(บทความ) คลื่นแต่ละความถี่ แตกต่างกันอย่างไร? // ความถี่ที่2100Mhzมีรัศมีสัญญาณ12กม.ครอบคลุม 449 ตารางกิโลเมตร

9 เมษายน 2556 (บทความ) คลื่นแต่ละความถี่ แตกต่างกันอย่างไร? // ความถี่ที่2100Mhzมีรัศมีสัญญาณ12กม.ครอบคลุม449 ตารางกิโลเมตร

ประเด็นหลัก



ใช้ความถี่ที่ 450Mhz ให้บริการจะมีรัศมีสัญญาณ 48.9 กิโลเมตร พื้นที่ครอบคลุมถึง 7,521 ตารางกิโลเมตร
ใช้ความถี่ที่ 2100Mhz จะมีรัศมีสัญญาณ 12 กิโลเมตร ครองคลุมพื้นที่เพียง 449 ตารางกิโลเมตร
ถ้าคิดเล่นๆ ให้เห็นภาพ ถ้าตั้งเสา 450Mhz 1 เสาจะครอบคุลมพื้นที่เท่ากับ 2100Mhz 16 เสาเลยทีเดียว คิดต่อ ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ถ้าจะตั้งเสาให้ครบคลุมทุกที่โดยใช้ความถึ่ 2100 MHz ต้องใช้เสามากถึง 1,143 เสา แต่ถ้าใช้ความถี่ 450 MHz ก็จะใช้เพียงแค่ 69 เสาเท่านั้น (เปรียบเทียบให้เห็นเฉยๆนะครับ)

โดยจะเห็นว่าเมื่อความถี่ที่สูงขึ้นจะยิ่งมีพื้นที่ให้บริการ (coverage) ลดลงตามไป แต่ก็มีข้อดีคือ สัญญาณที่ได้จะมีคุณภาพมากขึ้น รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มาก ดังนั้นการเลือกตั้งเสาในแต่ละต้นที่จึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น พื้นที่ห่างไกลตามต่างจังหวัด ชนบท ที่มีคนใช้ไม่ค่อยมาก ควรจะใช้ความถี่ 450Mhz เพราะสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า 2100Mhz นั่นเอง แต่หากนำไปติดตั้งในตัวเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ ก็ควรจะใช้ 2100Mhz เพราะ ถึงสัญญาณจะครองคลุมในพื้นที่ไม่ได้มาก แต่ก็สามารถรองรับผู้ใช้งานได้จำนวนมากต่อสัญญาณ 1 เสานั่นเอง

จะมองให้ง่ายขึ้นอีกจะลองยกตัวอย่างนะครับ ว่า 450Mhz ถึงแม้สัญญาณจะวิ่งได้ไกลเกือบ 50 กิโลเมตร แต่รองรับผู้ใช้งานได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นหากทำไปใช้ในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก (ลองคิดถึงสภาพเสาต้นเดียวรองรับคนหลายพันหลายหมื่นคน) ทำให้เกิดปัญหาสัญญาณหาย เน็ตช้า เน็ตหลุด สายหลุด อะไรพวกนี้ครับ เพราะสัญญาณครอบคลุมมากเกินไป รองรับผู้ใช้งานจำนวนมากเกินระบบจะรับไหว ทำให้เกิดปัญหาครับ จำเป็นที่จะต้องตั้งเสามากขึ้นถี่ขึ้น เพื่อแชร์ผู้ใช้งานออกไปและให้เพียงพอกับผู้ใช้งานด้วย จึงไม่เหมาะกับในพื้นที่ที่มีการใช้งานสูง ในตัวเมืองใหญ่ๆครับ


สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://newsite.adslthailand.com/news/433/





_______________________________________




คลื่นแต่ละความถี่ แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนคงเคยประสบปัญหาว่าสัญญาณโทรศัพท์หายไป ติดๆดับๆ ทั้งๆที่อยู่ในพืั้นที่บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัญญาณ 3G ที่หลายๆค่ายบอกว่าครอบคลุมทุกพื้นที่ แต่ทำไมเมื่อเราเข้าไปใช้ทำไมถึงเจอปัญหาสายหลุด เน็ตช้า เน็ตไม่วิ่ง 3G สลับกับ edge บ่อยมาก (สัญญาณสวิง) สาเหตุเพราะอะไร??

ต้องขอบอกว่า การตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์มีพื้นที่บริการตามความถี่หลายช่วง และจำนวนผู้ใช้บริการในพื้นที่นั้นๆ โดยจะขอยกตัวอย่างเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนมากที่สุด โดยการยกตัวอย่างความถี่ที่ใช้ในระบบ CDMA 2000 มาให้เห็นภาพ อ้างอิงจาก Wiki ตามทฤษฎีนะครับ

ใช้ความถี่ที่ 450Mhz ให้บริการจะมีรัศมีสัญญาณ 48.9 กิโลเมตร พื้นที่ครอบคลุมถึง 7,521 ตารางกิโลเมตร
ใช้ความถี่ที่ 2100Mhz จะมีรัศมีสัญญาณ 12 กิโลเมตร ครองคลุมพื้นที่เพียง 449 ตารางกิโลเมตร
ถ้าคิดเล่นๆ ให้เห็นภาพ ถ้าตั้งเสา 450Mhz 1 เสาจะครอบคุลมพื้นที่เท่ากับ 2100Mhz 16 เสาเลยทีเดียว คิดต่อ ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ถ้าจะตั้งเสาให้ครบคลุมทุกที่โดยใช้ความถึ่ 2100 MHz ต้องใช้เสามากถึง 1,143 เสา แต่ถ้าใช้ความถี่ 450 MHz ก็จะใช้เพียงแค่ 69 เสาเท่านั้น (เปรียบเทียบให้เห็นเฉยๆนะครับ)

โดยจะเห็นว่าเมื่อความถี่ที่สูงขึ้นจะยิ่งมีพื้นที่ให้บริการ (coverage) ลดลงตามไป แต่ก็มีข้อดีคือ สัญญาณที่ได้จะมีคุณภาพมากขึ้น รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มาก ดังนั้นการเลือกตั้งเสาในแต่ละต้นที่จึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น พื้นที่ห่างไกลตามต่างจังหวัด ชนบท ที่มีคนใช้ไม่ค่อยมาก ควรจะใช้ความถี่ 450Mhz เพราะสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า 2100Mhz นั่นเอง แต่หากนำไปติดตั้งในตัวเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ ก็ควรจะใช้ 2100Mhz เพราะ ถึงสัญญาณจะครองคลุมในพื้นที่ไม่ได้มาก แต่ก็สามารถรองรับผู้ใช้งานได้จำนวนมากต่อสัญญาณ 1 เสานั่นเอง

จะมองให้ง่ายขึ้นอีกจะลองยกตัวอย่างนะครับ ว่า 450Mhz ถึงแม้สัญญาณจะวิ่งได้ไกลเกือบ 50 กิโลเมตร แต่รองรับผู้ใช้งานได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นหากทำไปใช้ในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก (ลองคิดถึงสภาพเสาต้นเดียวรองรับคนหลายพันหลายหมื่นคน) ทำให้เกิดปัญหาสัญญาณหาย เน็ตช้า เน็ตหลุด สายหลุด อะไรพวกนี้ครับ เพราะสัญญาณครอบคลุมมากเกินไป รองรับผู้ใช้งานจำนวนมากเกินระบบจะรับไหว ทำให้เกิดปัญหาครับ จำเป็นที่จะต้องตั้งเสามากขึ้นถี่ขึ้น เพื่อแชร์ผู้ใช้งานออกไปและให้เพียงพอกับผู้ใช้งานด้วย จึงไม่เหมาะกับในพื้นที่ที่มีการใช้งานสูง ในตัวเมืองใหญ่ๆครับ















ส่วนตัวความถี่ 2100Mhz ผู้บริการอาจต้องตั้งเสา (base station) ที่มากขึ้นถี่ขึ้นกว่าความถี่ที่ต่ำกว่า เพราะสัญญาณไปไม่ไกลเท่า 450Mhz ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า แต่ก็มีข้อดีคือ สัญญาญจะเข้าถึงอาคารได้มากขึ้น ด้วยพื้นที่ที่ครองคลุมไม่มากและต้องตั้งเสาถี่ ทำให้ผู้ใช้งานจึงถูกแชร์ไปหลายๆเสา และในเสาแต่ต้นนั้นมีผู้ใช้งานที่น้อยลงทำให้ไม่ต้องไม่แย่งสัญญาณกัน ส่งผลให้ผู้ใช้งานได้รับการบริการที่ดีขึ้น เน็ตไวขึ้น เพราะไม่ต้องแชร์กับคนจำนวนมากในเสาต้นเดียว เป็นต้น แต่ถ้าเสาเดียวแล้วเจอสภาพคนเป็นพันเป็นหมื่นคนก็เจอปัญหาเหมือนกับด้านบนครับ

นอกจากนี้แต่ละเสา แต่ละความถี่ หากมีผู้ใช้งานมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาการหดของสัญญาณ คือพื้นที่ครอบคลุมจะลดลงจากปกติเมื่อมีการใช้งานสูงนั่นเอง ทำให้คนที่อยู่บริเวณปลายสัญญาณอาจเกิดปัญหา สายหลุด สัญญาณลด เน็ตช้ากว่าปกติ เน็ตไม่วิ่งหรือสัญญาณไม่นิ่ง (เช่น 3G สลับ edge) ได้ครับ





ถ้าหากยกตัวอย่างให้เห็นภาพและความเป็นจริง ก็คือ AIS 3G ตอนนี้ที่กำลังเจอปัญหาเครื่องข่ายของ 3G และ 2G ที่ให้บริการความถี่ 900Mhz ด้วยความถี่ที่ไม่พอ ทั้งสองอย่างทำให้ต้องเสาให้ถี่มากขึ้นกว่าค่ายอื่นๆ ทั้งยังมีผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 33 ล้านคน โดยเฉพาะยิ่งตัวเมื่องใหญ่ๆอย่างกรุงเทพแล้ว หากไปอยู่แถวสยามหรือแหล่งที่มีคนจำนวนมากพร้อมกันก็จะเจอปัญหาอย่างที่กล่าวไปตอนต้นทั้ง เน็ตไม่วิ่ง เน็ตช้า หรือ 3G หาย นั่นเองครับ



ทั้งหมดนี้หากมีการตั้งสถานีฐานให้มากพอให้เหมาะสมช่วงความถี่ จำนวนผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่ ก็จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้ครับ



@BreatheXz

http://breathexz.wordpress.com/2012/09/03

http://newsite.adslthailand.com/news/433/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่