(เก็บมาแบ่งปันจ้ะ)
ลงทุนเพื่อกระแสเงินสด (revisited)
ในสภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนผมเชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ คนคงจะอยู่ในสภาพ "ใจสั่น" เวลาที่เห็นราคาหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ดิ่งลงอย่างน่าใจหาย ไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือ VI
ในมุมมองของ VI หุ้นบางตัวเราคิดแล้วคิดอีกก่อนซื้อ แถมยังซื้อแบบมี margin of safety ซะด้วย แต่ไหงพอตลาดปักหัวลงมันกลับดิ่งตามหน้าตาเฉยได้ล่ะ ตกลงที่เราวิเคราะห์มาก่อนหน้านี้มันถูกต้องจริงๆ หรือเปล่า??
นายตลาด หรือ Mr Market ตามแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นบุคคลสมมติที่มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เขาเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจของเราและจะโผล่มาเสนอซื้อขายหุ้นกับเราทุกวัน กติกาก็คือนายตลาดเป็นคนเสนอราคา ส่วนเราเป็นคนตัดสินใจว่าจะซื้อขายหรือไม่ ดังนั้นเมื่อเข้าใจบทบาทของเขาและของเราแล้ว เราก็อย่าไปเถียงเรื่องราคากับนายตลาด คิดในฝั่งของเราเฉยๆ ก็พอว่าจะซื้อ จะขาย หรือจะอยู่เฉยๆ
มองในมุมใหม่ "ลงทุนเพื่อกระแสเงินสด"
หากว่าในภาวะที่ตลาดกำลังดิ่งลงแล้วเราเทขายหุ้น ฟังดูก็น่าจะโอเค ก็ในเมื่อหุ้นกำลังลงแล้วจะถือหุ้นไว้ทำแป๊ะอะไรจริงมั๊ยครับ แต่ถามจริงๆ เรารู้หรือเปล่าว่า ณ จุดที่เราขายหุ้นมันไม่ใช่ก้นเหว ผมเคยเห็นมานักต่อนักแล้วที่คนเทขายหุ้นด้วยความคิดว่าจะไปรอซื้อกลับที่ก้นเหว แต่กลับกลายเป็นว่าตัวเองนั่นแหละดันไปขายหุ้นตอนมันตกต่ำที่สุด จากนั้นก็ได้แต่นั่งมองหุ้นที่(เคย)เป็นของเราพุ่งขึ้นๆ จากการที่มีคนช้อนซื้อของดีราคาถูก(ไปจากเรา) หรือแม้เราไม่ได้ขายหุ้นไปที่ก้นเหว แต่พอหุ้นลงต่อเราก็กล้าๆ กลัวๆ ไม่เข้าซื้อซักที จนหุ้นเงยหัวขึ้นมาแล้วก็ยังรีๆ รอๆ จนมันพุ่งผ่านจุดที่เราขายออกไปก็เลยยอมยกธงขาว ปล่อยให้มันลอยผ่านเราไป
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเราพยายามไปมองที่ตัว "ราคาหุ้น" แต่เรื่องจะง่ายกว่านี้อีกมากหากว่าเราพยายามมองไปที่ "กระแสเงินสด" ที่ออกมาจากหุ้นจริงๆ ซึ่งก็คือเงินปันผล อย่างไรก็ตาม ผมต้องบอกก่อนว่าการลงทุนแนว VI เน้นไปที่คุณค่าและราคาหุ้น โดยไม่ได้มีนิยามเกี่ยวกับเงินปันผลไว้เป็นพิเศษ ดังนั้นการเน้นกระแสเงินสดหรือเงินปันผลก็เป็นเพียงแค่แนวทางย่อยของ VI เท่านั้น
ตัวอย่างการลงทุนของนักลงทุนทั่วไป
สมมติผมมีหุ้นอยู่ตัวหนึ่ง ชื่อหุ้น MKY ผมเห็นว่ามันเป็นบริษัทที่ดีทำผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและจ่ายปันผลปีละไม่ต่ำกว่า 80 สตางค์ ขณะที่ราคาหุ้นอยู่ที่ 10 บาท เมื่อคิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลก็จะอยู่ที่ 8% ซึ่งส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพตลาดหุ้น เพราะต่อให้ตลาดหุ้นมันย่ำแย่อย่างไร บริษัทก็ยังเปิดทำการและยังหาเงินได้ พอถึงเวลาจ่ายปันผลก็ยังจ่ายได้ กล่าวได้ว่าผมมั่นใจในกระแสเงินสดส่วนนี้พอสมควรจึงเข้าซื้อไว้ 10,000 หุ้น คิดเป็นเงินลงทุน 10000 x 10 = 1 แสนบาท
