ในการวิเคราะห์ หากเราวิเคราะห์่่ส่วนที่เป็นเหตุเป็นผลที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่ดูเบื่องหลัง หรือความเป็นไปได้อื่นๆ เราจะได้คำตอบที่แคบ
การเรียนรู้ หรือการสอนคิด อันนำไปสู่การคิดที่เป็นจริง และเป็นกลาง ในแบบวิชาการนั้น ไม่จำเป็นต้องลอกหรือเลียนแบบนักวิชาการคนอื่นๆ ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ไว้ แต่ต้องต่อยอดจากทฤษฎีหรือความรู้เดิม ให้เป็นแบบฉบับของตัวเราเองจริงๆ นี่เป็นหลักคิดเบื่องต้น สำหรับการคิดในเชิงวิชาการ ที่หลายคนเข้าใจผิด ว่าต้องคิดเหมือนนักวิชาการทั่วไป หรือไม่กล้าคิดเพราะเกรงว่าคุณวุฒิตัวเองจะไม่เพียงพอ
การใช้ มโนทัศน์
มโนทัศน์ หรือจินตนาการ การให้ค่า เชื่อมโยงเหตุผลต่างๆ กับสิ่งที่รับรู้ หรือสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า เช่น การมองเห็นต้นไม้ จะคิดถึงอะไรได้บ้าง
บางคน เห็นต้นไม้ แล้วคิดต่อไปว่า มันคือต้นอะไร มีใบเลี้ยงเดี่ยว หรือใบเลี้ยงคู่
บางคน เห็นต้นไม้ แล้วคิดต่อไปว่า ต้นไม้ต้นนี้ ออกดอก และมีผลหรือไม่
และบางคน เห็นต้นไม้แล้วคิดถึง " ป่า "
นี่คือ มโนทัศน์
มโนทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. มโนทัศน์ชั้นสูง ซึ่งจะครอบคลุมสมาชิกจำนวนมาก ( Superordinate concepts ) เป็นมโนทัศน์ ที่จะตัดรายละเีอียดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ได้ประเภทน้อยที่สุด เช่น การเอ่ยถึงสงครามคาบสมุทรเกาหลี จะนึกถึง รัสเซีย , จีน , อเมริกา โดยจะไม่นึกถึงประเทศเกาหลีเหนือ , เกาหลีใต้ ในมโนทัศน์ชั้นนี้ จะมีความเป็น " นามธรรม " สูงสุด
2. มโนทัศน์พื้นฐาน ( Basic concepts ) มีความครอบคลุมปานกลาง ยกตัวอย่าง เช่น การอ่านหนังสือ จะต้องเป็นการอ่านนวนิยาย โดยแท้จริงแล้ว หนังสือมีหลากหลายประเภท เรียกว่า การมองเห็นระดับสายตา ก็ได้
3. มโนทัศน์รอง ( Subordinate concepts ) มโนทัศน์แบบนี้ มีความครอบคลุมน้อยที่สุด ยกตัวอย่างเช่น คิดถึงประเทศอเมริกา แล้วนึกถึง อินเดียแดง โดยไม่ได้คิดถึง เทคโนโลยีที่อเมริกามีอยู่
เมื่อเราเข้าใจมโนทัศน์แต่ละประเภท เราจะมองเห็นกรอบความกว้าง ของความคิด และปฎิกิริยาสนองตอบต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน ต่อเรื่องราวในการสื่อสาร และเป็นพื้นฐานของการให้่ค่าความหมายของคำศัพท์และตัวอักษร
เพื่อนำไปต่อยอดเทคนิคในการเขียน ขอฝากไว้อย่างคร่าวๆ
มโนทัศน์ - มองทุกอย่างเป็น 3 มิติ และเข้าถึง มิติที่ 4
การเรียนรู้ หรือการสอนคิด อันนำไปสู่การคิดที่เป็นจริง และเป็นกลาง ในแบบวิชาการนั้น ไม่จำเป็นต้องลอกหรือเลียนแบบนักวิชาการคนอื่นๆ ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ไว้ แต่ต้องต่อยอดจากทฤษฎีหรือความรู้เดิม ให้เป็นแบบฉบับของตัวเราเองจริงๆ นี่เป็นหลักคิดเบื่องต้น สำหรับการคิดในเชิงวิชาการ ที่หลายคนเข้าใจผิด ว่าต้องคิดเหมือนนักวิชาการทั่วไป หรือไม่กล้าคิดเพราะเกรงว่าคุณวุฒิตัวเองจะไม่เพียงพอ
การใช้ มโนทัศน์
มโนทัศน์ หรือจินตนาการ การให้ค่า เชื่อมโยงเหตุผลต่างๆ กับสิ่งที่รับรู้ หรือสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า เช่น การมองเห็นต้นไม้ จะคิดถึงอะไรได้บ้าง
บางคน เห็นต้นไม้ แล้วคิดต่อไปว่า มันคือต้นอะไร มีใบเลี้ยงเดี่ยว หรือใบเลี้ยงคู่
บางคน เห็นต้นไม้ แล้วคิดต่อไปว่า ต้นไม้ต้นนี้ ออกดอก และมีผลหรือไม่
และบางคน เห็นต้นไม้แล้วคิดถึง " ป่า "
นี่คือ มโนทัศน์
มโนทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. มโนทัศน์ชั้นสูง ซึ่งจะครอบคลุมสมาชิกจำนวนมาก ( Superordinate concepts ) เป็นมโนทัศน์ ที่จะตัดรายละเีอียดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ได้ประเภทน้อยที่สุด เช่น การเอ่ยถึงสงครามคาบสมุทรเกาหลี จะนึกถึง รัสเซีย , จีน , อเมริกา โดยจะไม่นึกถึงประเทศเกาหลีเหนือ , เกาหลีใต้ ในมโนทัศน์ชั้นนี้ จะมีความเป็น " นามธรรม " สูงสุด
2. มโนทัศน์พื้นฐาน ( Basic concepts ) มีความครอบคลุมปานกลาง ยกตัวอย่าง เช่น การอ่านหนังสือ จะต้องเป็นการอ่านนวนิยาย โดยแท้จริงแล้ว หนังสือมีหลากหลายประเภท เรียกว่า การมองเห็นระดับสายตา ก็ได้
3. มโนทัศน์รอง ( Subordinate concepts ) มโนทัศน์แบบนี้ มีความครอบคลุมน้อยที่สุด ยกตัวอย่างเช่น คิดถึงประเทศอเมริกา แล้วนึกถึง อินเดียแดง โดยไม่ได้คิดถึง เทคโนโลยีที่อเมริกามีอยู่
เมื่อเราเข้าใจมโนทัศน์แต่ละประเภท เราจะมองเห็นกรอบความกว้าง ของความคิด และปฎิกิริยาสนองตอบต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน ต่อเรื่องราวในการสื่อสาร และเป็นพื้นฐานของการให้่ค่าความหมายของคำศัพท์และตัวอักษร
เพื่อนำไปต่อยอดเทคนิคในการเขียน ขอฝากไว้อย่างคร่าวๆ