สอบถามความเห็น การจำกัดความเร็ว 90กม/ชม ในเส้นทางหลวง

วันนี้มีเพื่อนผมคนหนึ่ง เดินทางกลับไปทำงานหลังช่วงเทศการสงกรานต์
และเค้าโดนด่านจับความเร็วเกิน 90กม/ชม แล้้วจึงโทรมาบ่นกับผม โดยสิ่งที่เค้าคิดคือ ทำไมต้องมาตั้งตรงเนินลงซึ่งเป็นจุดที่รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง (เนินทางลาดไม่ถึงกับเป็นเขา) และสังสัยว่าปกติถนนสี่เลน รถส่วนใหญ่ก็น่าจะขับเกิน 90กม/ชม อยู่แล้วจึงมาถามว่ากฏหมายจริงๆ จำกัดที่เท่าไหร?

ผมก็ไปหาข้อมูลเจอมาว่า เส้นทางหลวงจำกัดความเร็ว 90กม/ชม ส่วนเขตชุมชนอยุ่ที่ 80กม/ชม กฏหมายออกตั้งแต่ประมาณปี 2449 (ไม่แน่ใจเรื่อง พศ.) และผมไปอ่านจากเว็บเก่ามักมีคนบอกว่า กฏหมายออกมาตั้งแต่รถเครื่องสูงสุดมีแค่ 1200-1300 แต่บางกรณีตำรวจอนุโลมให้ได้ 90-120กม/ชม แล้วแต่ดุลพินิจของตำรวจ

ความคิดของผมคือ เข้าใจว่าตำรวจตั้งด่านตามหลักการคือดูแลความปลอดภัยในการเดินทาง แต่อีกแง่คือหารายได้เข้ากระเป๋า และคนส่วนมากมักไม่พอใจกับเหตุผลอย่างหลัง ผมคิดว่าตำรวจก็ผิดส่วนหนึ่งแต่ต้องโทษที่กฏหมายด้วย ผมไม่รู้ว่าที่ไม่ปรับปรุงกฏหมายเพราะการขับ 90กม/ชม เป็นความเร็วที่ปลอดภัยในการเบรคเพื่อลดอุบัติเหตุรึเปล่า?

ด้วยความไม่เข้มงวดของการบังคับใช้กฏหมายไทย และประเทศแห่งการปราณีปรานอม ทำให้เรามองสิ่งที่ทำผิดตามกฏหมายจนเป็นเคยตัว แล้วมองว่าสิ่งที่ทำกลายเป็นเรื่องที่ถูกตามความเคยชิน เช่น ไม่ใส่หมวกกันน๊อค ผ่าไฟแดง เลี้ยวในที่ห้ามเลี้ยว ฯลฯหรือควรปรับเปลี่ยนกฏหมายเพราะอาจเป็นช่องทางหากินของตำรวจ

เพื่อนคิดเห็นอย่างไรครับ?

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่