สวัสดีครับ
หลังจากบันทึกฉบับที่แล้ว พาพันมีโอกาสได้ไปคุยกับ
พี่สาวพิธีกรคนเก่งมา วันนี้พาพันกลับมาพร้อมกับนัดครั้งใหม่
วันนี้พาพันมีนัดกับ
อาจารย์สิงห์ อินทรชูโต ที่ศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือเรียกแบบสั้นๆ ว่า Scrap Lab ครับ ซึ่งพาพันว่าเป็นที่ที่ ”เท่” มากๆ เลย ทั้งเฟอร์นิเจอร์ การประดับตกแต่งภายในห้อง ดีไซน์มาจากเศษวัสดุทั้งนั้นเลยล่ะครับ อย่าง
เก้าอี้ที่พาพันนั่งก็ทำมาจากกากกาแฟครับ ... เก๋สุดๆ ไปเลย
อาจารย์สิงห์สอนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ ซึ่งอาจารย์ก็ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษาและกรรมการโครงการ
Use Me Again ด้วยครับ
บันทึกของพาพัน
ที่จริงช่วงนี้อาจารย์ยุ่งมากแต่ยังอุตส่าห์แบ่งเวลามาให้ พาพันต้องขอบคุณอาจารย์มากๆ เลยครับ
และก็เหมือนทุกครั้งที่เจอ ... อาจารย์มาตรงเวลา ในชุดสีเรียบง่ายเช่นเคยครับ
ตอนนั้นบ่ายสองโมงครับ แดดกำลังแรง ว่าไปก็อยากรู้จังว่าอาจารย์สิงห์จะมีวิธีคลายร้อนยังไง
"ผมทำอะไร ... (พาพันแอบกระซิบบอกเลยว่า อาจารย์คิดนานมากครับ ฮ่าๆ) ทำไมผมไม่รู้สึกร้อนเหมือนคนอื่นก็ไม่รู้ ได้ยินคนบ่นมากว่าอากาศร้อน ผมก็ยังสงสัยว่าเค้าไปอยู่ที่ไหนกัน หรือผมทำอะไร ผมหายไปไหน หรือผมอยู่ในห้องแอร์ (หัวเราะ)"
บางทีพาพันอยู่ในห้องแอร์ยังร้อนเลยครับอาจารย์ ฮ่าๆ ... แล้วการที่ต่างคนต่างเปิดแอร์นี่มันจะมีผลอะไรกับสิ่งแวดล้อมไหมครับ
"มีแน่นอน พลังงานใช้มากขึ้น กระบวนการผลิตไฟฟ้าก็มากขึ้น ใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเกี่ยวกับ Global Warming มากขึ้น อันนี้เลี่ยงไม่ได้ แต่ที่ผ่านมาช่วงที่ผมไปตรวจโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายแห่งในประเทศ ผมพบว่าประเทศไทยไม่ได้ร้อนทั้งประเทศ อย่างตอนไปสมุย ผมไม่ได้นั่งในห้องแอร์เลย ผมมีความสุขกับการนั่งข้างนอก และคนอื่นๆ เค้าก็อยู่ริมทะเลในอากาศร้อนๆ ลมโชยๆ มันไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ แต่ถ้าในกรุงเทพฯ มันเลยจุดที่จะสบายได้ ร้อนขนาด 39-42 องศา ต้องใช้แอร์ช่วย"
งั้นสภาพแวดล้อมของบ้านเราก็ยังไม่ได้แย่จนเกินไปรึเปล่าครับอาจารย์
"จริงๆ มันวิกฤติมาก (ลากเสียง) เอาเป็นว่าภายในอาทิตย์สองอาทิตย์นี้ เราก็จะทราบว่าเมื่อพม่าหยุดส่งก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า เราจะอยู่ได้ไหม มันวิกฤติขนาดที่ว่าเราไม่มีพอที่จะใช้ด้วยตัวเอง เหมือนต้องไปพึ่งคนอื่นเค้าหายใจ เหมือนคนนอนบนเตียงให้คนอื่นช่วยปั๊มด้วยเครื่อง คุณว่าวิกฤติแค่ไหน เข้าขั้นโคม่าตอนนี้ (หัวเราะ) พื้นที่ฝังกลบก็ไม่มี พลังงานก็ไม่พอ แล้วยังฟุ่มเฟือยกันอีก หน้าร้อนก็ร้อนมาก หน้าฝนกลายเป็นหน้าแล้ง พอหน้าหนาวก็ร้อน ที่อเมริกาช่วงใบไม้ผลิหิมะยังตกอยู่เลย มันแปรปรวนไปหมด"
