ทำไมไทยลาวเขมร ต้องมาพิพาทเขตแดนตลอดเวลา แต่ไม่หาทางออกที่เป็นประโยชน์ทุกฝ่าย ?

จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่าแผนที่อย่างหยาบ 1:200,000 ซึ่งมักจะร่างร่วมระหว่างสยามกับเจ้าของอาณานิคมในสมัย ร.ศ.112-120
เป็นปัญหาที่ตกแก่คนรุ่นหลัง เพราะไม่ว่าแผนที่สมัยใหม่จะใช้อันไหนมาอ้างอิง เช่น 1:50,000 ก็ไม่เป็นที่ยอมรับแก่คู่ขัดแย้งเลย
ดังนั้นนอกจากจะหาวิธีสู้คดีเพื่อขีดเส้นให้ได้ว่าตรงไหนเป็นของใคร ทำไมเราไม่ปล่อยให้มันกำกวมต่อไปล่ะครับ ?
เพราะบ้านร่มเกล้าก็ยังรักษาสถานะเขตกันชน ก็ไม่เห็นมีใครเห็นว่าเสียดินแดน (สงสัยอาจไม่อินเทรนด์ในการปลุกผีชาตินิยมขึ้นมา)

ทางออกที่ดี คือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-เขมร ทำเป็น Joint Development Area (ปัจจุบันยังหลอกกันทุกวันว่าเสียพระวิหาร=เสียทรัพยากรในทะเล)
ส่วนพื้นที่ทับซ้อนทางบกเราก็ทำให้มันทับซ้อนต่อไป และจดทะเบียนมรดกโลกแบบ trans-boundary 3 ประเทศไปแทนตามแนวคิดของอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ก็คือ
แม่โขง-พนมดงรัก-ดงพญาเย็น-เขาใหญ่-ปราสาทพนมรุ้ง-ปราสาทพระวิหาร-ปราสาทวัดพู-น้ำตกคอนพะเพ็ง-แก่งลีผี
จะเป็นมรดกโลกแบบ mixed cultural and natural ที่มีขนาดใหญ่และประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วคงสูงมาก

เพราะมันเป็นการรวบปราสาทตามศิลปะขอมไม่ต่ำกว่า 30-40 ปราสาท แทรกกับการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ
มีน้ำตกขนาดใหญ่สุดในเอเชียอาคเนย์ มีป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ แซมด้วยสถาปัตยกรรมขอมที่สมบูรณ์แบบ
เพราะปราสาทพนมรุ้ง พระวิหาร และวัดพู เป็นปราสาทที่มีความเป็นมาเกี่ยวเนื่องกัน มีคุณค่าทางโบราณคดีมาก
ซึ่งนึกภาพเศรษฐกิจท้องถิ่นสามประเทศคงจะเติบโตเร็วมาก นักท่องเที่ยวน่าจะเข้ามาเที่ยวศึกษาศิลปะขอมแบบไม่ต้องห่วงภัยสงคราม
ชาวบ้านสามประเทศก็อยู่กันได้ ไม่มีใครจะต้องมาตายเพราะความกำกวมของแผนที่ที่เจ้าอาณานิคมทำไว้

เราต้องเลือกระหว่าง (1) ความมั่งคั่งของทั้งป่าและเศรษฐกิจ ไม่มีใครต้องมาตาย ไม่มีใครต้องเสียดินแดนเพิ่มเติม เพราะมันพัฒนาร่วม
หรือ (2) ภัยสงคราม การรุกที่ป่า(เพราะไม่ใช่มรดกโลกไม่มีคนสนใจ) ชาวบ้านที่เดือดร้อนอยู่ลำบาก และความยากจนที่ตามมา

ทางออกดีๆอาจจะมีหลายทางนอกจากที่อาจารย์ชาญวิทย์บอกนะครับ แต่เรากำลังเล่นอะไรกับกระแสชาตินิยมตามที่เป็นอยู่ ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่