กระทู้นี้จะไม่พูดถึงว่านักการเมืองคนไหนจะได้ประโยชน์หรือใครแอบไปตกลงอะไรกันนะครับ
ประเด็นของกระทู้จะอยู่ที่ว่า หากเราจำต้องยอมรับแผนที่ตามมาตราส่วน 1 : 200,000 ในการกำหนดเขตแดน
เราจะมีวิธีแก้ไขปัญหาที่จะตามมาหรือไม่อย่างไร
ถ้าไทยแพ้คดีในศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร โดยจำต้องยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ในการกำหนดเขตแดน
ก็จะส่งผลกระทบถึงหลักเขตแดนที่ 73 ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมสยาม –อินโดจีน ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2451
ซึ่งการปักหลักเขตแดนกันไว้ทั้งหมด 73 หลัก ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 บริเวณช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ไปถึงหลักเขตที่ 73 ที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
หลักเขตที่ 73 นี้เอง ถ้ามีการคลาดเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมแม้แต่เพียงนิดเดียว พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ที่มีอยู่ประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตร ก็จะกลายเป็นของเขมรทั้งหมด
พลังงานมหาศาลในอ่าวไทยก็จะเป็นของเขมรไปโดยปริยาย
.........................
อยากถามความคิดเห็นทุกท่านว่า สมมติฐานดังกล่าวข้างต้น ถูกหรือผิดอย่างไร
และหากถูก ประเทศไทยจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อป้องกันความสูญเสียดังกล่าว
ซึ่งนอกจากจะเป็นความสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนแล้ว ยังเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจซึ่งมีมูลค่ามหาศาล
โดยมีการคาดการณ์กันว่าพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-เขมร มีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรลและก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
หากไทยแพ้คดีเขาพระวิหารในศาลโลก เราจะต้องเสียพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล
ประเด็นของกระทู้จะอยู่ที่ว่า หากเราจำต้องยอมรับแผนที่ตามมาตราส่วน 1 : 200,000 ในการกำหนดเขตแดน
เราจะมีวิธีแก้ไขปัญหาที่จะตามมาหรือไม่อย่างไร
ถ้าไทยแพ้คดีในศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร โดยจำต้องยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ในการกำหนดเขตแดน
ก็จะส่งผลกระทบถึงหลักเขตแดนที่ 73 ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมสยาม –อินโดจีน ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2451
ซึ่งการปักหลักเขตแดนกันไว้ทั้งหมด 73 หลัก ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 บริเวณช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ไปถึงหลักเขตที่ 73 ที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
หลักเขตที่ 73 นี้เอง ถ้ามีการคลาดเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมแม้แต่เพียงนิดเดียว พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ที่มีอยู่ประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตร ก็จะกลายเป็นของเขมรทั้งหมด
พลังงานมหาศาลในอ่าวไทยก็จะเป็นของเขมรไปโดยปริยาย
.........................
อยากถามความคิดเห็นทุกท่านว่า สมมติฐานดังกล่าวข้างต้น ถูกหรือผิดอย่างไร
และหากถูก ประเทศไทยจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อป้องกันความสูญเสียดังกล่าว
ซึ่งนอกจากจะเป็นความสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนแล้ว ยังเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจซึ่งมีมูลค่ามหาศาล
โดยมีการคาดการณ์กันว่าพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-เขมร มีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรลและก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต