สวัสดีครับ อยากจะขอนำเสนอเรื่องปรากฏการณ์แสงเหนือ หรือ Northern light หรือ Aurora Borealis รวมถึงการตามล่าเพื่อที่จะดูแสงเหนือ และเทคนิคการถ่ายภาพแสงเหนือเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ ก็จะขอนำเสนอเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ
1. แสงเหนือเกิดขึ้นได้อย่างไร
แสงเหนือคือปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั้งบริเวณซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ครับ โดยแสงเหนือจะใช้ชื่อว่า Aurora Borealis ส่วนแสงใต้จะใช้ชื่อว่า Aurora Australis ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดจากอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปลดปล่อยจากการปะทุของดวงอาทิตย์ (Solar flare) ก่อเป็นพายุสุริยะ (Solar Storm) พุ่งมายังโลก แล้วกระทบกับสนามแม่เหล็กโลก จึงเกิดการเหนี่ยวนำให้อนุภาคเหล่านั้นหลุดรอดผ่านสนามแม่เหล็กเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกทางบริเวณขั้วโลก ซึ่งโดยปกติแล้ว สนามแม่เหล็กโลกจะทำการสะท้อนและป้องกันอนุภาคเหล่านี้ไม่ให้ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก แต่หากพายุสุริยะมีกำลังแรง ก็สามารถไหลเข้ามาทางขั้วโลกได้ครับ แล้วอนุภาคเหล่านั้น ก็จะทำปฏิกิริยากับก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดเป็นแสงสีต่าง ๆ ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือสีเขียว สีแดง และสีม่วงแดงครับ
ดูจากวีดีโอนี้จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าแสงเหนือเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ
สำหรับการปะทุของดวงอาทิตย์นั้น ดวงอาทิตย์จะมีวงรอบของจุดดับบนดวงอาทิตย์อยู่ที่ราว 11 ปี โดยจุดดับบนดวงอาทิตย์นั้นเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบ ๆ ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์มีจุดดับมาก ๆ แล้ว ก็จะทำให้เกิดการปะทุมากขึ้นไปด้วยครับ (ความสัมพันธ์นี้ ผมไม่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติม เพียงแต่แปลมาจากที่นี่ครับ
http://arctickingdom.com/top-5-things-to-know-about-the-northern-lights/ ) โดยในปี 2013 นี้ เป็นปีที่ครบวงรอบของจุดดับบนดวงอาทิตย์พอดี ทำให้มีการปลดปล่อยอนุภาคออกมามาก ก่อให้เกิดแสงเหนือบ่อยและเข้มเป็นพิเศษกว่าทุกปีครับ ซึ่งหลังจากนี้ ดวงอาทิตย์ก็จะประทุน้อยลง และจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดอีกรอบในราว 11 ปีข้างหน้าครับ
ตามล่าแสงเหนือ Northern light หรือ Aurora Borealis
สวัสดีครับ อยากจะขอนำเสนอเรื่องปรากฏการณ์แสงเหนือ หรือ Northern light หรือ Aurora Borealis รวมถึงการตามล่าเพื่อที่จะดูแสงเหนือ และเทคนิคการถ่ายภาพแสงเหนือเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ ก็จะขอนำเสนอเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ
1. แสงเหนือเกิดขึ้นได้อย่างไร
แสงเหนือคือปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั้งบริเวณซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ครับ โดยแสงเหนือจะใช้ชื่อว่า Aurora Borealis ส่วนแสงใต้จะใช้ชื่อว่า Aurora Australis ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดจากอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปลดปล่อยจากการปะทุของดวงอาทิตย์ (Solar flare) ก่อเป็นพายุสุริยะ (Solar Storm) พุ่งมายังโลก แล้วกระทบกับสนามแม่เหล็กโลก จึงเกิดการเหนี่ยวนำให้อนุภาคเหล่านั้นหลุดรอดผ่านสนามแม่เหล็กเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกทางบริเวณขั้วโลก ซึ่งโดยปกติแล้ว สนามแม่เหล็กโลกจะทำการสะท้อนและป้องกันอนุภาคเหล่านี้ไม่ให้ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก แต่หากพายุสุริยะมีกำลังแรง ก็สามารถไหลเข้ามาทางขั้วโลกได้ครับ แล้วอนุภาคเหล่านั้น ก็จะทำปฏิกิริยากับก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดเป็นแสงสีต่าง ๆ ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือสีเขียว สีแดง และสีม่วงแดงครับ
ดูจากวีดีโอนี้จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าแสงเหนือเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ
สำหรับการปะทุของดวงอาทิตย์นั้น ดวงอาทิตย์จะมีวงรอบของจุดดับบนดวงอาทิตย์อยู่ที่ราว 11 ปี โดยจุดดับบนดวงอาทิตย์นั้นเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบ ๆ ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์มีจุดดับมาก ๆ แล้ว ก็จะทำให้เกิดการปะทุมากขึ้นไปด้วยครับ (ความสัมพันธ์นี้ ผมไม่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติม เพียงแต่แปลมาจากที่นี่ครับ http://arctickingdom.com/top-5-things-to-know-about-the-northern-lights/ ) โดยในปี 2013 นี้ เป็นปีที่ครบวงรอบของจุดดับบนดวงอาทิตย์พอดี ทำให้มีการปลดปล่อยอนุภาคออกมามาก ก่อให้เกิดแสงเหนือบ่อยและเข้มเป็นพิเศษกว่าทุกปีครับ ซึ่งหลังจากนี้ ดวงอาทิตย์ก็จะประทุน้อยลง และจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดอีกรอบในราว 11 ปีข้างหน้าครับ