ฟังอาจารย์พูดถึงเมืองนอกแล้วพาพันก็นึกสงสัย เพราะทราบมาว่าอาจารย์เรียนอยู่ต่างประเทศมาตลอด แล้วทำไมถึงกลับมาทำงานที่นี่ล่ะครับ
"ยอมรับว่าตอนแรกไม่ได้อยากกลับมาเลย เพราะมีคนขู่ไว้เยอะ คนไทยนิสัยไม่ดี ขี้อิจฉา ชอบนินทา มองคนอื่นในแง่ลบ ทำงานเป็นทีมไม่เป็น อากาศก็ร้อนเหมือนกระทะทองแดง รถติด เขม่าเยอะ น่ากลัวไปหมด คนไทยที่นู่นก็จะขู่ผมว่า อย่างสิงห์เนี่ยกลับไปอยู่เมืองไทยไม่ได้หรอก เพราะอยู่นู่นมาตั้ง 20 กว่าปีแล้ว บางคนกลับมามืองไทย อยู่ได้แป๊บเดียวก็วิ่งหนีกลับ แต่ตามนิสัยเดิม ไม่ลองไม่รู้ เราไปอยู่เยอรมันก็แล้ว อังกฤษ อเมริกา แคนาดา สารพัดประเทศ แล้วประเทศไทยน่าจะง่ายกว่าด้วยซ้ำ ตอนนั้นก็คิดไว้ว่าถ้าอยู่ไม่ได้ 2 ปีก็ยังกลับไปได้ ผมค่อนข้างมีโอกาสที่ต่างประเทศเยอะ มีเจ้านาย มีเพื่อนฝูงที่รัก ก็เลยคิดว่าไม่น่ากลัว ถ้าไม่ไหวจริงๆ เรากลับไปได้ ตอนกลับมาคิดแค่นั้น ไม่ได้คิดว่าจะตลอดรอดฝั่ง (หัวเราะ)"
อ้าว ฮ่าๆ แล้วเป็นยังไงต่อครับอาจารย์ อะไรทำให้อยู่เมืองไทยมาจนถึงวันนี้ครับ
"คือตอนแรกที่กลัวเพราะคนขู่ไว้เยอะ แต่พอกลับมาแล้ว มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น คนไม่ได้เลวร้าย ร้อนก็ไม่ร้อนอย่างที่เราคิดไว้ รถติดก็ใช่ แต่บ้านผมกับม.เกษตรห่างกันไม่ถึง 3 กิโลเมตร มันไม่ได้แย่มาก พออยู่ไปซักพักรู้สึกว่าคนน่ารัก คนที่เลวร้ายไม่ใช่คนส่วนใหญ่ แต่มันมีจริงมั้ย...มี แต่มันมีอยู่แล้วในทุกสังคม แต่ที่เหลือคิดว่าคนน่ารัก ผมกลับมาปีนี้เข้าปีที่ 10 แล้ว (ยิ้ม) ผมรู้สึกว่าได้รับโอกาสมากจริงๆ พอได้ตั้งบริษัท Osisu กับคุณวีรนุช มันเป็นความสนุกขั้นเทพ เราจะทิ้งความมันส์ขนาดนี้ไปได้ยังไง พาร์ทเนอร์ก็ดี ผมเลยไม่คิดว่าผมจะต้องไปไหน ตอนที่ผมกลับมาปีที่ 3 มหาวิทยาลัยที่วอชิงตัน พยายามดึงผมให้กลับไปสอน เป็นอาจารย์ประจำ เงินเดือนสูง มีทุกอย่างให้ ทุกคนงงว่าทำไมเลือกที่จะไม่ไป ทุกคนบอกว่าเป็นไปได้ไงที่แพคเกจที่เค้าเตรียมให้ผม ดึงผมจากมหาวิทยาลัยอะไรนะ กะเสด กะเซด อะไรนะ ทำไมดึงผมไม่ได้ ผมบอกมันมากกว่านั้น โอกาสที่ผมได้ที่นี่มันสนุกมาก ผมเห็นปัญหาเยอะ แต่ก็ยังสนุกอยู่ ณ จุดนี้ ผมคิดว่าตัดสินใจไม่ผิดนะ (หัวเราะ)"
อาจารย์สิงห์เล่าว่า สิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้คือสอนหนังสือ ออกแบบจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ และตั้งบริษัทที่เอาของแนวนี้มากระจายสู่ทั่วโลก ซึ่งทำมาได้ประมาณ 6-7 ปีแล้ว แต่รู้สึกว่ายังช่วยสิ่งแวดล้อมได้น้อยมาก