ต่อมาตลาดหุ้นตกใจกับปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปทำให้หุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลงไม่เว้นแม้แต่หุ้น MKY ของผมด้วย ราคาร่วงลงมาอยู่ที่ 9 บาท ถ้าผมพยายามคิดมูลค่าเป็นตัวเงินก็จะพบว่าพอร์ตหุ้นของผมขาดทุนไปแล้ว 1 หมื่นบาท (10,000 หุ้น ขาดทุนหุ้นละ 1 บาท) คิดอย่างนี้แล้วสำหรับคนเบี้ยน้อยหอยน้อยอย่างผมก็ชวนให้ใจสั่นอยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ตามไม่กี่วันต่อมาตลาดหุ้นยิ่งตกใจหนัก ตลาดถล่มลงอีกเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน นำพาให้หุ้น MKY ของผมหล่นลงมาอยู่ที่ 7 บาท เอาล่ะสิ ขาดทุนรวมๆ กันตอนนี้ 3 หมื่นบาทเข้าไปแล้ว (10,000 หุ้น ขาดทุนหุ้นละ 3 บาท) นี่มันนรกชัดๆ ยิ่งคิดยิ่งหม่นหมอง
ตัวอย่างการลงทุนเพื่อกระแสเงินสด
จากตัวอย่างเดิมเพียงแต่คราวนี้ผมลงทุนเพื่อกระแสเงินสด มุมมองของผมจะเปลี่ยนไป ในทีแรกที่หุ้นตกลงมาเหลือ 9 บาทผมจะมองว่า "เฮ้ย จะเป็นไรไป บริษัทก็ยังดีอยู่ เดี๋ยวก็ได้เงินปันผลแล้ว" ผมก็จะยังเย็นใจได้ถึงแม้จะแอบอิจฉาคนอื่นในตลาดอยู่นิดๆ ที่สามารถเข้าซื้อหุ้นแสนดีตัวนี้ได้ที่ราคาต่ำกว่าผม
ครั้นพอหุ้นตกมาเหลือ 7 บาท คราวนี้ผมตาลุกแล้วครับ ถ้าคำนวณกระแสเงินสดจากเงินปันผล 80 สตางค์ เทียบกับเงินลงทุน 7 บาท อ้าว! ได้อัตราผลตอบแทนตั้ง 11.4% นี่หว่า โอ้โห มีความสุขมาก เข้าซื้อเลยที่ราคา 7 บาท และคราวนี้โอกาสดีมากจึงซื้อถึง 20,000 หุ้น (ใช้เงิน 140,000 บาท) ตอนนี้ผมก็มี "เด็กๆ" ในคาถาถึง 30,000 หุ้นที่จะมาช่วยกันสร้างกระแสเงินสดให้ผม โดยแบ่งเป็น
ล็อตแรก 10,000 หุ้น สร้างกระแสเงินสดให้ผมในอัตรา 8% (ไม่เลวเลย)
ล็อตที่สอง 20,000 หุ้น สร้างกระแสเงินสดให้ผมในอัตรา 11.4% (เยี่ยมยอด)
เมื่อคิดได้ดังนี้แล้วผมควรจะกังวลอะไรล่ะครับ
ลงทุนอย่างไรให้ถูกทาง
พยายามคิดว่าเป้าหมายหลักของเราไม่ใช่การสร้างพอร์ตหุ้นมูลค่าเท่านั้นเท่านี้ แต่เป็นการสร้างกระแสเงินสดต่างหาก เมื่อใดกระแสเงินสดที่เราสร้างขึ้นสูงกว่าค่าใช้จ่ายของเรา เมื่อนั้นเราก็มีอิสรภาพทางการเงิน
สมมติว่าคำนวณจากพอร์ตหุ้นตามตัวอย่างข้างต้นผมจะมีกระแสเงินสดจากเงินปันผลของหุ้นล็อตแรก 10000 x 0.8 = 8,000 บาท และจากหุ้นล็อตที่สอง 20000 x 0.8 = 16,000 บาท รวมแล้วผมจะมีกระแสเงินสด 24,000 บาท และยังไม่นับว่าในอนาคตบริษัทนี้อาจเติบโตและจ่ายเงินปันผลได้มากขึ้นซึ่งก็จะทำให้กระแสเงินสดของผมโตขึ้นกว่านี้อีกด้วย หากจะคิดง่ายๆ ว่าผมใช้จ่ายเดือนละ 2 หมื่นหรือตกปีละ 2.4 แสนบาท กระแสเงินสดที่ผมได้ตอนนี้ก็ยังเป็นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของที่ผมต้องการ สิ่งที่ผมต้องทำคือ รอจังหวะเหมาะๆ ที่จะสะสมหุ้นเพิ่มเพื่อผลักดันให้กระแสเงินสดของผมใหญ่ขึ้นจนกว่าจะถึงเป้าหมายที่วางไว้
เครดิต www.monkeyfreetime.com
ลงทุนเพื่อกระแสเงินสด
ลงทุนเพื่อกระแสเงินสด (revisited)
ในสภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนผมเชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ คนคงจะอยู่ในสภาพ "ใจสั่น" เวลาที่เห็นราคาหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ดิ่งลงอย่างน่าใจหาย ไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือ VI
ในมุมมองของ VI หุ้นบางตัวเราคิดแล้วคิดอีกก่อนซื้อ แถมยังซื้อแบบมี margin of safety ซะด้วย แต่ไหงพอตลาดปักหัวลงมันกลับดิ่งตามหน้าตาเฉยได้ล่ะ ตกลงที่เราวิเคราะห์มาก่อนหน้านี้มันถูกต้องจริงๆ หรือเปล่า??
