ แล้วให้ชื่อว่า "ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง" อาจทำให้ผู้ดูแปลความหมายไปในทางที่คลาดเคลื่อน เพราะรายละเอียดของภาพยนตร์ไม่ได้สอดรับกับชื่อ หรือผู้สร้างคิดและต้องการสื่ออะไร? เหตุการณ์ที่นำมาเผยแพร่อ้างว่าเป็น สารคดี แต่เป็นการสรุปความเห็นโดยผู้จัดทำ ซึ่งบางเหตุการณ์ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ยังไม่มีบทสรุปที่เป็นเอกสารอื่นใดมาประกอบการอ้างอิงให้ชัดเจนและเหตุการณ์เหล่านั้น เกิดขึ้นจริงหรือไม่? เช่น นาที 1.48 พื้นที่นี้ "เคยมีการปิดล้อมสังหารหมู่ กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาจากต่างจังหวัด" นาที 1.58 "มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน" นาที 2.04 "ชาวกรุงเทพและกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยหลายคนสนับสนุน และรู้สึกสะใจกับการปราบปรามการชุมนุมในครั้งนี้” นาที 2.09 รัฐบาลไทยในสมัยนั้นอ้างว่าเป็นการกระทำของมือที่ 3 เพื่อสร้างสถานการณ์ใส่ร้ายรัฐบาล” นาที 2.17 “กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงและผู้สนับสนุนเชื่อว่เป็นการกระทำของรัฐบาลและทหาร” นาที 2.29 “ชาวกรุงเทพฯและผู้ไม่สนับสนุนหลายคนกล่าวชื่นชมรัฐบาลและทหาร”นาที 2.44 “ชาวต่างจังหวัดถูกปรามาสว่าโง่ เห็นแก่เงิน” นาที 45.00 “รัฐบาลไทยและกัมพูชา จดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก” ฯลฯ การบรรยายด้วยตัวอักษรในภาพยนตร์ ที่ให้ข้อสังเกต ในบางช่วงขัดแย้งกับภาพ เพราะในภาพเป็นวิวในชนบท
2. เนื้อหามีความหมายในลักษณะก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดระหว่างคนในชาติ ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคี เป็นลักษณะที่ต้องไม่มีตามกฎกระทรวง ข้อ 7(3)
3. เนื้อหากระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ในกรณีที่มีการนำภาพทหารชายแดนยิงต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม และการนำภาพลักษณะที่ตั้งของหลุมหลบภัย และการพูดถึงทหารเขมร ทำการย้ายหลักเขตแดน เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ก็ไม่มีหลักฐานยืนยัน เป็นลักษณะที่ต้องไม่มีตามกฎกระทรวง ข้อ 7 (4)
คณะอนุกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาและภาพของภาพยนตร์ดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งอาจชักจูงให้ผู้ชมหลงเชื่อ และไม่ควรอนุญาตให้เผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. 2552 ข้อ7 (3) และ 7 (4)
ต่อกรณีการห้ามเผยแพร่ดังกล่าว นายนนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้กำกับภาพยนตร์ดังกล่าวชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กเพจ “Boundary: ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง” วานนี้ (23 เม.ย.) ว่า ข้อมูลที่เขานำเสนอนั้น ได้มาจากการลงพื้นที่จริง และต้องการให้ภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นพื้นที่นำเสนอของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจริงๆ โดยจะขออุทธรณ์การพิจารณาของคณะอนุกรรมการต่อไป
“ข้อมูลทั้งหมดที่ผมได้จากการลงไปยังพื้นที่จริงจากมุมมองของประชาชนในพื้นที่จริงที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน ไทย - กัมพูชา ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อพิพาทกรณีเขาพระวิหาร ส่วนหนึ่งทางผู้สร้างต้องการให้ภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เป็นพื้นที่การแสดงออกให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจริงๆ ได้แสดงมุมมอง ทัศนคติ และความคิดเห็นที่พวกเค้าไม่มีโอกาสได้สื่อและได้พูดออกมาสู่สาธารณชนได้รับรู้ ประชาชนควรมีสิทธิได้พูดในสิ่งที่คิด และภาพยนตร์ฟ้าต่ำแผ่นดินสูงเป็นการนำสารของประชาชนทุกฝ่ายมาสู่สาธารณชน และอยากให้ฟังความคิดเห็นที่ต่างกันและอยู่ร่วมกันได้ในสังคม และยังคงเชื่อว่าประชาชนไทยมีวิจารณญาณในการทำความเข้าใจในชุดข้อมูลนี้ด้วยตัวของพวกเขาเอง”
“ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ ผมจะยื่นอุทธรณ์ในขั้นต่อไป และแม้ในท้ายที่สุด ภาพยนตร์จะไม่ได้รับอนุญาต ผมก็จะถ่ายทอดสิ่งที่ผมได้พบเห็น ได้พูดคุย ได้เข้าใจ จากการลงพื้นที่จริงบริเวณชายแดนทั้งฝั่งไทยและฝั่งกัมพูชา ผ่านการพูดและการเขียนของผมต่อไป”
ที่มา: http://prachatai.com/journal/2013/04/46369
บอกก่อนว่า จขกท. ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้นะคะ(เพราะวันที่เค้าฉายกันที่หอศิลป์ จขกท....ตื่นสาย = =" ทุเรศจริงๆ ให้ตายเถอะ) แต่ในฐานะที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และมีโอกาสได้ลงไปทำงานในพื้นที่ความขัดแย้ง ได้คุยกับทั้งชาวบ้านจากภูมิซรอลและจากฝั่งกัมพูชา ทำให้ตัวเราเองสนใจหนังสารคดีเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงที่ได้ข่าวว่ามีการถ่ายทำ(หรือช่วงโพสท์โปรดักชั่นนี่แหละ) เพราะเราเองก็อยากรู้ว่าในมุมมองของคนจากสายงานอื่นเค้ามองประเด็นปัญหานี้อย่างไร และจะสะท้อนมันออกมาในรูปแบบไหน เหมือนหรือต่างจากมุมที่เรารับรู้มาจากการลงไปทำงานกับคนในพื้นที่อย่างไรบ้าง แล้วก็แอบตั้งความหวังไว้นิดๆ ว่า ถ้าหนังเรื่องนี้ได้ออกไปสู่สาธารณชนก็น่าที่จะดึงประเด็นบางอย่าง หรือมุมมองบางมุมมองให้ออกมาเป็นที่ถกเถียงและเรียนรู้ร่วมกันของสังคมได้บ้าง
