.....................“ข้าว” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีวัฒนธรรมการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทในการส่งออกข้าว แต่ด้วยปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีคุณภาพ การใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่มาก ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อผลผลิตข้าวของชาวนาทั้งสิ้น!
ด้วยปัญหาหลายประการที่ส่งผลต่อข้าว ทำให้หลายภาคส่วนมีเป้าหมายที่จะนำองค์ความรู้ ความชำนาญมาช่วยเหลือชาวนา ปัญหาหนึ่งที่พยายามหาหนทางในการแก้ไข คือ ปัญหาในเรื่องการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับราคา และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีของชาวนายังคงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งทำให้มีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวกันอย่างกว้างขวาง แต่ปริมาณการใช้ต่อพื้นที่ยังไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้ยังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตในข้าวได้มากนัก แต่กลับทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงเกินไป
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการฝ่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค อธิบายให้ฟังว่า ปุ๋ยเคมีที่ชาวนานิยมใช้ คือ ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง ช่วงที่ใส่เหมาะสำหรับช่วงการใส่ปุ๋ยให้กับพืชที่มีสภาวะน้ำน้อย สามารถสลายตัวในน้ำได้เร็ว พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารไปใช้ได้ง่าย ช่วยบำรุงส่วนใบ ก้านใบของพืช ช่วยให้พืชใบเขียวเร็ว แต่ข้อควรระวังคือ การให้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณมากหรือใช้ปุ๋ยยูเรียร่วมกับปุ๋ยสูตรอื่นที่มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงอยู่แล้ว จะทำให้พืชน็อกปุ๋ยได้
“แล้วชาวนาจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวในระยะต่าง ๆ ต้องการธาตุไนโตรเจนเท่าไหร่ ตรงนี้หน่วยงานหลักที่สำคัญ คือ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้นำแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า แอลซีซี (LCC) ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่ฟิลิปปินส์มาช่วยแก้ไขและลดปัญหาการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีประสิทธิ ภาพ โดยการใช้แผ่นเทียบสีกับใบของต้นข้าวว่าต้องการธาตุไนโตรเจนเท่าใดจึงจะเหมาะสม”
จากการใช้แผ่นเทียบสีในประเทศไทยที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวนา และเพื่อให้ชาวนาใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ดำเนิน การต่อยอดจากแนวคิดแผ่นเทียบสี มาจัดทำเป็น แอพพลิเคชั่น ที่มีชื่อว่า ใบข้าวเอ็นเค
(BaiKhaoNK ) ขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากเครื่องตรวจวัดสีสารละลายและได้รับโจทย์เกี่ยวกับการดูสีของใบข้าวที่เดิมนักวิชาการเกษตรหรือเกษตรกรผู้ทำนาจะใช้การเทียบสีด้วยสายตามนุษย์ซึ่งมีความผิดพลาดได้ง่าย มาเป็นเครื่องตรวจวัดสีของใบข้าว ที่สามารถ ประเมินการขาดธาตุไนโตรเจนและโพแทส เซียมของต้นข้าวในนาได้ว่าขาดมากน้อยแค่ไหน
’โดยทีมวิจัยได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือสมาร์ทโฟนที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ สามารถใช้อ่านสีของใบข้าวเพื่อการประเมินความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมของต้นข้าวในนา โดยไม่ต้องใช้สารเคมี และไม่ต้องทำลายใบข้าว โดยจะแสดงปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่เหมาะสมที่ชาวนาควรใส่ให้กับต้นข้าวในนาในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต ช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูกได้”
สำหรับปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนได้มีการสอบเทียบและอ้างอิงปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียด้วยวิธีการวัดแบบกำหนดเวลาจากแผ่นเทียบสีใบข้าวมาตรฐานที่มีแถบสี 4 ระดับ และ 6 ระดับ ของกรมการข้าว จากการทดสอบในภาคสนามที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่ฟิลิปปินส์ พบว่า อุปกรณ์แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคสามารถตรวจวัดสีของใบข้าวแล้วประมาณออกมาเป็นปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียได้ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ตามความต้องการของต้นข้าวในนาในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต จากการทดสอบในภาคสนาม 120 ครั้ง ส่วนการประเมินธาตุโพแทสเซียมได้มีการทดสอบกับศูนย์วิจัยข้าวของกรมการข้าว พบว่า ถูกต้องร้อยละ 77.2 จากการทดสอบในภาคสนาม 57 ครั้ง ซึ่งทางทีมวิจัยจะทำการวิจัยและพัฒนา ต่อไป
ด้านวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก ดร.ศรัณย์ กล่าวว่า การทำงานจะใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบแอนดรอยด์ 2.2 ขึ้นไป โดยจะต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเสียก่อน ที่ Play Store เสิร์ชคำว่า BaikhaoNK เมื่อติดตั้งเสร็จก็สามารถใช้งานได้ทันที เมื่อเข้าสู่โปรแกรมจะมีคู่มืออธิบายขั้นตอนการใช้งาน
จากนั้น เพียงชาวนานำใบข้าวที่อยู่ในลำดับที่ 3 รองจากยอดของลำต้น มาวางบนกระดาษสีขาวแล้วใช้แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคถ่ายภาพ หลังจากนั้นโปรแกรมจะตรวจสอบระดับสีและคำนวณเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีใบข้าวตามมาตรฐานของกรมการข้าว พร้อมบอกปริมาณปุ๋ยที่ชาวนาจำเป็นต้องใช้ เท่านี้ชาวนาก็สามารถใส่ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
“เทคนิคดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูก เนื่องจากมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอดีไม่มากเกินความจำเป็น รวมทั้ง ช่วยลดการชักนำการเกิดโรคและการระบาดของแมลงในแปลงนาที่มีสาเหตุมาจากต้นข้าวงอกงามมากกว่าปกติแต่ทั้งนี้แม้แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคจะพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลการเทียบสีใบข้าวเพื่อจัดการปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการปลูกข้าวในนาชลประทาน เนื่องจากสายพันธุ์ของต้นข้าวและพื้นที่การเพาะปลูกอาจส่งผลต่อการดูดซับธาตุอาหารของต้นข้าวในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้น ภายหลังจากการวัดสีของใบข้าวแล้ว ถ้าต้องการใส่ปุ๋ยให้ในปริมาณที่เหมาะสมจริง ๆ ควรขอคำปรึกษาและข้อแนะนำจากศูนย์วิจัยข้าวในแต่ละพื้นที่โดยตรงเสียก่อน”
สำหรับเกษตรกรที่ต้องการใช้แอพ พลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคแต่ยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้ สามารถใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวของกรมการข้าวแทนได้ หรือเกษตรกรคนใดที่อยู่ในพื้นที่ของโครงการหมู่บ้านลดต้นทุนก็สามารถประสานกับหัวหน้าโครงการในหมู่บ้านเพื่อประสานขอข้อมูลและความช่วยเหลือในเรื่องของอุปกรณ์ได้ ซึ่งในอนาคตจะมีความร่วมมือระหว่างเนคเทค กับ กรมการข้าว เพื่อทำการขยายผลในการนำแอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเค เข้าไปใช้ในหมู่บ้านต้นแบบที่กรมการข้าวได้จัดตั้งขึ้น สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พอดีไม่มากเกินความต้องการของต้นข้าว เพื่อให้เป็นต้นแบบของหมู่บ้านลดต้นทุนและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการวัดสีใบข้าวก่อนการใส่ปุ๋ย
แอพพลิเคชั่นใบข้าวเหมาะสำหรับเกษตรกร หน่วยงานหรือผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องการวัดสีใบข้าวเพื่อทำการประเมินความต้องการธาตุไนโตรเจนก่อนการใส่ปุ๋ย ให้กับต้นข้าว ถึงแม้ว่าตอนนี้เกษตรกรบางคนอาจจะยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้หรือยังไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต จะมีราคาที่ถูกลงและเข้ามาแทนที่โทรศัพท์มือถือที่ทุกครัวเรือนมีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นั่นหมายความว่า เกษตรกรจะมีสมาร์ทโฟนใช้และสามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นใบข้าวนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน.
