คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เป็นองค์กรหลักในการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติอย่างยั่งยืนสู่ความเป็นสากล
เอกลักษณ์ของชาติ ประกอบด้วย
1 สถาบันชาติ
2 สถาบันศาสนา
3 สถาบันพระมหากษัตริย์ และ
4 สถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาดูทีละอัน
1 สถาบันชาติ
ลักษณะเด่นบางประการของสถาบันชาติคือ
- ประเทศ ซึ่ง
ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมทั้งในด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ
- ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมี
มากมายและสวยงาม
- ประชาชน ซึ่งมีความเป็นมิตร
พร้อมที่จะให้บริการและสรรหาสิ่งที่ดีที่สุด
- ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีเอกลักษณ์เด่นในเชิงบวก ทำให้ศิลปะและวัฒนธรรมของไทยโดดเด่น เช่น การ
แกะสลักผลไม้ อาหารไทย ซึ่งมีรสอร่อยและมีการปรุงแต่งอย่างสวยงาม และการ
"ไหว้" หรือการทักทายและอำลาแบบไทย อันเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก แท้จริงแล้วผู้ที่ทำให้การไหว้แบบไทยเป็นที่รู้จักและนิยมชมชื่นมากขึ้นในหมู่ชาวตะวันตกคือ
นายภราดร ศรีชาพันธุ์ แชมเปี้ยนเทนนิสชายเดี่ยวประเทศไทย และนักเทนนิสที่ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับสิบหกของโลกเมื่อปลายปี ๒๕๔๕ ซึ่งอำลาและขอบคุณผู้ชมหลังการแข่งขันทุกครั้งด้วยการไหว้
- ประเทศไทยมิได้ตกเป็นเมืองขึ้นหรือเป็นอาณานิคมของประเทศใด แต่ประเทศไทยมีเอกราชและอธิปไตยโดยสมบูรณ์
- ภาษาไทย ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ มีบรรพบุรุษของไทยฉลาดที่ได้คิดค้นให้มีภาษาไทยใช้ ทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด พร้อมทั้งกำหนดให้มีเลขไทยใช้ในราชการไทย ประเทศต่างๆ อีกมากมายในโลกนี้ที่ไม่มีภาษาประจำชาติของตนเอง คนไทยจึงควรภูมิใจและร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทยให้ยั่งยืนสืบไป
2 สถาบันศาสนา
ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ศาสนิกชนของทุกศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้ธงไตรรงค์ และภายใต้บารมีแห่งองค์ศาสนูปถัมภกคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงคุณอเนกอนันต์ต่อประชาชนไทยทุกศาสนาให้อยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
3 สถาบันพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่อดีตกาล
พระมหากษัตริย์ไทยยอมเสียเลือดเนื้อเพื่อปกป้องคุ้มครองแผ่นดินและประชาชนไทย มิให้ตกเป็นทาสของชาติอื่นใด พร้อมทั้ง
ทรงพัฒนาประเทศชาติด้วยพระขันติ วิริยะ และพระอัจฉริยะภาพในทุกด้าน จนทำให้ไทยยังคงมีแผ่นดิน มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศตราบ
เท่าทุกวันนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นเครื่อง
ยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนไทยรักและสามัคคีต่อกัน
4 สถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ชนชาติไทยมีความ
รักอิสระ ชอบเสรีภาพ ไม่ชอบเป็นข้าทาสถูกบังคับ ถูกข่มเหง ฉะนั้น การปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องกับนิสัยของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะใครจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ศีลธรรม และจารีตประเพณี การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงเป็นสถาบันที่มีค่ายิ่งต่อคนไทย
ขอขอบคุณ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
http://www.identity.opm.go.th/
ทำความรู้จักเอกลักษณ์ของชาติไทย (มี4อัน) และเกียรติภูมิประเทศ
เอกลักษณ์ของชาติ ประกอบด้วย
1 สถาบันชาติ
2 สถาบันศาสนา
3 สถาบันพระมหากษัตริย์ และ
4 สถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาดูทีละอัน
1 สถาบันชาติ
ลักษณะเด่นบางประการของสถาบันชาติคือ
- ประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมทั้งในด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ
- ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีมากมายและสวยงาม
- ประชาชน ซึ่งมีความเป็นมิตรพร้อมที่จะให้บริการและสรรหาสิ่งที่ดีที่สุด
- ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีเอกลักษณ์เด่นในเชิงบวก ทำให้ศิลปะและวัฒนธรรมของไทยโดดเด่น เช่น การแกะสลักผลไม้ อาหารไทย ซึ่งมีรสอร่อยและมีการปรุงแต่งอย่างสวยงาม และการ "ไหว้" หรือการทักทายและอำลาแบบไทย อันเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก แท้จริงแล้วผู้ที่ทำให้การไหว้แบบไทยเป็นที่รู้จักและนิยมชมชื่นมากขึ้นในหมู่ชาวตะวันตกคือ นายภราดร ศรีชาพันธุ์ แชมเปี้ยนเทนนิสชายเดี่ยวประเทศไทย และนักเทนนิสที่ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับสิบหกของโลกเมื่อปลายปี ๒๕๔๕ ซึ่งอำลาและขอบคุณผู้ชมหลังการแข่งขันทุกครั้งด้วยการไหว้
- ประเทศไทยมิได้ตกเป็นเมืองขึ้นหรือเป็นอาณานิคมของประเทศใด แต่ประเทศไทยมีเอกราชและอธิปไตยโดยสมบูรณ์
- ภาษาไทย ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ มีบรรพบุรุษของไทยฉลาดที่ได้คิดค้นให้มีภาษาไทยใช้ ทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด พร้อมทั้งกำหนดให้มีเลขไทยใช้ในราชการไทย ประเทศต่างๆ อีกมากมายในโลกนี้ที่ไม่มีภาษาประจำชาติของตนเอง คนไทยจึงควรภูมิใจและร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทยให้ยั่งยืนสืบไป
2 สถาบันศาสนา
ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ศาสนิกชนของทุกศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้ธงไตรรงค์ และภายใต้บารมีแห่งองค์ศาสนูปถัมภกคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงคุณอเนกอนันต์ต่อประชาชนไทยทุกศาสนาให้อยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
3 สถาบันพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่อดีตกาลพระมหากษัตริย์ไทยยอมเสียเลือดเนื้อเพื่อปกป้องคุ้มครองแผ่นดินและประชาชนไทย มิให้ตกเป็นทาสของชาติอื่นใด พร้อมทั้งทรงพัฒนาประเทศชาติด้วยพระขันติ วิริยะ และพระอัจฉริยะภาพในทุกด้าน จนทำให้ไทยยังคงมีแผ่นดิน มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศตราบเท่าทุกวันนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนไทยรักและสามัคคีต่อกัน
4 สถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ชนชาติไทยมีความรักอิสระ ชอบเสรีภาพ ไม่ชอบเป็นข้าทาสถูกบังคับ ถูกข่มเหง ฉะนั้น การปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องกับนิสัยของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะใครจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ศีลธรรม และจารีตประเพณี การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงเป็นสถาบันที่มีค่ายิ่งต่อคนไทย
ขอขอบคุณ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
http://www.identity.opm.go.th/