แต่พอมาเห็นข่าวการแบน 'ห้ามฉายในราชอาณาจักร' แบบนี้ เราก็รู้สึกเลยว่าสงสัยความหวังของเราจะกลายเป็นหวังลมๆ แล้งๆ ไปรึเปล่า? ยิ่งตามมาอ่านเหตุผลที่คณะอนุกรรมการพิจารณาฯ ให้ไว้ก็ยิ่งเงิบ เฟล เศร้าใจ หลายอารมณ์มันปนกันไปมา บางทีก็ขำกับสิ่งที่เรียกว่า "วิจารณญาน" ถ้าหากเราจะพิจารณาดูเหตุผลที่คณะอนุกรรมการอ้างว่า 'พิจารณามาแล้ว' แล้วจะพบว่าไม่เพียงหนังเรื่องนี้หรอกที่ควรจะถูกพิจารณาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ จะกระทบต่อความมั่นคงภายใน และความมั่นคงระหว่างประเทศ เพราะตามเกณฑ์นี้เองข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าวโทรทัศน์ เวบบลอก หรือกระทั่งเวบบอร์ดอย่างพันทิปเองก็เป็นภัยในระดับเดียวกัน (พูดถึงเรื่องข่าว ตอนช่วงที่มีเหตุความขัดแย้งกันแรงๆ ตอนที่สันติอโศกยังชุมนุมอยู่กทม. ที่ทำงานเราเคยไปพบเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยพร้อมทั้งพาชาวบ้านจากภูมิซรอลและ CSO กัมพูชาที่เราทำงานร่วมกัน เพื่อไปพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อเสนอและข้อคิดเห็นต่อกรณีความขัดแย้งให้ทางรัฐบาลกัมพูชา รู้อะไรมั้ยคะ? ในสถานทูตกัมพูชาเค้าอ่าน/มอนิเตอร์สื่อไทยอยู่ เค้ารู้หมดนั่นแหละค่ะว่าใครลงข่าวกรณีนี้ว่ายังไง น้ำเสียงเป็นยังไง พูดถึงรัฐบาล/ประเทศเค้าว่าอะไรบ้าง...ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะพังลง เราว่าไม่ใช่เพราะหนังเรื่อง Boundary หรอกค่ะ น่าจะเพราะข่าวที่ฝั่งไทยรายงานกันนั่นแหละ)
นอกจากเรื่องวิจารณญาณในการพิจารณาแล้ว เรื่องที่ทำให้เรารู้สึกแย่จากการแบนหนังเรื่องนี้(และกับอีกหลายๆ เรื่องที่ผ่านมา) คือการที่เราปล่อยให้คนกลุ่มนึงชี้ขาดว่าอะไรคือสิ่งที่เรา 'ควรจะรับรู้' เรื่องนี้กับเราแล้วมันเป็นเรื่องใหญ่นะคะ ไม่ใช่แค่ว่าเค้ากำลังดูถูกเราว่าเราคิดเอง/พิจารณาเองไม่เป็น แต่นี้การละเมิดสิทธิที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เราต้องการรับรู้เลยทีเดียว นอกจากนั้นสำหรับสังคมไทยแล้วการแบนหนัง(หรือสารใดใด)โดยให้เหตุผลว่าเพราะสารนั้นๆ จะก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดในหมู่ประชาชน ฯลฯ มันไม่ต่างจากการบอนไซพัฒนาการทางความคิดและรวมไปถึงพัฒนาการทางประชาธิปไตย
อันนี้ไม่ได้พูดให้เวอร์เข้าไว้นะคะ หลักสำคัญอย่างหนึ่งของประชาธิปไตยมันก็คือการรู้ว่าคุณมีความคิดเห็นของคุณ ฉันมีความคิดเห็นของฉันก็พอแล้ว เอ้ย! มันคือการรู้ว่าเราต่างก็สามารถมีความคิดเห็นต่อเรื่องเดียวกันที่ต่างกันได้ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องคิดเหมือนกันทุกเรื่อง เพียงแค่ว่าทำยังไงที่เมื่อเรามีความเห็นที่ต่างกันแล้วเราจะไม่ฆ่ากัน? ทำอย่างไรให้เราสามารถดำรงความเห็นต่างกันไว้ในสังคมเดียวกันอย่างเคารพกันได้?