"ช่วยได้น้อยมากๆ น้อยจนน่าตกใจ ขยะไม่ได้ลดลง อย่างเคยไปตรวจขยะตามบ้านคน คนไม่ได้คัดแยกขยะมากขึ้นจากวันที่ผมเริ่ม โรงแรมต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยคัดแยกขยะ แต่สิ่งที่ผมภูมิใจคือ นักออกแบบรุ่นใหม่เริ่มพยายามมากขึ้น เริ่มนำเอาทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่อีกรอบนึง มายืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึกดีใจที่ช่วยในเชิงของอุตสาหกรรมการออกแบบ แต่ถ้ามองในองค์รวมของสังคมผมช่วยได้น้อยมาก แต่มีหลายอย่างที่อยากผลักดันสู่สังคม ผมอยากผลักดัน Creative Economy คือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการลงทุนที่คน ไม่ใช่ที่เครื่องจักร อยากผลักดันเรื่องฉลากสิ่งแวดล้อม ให้คนตระหนักและเลือกซื้อสิ่งของที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อยากผลักดันเรื่องสังคม 3R ให้มากๆ เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ต้องทุกคนนะ สุดท้ายผมอยากให้ทุกคนในโลกมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมหรือกรีนโปรดักส์ แบบนึกถึงสิ่งแวดล้อมปั๊บ นึกถึงประเทศไทย"
เดี๋ยวนี้พาพันเห็นสินค้าอะไรๆ ก็มีแพคเกจจิ้งไปซะหมด แล้วแบบนี้มันจะยิ่งทำให้ขยะเพิ่มมากขึ้นไปอีกรึเปล่าครับ
"แพคเกจจิ้งบางอย่างที่ดูว่าเยอะๆ เค้าอาจจะต้องส่งของไกล ต้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นจะรวมว่าแพคเกจจิ้งเลวร้ายหมดคงไม่ได้ แต่ในกลุ่มที่เกี่ยวกับความงาม ดึงให้คนมาซื้อของ กลุ่มนี้ผมว่าพัฒนาได้อีกมากและควรพัฒนาต่อว่าทำยังไงจะลดพลังงานในการผลิตได้ ย่อยสลายง่าย รียูสได้ สิ่งเหล่านี้นักออกแบบ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวัสดุศาสตร์ ต้องช่วยกัน"
เห็นอาจารย์เป็นคนกรีนๆ อย่างนี้ เคยทิ้งอะไรไปแล้วเสียดายมากๆ ไหมครับ
"เวลาทิ้งอะไรไปเสียดายตลอดเวลา อย่างเวลาเราทานยา ทานวิตามิน มันจะมีแพคเกจจิ้งฟอยล์ที่หนามาก หนากว่าถุงกาแฟอีก ทุกครั้งที่ทานยาหมดก็ต้องทิ้งฟอยล์พวกนี้ ผมไม่รู้จะทำอะไรกับมัน จริงๆ ก็เก็บไว้ แต่ไม่รู้จะทำอะไรต่อก็ต้องทิ้ง นี่คือเรื่องที่น่าประหลาดใจใช่ไหม (หัวเราะ) แต่ผมรู้สึกจริงๆ"
แล้วของอะไรครับ ที่อาจารย์ใช้งานมานานมากๆ และตอนนี้ก็ยังใช้อยู่
"ผมใช้นานทุกอย่างเลย จนเคยมีคนบอกว่าทำไมยังใช้อยู่ (หัวเราะ) แต่ของที่ประทับใจมากคือ กระเป๋าตังค์จากถุงน้ำเกลือ ทำจากแล็บของเราเอง"
"ตอนนี้ก็ผลิตขายแล้ว แต่ใบนี้เป็นใบต้นแบบ ใช้มาหลายปีมาก น่าจะ 5 ปี จำไม่ได้แล้วครับ แต่มันไม่โทรม ไม่เสียหาย โดนน้ำก็ไม่เปียก ถึงคุณภาพอาจจะไม่ได้ดีมากเพราะเป็นใบแรก แต่วัสดุมันหนา แข็งแรง คงอยู่ได้ประมาณ 800-900 ปี ผมคงส่งต่อให้ลูกหลานผมได้ (หัวเราะ) ยังชอบอยู่เลย เห็นแล้วก็ชอบ (ยิ้ม)"
