ขอให้อ่านกันช้าๆ ชัดๆ ให้ครบทุกข้อความนะครับ เนื้อหาในกระทู้นี้จะมี 2 ส่วน
1. เป็นแบบทดสอบสุขภาพทางการเงินตัวปัญหา
2. เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม
พร้อมแล้ว ไปเริ่มกันเลยครับ
แบบทดสอบสุขภาพทางการเงินนี้ ผมเห็นถูกตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ในหนังสือหลายเล่มของ SET นะครับ
สำหรับแบบทดสอบที่ผมนำมาให้ทุกท่านช่วยกันดูช่วยกันทำ ผมโหลดมาจากเว็บของ TSI ครับ
http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1492&Itemid=1821 (เลื่อนๆลงมาก็เจอครับ)
crop มายืนยันครับ เผื่อ SET หรือ TSI มาเห็นกระทู้นี้เข้า แล้วไปลบข้อมูลที่เผยแพร่ทิ้ง ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แบบทดสอบนี้มี 12 ข้อครับ ยังไงอยากให้ทุกท่านลองทำกันก่อนนะครับ ทำแล้วก็วิเคราะห์กันไปว่า "เห็นด้วยกับแบบทดสอบนี้หรือไม่"
ท่านจะเห็นว่า แบบทดสอบนี้ บอกว่า ยิ่งได้คะแนนน้อย ยิ่งมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ซึ่งหลายๆข้อ ผมก็คิดว่าถูกครับ แต่ทว่า...
ข้อที่ผมว่ามันแปลกๆก็คือข้อ 3, 4, 6, 11 ครับ ยกมาให้ดูกันชัดๆอีกรอบครับ แล้ววิเคราะห์กันไปทีละข้อเลยครับ
ข้อ 3 จะเห็นว่า เมื่อท่านเริ่มลงทุน สุขภาพทางการเงินของท่านจะเริ่มไม่ดีแล้วนะครับ
ซึ่งผมไม่เห็นด้วย
ข้อ 4 นี่ น่าจะหนักสุดครับ ยิ่งเก็บเงินออมได้เร็ว แต่กลับกลายเป็นสุขภาพทางการเงินไม่ดีซะงั้น
(เพราะข้อนี้หละครับ ผมถึงได้กล้าจั่วหัวกระทู้ซะแรงขนาดนั้น)
ข้อ 6 ในการวิเคราะห์จากคะแนน จะเห็นว่า ถ้ารวมแล้วได้ "21 คะแนนขึ้นไป" มีคำแนะนำในบทวิเคราะห์ของแบบทดสอบว่า
จะเห็นว่า มีการบอกให้เริ่มลงทุน แต่สำหรับข้อ 6 นี้ ถ้าใครตอบ "นำเงินออมไปลงทุน" สุขภาพทางการเงินจะเริ่มไม่ดี(อีกแล้ว)
ซึ่งผมไม่เห็นด้วยครับ ข้อ 6 นี้ ขัดกับบทวิเคราะห์ของแบบทดสอบอย่างแรงเลยครับ
ข้อ 11 ผมคิดว่าบัตรเครดิตไม่สามารถบ่งบอกสุขภาพทางการเงินได้ครับ
ผมเชื่อว่าหลายท่านในห้องสินธร มีบัตรเครดิตกัน และมีหลายท่านที่มีมากกว่า 1 ใบ
แต่ก็ชำระตรงกำหนดทุกงวด ไม่เสียดอกเบี้ยแม้สตางค์เดียว แถบยังได้สิทธิประโยชน์คุ้มค่าจากการบริหารเงินด้วยบัตรเครดิตอีก
ผมว่านี่มันเรื่องใหญ่พอสมควรนะครับ ถ้าข้อมูลง่ายๆแบบนี้ยังพิมพ์ผิด พิมพ์มั่ว วิเคราะห์มั่วขนาดนี้
แล้วพวกหนังสือหุ้น ตราสารหนี้ หรืออะไรอื่นๆที่เผยแพร่โดย SET และ TSI หละครับ จะเชื่อถือได้ขนาดไหน
ต่อไปถ้าจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนทุกชนิด ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังนะครับ
นี่หละครับ เขาถึงบอกว่า "การลงทุนมีความเสี่ยง"
ขนาดเอกสารที่เผยแพร่โดย SET และ TSI ยังกล้าผิด กล้ามั่วได้ขนาดนี้
ภาษาชาวบ้านเรียกว่า
"ตัวพ่อพาเสี่ยงเสียเอง" ครับ
ทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นของผมล้วนๆนะครับ
รอท่านอื่นๆมาแสดงความคิดเห็นครับ