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/article/224/191743
ค้นหาธาตุอาหารผ่าน ''แอพพลิเคชั่นใบข้าวฯ'' เทคโนโลยีไฮเทคช่วยชาวนาเพิ่มผลผลิต
ด้วยปัญหาหลายประการที่ส่งผลต่อข้าว ทำให้หลายภาคส่วนมีเป้าหมายที่จะนำองค์ความรู้ ความชำนาญมาช่วยเหลือชาวนา ปัญหาหนึ่งที่พยายามหาหนทางในการแก้ไข คือ ปัญหาในเรื่องการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับราคา และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีของชาวนายังคงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งทำให้มีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวกันอย่างกว้างขวาง แต่ปริมาณการใช้ต่อพื้นที่ยังไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้ยังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตในข้าวได้มากนัก แต่กลับทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงเกินไป
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการฝ่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค อธิบายให้ฟังว่า ปุ๋ยเคมีที่ชาวนานิยมใช้ คือ ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง ช่วงที่ใส่เหมาะสำหรับช่วงการใส่ปุ๋ยให้กับพืชที่มีสภาวะน้ำน้อย สามารถสลายตัวในน้ำได้เร็ว พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารไปใช้ได้ง่าย ช่วยบำรุงส่วนใบ ก้านใบของพืช ช่วยให้พืชใบเขียวเร็ว แต่ข้อควรระวังคือ การให้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณมากหรือใช้ปุ๋ยยูเรียร่วมกับปุ๋ยสูตรอื่นที่มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงอยู่แล้ว จะทำให้พืชน็อกปุ๋ยได้
“แล้วชาวนาจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวในระยะต่าง ๆ ต้องการธาตุไนโตรเจนเท่าไหร่ ตรงนี้หน่วยงานหลักที่สำคัญ คือ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้นำแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า แอลซีซี (LCC) ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่ฟิลิปปินส์มาช่วยแก้ไขและลดปัญหาการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีประสิทธิ ภาพ โดยการใช้แผ่นเทียบสีกับใบของต้นข้าวว่าต้องการธาตุไนโตรเจนเท่าใดจึงจะเหมาะสม”
จากการใช้แผ่นเทียบสีในประเทศไทยที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวนา และเพื่อให้ชาวนาใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ดำเนิน การต่อยอดจากแนวคิดแผ่นเทียบสี มาจัดทำเป็น แอพพลิเคชั่น ที่มีชื่อว่า ใบข้าวเอ็นเค
(BaiKhaoNK ) ขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากเครื่องตรวจวัดสีสารละลายและได้รับโจทย์เกี่ยวกับการดูสีของใบข้าวที่เดิมนักวิชาการเกษตรหรือเกษตรกรผู้ทำนาจะใช้การเทียบสีด้วยสายตามนุษย์ซึ่งมีความผิดพลาดได้ง่าย มาเป็นเครื่องตรวจวัดสีของใบข้าว ที่สามารถ ประเมินการขาดธาตุไนโตรเจนและโพแทส เซียมของต้นข้าวในนาได้ว่าขาดมากน้อยแค่ไหน
’โดยทีมวิจัยได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือสมาร์ทโฟนที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ สามารถใช้อ่านสีของใบข้าวเพื่อการประเมินความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมของต้นข้าวในนา โดยไม่ต้องใช้สารเคมี และไม่ต้องทำลายใบข้าว โดยจะแสดงปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่เหมาะสมที่ชาวนาควรใส่ให้กับต้นข้าวในนาในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต ช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูกได้”
สำหรับปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนได้มีการสอบเทียบและอ้างอิงปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียด้วยวิธีการวัดแบบกำหนดเวลาจากแผ่นเทียบสีใบข้าวมาตรฐานที่มีแถบสี 4 ระดับ และ 6 ระดับ ของกรมการข้าว จากการทดสอบในภาคสนามที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่ฟิลิปปินส์ พบว่า อุปกรณ์แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคสามารถตรวจวัดสีของใบข้าวแล้วประมาณออกมาเป็นปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียได้ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ตามความต้องการของต้นข้าวในนาในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต จากการทดสอบในภาคสนาม 120 ครั้ง ส่วนการประเมินธาตุโพแทสเซียมได้มีการทดสอบกับศูนย์วิจัยข้าวของกรมการข้าว พบว่า ถูกต้องร้อยละ 77.2 จากการทดสอบในภาคสนาม 57 ครั้ง ซึ่งทางทีมวิจัยจะทำการวิจัยและพัฒนา ต่อไป
ด้านวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก ดร.ศรัณย์ กล่าวว่า การทำงานจะใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบแอนดรอยด์ 2.2 ขึ้นไป โดยจะต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเสียก่อน ที่ Play Store เสิร์ชคำว่า BaikhaoNK เมื่อติดตั้งเสร็จก็สามารถใช้งานได้ทันที เมื่อเข้าสู่โปรแกรมจะมีคู่มืออธิบายขั้นตอนการใช้งาน
จากนั้น เพียงชาวนานำใบข้าวที่อยู่ในลำดับที่ 3 รองจากยอดของลำต้น มาวางบนกระดาษสีขาวแล้วใช้แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคถ่ายภาพ หลังจากนั้นโปรแกรมจะตรวจสอบระดับสีและคำนวณเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีใบข้าวตามมาตรฐานของกรมการข้าว พร้อมบอกปริมาณปุ๋ยที่ชาวนาจำเป็นต้องใช้ เท่านี้ชาวนาก็สามารถใส่ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
“เทคนิคดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูก เนื่องจากมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอดีไม่มากเกินความจำเป็น รวมทั้ง ช่วยลดการชักนำการเกิดโรคและการระบาดของแมลงในแปลงนาที่มีสาเหตุมาจากต้นข้าวงอกงามมากกว่าปกติแต่ทั้งนี้แม้แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคจะพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลการเทียบสีใบข้าวเพื่อจัดการปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการปลูกข้าวในนาชลประทาน เนื่องจากสายพันธุ์ของต้นข้าวและพื้นที่การเพาะปลูกอาจส่งผลต่อการดูดซับธาตุอาหารของต้นข้าวในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้น ภายหลังจากการวัดสีของใบข้าวแล้ว ถ้าต้องการใส่ปุ๋ยให้ในปริมาณที่เหมาะสมจริง ๆ ควรขอคำปรึกษาและข้อแนะนำจากศูนย์วิจัยข้าวในแต่ละพื้นที่โดยตรงเสียก่อน”
สำหรับเกษตรกรที่ต้องการใช้แอพ พลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคแต่ยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้ สามารถใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวของกรมการข้าวแทนได้ หรือเกษตรกรคนใดที่อยู่ในพื้นที่ของโครงการหมู่บ้านลดต้นทุนก็สามารถประสานกับหัวหน้าโครงการในหมู่บ้านเพื่อประสานขอข้อมูลและความช่วยเหลือในเรื่องของอุปกรณ์ได้ ซึ่งในอนาคตจะมีความร่วมมือระหว่างเนคเทค กับ กรมการข้าว เพื่อทำการขยายผลในการนำแอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเค เข้าไปใช้ในหมู่บ้านต้นแบบที่กรมการข้าวได้จัดตั้งขึ้น สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พอดีไม่มากเกินความต้องการของต้นข้าว เพื่อให้เป็นต้นแบบของหมู่บ้านลดต้นทุนและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการวัดสีใบข้าวก่อนการใส่ปุ๋ย
แอพพลิเคชั่นใบข้าวเหมาะสำหรับเกษตรกร หน่วยงานหรือผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องการวัดสีใบข้าวเพื่อทำการประเมินความต้องการธาตุไนโตรเจนก่อนการใส่ปุ๋ย ให้กับต้นข้าว ถึงแม้ว่าตอนนี้เกษตรกรบางคนอาจจะยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้หรือยังไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต จะมีราคาที่ถูกลงและเข้ามาแทนที่โทรศัพท์มือถือที่ทุกครัวเรือนมีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นั่นหมายความว่า เกษตรกรจะมีสมาร์ทโฟนใช้และสามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นใบข้าวนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน.
ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/224/191743