ในความเห็นของเรา ที่ผ่านมาสังคมเราไม่เคยพาตัวเองไปถึงจุดที่เราจะเรียนรู้กันว่าการอยู่ร่วมกันมันต้องเคารพในความต่างและไม่ฆ่ากันให้ตายไปเสียก่อน เราโดนบอนไซกันมาตลอดด้วยคำพูดทำนองว่า 'เราอย่าพูดเรื่องนี้เลยเดี๋ยวทะเลาะกันเปล่าๆ' หรือ 'ไม่ไหวหรอก คนไทยเรายังไม่พร้อม(กับประชาธิปไตย/วิธีคิดสมัยใหม่/การเรียนรู้)ขนาดนั้น' แน่นอนว่าเราไม่พร้อมหรอก ไม่มีสังคมไหนที่พอรวมตัวกันเป็นสังคมปุ๊ปก็จะพร้อม จะเข้าใจไปเสียทุกเรื่อง ฝรั่งเศสเอย อเมริกาเอย ต่างก็ผ่านบทเรียนอันเลวร้ายในระหว่างการพัฒนากันมา(และยังคงต้องพัฒนากันต่อไป) บทเรียนที่เจ็บปวดจะนำไปสู่การเรียนรู้ การเรียนรู้นำไปสู่การทำความเข้าใจ ความเข้าใจนำไปสู่การพัฒนา และการพัฒนานำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
ไม่แน่ใจว่ามีใครเคยได้ยินคำพูดทำนองนี้มั้ยที่ว่า 'คนเก่งจะเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนตนเอง แต่คนฉลาดจะเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น' แต่จริงๆ ยังมีคนอีกประเภทนึงบนโลกนี้ คือคนที่ไม่ยอมเรียนรู้และยังคงทำความผิดซ้ำเดิมเสมอๆ การแบนหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศเรา และคงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ความผิดซ้ำซากจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ หากเรายังปล่อยให้มีคนปิดกั้นการเรียนรู้ของเรา...ไม่แค่เรื่องหนัง แต่รวมไปถึงเรื่องการปิดกั้นการพัฒนาทางความคิดอีกด้วย
ป.ล.1 ตอนแรกกะว่าจะตั้งเป็นกระทู้ข่าว แต่เพราะความอัดอั้นตันใจเลยระบายความเห็นมาซะยาวเหยียด เลยขอตั้งเป็นกระทู้สนทนาดีกว่า(หวังว่าจะมีผู้มาสนทนาด้วย ฮา)
ป.ล.2 ขออนุญาตแท็ก "ภาพยนตร์" เพราะนี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์ และขออนุญาตแท็ก "การเมือง" เพราะเราก็ปฏิเสธความเป็นการเมืองของมันไม่ได้เหมือนกัน
ป.ล.3 เพราะว่าติดแท็กการเมือง ก็อยากชี้แจงไว้ก่อนว่าผู้ตั้งกระทู้ไม่ได้มีความคาดหวังว่าจะให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ตัวบุคคล กลุ่มก้อนทางการเมือง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะการปิดกั้นในสังคมไทยไม่ได้เกิดขึ้นจากเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่มันเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง เป็นปัญหาที่ฝังอยู่ในกรอบวิธีคิดของทั้งผู้มีอำนาจ/เจ้าหน้าที่รัฐ/หรือกระทั่งประชาชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ นี่แหละ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกคนก็มีสิทธิเต็มที่ที่จะแสดงความเห็นของตนเองค่ะ
[[BANNED]] เปิดคำพิจารณา หนัง 'ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง' ห้ามฉายในราชอาณาจักร
บอกก่อนว่า จขกท. ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้นะคะ(เพราะวันที่เค้าฉายกันที่หอศิลป์ จขกท....ตื่นสาย = =" ทุเรศจริงๆ ให้ตายเถอะ) แต่ในฐานะที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และมีโอกาสได้ลงไปทำงานในพื้นที่ความขัดแย้ง ได้คุยกับทั้งชาวบ้านจากภูมิซรอลและจากฝั่งกัมพูชา ทำให้ตัวเราเองสนใจหนังสารคดีเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงที่ได้ข่าวว่ามีการถ่ายทำ(หรือช่วงโพสท์โปรดักชั่นนี่แหละ) เพราะเราเองก็อยากรู้ว่าในมุมมองของคนจากสายงานอื่นเค้ามองประเด็นปัญหานี้อย่างไร และจะสะท้อนมันออกมาในรูปแบบไหน เหมือนหรือต่างจากมุมที่เรารับรู้มาจากการลงไปทำงานกับคนในพื้นที่อย่างไรบ้าง แล้วก็แอบตั้งความหวังไว้นิดๆ ว่า ถ้าหนังเรื่องนี้ได้ออกไปสู่สาธารณชนก็น่าที่จะดึงประเด็นบางอย่าง หรือมุมมองบางมุมมองให้ออกมาเป็นที่ถกเถียงและเรียนรู้ร่วมกันของสังคมได้บ้าง