เห็นอาจารย์ใช้ของชิ้นเดิมนานๆ เสื้อผ้าก็เป็นโทนสีเรียบๆ ง่ายๆ คล้ายกันหมด พาพันอยากรู้จังเลยครับว่า เสน่ห์ของความเรียบง่ายคืออะไร
"ในสายตาผม ความเรียบง่ายมันอยู่ได้นาน ผมอยู่กับชุดอย่างนี้มาเกือบสิบปี ตั้งแต่กลับมา มันยังใช้ได้ทุกสถานการณ์ ผมจะไปงานทางการ งานศพ จะไปงานอะไร มันไปได้หมด ไม่ต้องเปลี่ยนตลอดเวลา ผมว่ามันเท่นานนะความเรียบง่าย (ยิ้ม) มันมีความลุ่มลึก ความไม่น่าเบื่อ และมันจบ บางอย่างที่เราทำแล้วรู้สึกว่าจบ มันก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ แต่ถ้ายัง และคิดว่าต้องพัฒนา มันก็จะเป็นแนวที่หวือหวาขึ้น ตอนเช้าๆ ผมไม่เสียเวลาแต่งตัวเลย แม้แต่ไม่มีไฟ มือซ้ายหยิบกางเกง มือขวาหยิบเสื้อ ทุกครั้งก็โอเค ไม่เสียเวลากับการแต่งตัวหรือเลือกของ ไม่รู้ชีวิตเร่งรีบไปรึเปล่า แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ"
งั้นจริงๆ แล้ววีถีแบบกรีนๆ มันไปกันได้กับไลฟ์สไตล์แบบคนเมืองใช่ไหมครับ
"ผมก็คนกรุงเทพฯ นะ เป็นคนเมืองที่ชอบความสะดวกสบายและความรวดเร็ว เพราะผมยุ่งทุกวัน (หัวเราะ) แต่ก็ไม่เห็นจะขัดกับความกรีนตรงไหนเลย ผมยังพยายามเอาของกลับมารีไซเคิล ทานอาหารออร์แกนิค ผมชอบทำอะไรสบายๆ แต่ชีวิตผมไม่ได้ช้า ผมว่าคนไม่ใส่ใจมากกว่า มันไม่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ว่าเป็นสังคมเมืองหรือความเร่งรีบ ยกตัวอย่างการขับรถ 120 กม./ชม. กับขับรถประมาณ 80 กม./ชม. ไปถึงในเวลาแทบไม่ต่างกัน ไม่ใช่ว่าเห็นช่องปุ๊บรีบเหยียบแล้วก็ไปเบรกเอา สุดท้ายมันไม่ได้เร็วขึ้น แต่เปลืองน้ำมันมหาศาล"
อาจารย์บอกว่า ปัญหาตอนนี้คือทุกคนต่างรู้อยู่แล้วว่าสิ่งแวดล้อมย่ำแย่ ถดถอย แต่ก็ไม่ลงมือแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสงสัยมากว่า ทำไมไม่ทำ รู้แต่ไม่ทำ สงสัยรัฐต้องบังคับ...
"ผมว่ามันอาจจะยังไม่มี Critical Mass คือยังเป็นชนกลุ่มน้อยที่ทำ คนส่วนใหญ่จะตามแฟชั่น แต่ตอนนี้มันยังไม่เป็นแฟชั่น ยังไม่เป็นเทรนด์ที่เท่ ยังไม่ถึงขั้นที่แบบว่า ถ้าไม่ทำจะน่าอาย มันยังไม่ถึงจุดนั้น ผมมองว่าสิ่งที่ผมทำเหมือนกระบวนการทางนวัตกรรม ซึ่งต้องมีนวัตกรที่เป็นคนคิดริเริ่มสร้างสรรค์ก่อน จากนั้นจะมีกลุ่ม Early Adopter คือคนที่เอามาใช้ในช่วงต้น เช่น ทีวีจอแบนออกมาใหม่ๆ ราคาจะแพงมาก กลุ่มนี้จะซื้อไปใช้ กลุ่มต่อไปคือ Early Majority กลุ่มนี้จะเห็น Early Adopter เอามาใช้แล้วเห็นว่าน่าสนใจ ก็จะซื้อตาม จำนวนจะเริ่มเยอะ ราคาก็จะต่ำลง ตรงนี้แหละ เรายังเป็นแค่ Early Adopter อยู่ ยังไม่มี Early Majority"
