ร่วมแต่งละครเรื่องใหม่ ให้ บี้ หนูนา กันเถอะ

เอาพอร์ตเรื่อง แบบไหนดีค่ะ แนว "ตลก" "คอมเมดี้" หรือแนว "ดราม่า" เคล้าน้ำตา

หรือจะเป็นแนว"ตบจูบ"ดี  ส่วนเราแนวไหนก็ได้ ขอให้สนุก ตอนจบ แฮปปี้








การแบ่งประเภทของละคร

            ไม่ว่าเราจะสร้างสรรค์บทละครเรื่องใดๆ จำเป็นต้องทราบเสียก่อนว่า เรื่องราวที่มีอยู่น่าจะเป็นละครประเภทใด มิฉะนั้นอาจจะนำขนบหรือคุณสมบัติของละครประเภทหนึ่งไปใช้กับละครอีกประเภทหนึ่งซึ่งย่อมทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือผิดพลาดได้

            -ประเภทของละครแบ่งตามลักษณะแนวคิดและเนื้อหาของเรื่อง ได้แก่

1.ละครโศกนาฏกรรม (Tragedy) มักจะเสนอเรื่องราวจริงจัง และการกระทำของมนุษญ์ ที่แสดงการต่อสู้เพื่อความหมายในชีวิต เน้นความทุกข์ต่างๆของมนุษย์ และเป็นการต่อต้านพลังที่อยู่เหนือมนุษย์ หรืออยู่เหนือธรรมชาติ เช่นชะตากรรม หรือพรหมลิขิตที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ มักจะจบลงด้วยความเศร้า ปัจจุบัน Tragedy ถึงจะจบด้วยความโศกเศร้า แต่มักจะนำมาซึ่งความสุขบางอย่าง เช่นเรื่อง โรมิโอกับจูเลียต ถึงทั้งคู่จะตาย แต่ความตายนั้นก็ทำให้สองตระกูลดีกัน

2.ละครสุขนาฏกรรม (Comedy)จะแสดงความบกพร่องของมนุษย์ ที่ไม่ใช่ความพิการ แต่จะเป็นความผิดพลาดที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ชีวิตยุ่งยากมากขึ้น แต่จะนำเสนอแบบไม่จริงจัง เหมือน Tragedy แสดงให้เห็นถึงความไร้สาระของมนุษย์ และมักสะท้อนให้ผู้ชมเห็นชีวิตตัวเองอย่างขบขัน และต่างจาก Tragedy ตรงที่ตัวเอกจะได้สิ่งที่สูญเสียคืนมา หรือได้ในสิ่งที่ตามหา ชนะอุปสรรคทุกอย่าง ทำให้สังคมและโลกเจริญขึ้น จบแบบ happy ending ละครสุขนาฏกรรมมีหลายชนิดเช่น

                        1.        ละครตลกสุขนาฏกรรม Romantic comedy เช่น ตกกระไดหัวใจพลอยโจร หรือ Notting Hill

                2.     ละครตลกสถาการณ์ (Sit-com หรือ Situation-comedy) พวกตลกสถานการณ์

                3.        ละครตลกโครมครามSlapstick comedyพวกตลกที่เล่นกับความเจ็บปวดของร่างกาย พวกตลกคาเฟ่

                4.     ละครตลกร้าย (Black comedy) พวกตลกร้าย เช่นตลก69 หรืออย่าง Death becomes hers อย่างที่ตอนที่นางเอกถูกยิงท้องโหว่ แต่ยังเดินได้

                5.        ละครตลกผู้ดี (Comedy of Manner or High comedy) คือการเอาลักษณะท่าทางของพวกผู้ดีมาล้อเลียน

                6.        ละครตลกเสียดสี (Satiric comedy)

                7.        ละครตลกความคิด (Comedy of ideas)

                8.        ละครตลกรักกระจุ๋มกระจิ๋ม (Sentimental comedy)

                        9.     ละครตลกโปกฮา (Farce) พวกตลกตีหัว มักจะเป็นตลกที่เอะอ่ะ ตึงตัง ตลกท่าทาง เน้นความเจ็บปวด ความพิกลพิการเช่น ระเบิดเถิดเทิง สามเกลอหัวแข็ง (บางตำราแยกเป็นคนละพวกกับ Comedy)

                10.     ละครตลกเศร้าเคล้าน้ำตา (บางคนเอาไปรวมกับพวกรักกระจุ๋มกระจิ๋ม)

3.ละครจิตนิยาย (Romance) ละครประเภทนี้มักจะมี Heroที่ทุกคนใฝ่ฝัน อยู่ในอุดมคติของทุกคน แต่อาจไม่ค่อยเห็นในโลกแห่งความจริง เช่นพระเอกเป็นนักรบที่เก่ง หล่อ รวย มีชาติตระกูล แต่มีรักเดียวใจเดียว

4.ละครเริงรมย์ (Melodrama) เป็นละครประกอบเพลง เกิดขึ้นและนิยมมากในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม จะเน้นเนื้อหาสะเทือนอารมณ์เป็นใหญ่ ขยายอารมณ์จนเกินจริง เช่น ผู้ชายสูงศักดิ์รักกับหมอนวดหรือโสเภณี หรือประเภทนางเอกที่ตกระกำลำบาก ทำอะไรก็มีอุปสรรคไปหมดจนเว่อ แล้วตัวละครก็ไม่มีทางต่อสู้อะไรได้เลย ฯลฯ ใกล้เคียงกับละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน

5.ละครสมัยใหม่ (Modern Drama) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

-ละครสัจจนิยม (realism) และ ธรรมชาตินิยม (naturalism) ทั้งสองแนวถือเป็นละครที่เกิดขึ้นมาต้านกระแส Romance และ Melodrama จะเน้นความเป็น Realistic คือความสมจริง ซึ่งได้อิทธิพลจาก สัทธิสัจจนิยม (Realism) ซึ่งหลังๆจะกลายเป็นลัทธิธรรมชาตินิยม (Naturalism) คือเน้นความเป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องการแต่งเติมอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา หรือลักษณะการดำเนินชีวิต แต่สำหรับละครจะเน้น Realistic

นอกจากนี้ยังมีละครอีกหลายแนวที่ถือเป็นละครสมัยใหม่ ได้แก่

        -ละครต่อต้านสัจจนิยม (anti-realism)

            -ละครแนวสัญญลักษณ์ (symbolism)

            -ละครแนวเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (expressionism)

            -ละครแนวเอพพิค (epic)

            -ละครแนวแอบเสิร์ด (absurd)

6.ละครร่วมสมัย (contemporary drama) หรือละครกระแสหลัก (main stream)ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ละครเพลง (musical)

7.ละครพวกแนวหน้า (avant-garde) และละครสกุลหลังสมัยใหม่ (postmodern drama)





แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่