รู้ได้ยังไงว่าเป็นนิ้วล็อค?
เคยไหม... อยู่ดีๆ ก็ขยับนิ้วไม่ได้ จะงอก็ไม่ได้ จะยืดก็ไม่ได้ หรืออยู่ดีๆ นิ้วก็เกิดอาการกระตุกขึ้นมาซะอย่างงั้น… และนิ้วที่เป็นบ่อยคือนิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วหัวแม่มือ (แต่จริงๆ แล้วก็สามารถเกิดได้กับทุกนิ้ว) แถมพอจะกระดิกนิ้วก็กระดิกไม่ได้อีก เพราะมันทั้งตึงทั้งเจ็บปวดมากๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า "นิ้วล็อค" นั่นเอง
ถ้าเรียกกันให้ถูกต้องแล้ว โรคนี้ต้องเรียกว่า "โรคนิ้วเหนี่ยวไกปืน" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Trigger Finger" เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ซึ่งอยู่ที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็น 2 หรือ 3 นิ้วพร้อมกัน
มักจะพบในผู้ป่วยในผู้หญิงอายุเฉลี่ย45ปีขึ้นไปโดยพบมากกว่าผู้ชาย
สาเหตุ
สาเหตุสำคัญของโรคนี้คือการใช้ข้อมือ และมือซ้ำๆ ตัวอย่างสาเหตุที่พบว่าเกิดบ่อยที่สุดคือการคีย์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอาชีพที่พบโรคนี้ได้บ่อย
ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ แต่มักจะพบโรคนี้ร่วมกับภาวะดังต่อไปนี้
โรคอ้วน
การตั้งครรภ์
ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
อาจจะเกิดตามหลังข้ออักเสบ เช่น วัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
โรคเบาหวาน
ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อมือ
เอ็นอักเสบจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เช่น การพิมพ์ดีด การบิดผ้า
อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด
2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้
3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก
สำหรับวิธีการรักษา "โรคนิ้วล็อค" ประกอบไปด้วย...
1. การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ
2. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้เครื่องดามนิ้วมือ การนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบ และการออกกำลังกายเหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด อาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง
3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากมักจะหายเจ็บ บางรายอาการติดสะดุดจะดีขึ้น แต่การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยาเกิด 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค การรักษาโดยการฉีดยานี้สามารถใช้ได้กับอาการของโรคตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะท้าย
4. การรักษาโดยการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก หลักในการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีก ทั้งนี้ การผ่าตัดแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิด เป็นวิธีมาตรฐาน ที่ควรทำในห้องผ่าตัด โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดหลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก และการสัมผัสนิ้ว ประมาณ 2 สัปดาห์
**แต่ตัวเราเองรู้ตัวเมื่อเป็นถึงระยะที่3แล้วคะเพราะละเลยการดูแลสุขภาพ หาวิธีอื่นรักษาแทนการไปพบแพทย์เฉพาะทาง จนกระทั่งปลดล็อคความคิดที่ดื้อรั้นได้
ตัดสินใจ เข้ารับการรักษากับทางแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ของโรงพยาบาลเลิดสิน แล้วหายจากโรคนิ้วล็อค
ถือว่าเป็นความโชคดีมากๆเลยคะ
อย่ากลัว อย่าเบื่อ อย่าละเลย ที่จะรักษา โรคนี้อาจจะไม่ร้ายแรงและน่ากลัว แต่ก็ควรรักษากับแพทย์เฉพาะทาง
กระดูกและข้อก็เป็นอวัยวะที่สำคัญกับการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะมือ รับภาระในการทำกิจวัตรประจำวันทุกอย่าง
แหล่งอ้างอิง
- ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-ประสบการณ์จริงที่รับการรักษาจากแพทย์ออร์โธปิดิกส์ รพ.เลิดสิน
รู้ทันโรคนิ้วล็อค ควรที่จะเลือกรักษายังไง? ออร์โธปิดิกส์ รพ.เลิดสิน
เคยไหม... อยู่ดีๆ ก็ขยับนิ้วไม่ได้ จะงอก็ไม่ได้ จะยืดก็ไม่ได้ หรืออยู่ดีๆ นิ้วก็เกิดอาการกระตุกขึ้นมาซะอย่างงั้น… และนิ้วที่เป็นบ่อยคือนิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วหัวแม่มือ (แต่จริงๆ แล้วก็สามารถเกิดได้กับทุกนิ้ว) แถมพอจะกระดิกนิ้วก็กระดิกไม่ได้อีก เพราะมันทั้งตึงทั้งเจ็บปวดมากๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า "นิ้วล็อค" นั่นเอง
ถ้าเรียกกันให้ถูกต้องแล้ว โรคนี้ต้องเรียกว่า "โรคนิ้วเหนี่ยวไกปืน" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Trigger Finger" เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ซึ่งอยู่ที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็น 2 หรือ 3 นิ้วพร้อมกัน
มักจะพบในผู้ป่วยในผู้หญิงอายุเฉลี่ย45ปีขึ้นไปโดยพบมากกว่าผู้ชาย
สาเหตุ
สาเหตุสำคัญของโรคนี้คือการใช้ข้อมือ และมือซ้ำๆ ตัวอย่างสาเหตุที่พบว่าเกิดบ่อยที่สุดคือการคีย์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอาชีพที่พบโรคนี้ได้บ่อย
ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ แต่มักจะพบโรคนี้ร่วมกับภาวะดังต่อไปนี้
โรคอ้วน
การตั้งครรภ์
ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
อาจจะเกิดตามหลังข้ออักเสบ เช่น วัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
โรคเบาหวาน
ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อมือ
เอ็นอักเสบจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เช่น การพิมพ์ดีด การบิดผ้า
อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด
2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้
3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก
สำหรับวิธีการรักษา "โรคนิ้วล็อค" ประกอบไปด้วย...
1. การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ
2. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้เครื่องดามนิ้วมือ การนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบ และการออกกำลังกายเหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด อาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง
3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากมักจะหายเจ็บ บางรายอาการติดสะดุดจะดีขึ้น แต่การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยาเกิด 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค การรักษาโดยการฉีดยานี้สามารถใช้ได้กับอาการของโรคตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะท้าย
4. การรักษาโดยการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก หลักในการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีก ทั้งนี้ การผ่าตัดแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิด เป็นวิธีมาตรฐาน ที่ควรทำในห้องผ่าตัด โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดหลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก และการสัมผัสนิ้ว ประมาณ 2 สัปดาห์
**แต่ตัวเราเองรู้ตัวเมื่อเป็นถึงระยะที่3แล้วคะเพราะละเลยการดูแลสุขภาพ หาวิธีอื่นรักษาแทนการไปพบแพทย์เฉพาะทาง จนกระทั่งปลดล็อคความคิดที่ดื้อรั้นได้
ตัดสินใจ เข้ารับการรักษากับทางแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ของโรงพยาบาลเลิดสิน แล้วหายจากโรคนิ้วล็อค
ถือว่าเป็นความโชคดีมากๆเลยคะ
อย่ากลัว อย่าเบื่อ อย่าละเลย ที่จะรักษา โรคนี้อาจจะไม่ร้ายแรงและน่ากลัว แต่ก็ควรรักษากับแพทย์เฉพาะทาง
กระดูกและข้อก็เป็นอวัยวะที่สำคัญกับการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะมือ รับภาระในการทำกิจวัตรประจำวันทุกอย่าง
แหล่งอ้างอิง
- ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-ประสบการณ์จริงที่รับการรักษาจากแพทย์ออร์โธปิดิกส์ รพ.เลิดสิน