นายตลาด หรือ Mr Market ตามแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นบุคคลสมมติที่มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เขาเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจของเราและจะโผล่มาเสนอซื้อขายหุ้นกับเราทุกวัน กติกาก็คือนายตลาดเป็นคนเสนอราคา ส่วนเราเป็นคนตัดสินใจว่าจะซื้อขายหรือไม่ ดังนั้นเมื่อเข้าใจบทบาทของเขาและของเราแล้ว เราก็อย่าไปเถียงเรื่องราคากับนายตลาด คิดในฝั่งของเราเฉยๆ ก็พอว่าจะซื้อ จะขาย หรือจะอยู่เฉยๆ
มองในมุมใหม่ "ลงทุนเพื่อกระแสเงินสด"
หากว่าในภาวะที่ตลาดกำลังดิ่งลงแล้วเราเทขายหุ้น ฟังดูก็น่าจะโอเค ก็ในเมื่อหุ้นกำลังลงแล้วจะถือหุ้นไว้ทำแป๊ะอะไรจริงมั๊ยครับ แต่ถามจริงๆ เรารู้หรือเปล่าว่า ณ จุดที่เราขายหุ้นมันไม่ใช่ก้นเหว ผมเคยเห็นมานักต่อนักแล้วที่คนเทขายหุ้นด้วยความคิดว่าจะไปรอซื้อกลับที่ก้นเหว แต่กลับกลายเป็นว่าตัวเองนั่นแหละดันไปขายหุ้นตอนมันตกต่ำที่สุด จากนั้นก็ได้แต่นั่งมองหุ้นที่(เคย)เป็นของเราพุ่งขึ้นๆ จากการที่มีคนช้อนซื้อของดีราคาถูก(ไปจากเรา) หรือแม้เราไม่ได้ขายหุ้นไปที่ก้นเหว แต่พอหุ้นลงต่อเราก็กล้าๆ กลัวๆ ไม่เข้าซื้อซักที จนหุ้นเงยหัวขึ้นมาแล้วก็ยังรีๆ รอๆ จนมันพุ่งผ่านจุดที่เราขายออกไปก็เลยยอมยกธงขาว ปล่อยให้มันลอยผ่านเราไป
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเราพยายามไปมองที่ตัว "ราคาหุ้น" แต่เรื่องจะง่ายกว่านี้อีกมากหากว่าเราพยายามมองไปที่ "กระแสเงินสด" ที่ออกมาจากหุ้นจริงๆ ซึ่งก็คือเงินปันผล อย่างไรก็ตาม ผมต้องบอกก่อนว่าการลงทุนแนว VI เน้นไปที่คุณค่าและราคาหุ้น โดยไม่ได้มีนิยามเกี่ยวกับเงินปันผลไว้เป็นพิเศษ ดังนั้นการเน้นกระแสเงินสดหรือเงินปันผลก็เป็นเพียงแค่แนวทางย่อยของ VI เท่านั้น
ตัวอย่างการลงทุนของนักลงทุนทั่วไป
สมมติผมมีหุ้นอยู่ตัวหนึ่ง ชื่อหุ้น MKY ผมเห็นว่ามันเป็นบริษัทที่ดีทำผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและจ่ายปันผลปีละไม่ต่ำกว่า 80 สตางค์ ขณะที่ราคาหุ้นอยู่ที่ 10 บาท เมื่อคิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลก็จะอยู่ที่ 8% ซึ่งส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพตลาดหุ้น เพราะต่อให้ตลาดหุ้นมันย่ำแย่อย่างไร บริษัทก็ยังเปิดทำการและยังหาเงินได้ พอถึงเวลาจ่ายปันผลก็ยังจ่ายได้ กล่าวได้ว่าผมมั่นใจในกระแสเงินสดส่วนนี้พอสมควรจึงเข้าซื้อไว้ 10,000 หุ้น คิดเป็นเงินลงทุน 10000 x 10 = 1 แสนบาท
