อะไรทำให้ จุฬาฯ มั่นใจว่า อุเทนถวายฯต้องย้าย ! ดูกันจะๆ ที่ดินจุฬาฯใช้ทำอะไร ? .....ข่าวมติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
ข้อเท็จจริงกรณีที่ดินจุฬาฯ ข่าวลงวันที่ 15 มีนาคม 2556

ที่ดิน จุฬาฯ ใช้ทำอะไรบ้าง ?

ตามที่ได้มีการออกข่าวการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านมานั้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเสนอข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้
           
ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น มีพื้นที่ขนาด 1,153 ไร่ ซึ่งได้จัดแบ่งตามผังแม่บท
ได้เป็น 3 ส่วน คือ พื้นที่เขตการศึกษาประมาณ 50 % พื้นที่สำหรับส่วนราชการยืมหรือเช่าใช้
ประมาณ 20 % และพื้นที่เขตพาณิชย์ประมาณ 30 % ซึ่งการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดิน
ดังกล่าว เป็นไปตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้สถาปนา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าการที่มหาวิทยาลัยจะสามารถดำเนินพันธกิจหลักได้นั้น จำเป็น
ต้องมีทรัพยากรเกื้อหนุนเพิ่มเติมจากงบประมาณแผ่นดิน
           
ใน พ.ศ. 2482 จึงได้มี พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

<
<
<

ส่วนกรณีการขอคืนพื้นที่จากอุเทนถวายนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินการตามกระบวน
การทางกฎหมายที่ถูกต้อง ชัดเจน โดยเป็นการขอคืนพื้นที่เช่าจากอุเทนถวาย ในฐานะเป็นผู้เช่าใช้
พื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บนพื้นที่ 20 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา ระหว่าง พ.ศ. 2478 - 2546
รวม 68 ปี ดังมีหลักฐานการชำระเงินค่าเช่าที่ดิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นเงิน 514.66 บาท และ
มหาวิทยาลัยได้เริ่มเจรจาขอคืนพื้นที่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เพื่อขยายเขตพื้นที่การศึกษาตามโครงการ
พัฒนาของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ กระบวนการขอคืนพื้นที่ของจุฬาฯ จากอุเทนถวายนั้น ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจาก คณะกรรมการ
พิจารณาชี้ขาดการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ “กยพ.” ซึ่งเป็น
หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางแพ่งระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน
2550 โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวประกอบไปด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
           
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม        ประธานกรรมการ
           2. ปลัดกระทรวงการคลัง                   กรรมการ
           3. ปลัดกระทรวงยุติธรรม                   กรรมการ
           4. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี                 กรรมการ
           5. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา      กรรมการ
           6. อัยการสูงสุด                            กรรมการและเลขานุการ
           7. อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด      กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
           8. อัยการพิเศษฝ่ายการยุติในการดำเนินคดีแพ่งฯ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ  

การวินิจฉัยชี้ขาดของ กยพ. เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงและตรวจสอบพยานหลักฐาน ทั้งพยานบุคคลและ
พยานเอกสาร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อุเทนถวาย อย่างละเอียด รอบคอบและรอบด้าน โดยได้ใช้
ระยะเวลาในการพิจารณาถึง 2 ปี ซึ่งในกระบวนการพิจารณานั้น มีหลักฐานแน่ชัดว่า มีตัวแทนฝ่ายอุเทนถวาย
เข้าร่วมในกระบวนการดังกล่าวด้วย อาทิ ตัวแทนอาจารย์  ตัวแทนนักศึกษา ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรม
นายกสมาคมศิษย์เก่าฯ กรรมการสมาคมศิษย์เก่าฯ ที่ปรึกษากฎหมายของสมาคมศิษย์เก่าฯ
           
สรุป ผลการพิจารณาตัดสินชี้ขาดของ กยพ. ให้อุเทนถวายขนย้ายและส่งมอบพื้นที่คืนให้กับจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พร้อมชำระค่าเสียหายให้กับจุฬาฯ ปีละ 1,140,900 บาท นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549
จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสร็จสิ้น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผล
การตัดสินชี้ขาดของ กยพ. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2553