แต่พอมาเห็นข่าวการแบน 'ห้ามฉายในราชอาณาจักร' แบบนี้ เราก็รู้สึกเลยว่าสงสัยความหวังของเราจะกลายเป็นหวังลมๆ แล้งๆ ไปรึเปล่า? ยิ่งตามมาอ่านเหตุผลที่คณะอนุกรรมการพิจารณาฯ ให้ไว้ก็ยิ่งเงิบ เฟล เศร้าใจ หลายอารมณ์มันปนกันไปมา บางทีก็ขำกับสิ่งที่เรียกว่า "วิจารณญาน" ถ้าหากเราจะพิจารณาดูเหตุผลที่คณะอนุกรรมการอ้างว่า 'พิจารณามาแล้ว' แล้วจะพบว่าไม่เพียงหนังเรื่องนี้หรอกที่ควรจะถูกพิจารณาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ จะกระทบต่อความมั่นคงภายใน และความมั่นคงระหว่างประเทศ เพราะตามเกณฑ์นี้เองข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าวโทรทัศน์ เวบบลอก หรือกระทั่งเวบบอร์ดอย่างพันทิปเองก็เป็นภัยในระดับเดียวกัน (พูดถึงเรื่องข่าว ตอนช่วงที่มีเหตุความขัดแย้งกันแรงๆ ตอนที่สันติอโศกยังชุมนุมอยู่กทม. ที่ทำงานเราเคยไปพบเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยพร้อมทั้งพาชาวบ้านจากภูมิซรอลและ CSO กัมพูชาที่เราทำงานร่วมกัน เพื่อไปพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อเสนอและข้อคิดเห็นต่อกรณีความขัดแย้งให้ทางรัฐบาลกัมพูชา รู้อะไรมั้ยคะ? ในสถานทูตกัมพูชาเค้าอ่าน/มอนิเตอร์สื่อไทยอยู่ เค้ารู้หมดนั่นแหละค่ะว่าใครลงข่าวกรณีนี้ว่ายังไง น้ำเสียงเป็นยังไง พูดถึงรัฐบาล/ประเทศเค้าว่าอะไรบ้าง...ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะพังลง เราว่าไม่ใช่เพราะหนังเรื่อง Boundary หรอกค่ะ น่าจะเพราะข่าวที่ฝั่งไทยรายงานกันนั่นแหละ)
นอกจากเรื่องวิจารณญาณในการพิจารณาแล้ว เรื่องที่ทำให้เรารู้สึกแย่จากการแบนหนังเรื่องนี้(และกับอีกหลายๆ เรื่องที่ผ่านมา) คือการที่เราปล่อยให้คนกลุ่มนึงชี้ขาดว่าอะไรคือสิ่งที่เรา 'ควรจะรับรู้' เรื่องนี้กับเราแล้วมันเป็นเรื่องใหญ่นะคะ ไม่ใช่แค่ว่าเค้ากำลังดูถูกเราว่าเราคิดเอง/พิจารณาเองไม่เป็น แต่นี้การละเมิดสิทธิที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เราต้องการรับรู้เลยทีเดียว นอกจากนั้นสำหรับสังคมไทยแล้วการแบนหนัง(หรือสารใดใด)โดยให้เหตุผลว่าเพราะสารนั้นๆ จะก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดในหมู่ประชาชน ฯลฯ มันไม่ต่างจากการบอนไซพัฒนาการทางความคิดและรวมไปถึงพัฒนาการทางประชาธิปไตย
อันนี้ไม่ได้พูดให้เวอร์เข้าไว้นะคะ หลักสำคัญอย่างหนึ่งของประชาธิปไตยมันก็คือการรู้ว่าคุณมีความคิดเห็นของคุณ ฉันมีความคิดเห็นของฉันก็พอแล้ว เอ้ย! มันคือการรู้ว่าเราต่างก็สามารถมีความคิดเห็นต่อเรื่องเดียวกันที่ต่างกันได้ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องคิดเหมือนกันทุกเรื่อง เพียงแค่ว่าทำยังไงที่เมื่อเรามีความเห็นที่ต่างกันแล้วเราจะไม่ฆ่ากัน? ทำอย่างไรให้เราสามารถดำรงความเห็นต่างกันไว้ในสังคมเดียวกันอย่างเคารพกันได้?
