ในขณะที่ปัจจุบันสมาร์ทโฟนพัฒนาหน่วยประมวลผลไปมากและยังทวีความใหญ่ของหน้าจอขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาแบตเตอรี่กลับดูเหมือนจะไม่ทันต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของสมาร์ทโฟน ขณะที่เรากำลังรอสิ่งที่พอช่วยได้อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ (สิทธิบัตรของแอปเปิล, ข่าวลือจากทางโนเกีย) งานวิจัยจากโนเกียก็เสนอนวัตกรรมอีกอย่างที่ดูน่าตื่นเต้นพอดูโนเกียได้พัฒนาตัวต้นแบบของระบบชาร์จไฟที่เก็บเกี่ยวพลังงานจากคลื่นวิทยุในสภาพแวดล้อม (สัญญาณโทรทัศน์, สัญญาณวิทยุ และสัญญาณโทรศัพท์ที่มีอยู่รอบตัวเรา) ที่แม้ว่าพลังงานที่เก็บเกี่ยวได้อาจจะไม่มากนักแต่ก็เกือบเพียงพอที่จะทำให้มือถืออยู่ในโหมดสแตนบายได้ตลอดกาลโดยไม่ต้องเสียบชาร์จ อ้างจากคำพูดของ Markku Rouvala นักวิจัยในศูนย์วิจัยของโนเกียในเมืองเคมบริดจ์ (เทคโนโลยีนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นสิ่งพบเห็นได้ใน RFID tag แต่ก็เก็บเกี่ยวพลังงานได้น้อยกว่ามากและใช้การส่งคลื่นไปตรงๆ)
ตัวต้นแบบของโนเกียประกอบด้วยเสาสัญญาณ wide band และวงจรแบบง่ายๆ สองวงจร โดยเสาสัญญาณและวงจรภาครับถูกออกแบบให้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่ 500 เมกะเฮิร์ตถึง 10 กิกกะเฮิร์ตแล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า ส่วนวงจรที่สองทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้าแบตเตอรี่ สิ่งที่ยากจริงๆ คือการทำให้แน่ใจว่าวงจรเหล่านี้ใช้พลังงานน้อยกว่าพลังงานที่เก็บเกี่ยวได้ ในปัจจุบันตัวต้นแบบสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้ 5 มิลลิวัตต์ โดยเป้าหมายในระยะสั้นคือทำให้ได้เกิน 20 มิลลิวัตต์มากพอที่จะทำให้มือถืออยู่ในโหมดสแตนบายได้ตลอดกาลโดยไม่ต้องเสียบชาร์จ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้โทรหรือรับโทรศัพท์ ทีมวิจัยจึงตั้งความหวังว่าพวกเขาจะสามารถทำให้เก็บเกี่ยวพลังงานได้ถึง 50 มิลลิวัตต์มากพอที่จะชาร์จแบตเตอรี่อย่างช้าๆ
ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายที่จะพัฒนามาเป็นพลังงานหลักแต่จะใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเก็บเกี่ยวพลังงานอื่นๆ เช่น เคสมือถือที่ฝังแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเราอาจจะได้เห็นมือถือที่ใช้เทคโนโลยีนี้วางตลาดในอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า
ในอนาคตเราจะได้เห็น 3310 ที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียบชาร์จซินะ
ที่มา - The Guardian via WMPoweruser
เพื่อนๆคิดว่าแบตเตอร์รี่ในอนาคตจะเป็นยังไงครับ จากข่าวที่ปรากฏ
โนเกียกำลังพัฒนามือถือที่ชาร์จตัวเองได้ด้วยการเก็บเกี่ยวคลื่นวิทยุในอากาศ
ตัวต้นแบบของโนเกียประกอบด้วยเสาสัญญาณ wide band และวงจรแบบง่ายๆ สองวงจร โดยเสาสัญญาณและวงจรภาครับถูกออกแบบให้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่ 500 เมกะเฮิร์ตถึง 10 กิกกะเฮิร์ตแล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า ส่วนวงจรที่สองทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้าแบตเตอรี่ สิ่งที่ยากจริงๆ คือการทำให้แน่ใจว่าวงจรเหล่านี้ใช้พลังงานน้อยกว่าพลังงานที่เก็บเกี่ยวได้ ในปัจจุบันตัวต้นแบบสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้ 5 มิลลิวัตต์ โดยเป้าหมายในระยะสั้นคือทำให้ได้เกิน 20 มิลลิวัตต์มากพอที่จะทำให้มือถืออยู่ในโหมดสแตนบายได้ตลอดกาลโดยไม่ต้องเสียบชาร์จ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้โทรหรือรับโทรศัพท์ ทีมวิจัยจึงตั้งความหวังว่าพวกเขาจะสามารถทำให้เก็บเกี่ยวพลังงานได้ถึง 50 มิลลิวัตต์มากพอที่จะชาร์จแบตเตอรี่อย่างช้าๆ
ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายที่จะพัฒนามาเป็นพลังงานหลักแต่จะใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเก็บเกี่ยวพลังงานอื่นๆ เช่น เคสมือถือที่ฝังแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเราอาจจะได้เห็นมือถือที่ใช้เทคโนโลยีนี้วางตลาดในอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า
ในอนาคตเราจะได้เห็น 3310 ที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียบชาร์จซินะ
ที่มา - The Guardian via WMPoweruser
เพื่อนๆคิดว่าแบตเตอร์รี่ในอนาคตจะเป็นยังไงครับ จากข่าวที่ปรากฏ