นางมาร์กาเร็ต แธ็ตเชอร์ (ค.ศ. 1925 - 2013)
(8 เมษายน 2556) สำนักข่าวต่างประเทศจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รายงานว่า ลอร์ดทิม เบลล์ โฆษกประจำตัวนางแธ็ตเชอร์เปิดเผยว่า นายมาร์ค และแครอล แธ็ตเชอร์ บุตรและธิดา ต้องการประกาศให้ทราบว่า บารอนเนสแธ็ตเชอร์ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองอุตตัน ในช่วงเช้าวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น)
นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ กล่าวว่า การเสียชีวิตของนางแธ็ตเชอร์ถือเป็นความเศร้าโศกครั้งใหญ่ นับเป็นการสูญเสียผู้นำ นายกรัฐมนตรี และชาวอังกฤษครั้งสำคัญ ส่วนสำนักพระราชวังบัคกิงแฮมเปิดเผยว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงรู้สึกเสียพระทัยต่อข่าวดังกล่าว และเตรียมส่งสาสน์แสดงความเสียพระทัยส่วนพระองค์อย่างเป็นทางการแก่ครอบครัวของเธอ
มาร์กาเร็ต ฮิลดา โรเบิร์ตส์ (Margaret Hilda Roberts) เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1925 ที่เมืองแกรนแธม ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวเมโธดิสท์ (Methodist) หัวเก่า เธอคุ้นเคยกับแวดวงการเมืองมาตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากพ่อของเธอดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเมืองนี้
ในปี ค.ศ. 1947 เธอจบการศึกษาทางด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และเริ่มทำงานเป็นนักวิจัยด้านเคมี และอีกสองปีต่อมาก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนในเขตเลือกตั้งดาร์ทฟอร์ท แม้ว่าเธอจะแพ้การเลือกตั้งครั้งนั้น แต่ก็ทำให้ผู้ชนประทับใจด้วยสุนทรพจน์ที่มีพลัง นอกจากนี้แล้วยังเป็นปีที่เธอได้พบกับ เดนนิส แธ็ตเชอร์ สามีที่เธอแต่งงานด้วยภายหลัง ในปี ค.ศ. 1951
จากนั้นมาร์กาเรต แธ็ตเชอร์ ได้หันไปศึกษาต่อทางด้านกฎหมาย ก่อนที่จะให้กำเนิดบุตรธิดาฝาแฝดในปี ค.ศ. 1953 ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 แธ็ตเชอร์ได้กลับมาอยู่ในแวดวงการเมืองอีกครั้ง ในฐานะสมาชิกรัฐสภา ในสภาสามัญชน ภายในระยะเวลาไม่ถึงสองปี แธ็ตเชอร์ก็ได้รับตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงบำนาญและหลักประกันแห่งชาติ
ในปี ค.ศ. 1964 พรรคอนุรักษ์นิยมได้สูญเสียอำนาจฝ่ายรัฐบาล แธ็ตเชอร์จึงได้ทำหน้าที่ในรัฐบาลเงา ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการเมืองในสหรัฐอเมริกาด้วย และในที่สุดเธอได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลเงา
พรรคอนุรักษ์นิยมกลับมามีอำนาจในรัฐบาลอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1970 นางแธ็ตเชอร์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ และได้ตัดงบประมาณหลายอย่างที่คนส่วนมากไม่เห็นด้วย
ในปี ค.ศ. 1976 เธอได้รับสมญานามจากสื่อหนังสือพิมพ์ของประเทศรัสเซียว่าเป็น "หญิงเหล็ก" (The Iron Lady) จากการแสดงออกที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันบรรยากาศทางการเมืองที่ยุ่งเหยิงของประเทศอังกฤษ ซึ่งรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน การว่างงานสูง และสภาพการเงินที่ฝืดเคือง ได้ช่วยให้พรรคอนุรักษ์นิยมเข้าสู่อำนาจอีกครั้งในปี ค.ศ. 1979 โดยในวันที่ 4 พฤษภาคม นางมาร์กาเร็ต แธ็ตเชอร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ โดยดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศของอังกฤษมาเป็นเวลา 11 ปี (3 วาระ)
รัฐบาลของนางแธ็ตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคที่รัฐบาลก่อน ๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ เธอได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาบริหารประเทศเป็นวาระที่ 2 ในปี ค.ศ. 1983 โดยได้เสียงข้างมากทั้งๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำสุดในรอบ 50 ปี แต่ชัยชนะอย่างเด็ดขาดในสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์กับอาร์เจนตินาและความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมของนางแธ็ตเชอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้เธอได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลในวาระที่ 3 เมื่อปี ค.ศ. 1987 จนกระทั่งเธอลาออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1990 เนื่องจากการต่อสู้ภายในพรรคและการถกเถียงโต้แย้งกับฝ่ายค้านในประเด็นที่แทตเชอร์ไม่ยอมเสียเอกราชในการเข้าเป็นสมาชิกเศรษฐกิจประชาคมยุโรป รวมทั้งการเสื่อมความนิยมจากการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับนโยบายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax)
วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษของนางแธ็ตเชอร์ถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดซอลส์เบอรี และติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดลิเวอร์พูล นายกรัฐมนตรีในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นสตรีคนแรกที่นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากของประเทศอังกฤษและเป็นหนึ่งในเพียงสตรีสามคนที่ได้ดำรงหนึ่งในสี่ตำแหน่งใหญ่ของประเทศอังกฤษ
นางแธ็ตเชอร์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางตลอดชีพเป็น "บารอนเนสแทตเชอร์แห่งเมืองเคสตีเวน" (Baroness Thatcher, of Kesteven) ในมณฑลลิงคอล์นไชร์ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้นั่งในสภาขุนนาง
นางแธ็ตเชอร์ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) และเข้ารับการผ่าตัดเนิ้องอกในกระเพาะปัสสาวะ มีสุขภาพอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองอุตตัน ในตอนเช้าของวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2013 ณ กรุงลอนดอน สิริรวมอายุ 87 ปี พิธีศพของนางแธ็ตเชอร์จะจัดขึ้นเป็นพิธีเกียรติยศทางทหาร (ceremonial funeral) โดยมีกองทหารเกียรยศเดินขบวนศพ เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา ณ มหาวิหารเซนต์พอล จัดว่าเทียบเท่างานพระศพของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี (Queen Elizabeth, the Queen Mother) และไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (Diana, Princess of Wales) โดยนางแธ็ตเชอร์นับว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการเมืองคนที่สองที่ได้รับเกียรติอย่างสูงเช่นนี้นับจาก เซอร์ วินส์ตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1965
ที่มา:
http://www.dailymail.co.uk/news/article-2305755/Margaret-Thatcher-dead-How-Iron-Lady-woman-Prime-Minister.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365423333&grpid=&catid=06&subcatid=0600
"นางสิงห์เหล็ก" มาร์กาเร็ต แธ็ตเชอร์ อดีตนายกฯหญิงอังกฤษ ถึงแก่อสัญกรรม
นางมาร์กาเร็ต แธ็ตเชอร์ (ค.ศ. 1925 - 2013)
(8 เมษายน 2556) สำนักข่าวต่างประเทศจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รายงานว่า ลอร์ดทิม เบลล์ โฆษกประจำตัวนางแธ็ตเชอร์เปิดเผยว่า นายมาร์ค และแครอล แธ็ตเชอร์ บุตรและธิดา ต้องการประกาศให้ทราบว่า บารอนเนสแธ็ตเชอร์ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองอุตตัน ในช่วงเช้าวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น)
นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ กล่าวว่า การเสียชีวิตของนางแธ็ตเชอร์ถือเป็นความเศร้าโศกครั้งใหญ่ นับเป็นการสูญเสียผู้นำ นายกรัฐมนตรี และชาวอังกฤษครั้งสำคัญ ส่วนสำนักพระราชวังบัคกิงแฮมเปิดเผยว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงรู้สึกเสียพระทัยต่อข่าวดังกล่าว และเตรียมส่งสาสน์แสดงความเสียพระทัยส่วนพระองค์อย่างเป็นทางการแก่ครอบครัวของเธอ
มาร์กาเร็ต ฮิลดา โรเบิร์ตส์ (Margaret Hilda Roberts) เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1925 ที่เมืองแกรนแธม ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวเมโธดิสท์ (Methodist) หัวเก่า เธอคุ้นเคยกับแวดวงการเมืองมาตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากพ่อของเธอดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเมืองนี้
ในปี ค.ศ. 1947 เธอจบการศึกษาทางด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และเริ่มทำงานเป็นนักวิจัยด้านเคมี และอีกสองปีต่อมาก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนในเขตเลือกตั้งดาร์ทฟอร์ท แม้ว่าเธอจะแพ้การเลือกตั้งครั้งนั้น แต่ก็ทำให้ผู้ชนประทับใจด้วยสุนทรพจน์ที่มีพลัง นอกจากนี้แล้วยังเป็นปีที่เธอได้พบกับ เดนนิส แธ็ตเชอร์ สามีที่เธอแต่งงานด้วยภายหลัง ในปี ค.ศ. 1951
จากนั้นมาร์กาเรต แธ็ตเชอร์ ได้หันไปศึกษาต่อทางด้านกฎหมาย ก่อนที่จะให้กำเนิดบุตรธิดาฝาแฝดในปี ค.ศ. 1953 ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 แธ็ตเชอร์ได้กลับมาอยู่ในแวดวงการเมืองอีกครั้ง ในฐานะสมาชิกรัฐสภา ในสภาสามัญชน ภายในระยะเวลาไม่ถึงสองปี แธ็ตเชอร์ก็ได้รับตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงบำนาญและหลักประกันแห่งชาติ