ต่อมาตลาดหุ้นตกใจกับปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปทำให้หุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลงไม่เว้นแม้แต่หุ้น MKY ของผมด้วย ราคาร่วงลงมาอยู่ที่ 9 บาท ถ้าผมพยายามคิดมูลค่าเป็นตัวเงินก็จะพบว่าพอร์ตหุ้นของผมขาดทุนไปแล้ว 1 หมื่นบาท (10,000 หุ้น ขาดทุนหุ้นละ 1 บาท) คิดอย่างนี้แล้วสำหรับคนเบี้ยน้อยหอยน้อยอย่างผมก็ชวนให้ใจสั่นอยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ตามไม่กี่วันต่อมาตลาดหุ้นยิ่งตกใจหนัก ตลาดถล่มลงอีกเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน นำพาให้หุ้น MKY ของผมหล่นลงมาอยู่ที่ 7 บาท เอาล่ะสิ ขาดทุนรวมๆ กันตอนนี้ 3 หมื่นบาทเข้าไปแล้ว (10,000 หุ้น ขาดทุนหุ้นละ 3 บาท) นี่มันนรกชัดๆ ยิ่งคิดยิ่งหม่นหมอง
ตัวอย่างการลงทุนเพื่อกระแสเงินสด
จากตัวอย่างเดิมเพียงแต่คราวนี้ผมลงทุนเพื่อกระแสเงินสด มุมมองของผมจะเปลี่ยนไป ในทีแรกที่หุ้นตกลงมาเหลือ 9 บาทผมจะมองว่า "เฮ้ย จะเป็นไรไป บริษัทก็ยังดีอยู่ เดี๋ยวก็ได้เงินปันผลแล้ว" ผมก็จะยังเย็นใจได้ถึงแม้จะแอบอิจฉาคนอื่นในตลาดอยู่นิดๆ ที่สามารถเข้าซื้อหุ้นแสนดีตัวนี้ได้ที่ราคาต่ำกว่าผม
ครั้นพอหุ้นตกมาเหลือ 7 บาท คราวนี้ผมตาลุกแล้วครับ ถ้าคำนวณกระแสเงินสดจากเงินปันผล 80 สตางค์ เทียบกับเงินลงทุน 7 บาท อ้าว! ได้อัตราผลตอบแทนตั้ง 11.4% นี่หว่า โอ้โห มีความสุขมาก เข้าซื้อเลยที่ราคา 7 บาท และคราวนี้โอกาสดีมากจึงซื้อถึง 20,000 หุ้น (ใช้เงิน 140,000 บาท) ตอนนี้ผมก็มี "เด็กๆ" ในคาถาถึง 30,000 หุ้นที่จะมาช่วยกันสร้างกระแสเงินสดให้ผม โดยแบ่งเป็น
ล็อตแรก 10,000 หุ้น สร้างกระแสเงินสดให้ผมในอัตรา 8% (ไม่เลวเลย)
ล็อตที่สอง 20,000 หุ้น สร้างกระแสเงินสดให้ผมในอัตรา 11.4% (เยี่ยมยอด)
เมื่อคิดได้ดังนี้แล้วผมควรจะกังวลอะไรล่ะครับ
ลงทุนอย่างไรให้ถูกทาง
พยายามคิดว่าเป้าหมายหลักของเราไม่ใช่การสร้างพอร์ตหุ้นมูลค่าเท่านั้นเท่านี้ แต่เป็นการสร้างกระแสเงินสดต่างหาก เมื่อใดกระแสเงินสดที่เราสร้างขึ้นสูงกว่าค่าใช้จ่ายของเรา เมื่อนั้นเราก็มีอิสรภาพทางการเงิน
สมมติว่าคำนวณจากพอร์ตหุ้นตามตัวอย่างข้างต้นผมจะมีกระแสเงินสดจากเงินปันผลของหุ้นล็อตแรก 10000 x 0.8 = 8,000 บาท และจากหุ้นล็อตที่สอง 20000 x 0.8 = 16,000 บาท รวมแล้วผมจะมีกระแสเงินสด 24,000 บาท และยังไม่นับว่าในอนาคตบริษัทนี้อาจเติบโตและจ่ายเงินปันผลได้มากขึ้นซึ่งก็จะทำให้กระแสเงินสดของผมโตขึ้นกว่านี้อีกด้วย หากจะคิดง่ายๆ ว่าผมใช้จ่ายเดือนละ 2 หมื่นหรือตกปีละ 2.4 แสนบาท กระแสเงินสดที่ผมได้ตอนนี้ก็ยังเป็นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของที่ผมต้องการ สิ่งที่ผมต้องทำคือ รอจังหวะเหมาะๆ ที่จะสะสมหุ้นเพิ่มเพื่อผลักดันให้กระแสเงินสดของผมใหญ่ขึ้นจนกว่าจะถึงเป้าหมายที่วางไว้
เครดิต www.monkeyfreetime.com