บันทึกของพาพัน @Pantip ตอน คุยกับ อาจารย์สิงห์ อินทรชูโต (1/2)
สวัสดีครับ
หลังจากบันทึกฉบับที่แล้ว พาพันมีโอกาสได้ไปคุยกับพี่สาวพิธีกรคนเก่งมา วันนี้พาพันกลับมาพร้อมกับนัดครั้งใหม่
วันนี้พาพันมีนัดกับอาจารย์สิงห์ อินทรชูโต ที่ศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือเรียกแบบสั้นๆ ว่า Scrap Lab ครับ ซึ่งพาพันว่าเป็นที่ที่ ”เท่” มากๆ เลย ทั้งเฟอร์นิเจอร์ การประดับตกแต่งภายในห้อง ดีไซน์มาจากเศษวัสดุทั้งนั้นเลยล่ะครับ อย่างเก้าอี้ที่พาพันนั่งก็ทำมาจากกากกาแฟครับ ... เก๋สุดๆ ไปเลย
อาจารย์สิงห์สอนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ ซึ่งอาจารย์ก็ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษาและกรรมการโครงการ Use Me Again ด้วยครับ
บันทึกของพาพัน
ที่จริงช่วงนี้อาจารย์ยุ่งมากแต่ยังอุตส่าห์แบ่งเวลามาให้ พาพันต้องขอบคุณอาจารย์มากๆ เลยครับ
และก็เหมือนทุกครั้งที่เจอ ... อาจารย์มาตรงเวลา ในชุดสีเรียบง่ายเช่นเคยครับ
ตอนนั้นบ่ายสองโมงครับ แดดกำลังแรง ว่าไปก็อยากรู้จังว่าอาจารย์สิงห์จะมีวิธีคลายร้อนยังไง
"ผมทำอะไร ... (พาพันแอบกระซิบบอกเลยว่า อาจารย์คิดนานมากครับ ฮ่าๆ) ทำไมผมไม่รู้สึกร้อนเหมือนคนอื่นก็ไม่รู้ ได้ยินคนบ่นมากว่าอากาศร้อน ผมก็ยังสงสัยว่าเค้าไปอยู่ที่ไหนกัน หรือผมทำอะไร ผมหายไปไหน หรือผมอยู่ในห้องแอร์ (หัวเราะ)"
บางทีพาพันอยู่ในห้องแอร์ยังร้อนเลยครับอาจารย์ ฮ่าๆ ... แล้วการที่ต่างคนต่างเปิดแอร์นี่มันจะมีผลอะไรกับสิ่งแวดล้อมไหมครับ
"มีแน่นอน พลังงานใช้มากขึ้น กระบวนการผลิตไฟฟ้าก็มากขึ้น ใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเกี่ยวกับ Global Warming มากขึ้น อันนี้เลี่ยงไม่ได้ แต่ที่ผ่านมาช่วงที่ผมไปตรวจโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายแห่งในประเทศ ผมพบว่าประเทศไทยไม่ได้ร้อนทั้งประเทศ อย่างตอนไปสมุย ผมไม่ได้นั่งในห้องแอร์เลย ผมมีความสุขกับการนั่งข้างนอก และคนอื่นๆ เค้าก็อยู่ริมทะเลในอากาศร้อนๆ ลมโชยๆ มันไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ แต่ถ้าในกรุงเทพฯ มันเลยจุดที่จะสบายได้ ร้อนขนาด 39-42 องศา ต้องใช้แอร์ช่วย"
งั้นสภาพแวดล้อมของบ้านเราก็ยังไม่ได้แย่จนเกินไปรึเปล่าครับอาจารย์
"จริงๆ มันวิกฤติมาก (ลากเสียง) เอาเป็นว่าภายในอาทิตย์สองอาทิตย์นี้ เราก็จะทราบว่าเมื่อพม่าหยุดส่งก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า เราจะอยู่ได้ไหม มันวิกฤติขนาดที่ว่าเราไม่มีพอที่จะใช้ด้วยตัวเอง เหมือนต้องไปพึ่งคนอื่นเค้าหายใจ เหมือนคนนอนบนเตียงให้คนอื่นช่วยปั๊มด้วยเครื่อง คุณว่าวิกฤติแค่ไหน เข้าขั้นโคม่าตอนนี้ (หัวเราะ) พื้นที่ฝังกลบก็ไม่มี พลังงานก็ไม่พอ แล้วยังฟุ่มเฟือยกันอีก หน้าร้อนก็ร้อนมาก หน้าฝนกลายเป็นหน้าแล้ง พอหน้าหนาวก็ร้อน ที่อเมริกาช่วงใบไม้ผลิหิมะยังตกอยู่เลย มันแปรปรวนไปหมด"