ในปี ค.ศ. 1964 พรรคอนุรักษ์นิยมได้สูญเสียอำนาจฝ่ายรัฐบาล แธ็ตเชอร์จึงได้ทำหน้าที่ในรัฐบาลเงา ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการเมืองในสหรัฐอเมริกาด้วย และในที่สุดเธอได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลเงา
พรรคอนุรักษ์นิยมกลับมามีอำนาจในรัฐบาลอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1970 นางแธ็ตเชอร์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ และได้ตัดงบประมาณหลายอย่างที่คนส่วนมากไม่เห็นด้วย
ในปี ค.ศ. 1976 เธอได้รับสมญานามจากสื่อหนังสือพิมพ์ของประเทศรัสเซียว่าเป็น "หญิงเหล็ก" (The Iron Lady) จากการแสดงออกที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันบรรยากาศทางการเมืองที่ยุ่งเหยิงของประเทศอังกฤษ ซึ่งรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน การว่างงานสูง และสภาพการเงินที่ฝืดเคือง ได้ช่วยให้พรรคอนุรักษ์นิยมเข้าสู่อำนาจอีกครั้งในปี ค.ศ. 1979 โดยในวันที่ 4 พฤษภาคม นางมาร์กาเร็ต แธ็ตเชอร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ โดยดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศของอังกฤษมาเป็นเวลา 11 ปี (3 วาระ)
รัฐบาลของนางแธ็ตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคที่รัฐบาลก่อน ๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ เธอได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาบริหารประเทศเป็นวาระที่ 2 ในปี ค.ศ. 1983 โดยได้เสียงข้างมากทั้งๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำสุดในรอบ 50 ปี แต่ชัยชนะอย่างเด็ดขาดในสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์กับอาร์เจนตินาและความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมของนางแธ็ตเชอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้เธอได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลในวาระที่ 3 เมื่อปี ค.ศ. 1987 จนกระทั่งเธอลาออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1990 เนื่องจากการต่อสู้ภายในพรรคและการถกเถียงโต้แย้งกับฝ่ายค้านในประเด็นที่แทตเชอร์ไม่ยอมเสียเอกราชในการเข้าเป็นสมาชิกเศรษฐกิจประชาคมยุโรป รวมทั้งการเสื่อมความนิยมจากการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับนโยบายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax)
วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษของนางแธ็ตเชอร์ถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดซอลส์เบอรี และติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดลิเวอร์พูล นายกรัฐมนตรีในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นสตรีคนแรกที่นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากของประเทศอังกฤษและเป็นหนึ่งในเพียงสตรีสามคนที่ได้ดำรงหนึ่งในสี่ตำแหน่งใหญ่ของประเทศอังกฤษ
นางแธ็ตเชอร์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางตลอดชีพเป็น "บารอนเนสแทตเชอร์แห่งเมืองเคสตีเวน" (Baroness Thatcher, of Kesteven) ในมณฑลลิงคอล์นไชร์ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้นั่งในสภาขุนนาง
นางแธ็ตเชอร์ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) และเข้ารับการผ่าตัดเนิ้องอกในกระเพาะปัสสาวะ มีสุขภาพอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองอุตตัน ในตอนเช้าของวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2013 ณ กรุงลอนดอน สิริรวมอายุ 87 ปี พิธีศพของนางแธ็ตเชอร์จะจัดขึ้นเป็นพิธีเกียรติยศทางทหาร (ceremonial funeral) โดยมีกองทหารเกียรยศเดินขบวนศพ เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา ณ มหาวิหารเซนต์พอล จัดว่าเทียบเท่างานพระศพของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี (Queen Elizabeth, the Queen Mother) และไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (Diana, Princess of Wales) โดยนางแธ็ตเชอร์นับว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการเมืองคนที่สองที่ได้รับเกียรติอย่างสูงเช่นนี้นับจาก เซอร์ วินส์ตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1965
ที่มา:
http://www.dailymail.co.uk/news/article-2305755/Margaret-Thatcher-dead-How-Iron-Lady-woman-Prime-Minister.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365423333&grpid=&catid=06&subcatid=0600