การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนให้

คือคำนวนอย่างไงก็ยังงงๆอยู่นะคะ อย่างสูตรนี้

ออกให้ตลอดไป

สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 - อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

ตัวอย่าง จ่ายค่าบริการ จำนวน 20,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ภาษีออกให้ตลอดไปคำนวณ ดังนี้
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป = 20,000x3/(100-3) = 618.56 บาท
เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,000+618.56 = 20,681.56 บาท
เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,618.56x3% = 618.56 บาท
ภาษีที่ออกแทนให้ ผู้รับเงินค่าจ้างต้องถือรวมเป็นเงินได้ ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ต้องกรอกเงินได้ 20,681.56 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 618.56 บาท
จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 20,618.56 - 618.568 = 20,000 บาท

เรางงตรงคำนี้นะค่ะ / (100 - อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)  คือต้องคิดอย่างไง
อย่างสมมุติ เราจะหักภาษีจากยอด 9,000 บาท แต่ทางบริษัทจะออกตรงให้ตรงหัก 3% แล้วจะจ่ายเติม 9,000 เราจะคิดอย่างไงค่ะ

อ่อนเลขมากๆเลยค่ะ รบกวนแนะด้วย ขอบคุณค่ะอมยิ้ม17
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่