ฟังอาจารย์พูดถึงเมืองนอกแล้วพาพันก็นึกสงสัย เพราะทราบมาว่าอาจารย์เรียนอยู่ต่างประเทศมาตลอด แล้วทำไมถึงกลับมาทำงานที่นี่ล่ะครับ
"ยอมรับว่าตอนแรกไม่ได้อยากกลับมาเลย เพราะมีคนขู่ไว้เยอะ คนไทยนิสัยไม่ดี ขี้อิจฉา ชอบนินทา มองคนอื่นในแง่ลบ ทำงานเป็นทีมไม่เป็น อากาศก็ร้อนเหมือนกระทะทองแดง รถติด เขม่าเยอะ น่ากลัวไปหมด คนไทยที่นู่นก็จะขู่ผมว่า อย่างสิงห์เนี่ยกลับไปอยู่เมืองไทยไม่ได้หรอก เพราะอยู่นู่นมาตั้ง 20 กว่าปีแล้ว บางคนกลับมามืองไทย อยู่ได้แป๊บเดียวก็วิ่งหนีกลับ แต่ตามนิสัยเดิม ไม่ลองไม่รู้ เราไปอยู่เยอรมันก็แล้ว อังกฤษ อเมริกา แคนาดา สารพัดประเทศ แล้วประเทศไทยน่าจะง่ายกว่าด้วยซ้ำ ตอนนั้นก็คิดไว้ว่าถ้าอยู่ไม่ได้ 2 ปีก็ยังกลับไปได้ ผมค่อนข้างมีโอกาสที่ต่างประเทศเยอะ มีเจ้านาย มีเพื่อนฝูงที่รัก ก็เลยคิดว่าไม่น่ากลัว ถ้าไม่ไหวจริงๆ เรากลับไปได้ ตอนกลับมาคิดแค่นั้น ไม่ได้คิดว่าจะตลอดรอดฝั่ง (หัวเราะ)"
อ้าว ฮ่าๆ แล้วเป็นยังไงต่อครับอาจารย์ อะไรทำให้อยู่เมืองไทยมาจนถึงวันนี้ครับ
"คือตอนแรกที่กลัวเพราะคนขู่ไว้เยอะ แต่พอกลับมาแล้ว มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น คนไม่ได้เลวร้าย ร้อนก็ไม่ร้อนอย่างที่เราคิดไว้ รถติดก็ใช่ แต่บ้านผมกับม.เกษตรห่างกันไม่ถึง 3 กิโลเมตร มันไม่ได้แย่มาก พออยู่ไปซักพักรู้สึกว่าคนน่ารัก คนที่เลวร้ายไม่ใช่คนส่วนใหญ่ แต่มันมีจริงมั้ย...มี แต่มันมีอยู่แล้วในทุกสังคม แต่ที่เหลือคิดว่าคนน่ารัก ผมกลับมาปีนี้เข้าปีที่ 10 แล้ว (ยิ้ม) ผมรู้สึกว่าได้รับโอกาสมากจริงๆ พอได้ตั้งบริษัท Osisu กับคุณวีรนุช มันเป็นความสนุกขั้นเทพ เราจะทิ้งความมันส์ขนาดนี้ไปได้ยังไง พาร์ทเนอร์ก็ดี ผมเลยไม่คิดว่าผมจะต้องไปไหน ตอนที่ผมกลับมาปีที่ 3 มหาวิทยาลัยที่วอชิงตัน พยายามดึงผมให้กลับไปสอน เป็นอาจารย์ประจำ เงินเดือนสูง มีทุกอย่างให้ ทุกคนงงว่าทำไมเลือกที่จะไม่ไป ทุกคนบอกว่าเป็นไปได้ไงที่แพคเกจที่เค้าเตรียมให้ผม ดึงผมจากมหาวิทยาลัยอะไรนะ กะเสด กะเซด อะไรนะ ทำไมดึงผมไม่ได้ ผมบอกมันมากกว่านั้น โอกาสที่ผมได้ที่นี่มันสนุกมาก ผมเห็นปัญหาเยอะ แต่ก็ยังสนุกอยู่ ณ จุดนี้ ผมคิดว่าตัดสินใจไม่ผิดนะ (หัวเราะ)"
อาจารย์สิงห์เล่าว่า สิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้คือสอนหนังสือ ออกแบบจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ และตั้งบริษัทที่เอาของแนวนี้มากระจายสู่ทั่วโลก ซึ่งทำมาได้ประมาณ 6-7 ปีแล้ว แต่รู้สึกว่ายังช่วยสิ่งแวดล้อมได้น้อยมาก
