พระพุทธองค์ทรงบัญญัติอะไร(แตกประเด็น)

ผมขออนุญาตแตกประเด็นกระทู้ตัวเองหน่อยครับ  ที่มา....http://ppantip.com/topic/30255589
สาเหตุที่ต้องแตกประเด็นมาตั้งกระทู้ใหม่  ก็เพื่ออยากจะเลือกความเห็นบางความเห็น  ที่มีสาระ
และในการแสดงความเห็นนั้น มีเนื้อหาที่แสดงว่า  เข้าใจในสิ่งที่ผมเจ้าของกระทู้สื่อสาร  (เห็นด้วยหรือแย้งไม่สำคัญ)

ผมพิจารณาแล้วมีความเห็นที่พอจะสนทนาต่อได้  ผมเลือกมาตอบเป็นบางความเห็นครับ  เริ่มเลย......

จากความเห็นของคุณ RWC  ความเห็นที่ #12

****"ความคิดเห็นที่ 12
เข้าใจเจตนาครับ
จขกทน่าจะมองว่า หลักธรรม (ตามความหมาย จขกท) เป็นเนื้อหาหลัก
"คำพูดทั่วๆไป" นั้น ก็คือ เนื้อหาเสริม

แต่ผมเห็นว่า ไม่ควรมองเพียงว่าเป็น "คำพูดทั่วๆไป"
แม้ท่าน จขกท มองว่า "เป็นคำพูดที่ใช้สอนสาวกและบุคคลทั่วไป เป็นการเฉพาะและเป็นคราวๆไป"
แต่คำสอนลักษณะนี้ ก็น่าจะเปรียบเหมือน ความรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้สอนที่แนะนำให้กับผู้ฟัง
จึงย่อมมีความต่างกันไปตามสถานการณ์และจริตของผู้ฟังนั้นๆ
เราในฐานะผู้ฟัง (และผู้อ่าน) ก็เช่นกัน ย่อมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
(ซึ่งเป็นประสบการณ์สำคัญยิ่งจนได้บรรลุธรรมอีกด้วย)

ผมจึงมองว่า การที่พระไตรปิฎกได้รวบรวมทุกคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ไม่ให้ตกหล่นนั้น
เป็นเรื่อ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ ธรรมะทุกอย่างที่ทรงตรัส มีความสำคัญเหมือนกัน
และ "คำพูดทั่วๆไป" เหล่านี้แหละ
ที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจบริบท และเรียนรู้ธรรมะที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้ดียิ่งขึ้น "*
...........................................................................................................................................

ความเห็นของจขกทครับ

ก่อนอื่นต้องขอชมครับว่า  คุณมีสมาธิในการอ่านดีมาก   สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผมต้องการสื่อ
เพียงแค่นี้ผมก็มีความรู้สึกที่อยากจะคุยด้วย   ถึงแม้คุณจะไม่เห็นด้วยกับผม

อย่างแรกตรงชี้แจงให้ฟังครับ    กับประเด็นที่ว่า"คำพูดทั่วไปในพระสูตร"  ผมก็ต้องบอกว่า
ที่ผมเน้นไปแบบนั้น ก็เป็นเพราะ.......มันเกี่ยวกับจริตของคนครับ

คำพูดทั่วๆไปในพระสูตรมันเป็นการพูดของพระพุทธเจ้า  ที่ต้องการให้สาวกที่รับการสั่งสอนในขณะนั้น
ดูลงไปไปที่กายใจของตนเอง(ขอเน้นว่า กายใจของตนเอง)   ที่ให้ดูที่กายใจตนเองก็เพื่อ จะได้รู้ว่า
ทุกข์  และอะไรทำให้ทุกข์    แล้วก็บอกหลักธรรมของพระองค์แก่สาวก  ให้สาวกนำหลักธรรมไปแก้ทุกข์  ดับเหตุเอง

ที่นี้มาที่ตัวเราเอง   ที่ผมว่าอย่าไปเอาเนื้อหาหรือคำพูดทั่วไปมาเป็นหลักในการปฏิบัติ  เป็นเพราะว่า
จริตของเรากับจริตของบุคคลที่อยู่ในพระสูตรไม่เหมือนกัน    มันเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่บุคคลจะรู้ได้แต่เฉพาะกายใจตนเอง


ยกตัวอย่างนะครับ   หวังว่าคุณคงเข้าใจความหมายของคำว่า  "หลักธรรม"  สิ่งที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ ก็เป็นหลักธรรม
ถ้าคุณเข้าแล้วว่า   สัมมาทิฐิเป็นหลักธรรม    ที่นี้ผมจะบอกให้ครับว่า   ทำไมผมถึงได้บอกว่า  ให้เอาหลักธรรมมาเป็น
หลักในการปฏิบัติ  อย่าเอาเนื้อหาทั่วไปในพระสูตรมาเป็นหลัก

อยากให้คุณพิจารณาดูครับว่า    ๑.ปัญจวัคคีย์  ๒.องคุลีมาล   คุณว่า  ปัญจวัคคีย์กับองคุลีมาล มีจริตเหมือนกันมั้ยครับ
ดูแล้วผิดกันแบบคนละฟากฝั่ง   อีกพวกถือศีลเคร่งครัด  อีกคนผิดศีลอย่างสุดกู่

พระธรรมหรือหลักธรรมแรกที่พระพุทธองค์  ทรงสอนนั้นก็คือ  หลักของสัมมาทิฐิ
ถ้าเราพิจารณาดูแล้ว  พุทธพจน์ที่สอนทำไมไม่เหมือนกัน   ทั้งๆที่มีจุดหมายเดียวกัน  นั้นก็คือสัมมาทิฐิ

ไม่สังเกตุเลยหรือว่า    ทำไมพระพุทธองค์จึงไม่เอา  ธัมมจักกัปปวัตนสูตรมาสอนองคุลีมาล
ทั้งๆที่  ธัมมจักกัปปวัตนสูตรสามารถทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์    เกิดสัมมาทิฐิ

พิจารณาให้ดีก็จะรู้ว่า   จริตของปัญจวัคคีย์แตกต่างจากองคุลีมาล    ผมจึงบอกว่าเราไม่ควรเอา
เนื้อหาในพระสูตรมาเป็นหลักในการปฏิบัติ   เพราะเนื้อหาในพระสูตรมันเป็นจริตของคนอื่นไม่ใช่เราครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่