ในความเห็นของเรา ที่ผ่านมาสังคมเราไม่เคยพาตัวเองไปถึงจุดที่เราจะเรียนรู้กันว่าการอยู่ร่วมกันมันต้องเคารพในความต่างและไม่ฆ่ากันให้ตายไปเสียก่อน เราโดนบอนไซกันมาตลอดด้วยคำพูดทำนองว่า 'เราอย่าพูดเรื่องนี้เลยเดี๋ยวทะเลาะกันเปล่าๆ' หรือ 'ไม่ไหวหรอก คนไทยเรายังไม่พร้อม(กับประชาธิปไตย/วิธีคิดสมัยใหม่/การเรียนรู้)ขนาดนั้น' แน่นอนว่าเราไม่พร้อมหรอก ไม่มีสังคมไหนที่พอรวมตัวกันเป็นสังคมปุ๊ปก็จะพร้อม จะเข้าใจไปเสียทุกเรื่อง ฝรั่งเศสเอย อเมริกาเอย ต่างก็ผ่านบทเรียนอันเลวร้ายในระหว่างการพัฒนากันมา(และยังคงต้องพัฒนากันต่อไป) บทเรียนที่เจ็บปวดจะนำไปสู่การเรียนรู้ การเรียนรู้นำไปสู่การทำความเข้าใจ ความเข้าใจนำไปสู่การพัฒนา และการพัฒนานำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
ไม่แน่ใจว่ามีใครเคยได้ยินคำพูดทำนองนี้มั้ยที่ว่า 'คนเก่งจะเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนตนเอง แต่คนฉลาดจะเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น' แต่จริงๆ ยังมีคนอีกประเภทนึงบนโลกนี้ คือคนที่ไม่ยอมเรียนรู้และยังคงทำความผิดซ้ำเดิมเสมอๆ การแบนหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศเรา และคงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ความผิดซ้ำซากจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ หากเรายังปล่อยให้มีคนปิดกั้นการเรียนรู้ของเรา...ไม่แค่เรื่องหนัง แต่รวมไปถึงเรื่องการปิดกั้นการพัฒนาทางความคิดอีกด้วย
ป.ล.1 ตอนแรกกะว่าจะตั้งเป็นกระทู้ข่าว แต่เพราะความอัดอั้นตันใจเลยระบายความเห็นมาซะยาวเหยียด เลยขอตั้งเป็นกระทู้สนทนาดีกว่า(หวังว่าจะมีผู้มาสนทนาด้วย ฮา)
ป.ล.2 ขออนุญาตแท็ก "ภาพยนตร์" เพราะนี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์ และขออนุญาตแท็ก "การเมือง" เพราะเราก็ปฏิเสธความเป็นการเมืองของมันไม่ได้เหมือนกัน
ป.ล.3 เพราะว่าติดแท็กการเมือง ก็อยากชี้แจงไว้ก่อนว่าผู้ตั้งกระทู้ไม่ได้มีความคาดหวังว่าจะให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ตัวบุคคล กลุ่มก้อนทางการเมือง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะการปิดกั้นในสังคมไทยไม่ได้เกิดขึ้นจากเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่มันเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง เป็นปัญหาที่ฝังอยู่ในกรอบวิธีคิดของทั้งผู้มีอำนาจ/เจ้าหน้าที่รัฐ/หรือกระทั่งประชาชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ นี่แหละ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกคนก็มีสิทธิเต็มที่ที่จะแสดงความเห็นของตนเองค่ะ