"ช่วยได้น้อยมากๆ น้อยจนน่าตกใจ ขยะไม่ได้ลดลง อย่างเคยไปตรวจขยะตามบ้านคน คนไม่ได้คัดแยกขยะมากขึ้นจากวันที่ผมเริ่ม โรงแรมต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยคัดแยกขยะ แต่สิ่งที่ผมภูมิใจคือ นักออกแบบรุ่นใหม่เริ่มพยายามมากขึ้น เริ่มนำเอาทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่อีกรอบนึง มายืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึกดีใจที่ช่วยในเชิงของอุตสาหกรรมการออกแบบ แต่ถ้ามองในองค์รวมของสังคมผมช่วยได้น้อยมาก แต่มีหลายอย่างที่อยากผลักดันสู่สังคม ผมอยากผลักดัน Creative Economy คือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการลงทุนที่คน ไม่ใช่ที่เครื่องจักร อยากผลักดันเรื่องฉลากสิ่งแวดล้อม ให้คนตระหนักและเลือกซื้อสิ่งของที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อยากผลักดันเรื่องสังคม 3R ให้มากๆ เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ต้องทุกคนนะ สุดท้ายผมอยากให้ทุกคนในโลกมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมหรือกรีนโปรดักส์ แบบนึกถึงสิ่งแวดล้อมปั๊บ นึกถึงประเทศไทย"
เดี๋ยวนี้พาพันเห็นสินค้าอะไรๆ ก็มีแพคเกจจิ้งไปซะหมด แล้วแบบนี้มันจะยิ่งทำให้ขยะเพิ่มมากขึ้นไปอีกรึเปล่าครับ
"แพคเกจจิ้งบางอย่างที่ดูว่าเยอะๆ เค้าอาจจะต้องส่งของไกล ต้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นจะรวมว่าแพคเกจจิ้งเลวร้ายหมดคงไม่ได้ แต่ในกลุ่มที่เกี่ยวกับความงาม ดึงให้คนมาซื้อของ กลุ่มนี้ผมว่าพัฒนาได้อีกมากและควรพัฒนาต่อว่าทำยังไงจะลดพลังงานในการผลิตได้ ย่อยสลายง่าย รียูสได้ สิ่งเหล่านี้นักออกแบบ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวัสดุศาสตร์ ต้องช่วยกัน"
เห็นอาจารย์เป็นคนกรีนๆ อย่างนี้ เคยทิ้งอะไรไปแล้วเสียดายมากๆ ไหมครับ
"เวลาทิ้งอะไรไปเสียดายตลอดเวลา อย่างเวลาเราทานยา ทานวิตามิน มันจะมีแพคเกจจิ้งฟอยล์ที่หนามาก หนากว่าถุงกาแฟอีก ทุกครั้งที่ทานยาหมดก็ต้องทิ้งฟอยล์พวกนี้ ผมไม่รู้จะทำอะไรกับมัน จริงๆ ก็เก็บไว้ แต่ไม่รู้จะทำอะไรต่อก็ต้องทิ้ง นี่คือเรื่องที่น่าประหลาดใจใช่ไหม (หัวเราะ) แต่ผมรู้สึกจริงๆ"
แล้วของอะไรครับ ที่อาจารย์ใช้งานมานานมากๆ และตอนนี้ก็ยังใช้อยู่
"ผมใช้นานทุกอย่างเลย จนเคยมีคนบอกว่าทำไมยังใช้อยู่ (หัวเราะ) แต่ของที่ประทับใจมากคือ กระเป๋าตังค์จากถุงน้ำเกลือ ทำจากแล็บของเราเอง"
"ตอนนี้ก็ผลิตขายแล้ว แต่ใบนี้เป็นใบต้นแบบ ใช้มาหลายปีมาก น่าจะ 5 ปี จำไม่ได้แล้วครับ แต่มันไม่โทรม ไม่เสียหาย โดนน้ำก็ไม่เปียก ถึงคุณภาพอาจจะไม่ได้ดีมากเพราะเป็นใบแรก แต่วัสดุมันหนา แข็งแรง คงอยู่ได้ประมาณ 800-900 ปี ผมคงส่งต่อให้ลูกหลานผมได้ (หัวเราะ) ยังชอบอยู่เลย เห็นแล้วก็ชอบ (ยิ้ม)"
