27 - 31 กรกฏาคม นี้ เชิญชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 2 อย่างครับ

สวัสดีครับ อมยิ้ม17   ผม Partita ขอเสนอข่าวปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สั้น ๆ  ที่จะเกิดขึ้นในคืนวันนี้ครับ  
เนื้อหาข่าวผมนำมาจาก
- http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/lunareclipse-201808/
- http://www.narit.or.th/index.php/pr-news/3645-narit-3-events-july
และนำมาเรียบเรียง + ใส่ภาพเพิ่มเติมครับ

จันทรุปราคาเต็มดวง 27 - 28 กรกฏาคม 2561
   คืนวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชา เข้าสู่เช้ามืดวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรรษา
และวันเข้าพรรรษา จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เห็นได้ด้วยตาเปล่าจากทั่วประเทศ หากท้องฟ้าเปิด สามารถสังเกตดวงจันทร์
ถูกเงามืดของโลกบังหมดทั้งดวงนาน 1 ชั่วโมง 43 นาที นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่นานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21

ตำแหน่งความสูงดวงจันทร์ขณะที่เริ่มเข้าเงามัว
หากท่านจะรอถ่ายภาพ  ให้เริ่มรอถ่ายภาพประมาณ 02:20 (เช้าวันเสาร์)
ตำแหน่งดวงจันทร์จะมีมุมสูงประมาณ 45 องศาจากพื้นดิน  ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ครับ


ลำดับเหตุการณ์
1. จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังเวลา 23:59 น. ของคืนวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม ต่อเนื่องถึงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม ครับ
    ปรากฏการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงจันทร์แตะเงามัวของโลกในเวลา 00:15 น. (เช้าวันเสาร์)  แต่เรายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
    ดวงจันทร์จะเริ่มหมองออกแดงคล้ำจนอาจเริ่มสังเกตได้เมื่อเวลาประมาณตี 1  ซึ่งเป็นเวลาที่เงามัวกินลึกเข้าไปราวครึ่งหนึ่ง
    ของพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์
2. เวลา 01:24 น. ดวงจันทร์เริ่มแตะเงามืดของโลก ถือเป็นการเริ่มต้นจันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์จะเริ่มแหว่งเว้า
    เนื่องจากเงามืดเริ่มบัง (เราอาจรู้สึกว่าดวงจันทร์ดูเหมือนแหว่งไปบ้างแล้วก่อนหน้าเวลานี้ไม่นาน  เนื่องจากขอบเงามืด  
    ไม่คมชัดอย่างที่แสดงในแผนภาพการเกิดจันทรุปราคา)
3. เมื่อเวลาผ่านไป เงามืดจะกินลึกเข้าไปในดวงจันทร์มากขึ้นเรื่อย ๆ .... จนบังถึงราว 25% ที่เวลาประมาณ 01:45 น.
    บังครึ่งดวงที่เวลา 02:00 น.  และบัง 75% ที่เวลา 02:15 น.  และเริ่มบังหมดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 02:30 น.
4. ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดลึกที่สุดในเวลา 03:22 น.  จากนั้นจันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดเมื่อขอบดวงจันทร์ด้านบน
    เริ่มสว่างขึ้นในเวลา 04:13 น.  รวมเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงนาน 1 ชั่วโมง 43 นาที

ภาพจากต้นฉบับของคุณ วรเชษฐ์ บุญปลอด (สมาคมดาราศาสตร์ไทย)


จันทรุปราคาที่มีดาวเคราะห์อยู่ใกล้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย  ดาวเคราะห์ที่สามารถปรากฏอยู่ใกล้ดวงจันทร์เพ็ญได้ นั้น
มีเฉพาะดาวเคราะห์วงนอก ได้แก่  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาว Uranus  และ ดาว Neptune
โดยดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์สว่างที่สุด  ที่สามารถอยู่ใกล้ดวงจันทร์ได้ขณะเกิดจันทรุปราคา
ซึ่ง  หากเกิดในช่วงราวเดือนมิถุนายน - ตุลาคม  ดาวอังคารมีโอกาสจะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีได้ด้วยครับ

   จันทรุปราคาเต็มดวง กับ ดาวอังคารเข้าใกล้โลก
จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 28 กรกฎาคม นี้  นอกจากจะมีระยะเวลายาวนานแล้ว  ยังมีความพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ
เกิดขึ้นในคืนที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี (Opposition)  และดาวอังคารก็อยู่ที่ตำแหน่งใกล้โลกมากเป็นพิเศษ
โดยที่ดาวอังคารโคจรมาพอดีกับตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561  ที่ระยะห่าง 57.6 ล้านกิโลเมตรครับ


ลักษณะเช่นนี้  จะเกิดขึ้นทุก ๆ 14 - 15 ปี  ทำให้เราเห็นดาวอังคารเป็นดาวสว่างสีส้ม (Magnitude -2.8)
อยู่ใกล้ดวงจันทร์ที่กลายเป็นสีแดงในช่วงเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง  โดยใกล้กันที่ระยะเชิงมุม 6°  หากเรากำมือ
แล้วเหยียดแขนออกไปให้สุด  กำปั้นของเราสามารถบังทั้งดวงจันทร์และดาวอังคารได้พร้อมกัน

แล้วรอชมกันนะครับ (หากไม่มีเมฆ)  สวัสดีครับ อมยิ้ม17
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่