พิมพ์มั่วมากๆครับ สำหรับ "แบบทดสอบสุขภาพทางการเงิน" ที่เผยแพร่โดย "ตลาดหลักทรัพย์" รวมถึง TSI ด้วย
1. เป็นแบบทดสอบสุขภาพทางการเงินตัวปัญหา
2. เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม
พร้อมแล้ว ไปเริ่มกันเลยครับ
แบบทดสอบสุขภาพทางการเงินนี้ ผมเห็นถูกตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ในหนังสือหลายเล่มของ SET นะครับ
สำหรับแบบทดสอบที่ผมนำมาให้ทุกท่านช่วยกันดูช่วยกันทำ ผมโหลดมาจากเว็บของ TSI ครับ
http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1492&Itemid=1821 (เลื่อนๆลงมาก็เจอครับ)
crop มายืนยันครับ เผื่อ SET หรือ TSI มาเห็นกระทู้นี้เข้า แล้วไปลบข้อมูลที่เผยแพร่ทิ้ง ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แบบทดสอบนี้มี 12 ข้อครับ ยังไงอยากให้ทุกท่านลองทำกันก่อนนะครับ ทำแล้วก็วิเคราะห์กันไปว่า "เห็นด้วยกับแบบทดสอบนี้หรือไม่"
ท่านจะเห็นว่า แบบทดสอบนี้ บอกว่า ยิ่งได้คะแนนน้อย ยิ่งมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ซึ่งหลายๆข้อ ผมก็คิดว่าถูกครับ แต่ทว่า...
ข้อที่ผมว่ามันแปลกๆก็คือข้อ 3, 4, 6, 11 ครับ ยกมาให้ดูกันชัดๆอีกรอบครับ แล้ววิเคราะห์กันไปทีละข้อเลยครับ
ข้อ 3 จะเห็นว่า เมื่อท่านเริ่มลงทุน สุขภาพทางการเงินของท่านจะเริ่มไม่ดีแล้วนะครับ ซึ่งผมไม่เห็นด้วย
ข้อ 4 นี่ น่าจะหนักสุดครับ ยิ่งเก็บเงินออมได้เร็ว แต่กลับกลายเป็นสุขภาพทางการเงินไม่ดีซะงั้น
(เพราะข้อนี้หละครับ ผมถึงได้กล้าจั่วหัวกระทู้ซะแรงขนาดนั้น)
ข้อ 6 ในการวิเคราะห์จากคะแนน จะเห็นว่า ถ้ารวมแล้วได้ "21 คะแนนขึ้นไป" มีคำแนะนำในบทวิเคราะห์ของแบบทดสอบว่า
จะเห็นว่า มีการบอกให้เริ่มลงทุน แต่สำหรับข้อ 6 นี้ ถ้าใครตอบ "นำเงินออมไปลงทุน" สุขภาพทางการเงินจะเริ่มไม่ดี(อีกแล้ว)
ซึ่งผมไม่เห็นด้วยครับ ข้อ 6 นี้ ขัดกับบทวิเคราะห์ของแบบทดสอบอย่างแรงเลยครับ
ข้อ 11 ผมคิดว่าบัตรเครดิตไม่สามารถบ่งบอกสุขภาพทางการเงินได้ครับ
ผมเชื่อว่าหลายท่านในห้องสินธร มีบัตรเครดิตกัน และมีหลายท่านที่มีมากกว่า 1 ใบ
แต่ก็ชำระตรงกำหนดทุกงวด ไม่เสียดอกเบี้ยแม้สตางค์เดียว แถบยังได้สิทธิประโยชน์คุ้มค่าจากการบริหารเงินด้วยบัตรเครดิตอีก
ผมว่านี่มันเรื่องใหญ่พอสมควรนะครับ ถ้าข้อมูลง่ายๆแบบนี้ยังพิมพ์ผิด พิมพ์มั่ว วิเคราะห์มั่วขนาดนี้
แล้วพวกหนังสือหุ้น ตราสารหนี้ หรืออะไรอื่นๆที่เผยแพร่โดย SET และ TSI หละครับ จะเชื่อถือได้ขนาดไหน
ต่อไปถ้าจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนทุกชนิด ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังนะครับ
นี่หละครับ เขาถึงบอกว่า "การลงทุนมีความเสี่ยง"
ขนาดเอกสารที่เผยแพร่โดย SET และ TSI ยังกล้าผิด กล้ามั่วได้ขนาดนี้
ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ตัวพ่อพาเสี่ยงเสียเอง" ครับ
ทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นของผมล้วนๆนะครับ
รอท่านอื่นๆมาแสดงความคิดเห็นครับ