เห็นอาจารย์ใช้ของชิ้นเดิมนานๆ เสื้อผ้าก็เป็นโทนสีเรียบๆ ง่ายๆ คล้ายกันหมด พาพันอยากรู้จังเลยครับว่า เสน่ห์ของความเรียบง่ายคืออะไร
"ในสายตาผม ความเรียบง่ายมันอยู่ได้นาน ผมอยู่กับชุดอย่างนี้มาเกือบสิบปี ตั้งแต่กลับมา มันยังใช้ได้ทุกสถานการณ์ ผมจะไปงานทางการ งานศพ จะไปงานอะไร มันไปได้หมด ไม่ต้องเปลี่ยนตลอดเวลา ผมว่ามันเท่นานนะความเรียบง่าย (ยิ้ม) มันมีความลุ่มลึก ความไม่น่าเบื่อ และมันจบ บางอย่างที่เราทำแล้วรู้สึกว่าจบ มันก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ แต่ถ้ายัง และคิดว่าต้องพัฒนา มันก็จะเป็นแนวที่หวือหวาขึ้น ตอนเช้าๆ ผมไม่เสียเวลาแต่งตัวเลย แม้แต่ไม่มีไฟ มือซ้ายหยิบกางเกง มือขวาหยิบเสื้อ ทุกครั้งก็โอเค ไม่เสียเวลากับการแต่งตัวหรือเลือกของ ไม่รู้ชีวิตเร่งรีบไปรึเปล่า แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ"
งั้นจริงๆ แล้ววีถีแบบกรีนๆ มันไปกันได้กับไลฟ์สไตล์แบบคนเมืองใช่ไหมครับ
"ผมก็คนกรุงเทพฯ นะ เป็นคนเมืองที่ชอบความสะดวกสบายและความรวดเร็ว เพราะผมยุ่งทุกวัน (หัวเราะ) แต่ก็ไม่เห็นจะขัดกับความกรีนตรงไหนเลย ผมยังพยายามเอาของกลับมารีไซเคิล ทานอาหารออร์แกนิค ผมชอบทำอะไรสบายๆ แต่ชีวิตผมไม่ได้ช้า ผมว่าคนไม่ใส่ใจมากกว่า มันไม่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ว่าเป็นสังคมเมืองหรือความเร่งรีบ ยกตัวอย่างการขับรถ 120 กม./ชม. กับขับรถประมาณ 80 กม./ชม. ไปถึงในเวลาแทบไม่ต่างกัน ไม่ใช่ว่าเห็นช่องปุ๊บรีบเหยียบแล้วก็ไปเบรกเอา สุดท้ายมันไม่ได้เร็วขึ้น แต่เปลืองน้ำมันมหาศาล"
อาจารย์บอกว่า ปัญหาตอนนี้คือทุกคนต่างรู้อยู่แล้วว่าสิ่งแวดล้อมย่ำแย่ ถดถอย แต่ก็ไม่ลงมือแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสงสัยมากว่า ทำไมไม่ทำ รู้แต่ไม่ทำ สงสัยรัฐต้องบังคับ...
"ผมว่ามันอาจจะยังไม่มี Critical Mass คือยังเป็นชนกลุ่มน้อยที่ทำ คนส่วนใหญ่จะตามแฟชั่น แต่ตอนนี้มันยังไม่เป็นแฟชั่น ยังไม่เป็นเทรนด์ที่เท่ ยังไม่ถึงขั้นที่แบบว่า ถ้าไม่ทำจะน่าอาย มันยังไม่ถึงจุดนั้น ผมมองว่าสิ่งที่ผมทำเหมือนกระบวนการทางนวัตกรรม ซึ่งต้องมีนวัตกรที่เป็นคนคิดริเริ่มสร้างสรรค์ก่อน จากนั้นจะมีกลุ่ม Early Adopter คือคนที่เอามาใช้ในช่วงต้น เช่น ทีวีจอแบนออกมาใหม่ๆ ราคาจะแพงมาก กลุ่มนี้จะซื้อไปใช้ กลุ่มต่อไปคือ Early Majority กลุ่มนี้จะเห็น Early Adopter เอามาใช้แล้วเห็นว่าน่าสนใจ ก็จะซื้อตาม จำนวนจะเริ่มเยอะ ราคาก็จะต่ำลง ตรงนี้แหละ เรายังเป็นแค่ Early Adopter อยู่ ยังไม่มี Early Majority"