บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
การเลือกลงทุนในหุ้นของกิจการใดกิจการหนึ่งนั้น เราควรนำหลายๆปัจจัยมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ และหนึ่งในปัจจัยที่เราควรจะคำนึงถึงนั่นก็คือ สภาพคล่องของกิจการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ระยะสั้นของกิจการ ยิ่งมีค่ามากเท่าไหร่ก็ยิ่งแสดงถึงสภาพคล่องของกิจการที่มีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหนี้ร้องขอให้มีการชำระหนี้ชนิดปัจจุบันทันด่วนกิจการก็พร้อมที่จะขำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ระยะสั้นได้ในทันที ลองนึกถึงสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเราก็ได้นะครับ
กรณีที่ 1 มีเงินอยู่ 100 บาท มีหนี้แค่ 20 บาท แบบนี้สภาพคล่องสูง..ชิวๆอ่ะ
กรณีที่ 2 มีเงินอยู่ 100 บาท มีหนี้ 80 บาท แบบนี้ก็อ่ะนะ ถึงเหงื่อจะตก แต่ก็ยังพอถูๆไถๆไปได้น่า
กรณีที่ 3 มีเงินอยู่ 100 บาท มีหนี้ 120 บาท แบบนี้ก็ไม่เหลือสภาพคล่อง ชักหน้าไม่ถึงหลัง
แน่ละครับว่าทุกคนก็ย่อมต้องการมีชีวิตอย่างกรณีที่ 1 การเลือกหุ้นก็ไม่ได้แตกต่างกัน กิจการที่มีสภาพคล่องในการชำระหนี้ระยะสั้นสูงย่อมน่าสนใจต่อการลงทุน มากกว่ากิจการที่มีสภาพคล่องในการชำระหนี้ระยะสั้นต่ำ เราสามารถหาอัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)ได้จากสูตรดังนี้ครับ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)= สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียนคือข้อมูลที่เราได้มาจากงบแสดงฐานะทางการเงิน
จากรูปด้านบนเป็นกรณีตัวอย่างข้อมูล 6 เดือนแรกของปี 2557 เปรียบเทียบข้อมูล 6 เดือนแรกของปี 2558 ซึ่งเราสามารถตรวจสอบสภาพคล่องของกิจการได้ดังนี้
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ของ 6M/2557 มีค่าเท่ากับ 44,689.42 / 32,920.08 = 1.36 เท่า
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ของ 6M/2558 มีค่าเท่ากับ 45,131.83 / 26,718.00 = 1.69 เท่า
จะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของทั้ง 2 ปี กิจการมีสภาพคล่องที่ดี คือมีสินทรัพย์หมุนเวียน มากกว่าหนี้สินหมุนเวียน อยู่ 1.36 เท่า และ 1.69 เท่าตามลำดับ ซึ่งทำให้กิจการสามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้ในทันทีหากเจ้าร้องขอให้ชำระในทันที และกิจการยังมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นด้วย ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจต่อการตัดสินใจลงทุน
แต่การวัด อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีนักเพราะเป็นการรวมสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดที่กิจการมี ซึ่งก็คือการรวม “สินค้าคงเหลือ” เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องต่ำสุด เพราะเราไม่สามารถทราบได้เลยว่า “สินค้าคงเหลือ” ที่มีอยู่นั้นจะสามารถขายออกไปเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เมื่อไหร่
ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการที่ชัดเจนและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เราจึงไม่นำสินค้าคงเหลือมารวมในการคำนวณหาสภาพคล่องของกิจการ ซึ่งก็คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) ซึ่งจะมีสูตรการคำนวณ ดังนี้
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (เงินสด + ตั๋วสัญญาใช้เงิน + ลูกหนี้ + เงินลงทุน) / หนี้สินหมุนเวียน
หรืออาจจะใช้สูตร
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ) / หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
จากรูปด้านบนเราสามารถแทนค่าสูตรได้ดังนี้ครับ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ของ 6M/2557 มีค่าเท่ากับ
(6,447.40 + 5,590.62) / 32,920.08 = 0.36 เท่า
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ของ 6M/2558 มีค่าเท่ากับ
(6,629.33 + 4,902.78) / 26,718.00 = 0.43 เท่า
จะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของทั้ง 2 ปี กิจการมีสภาพคล่องที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก เพราะมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วต่ำกว่า 1 เท่า ซึ่งนั้นแปลว่ากิจการมีสภาพคล่องที่เป็นเงินสดหรือสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ระยะสั้นหากเจ้าหนี้ต้องการให้ชำระหนี้ในทันที แม้ว่ากิจการจะมีสัดส่วนของอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วที่เพิ่มขึ้นจาก 0.36 เท่า เป็น 0.43 เท่าแล้วก็ตาม
ดังนั้น แม้ว่ากิจการจะมีความน่าสนใจต่อการลงทุนที่มีสภาพคล่องที่ดี แต่หากไม่สามารถบริหารจัดการ “สินค้าคงเหลือ” ที่กิจการมีอยู่ให้ดีขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ได้ กิจการก็อาจจะประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องในอนาคตข้างหน้าได้เช่นเดียวกัน
ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคม
บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
