อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาที่เห็นดวงจันทร์แหว่งครั้งเดียวของปีนี้ (ที่เหลืออีก 2 ครั้งเป็นจันทรุปราคาเงามัว) โดยเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางดึก ก่อนรุ่งอรุณของวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556 ตามเวลาประเทศไทย ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวในเวลา 01:04 น. แต่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
ดวงจันทร์เริ่มหมองคล้ำจนสังเกตได้ในเวลาประมาณตี 2 จากนั้นขอบดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 02:54 น. ดวงจันทร์จะถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 03:07 น. คิดเป็นขนาดความลึกเพียง 1.5% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 40° สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 03:21 น. และสิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัวในเวลา 05:11 น.
พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือด้านตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ผู้ที่อยู่ทางตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป และแอฟริกา จะเกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นในค่ำวันที่ 25 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ส่วนเอเชียและออสเตรเลีย เกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงในเวลาเช้ามืดของวันที่ 26 เมษายน
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 26 เมษายน 2556
1.ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 01:03:38 น.
2.เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 02:54:05 น.
3.กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 03:07:29 น.
4.สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 03:21:02 น.
5.ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 05:11:24 น.
เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว โดยมีดาวเสาร์อยู่สูงเหนือดวงจันทร์ 5° ส่วนดาวรวงข้าวอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 11°-12° ดวงจันทร์เฉียดทางทิศใต้ของเงาโลก ขณะบังลึกที่สุดจึงเห็นขอบด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ (ขวามือ เยื้องไปทางด้านบน) มีลักษณะมืดคล้ำ และแหว่งเล็กน้อย
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 65 ใน 72 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 112 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 859 - 2139 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 7 ครั้ง บางส่วน 21 ครั้ง เต็มดวง 15 ครั้ง บางส่วน 22 ครั้ง และเงามัว 7 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1490 นาน 1 ชั่วโมง 39.9 นาที
Credit :
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2013eclipses.html
จันทรุปราคาบางส่วน 26 เมษายน 2556
อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาที่เห็นดวงจันทร์แหว่งครั้งเดียวของปีนี้ (ที่เหลืออีก 2 ครั้งเป็นจันทรุปราคาเงามัว) โดยเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางดึก ก่อนรุ่งอรุณของวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556 ตามเวลาประเทศไทย ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวในเวลา 01:04 น. แต่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
ดวงจันทร์เริ่มหมองคล้ำจนสังเกตได้ในเวลาประมาณตี 2 จากนั้นขอบดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 02:54 น. ดวงจันทร์จะถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 03:07 น. คิดเป็นขนาดความลึกเพียง 1.5% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 40° สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 03:21 น. และสิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัวในเวลา 05:11 น.
พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือด้านตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ผู้ที่อยู่ทางตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป และแอฟริกา จะเกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นในค่ำวันที่ 25 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ส่วนเอเชียและออสเตรเลีย เกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงในเวลาเช้ามืดของวันที่ 26 เมษายน
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 26 เมษายน 2556
1.ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 01:03:38 น.
2.เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 02:54:05 น.
3.กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 03:07:29 น.
4.สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 03:21:02 น.
5.ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 05:11:24 น.
เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว โดยมีดาวเสาร์อยู่สูงเหนือดวงจันทร์ 5° ส่วนดาวรวงข้าวอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 11°-12° ดวงจันทร์เฉียดทางทิศใต้ของเงาโลก ขณะบังลึกที่สุดจึงเห็นขอบด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ (ขวามือ เยื้องไปทางด้านบน) มีลักษณะมืดคล้ำ และแหว่งเล็กน้อย
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 65 ใน 72 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 112 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 859 - 2139 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 7 ครั้ง บางส่วน 21 ครั้ง เต็มดวง 15 ครั้ง บางส่วน 22 ครั้ง และเงามัว 7 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1490 นาน 1 ชั่วโมง 39.9 นาที
Credit : http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2013eclipses.html