7 กฏเกณฑ์ การคัดสรรหุ้นสำหรับนักลุงทุนเชิงรับ
1.ขนาดของบริษัทที่ใหญ่เพียงพอ
ตัวเลขขั้นต่ำเป็นตัวเลขที่เรากำหนดขึ้นมาเอง แนวคิดของเราก็คือการตัดบริษัทขนาดเล็กซึ่งอาจจะมีความผันผวนมากกว่าระดับเฉลี่ยออกไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทอุตสาหกรรม (บริษัทขนาดเล็กเหล่านี้หลายๆ แห่งมีศักยภาพดีแต่เราคิดว่าพวกมันไม่เหมาะสมกับนักลุงทุนเชิงรับ) เกณฑ?ที่เราใช้ก็คือ สำหรับบริษัทอุตสาหกรรม ยอดขายต่อปีต้องไม่ต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์และสำหรับบริษัทสาธารณูปโภค สินทรัพย์รวมต้องไม่น้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์
2.ฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งเพียงพอ
สำหรับบริษัทอุตสาหกรรม อย่างน้อย สินทรัพย์หมุนเวียนควรจะสูงจะเป็นสองเท่าของหนี้สินหมุนเวียน (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) เท่ากับสองหรือสูงกว่า) นอกจากนั้น หนี้ระยะยาวไม่ควรสูงกว่า มูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ (Net Current asset) หรือเงินทุนหมุนเวียน (Working capital) สำหรับบริษัทสาธารณูปโภค อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (มูลค่าตามบัญชี) ไม่ควรเกินสองเท่า
3.ความเสถียรภาพของกำไร
บริษัทต้องมีผลกำไรทุกปีตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา
4.ประวัติการจ่ายปันผล
บริษัทต้องมีการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมาหรือนานกว่านั้น
5.การเติบโตของผลกำไร
กำไรต่อหุ้นเฉลี่ยในสามปีล่าสุด จะต้องสูงกว่ากำไรต่อหุ้นเฉลี่ยในช่วงสามปีของเมื่อสิบปีก่อนอย่างน้อยหนึ่งในสาม
6.อัตราส่วนราคาต่อผลกำไรที่ไม่สูงเกินไป
ราคาหุ้นปัจจุบันไม่ควรสูงเกิน 15 เท่าของผลกำไรเฉลี่ยในช่วงสามปีที่ผ่านมา
7.อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีที่ไม่สูงเกินไป
ราคาหุ้นในปัจจุบันไม่ควรสูงเกิน 1.5 เท่าของมูลค่าตามบัญชีซึ่งมีการรายงานล่าสุด อย่างไรก็ตาม หากหุ้นมีอัตราส่วนราคาต่อผลกำไรต่ำกว่า 15 เท่า อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีไม่ควรเกิน 22.5 (ตัวเลขนี้จะสอดคล้องกับอัตรส่วน P/E ที่ 15 เท่าคูณอัตราส่วน P/BV ที่ 1.5 เท่าตัวอย่างเช่น เราจะยอมรับหุ้นที่มีค่า P/E 9 เท่าและมีค่า P/BV 2.5 เท่า)
ความเห็นทั่วไป: กฏเกณฑ์เหล่านี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้สอดรับกับความต้องการและภาวะอารมณ์ของนักลงทุนเชิงรับ กฏเกณฑ์พวกนี้จะตัดหุ้นสามัญจำนวนมากออกไปในสองทิศทางที่ตรงข้ามกัน ทางหนึ่ง พวกมันจะตัดบริษัทซึ่ง 1) มีขนาดเล็กเกินไป 2) มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ 3) มีผลขาดทุนในช่วงสิบปีที่ผ่านมา 4) ไม่มีประวัติการจ่ายปันผลที่ต่อเนื่องยาวนาน ในบรรดากฏเกณฑ์ของเรา กฏเกณฑ์ที่หนักหนาที่สุดภายใต้สภาพการณ์ทางการเงินในปัจจุบันก็คือกฏเกณฑ์เกี่ยวกับความแข็งแกร่งทางการเงิน บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งที่เคยแข็งแกร่งมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) ที่แย่ลง มีหนี้สินเพิ่มขึ้น หรือทั้งสองอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
กฏเกณฑ์สองข้อสุดท้ายของเราจะตัดบริษัทออกในอีกทิศทางหนึ่งด้วยการเรียกร้องอัตราส่วนผลกำไรหรือมูลค่าตามบัญชีต่อราคาสูงเกินกว่าที่หุ้นบริษัทยอดนิยมจะให้ได้ ความคิดแบบนี้ไม่ใช่มุมมองมาตรฐานของนักวิเคราะห์การเงิน จะว่าไปแล้ว พวกเขาส่วนใหญ่จะยืนกรานให้กระทั่งนักลงทุนอนุรักษ์นิยมยอมซื้อหุ้นของบริษัทชั้นเยี่ยมที่ราคาสูงๆ เราได้อธิบายแนวคิดของเรา ซึ่งเป็นไปในทางตรงกันข้ามไปแล้ว ปัญหาหลักๆ ก็คือ ราคาหุ้นที่สูงเกินไปจะทำให้ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับการเติบโตของผลกำไรในอนาคตมากเกินไป ซึ่งมันจะทำให้ไม่มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยมากพอ ผู้อ่านคงต้องใช้วิจารณญาณเกี่ยวกับประเด็นอันสำคัญยิ่งนี้ด้วยตัวเอง โดยพิจารณาเหตุผลทั้งสองฝ่าย
ที่มา The Intelligence Investor หน้า 488-490
หนังสือเล่มนี้เมื่ออ่านต้องคิดวิเคราะห์ตาม จะเป็นหนังสือที่อ่านแล้วใช้ความคิดเยอะไปหน่อย แต่เป็นประโยชน์มาก
ใครอ่านครบ 3 รอบคบได้
สามก๊กสายนักลงทุน
7 กฏเกณฑ์ การคัดสรรหุ้นสำหรับนักลุงทุนเชิงรับ
1.ขนาดของบริษัทที่ใหญ่เพียงพอ
ตัวเลขขั้นต่ำเป็นตัวเลขที่เรากำหนดขึ้นมาเอง แนวคิดของเราก็คือการตัดบริษัทขนาดเล็กซึ่งอาจจะมีความผันผวนมากกว่าระดับเฉลี่ยออกไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทอุตสาหกรรม (บริษัทขนาดเล็กเหล่านี้หลายๆ แห่งมีศักยภาพดีแต่เราคิดว่าพวกมันไม่เหมาะสมกับนักลุงทุนเชิงรับ) เกณฑ?ที่เราใช้ก็คือ สำหรับบริษัทอุตสาหกรรม ยอดขายต่อปีต้องไม่ต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์และสำหรับบริษัทสาธารณูปโภค สินทรัพย์รวมต้องไม่น้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์
2.ฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งเพียงพอ
สำหรับบริษัทอุตสาหกรรม อย่างน้อย สินทรัพย์หมุนเวียนควรจะสูงจะเป็นสองเท่าของหนี้สินหมุนเวียน (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) เท่ากับสองหรือสูงกว่า) นอกจากนั้น หนี้ระยะยาวไม่ควรสูงกว่า มูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ (Net Current asset) หรือเงินทุนหมุนเวียน (Working capital) สำหรับบริษัทสาธารณูปโภค อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (มูลค่าตามบัญชี) ไม่ควรเกินสองเท่า
3.ความเสถียรภาพของกำไร
บริษัทต้องมีผลกำไรทุกปีตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา
4.ประวัติการจ่ายปันผล
บริษัทต้องมีการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมาหรือนานกว่านั้น
5.การเติบโตของผลกำไร
กำไรต่อหุ้นเฉลี่ยในสามปีล่าสุด จะต้องสูงกว่ากำไรต่อหุ้นเฉลี่ยในช่วงสามปีของเมื่อสิบปีก่อนอย่างน้อยหนึ่งในสาม
6.อัตราส่วนราคาต่อผลกำไรที่ไม่สูงเกินไป
ราคาหุ้นปัจจุบันไม่ควรสูงเกิน 15 เท่าของผลกำไรเฉลี่ยในช่วงสามปีที่ผ่านมา
7.อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีที่ไม่สูงเกินไป
ราคาหุ้นในปัจจุบันไม่ควรสูงเกิน 1.5 เท่าของมูลค่าตามบัญชีซึ่งมีการรายงานล่าสุด อย่างไรก็ตาม หากหุ้นมีอัตราส่วนราคาต่อผลกำไรต่ำกว่า 15 เท่า อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีไม่ควรเกิน 22.5 (ตัวเลขนี้จะสอดคล้องกับอัตรส่วน P/E ที่ 15 เท่าคูณอัตราส่วน P/BV ที่ 1.5 เท่าตัวอย่างเช่น เราจะยอมรับหุ้นที่มีค่า P/E 9 เท่าและมีค่า P/BV 2.5 เท่า)
ความเห็นทั่วไป: กฏเกณฑ์เหล่านี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้สอดรับกับความต้องการและภาวะอารมณ์ของนักลงทุนเชิงรับ กฏเกณฑ์พวกนี้จะตัดหุ้นสามัญจำนวนมากออกไปในสองทิศทางที่ตรงข้ามกัน ทางหนึ่ง พวกมันจะตัดบริษัทซึ่ง 1) มีขนาดเล็กเกินไป 2) มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ 3) มีผลขาดทุนในช่วงสิบปีที่ผ่านมา 4) ไม่มีประวัติการจ่ายปันผลที่ต่อเนื่องยาวนาน ในบรรดากฏเกณฑ์ของเรา กฏเกณฑ์ที่หนักหนาที่สุดภายใต้สภาพการณ์ทางการเงินในปัจจุบันก็คือกฏเกณฑ์เกี่ยวกับความแข็งแกร่งทางการเงิน บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งที่เคยแข็งแกร่งมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) ที่แย่ลง มีหนี้สินเพิ่มขึ้น หรือทั้งสองอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
กฏเกณฑ์สองข้อสุดท้ายของเราจะตัดบริษัทออกในอีกทิศทางหนึ่งด้วยการเรียกร้องอัตราส่วนผลกำไรหรือมูลค่าตามบัญชีต่อราคาสูงเกินกว่าที่หุ้นบริษัทยอดนิยมจะให้ได้ ความคิดแบบนี้ไม่ใช่มุมมองมาตรฐานของนักวิเคราะห์การเงิน จะว่าไปแล้ว พวกเขาส่วนใหญ่จะยืนกรานให้กระทั่งนักลงทุนอนุรักษ์นิยมยอมซื้อหุ้นของบริษัทชั้นเยี่ยมที่ราคาสูงๆ เราได้อธิบายแนวคิดของเรา ซึ่งเป็นไปในทางตรงกันข้ามไปแล้ว ปัญหาหลักๆ ก็คือ ราคาหุ้นที่สูงเกินไปจะทำให้ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับการเติบโตของผลกำไรในอนาคตมากเกินไป ซึ่งมันจะทำให้ไม่มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยมากพอ ผู้อ่านคงต้องใช้วิจารณญาณเกี่ยวกับประเด็นอันสำคัญยิ่งนี้ด้วยตัวเอง โดยพิจารณาเหตุผลทั้งสองฝ่าย
ที่มา The Intelligence Investor หน้า 488-490
หนังสือเล่มนี้เมื่ออ่านต้องคิดวิเคราะห์ตาม จะเป็นหนังสือที่อ่านแล้วใช้ความคิดเยอะไปหน่อย แต่เป็นประโยชน์มาก
ใครอ่านครบ 3 รอบคบได้
สามก๊กสายนักลงทุน