นอกจากนี้ การยื่นถวายฎีกาของตัวแทนฝ่ายอุเทนถวาย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 นั้น ได้มีหนังสือ
ตอบกลับจากสำนักราชเลขาธิการ แจ้งให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของ กยพ. โดยมีหลักฐานปรากฎ
เป็นเอกสารจากสำนักราชเลขาธิการถึง นายสมศักดิ์ รัตนเชาว์ ผู้ยื่นถวายฎีกา หนังสือเลขที่
รล 0007.4/1935 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งถือเป็นการยุติแล้ว

สำนักงานอัยการสุงสุด แจ้งอุเทนถวายฯ

<
<
<

สำหรับการพัฒนาโครงการต่างๆ บนพื้นที่เขตพาณิชย์นั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอยืนยันว่า
ได้ดำเนินการภายในพื้นที่ 30% ตามผังแม่บทของมหาวิทยาลัย โดยจะไม่มีการขยายพื้นที่แน่นอน
ซึ่งรายได้ที่ได้จากการพัฒนาโครงการต่างๆ ในพื้นที่เขตพาณิชย์นั้น จะนำไปสนับสนุนและพัฒนา
ด้านการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยในหลายๆด้าน ได้แก่
           
• งานวิจัยและนวัตกรรม: เพื่อช่วยตอบโจทย์สำคัญให้กับประเทศ ช่วยแก้ปัญหาสังคมทั้งระดับชาติ
  และนานาชาติ รวมทั้งการต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคเอกชนและอุตสาหกรรม
           
• งานบริการเพื่อสังคม: ทั้งชุมชนรอบจุฬาฯ และสังคมภายนอก
           
• ทุนการศึกษา: ประมาณ 12,000 ทุน (450 ล้านบาท)
           
• พัฒนาการจัดการศึกษา และพัฒนานิสิต: สื่อการสอน เครื่องมือการเรียนการสอนและการวิจัย
  ด้าน ICT  ด้านดนตรี และด้านกีฬา
           
• พัฒนาอาจารย์ และบุคลากร: ส่งเสริมศักยภาพการเรียนการสอน และงานวิจัย
           
• ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบำรุงสถานที่สำคัญ : พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์
  พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน
           
ในกรณีกรมพลศึกษาและโรงเรียนปทุมวัน(โรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัด กทม.) ซึ่งได้เช่าพื้นที่
จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ได้ผ่านการเจรจาร่วมกันจนเป็นที่เข้าใจและได้ข้อยุติเรียบร้อยแล้ว
           
การดำเนินการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านมานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดต่อวงการศึกษาและสังคมไทย โดยดำเนินการด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
เพราะมีการตรวจสอบทั้งภายใน โดยสำนักตรวจสอบ และภายนอก โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ทุกภาคส่วนจึงสามารถเชื่อมั่นในการดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ อย่างแท้จริง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363855054&grpid=01&catid=&subcatid=

อ้อ ...ตามไปอ่านข่าวเต็มจาก link  ด้วยค่ะ

ข่าวเก่าไปหน่อย  แต่ก็อยากเอามาแบ่งปันกัน  ให้รับรู้เอาไว้....  หากยังดึงดันไม่ยอมย้ายไปอีก ...
จะเรียกว่าอะไรดี ... ขำ..ขำ .. อุเทน...บอก  เป็นเพื่อนบ้านกัน  ไปไหนก็ไปด้วยกัน  หากจะให้อุเทน...
ย้าย  ...จุฬา...ต้องย้ายไปด้วย ... อยากบอกว่า  ไม่อยากมีเพื่อนบ้านแบบนี้ .... ทะเลาะกันทีก็พกอาวุธ
เอามาทำร้ายกัน  อยู่ใกล้ๆ  อันตราย...นะ  ชาวบ้าน รวมนิสิตจุฬา ..ก็เคยโดนลูกหลง  มาแล้ว
จำได้ว่า  เขาบอกว่า ต้องให้คำตอบภายใน 30 วัน  นับจากวันที่เขาไปชุมนุมกัน ..  แต่ยืนยันว่า  ยังไงก็ไม่ย้าย
เพื่อนๆ  อ่านความเป็นมาแล้ว  ...คิดเห็นยังไง  ...รอบ 2 แล้วที่แปะข่าว  เรื่องนี้  คราวที่แล้วจำได้......มีคน
บอกว่า  สาวเหลือน้อย   โพสต์แบบนี้  ทำให้เสื่อมเสีย ...สถาบัน  ....   ยิ้ม

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่