ลงทุนจากสภาพคล่องของกิจการ : โดย คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
การเลือกลงทุนในหุ้นของกิจการใดกิจการหนึ่งนั้น เราควรนำหลายๆปัจจัยมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ และหนึ่งในปัจจัยที่เราควรจะคำนึงถึงนั่นก็คือ สภาพคล่องของกิจการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ระยะสั้นของกิจการ ยิ่งมีค่ามากเท่าไหร่ก็ยิ่งแสดงถึงสภาพคล่องของกิจการที่มีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหนี้ร้องขอให้มีการชำระหนี้ชนิดปัจจุบันทันด่วนกิจการก็พร้อมที่จะขำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ระยะสั้นได้ในทันที ลองนึกถึงสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเราก็ได้นะครับ
กรณีที่ 1 มีเงินอยู่ 100 บาท มีหนี้แค่ 20 บาท แบบนี้สภาพคล่องสูง..ชิวๆอ่ะ
กรณีที่ 2 มีเงินอยู่ 100 บาท มีหนี้ 80 บาท แบบนี้ก็อ่ะนะ ถึงเหงื่อจะตก แต่ก็ยังพอถูๆไถๆไปได้น่า
กรณีที่ 3 มีเงินอยู่ 100 บาท มีหนี้ 120 บาท แบบนี้ก็ไม่เหลือสภาพคล่อง ชักหน้าไม่ถึงหลัง
แน่ละครับว่าทุกคนก็ย่อมต้องการมีชีวิตอย่างกรณีที่ 1 การเลือกหุ้นก็ไม่ได้แตกต่างกัน กิจการที่มีสภาพคล่องในการชำระหนี้ระยะสั้นสูงย่อมน่าสนใจต่อการลงทุน มากกว่ากิจการที่มีสภาพคล่องในการชำระหนี้ระยะสั้นต่ำ เราสามารถหาอัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)ได้จากสูตรดังนี้ครับ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)= สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียนคือข้อมูลที่เราได้มาจากงบแสดงฐานะทางการเงิน
จากรูปด้านบนเป็นกรณีตัวอย่างข้อมูล 6 เดือนแรกของปี 2557 เปรียบเทียบข้อมูล 6 เดือนแรกของปี 2558 ซึ่งเราสามารถตรวจสอบสภาพคล่องของกิจการได้ดังนี้
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ของ 6M/2557 มีค่าเท่ากับ 44,689.42 / 32,920.08 = 1.36 เท่า
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ของ 6M/2558 มีค่าเท่ากับ 45,131.83 / 26,718.00 = 1.69 เท่า
จะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของทั้ง 2 ปี กิจการมีสภาพคล่องที่ดี คือมีสินทรัพย์หมุนเวียน มากกว่าหนี้สินหมุนเวียน อยู่ 1.36 เท่า และ 1.69 เท่าตามลำดับ ซึ่งทำให้กิจการสามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้ในทันทีหากเจ้าร้องขอให้ชำระในทันที และกิจการยังมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นด้วย ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจต่อการตัดสินใจลงทุน
แต่การวัด อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีนักเพราะเป็นการรวมสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดที่กิจการมี ซึ่งก็คือการรวม “สินค้าคงเหลือ” เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องต่ำสุด เพราะเราไม่สามารถทราบได้เลยว่า “สินค้าคงเหลือ” ที่มีอยู่นั้นจะสามารถขายออกไปเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เมื่อไหร่
ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการที่ชัดเจนและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เราจึงไม่นำสินค้าคงเหลือมารวมในการคำนวณหาสภาพคล่องของกิจการ ซึ่งก็คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) ซึ่งจะมีสูตรการคำนวณ ดังนี้
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (เงินสด + ตั๋วสัญญาใช้เงิน + ลูกหนี้ + เงินลงทุน) / หนี้สินหมุนเวียน
หรืออาจจะใช้สูตร
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ) / หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
จากรูปด้านบนเราสามารถแทนค่าสูตรได้ดังนี้ครับ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ของ 6M/2557 มีค่าเท่ากับ
(6,447.40 + 5,590.62) / 32,920.08 = 0.36 เท่า
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ของ 6M/2558 มีค่าเท่ากับ
(6,629.33 + 4,902.78) / 26,718.00 = 0.43 เท่า
จะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของทั้ง 2 ปี กิจการมีสภาพคล่องที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก เพราะมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วต่ำกว่า 1 เท่า ซึ่งนั้นแปลว่ากิจการมีสภาพคล่องที่เป็นเงินสดหรือสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ระยะสั้นหากเจ้าหนี้ต้องการให้ชำระหนี้ในทันที แม้ว่ากิจการจะมีสัดส่วนของอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วที่เพิ่มขึ้นจาก 0.36 เท่า เป็น 0.43 เท่าแล้วก็ตาม
ดังนั้น แม้ว่ากิจการจะมีความน่าสนใจต่อการลงทุนที่มีสภาพคล่องที่ดี แต่หากไม่สามารถบริหารจัดการ “สินค้าคงเหลือ” ที่กิจการมีอยู่ให้ดีขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ได้ กิจการก็อาจจะประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องในอนาคตข้างหน้าได้เช่นเดียวกัน
ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคม
บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม