จีนส่งทัพยกพลขึ้นบก สะเทินน้ำสะเทินบก เฉียด “จมูกเสือเหลือง”


เรือ จิ่งกังซาน เรือยกพลขึ้นบก ปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก
ระหว่างการฝึกซ้อมร่วมกับเรือสะเทินน้ำสะเทินบก (hovercraft)
ในน่านน้ำใกล้มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) วันที่ 20 มี.ค. 2556 (ภาพ ซินหวา)


เรือกองทัพนาวีจีนในน่านน้ำเจมส์ โชล วันที่ 26 เม.ย.2556 (ภาพ เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์)

     
      เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์/เอเจนซี—กองกำลังปลดแอกประชาชนจีน (หรือ พีแอลเอ) ได้ส่งกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบกติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์เต็มสูบ ไปยังบริเวณใต้สุดของหมู่เกาะสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนได้อ้างกรรมสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าว นับเป็นความเคลื่อนไหวทางหทารที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อันทำให้เพื่อนบ้านต้องขมวดคิ้วกัน
     
      กองเรือ 4 ลำ นำขบวนโดยเรือยกพลขึ้นบก จิ่งกังซาน ได้แล่นเข้ามายังแนวหาดเจมส์ (James Shoal) ประชิดสุดเขตแดนในบริเวณเส้นประเก้าเส้น (nine-dash line) ซึ่งเป็นแผนที่ที่จีนลากระบุเขตแดนทะเลจีนใต้ของตน บริเวณที่ขบวนเรือจิ่งกังซานแล่นเข้ามานี้ อยู่ห่างจากมาเลเซีย เพียง 80 กิโลเมตร ห่างจากบรูไนไม่ถึง 200 กิโลเมตร และห่างจากชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ ถึง1,800 กิโลเมตร
     
      สำนักข่าวซินหวารายงานเมื่อวันอังคาร(26 มี.ค.) ว่าเจ้าหน้าที่นาวีและลูกเรือได้มารวมตัวกันที่ดาดฟ้าเรือจิ่งกังซาน เพื่อประกาศคำมั่นปกป้องทะเลจีนใต้ รักษาอธิปไตยของชาติ และก้าวสู่ฝันสร้างชาติจีนที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ เรือจื่งกังซานเป็น 1 ในเรือยกพลขึ้นบกขนาด 200 เมตร ที่นาวีจีนมีอยู่ 3 ลำ
     
      “นับเป็นการส่งสารที่แรงอย่างน่าประหลาดใจในการส่งปฏิบัติการดังกล่าว ประกาศปฏิบัติการใหม่ในการลาดตระเวนในอาณาบริเวณ” Gary Li นักวิเคราะห์อาวุโส ประจำ IHS Fairplay ในลอนดอน ว่า
      “มันมิใช่เพียงแค่เรือไม่กี่ลำที่แล่นอยู่ตรงนั้นตรงนี้ เรือยกพลขึ้นบก บรรทุกทั้งเจ้าหน้าที่นาวี เรือสะเทินน้ำสะเทินบก (hovercraft) หนุนด้วยเรือคุ้มกันที่ดีที่สุดของฝูงเรือรบจีน” Gary Li กล่าวพร้อมชี้ว่าจะมีเครื่องบินขับไล่ร่วมปฏิบัติการนี้ด้วย
     
      “เราไม่เคยเห็นความเคลื่อนไหวเช่นนี้ในน่านน้ำทางใต้ที่ไกลขนาดนั้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ...เป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่ามันเป็นเพียงเหตุบังเอิญหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ได้สะท้อนว่า (ประธานาธบดี) สี จิ้นผิง ต้องการให้มีการฝึกซ้อมที่เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น”
     
      วงในต่างมองว่าเรือยกพลขึ้นบก เป็นเรือชั้นเยี่ยมที่สุดของกองทัพจีน และเป็นยุทธศาสตร์ที่ตัดสินชัยชนะในการบุกไต้หวัน บรรดาปฏิปักษ์ในอาณาบริเวณต่างจับตามองการเข้าประจำการของเรือยกพลขึ้นบก สำหรับเรือยกพลขึ้นบกลำแรกของจีน คือ เรือคุนหลุนซาน ถูกส่งไปใช้ในปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดย่านจงอยแอฟริกา (Horn of Africa)
     
      ภาพต่างๆที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์แผ่นดินใหญ่ ได้แก่ ภาพกองกำลังบุกขึ้นชายหาด โดยมีกองหนุน คือ เรือสะเทินน้ำสะเทินบก และเฮลิคอปเตอร์ ที่บินขึ้นจากเรือจิ่งกังซาน ภาพเหล่านี้เป็นภาพการฝึกซ้อมเป็นเวลาหลายวันตามจุดต่างๆรอบหมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่จีนอ้างอธิปไตย
     
      ทั้งนี้กองทัพจีนได้ยึดชายหาดและแนวโขดหินสแปรตลีย์ 6 แห่ง มาจากเวียดนาม ในสงครามทางทะเลเดือนมี.ค. เมื่อ 25 ปีที่แล้ว


แผนที่แสดงที่ตั้ง เจมส์ โชล อยู่ห่างจากมาเลเซีย 80 กิโลเมตร

     
      กองเรือดูบ่ายหน้ากลับไปทางเหนือ ข้ามไปยังแปซิฟิกฝั่งตะวันตก เพื่อทำการฝึกซ้อมต่อไป แถวๆคลอง Bashi ซึ่งอยู่ระหว่างไต้หวันและฟิลิปปินส์
     
      ข่าวการปรากฏตัวของจิ่งกังซานนอกฝั่งเจมส์ โชล เมื่อคืนก่อน ทำให้ผู้นำทหารในอาณาบรืเวณ ขมวดคิ้วกัน
     
      “มันเป็นการประกาศอธิปไตย “กองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก” ทุกคนกำลังพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้” ทูตทหารผู้หนึ่ง กล่าว
     
      “สแปรตลีย์นั่น เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การมาโผล่มาที่เจมส์ โชล ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อีกแล้ว...จีนกำลังโชว์ว่าเขาไม่กลัวที่จะส่งสารแก่ภูมิภาค และในปีที่บรูไนเป็นประธานอาเซียน การเคลื่อนไหวแบบนั้นนับเป็นสัญลักษณ์ที่แรงมาก”
     
      ทั้งนี้ กองทัพพีแอลเอ ได้ส่งกองกำลังประจำการในทะเลจีนใต้เมื่อปี 2552 และ2553 สร้างความวิตกกลัวไปทั่วภูมิภาค และความวิตกกลัวนี้ก็ได้กระตุกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดันข้อพิพาทดินแดนทะเลจีนใต้ที่คุกรุ่นมานาน กลับมาเป็นวาระของภูมิภาค พร้อมๆกับขยับไปใกล้ชิดกับสหรัฐฯ
     
      เชื่อกันว่าหมู่เกาะสแปรตลีย์ อุดมด้วยทรัพยากรแร่ แหล่งแก็สธรรมชาติ และน้ำมัน มีคู่กรณีที่อ้างกรรมสิทธิเหนือหมู่เกาะฯ ซึ่งมีลูกเกาะราว 45 เกาะ ทั้งได้ส่งกองกำลังขนาดเล็กไปประจำการบนเกาะต่างๆ ได้แก่ บรูไน จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเวียด


คลิปภาพของโทรทัศน์กลางจีน (CCTV) แสดงปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก ของเรือยกพลขึ้นบก “คุนหลุนซาน” แบบเรือคล้ายกับเรือยกพลขึ้นบก จิ่งกังซาน

Credit: http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000037436
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่