http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk16QTVNak00Tnc9 PQ==&subcatid=
ชมรมแพทย์ชนบท แต่งดำเรียกร้อง “นพ.ประดิษฐ” ทบทวนลดเบี้ยทุรกันดาร
วันที่ 12 มี.ค. นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังจะเกิดปัญหาแพทย์ในชนบท ซึ่งอยู่ตามโรงพยาบาลชุมชน(รพช.)ต่างๆ กว่า 730 แห่งขาดแคลน เนื่องจากเกิดความไม่เป็นธรรมต่อวิชาชีพที่ทำงานในชนบทมานาน โดยเฉพาะในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะล่าสุด นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข(สธ.) และปลัด สธ.จะปลัดลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ฉบับที่ 4 และ 6 ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ ทำให้อาจมีบางฝ่ายไม่เห็นด้วยและต่อต้านมาตลอด โดยนโยบายการปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายกำหนดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2556 ให้ลดอัตราลงร้อยละ 50 และวันที่ 1 ต.ค. 2557 ให้ตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายทิ้งทั้งหมด โดยให้ใช้การพิจารณาจากภาระงาน หรือ P4P (Pay for Performance) แทน
“การทำลักษณะนี้ถือเป็นการผลักไสบุคลากรสาธารณสุขที่อยู่ในชนบท ซึ่งปัจจุบันก็แทบจะไม่มีใครอยากอยู่ ให้ยิ่งออกจากระบบสาธารณสุขภาครัฐมากยิ่งขึ้น ซึ่งสมาชิกในโรงพยาบาลชุมชนกว่า 730 แห่งจะขอแต่งชุดดำไปเรียกร้องความยุติธรรมกับรัฐมนตรี สธ.และปลัด สธ.ในวันที่ 13 มี.ค.นี้ เพื่อให้ทบทวนเรื่องดังกล่าว โดยหวังว่าพวกท่านจะยอมรับฟังและไม่ติดภารกิจจนไม่ยอมฟังข้อเรียกร้องของหมอ ในชนบทอีก” อดีตประธานแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวจะส่งผลต่อปัญหาขาดแคลนแพทย์แน่นอน เพราะนอกจากจะปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ซึ่งถือเป็นการดึงแพทย์ไว้ในชนบท ยังพบว่ารัฐมนตรี สธ.ยังส่งเสริมนโยบายเมดิคัล ฮับ โดยเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ตามชายแดน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งตรงนี้จะทำให้แพทย์ในชนบทที่ถูกปรับลดเบี้ยเลี้ยงไม่อยากอยู่ในระบบ และจะไปอยู่ภาคเอกชนมากขึ้น ดังนั้น นอกจากจะไปเรียกร้องเรื่องนี้ในวันที่ 13 มี.ค. จะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเป็นธรรมและขอเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีสธ.คนใหม่ เนื่องจากนพ.ประดิษฐ ไม่ให้ความสำคัญกับหมอในชนบท
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนวิธีจ่ายเบี้ยเหมาจ่ายสำหรับพื้นที่ทุรกันดารว่า ยินดีจะอธิบายให้กลุ่มแพทย์ที่จะเดินทางมาเรียกร้องได้เข้าใจ ซึ่งสิ่งที่ตนทำนั้นมีเหตุผลสามารถอธิบายได้ ว่าต้องการทำให้ระบบเกิดความมั่นคงและมีศักดิ์ศรี โดยเบี้ยที่ได้รับนั้นต้องเหมาะสมและทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวิชาชีพอย่างเ หมาะสม และไม่จำเป็นต้องฝากการทำงบดังกล่าวไว้ที่นักการเมืองเป็นคราวๆไป จึงพยายามนำมารวมกับงบเหมาจ่ายรายหัวและคิดพื้นที่ทุรกันดารกันใหม่ เพราะปัจจุบันพื้นที่ทุรกันดารในประเทศไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว สำหรับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวในปี 2557 จะนำส่วนที่เป็นเงินเดือนของข้าราชการสังกัดสธ. และเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่ทุรกันดาร มารวมไว้ในงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งจะเป็นงบที่ตายตัวและมั่นคงไม่ต้องเสนอขอเป็นช่วงเวลา รับงบประมาณเป็นก้อนๆ
“ผมเป็นเพื่อนแพทย์เหมือนกันจะตัดสิทธิทำไม และยิ่งเป็นนักการเมือง ถ้าหางบให้ได้ก็ได้คะแนนเสียง แต่สิ่งที่ทำเพราะอยากให้ระบบมันอยู่ได้มั่นคง และมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ต้องรอให้นักการเมืองมาขอให้เป็นรายปีๆ เหมือนเอาชีวิตไปฝากไว้กับนักการเมือง ซึ่งตนไม่อยากให้คนอื่นมาว่าแพทย์ได้ ค่าตอบแทนในอนาคตก็ต้องใช้งานแลกมาอย่างเหมาะสม และหากระบบมีปัญหาก็ต้องแก้ไขร่วมกัน ซึ่งระบบต่างๆที่วางไว้ ไม่ได้อยากเปลี่ยนแปลงองค์กร แต่อยากให้ทุกฝ่ายเปลี่ยนแปลงบทบาทเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและอยู ่อย่างมั่นคงเท่านั้น”นพ.ประดิษฐ กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า หากจะมีกาประท้วงจริง ทาง สธ.ก็มีหน้าที่ชี้แจงข้อเท็จจริงถึงแนวคิด หลักการที่ต้องเดินต่อไป โดยกรอบใหญ่ยังคงใช้วงเงินในเรื่องค่าตอบแทนเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนวิธีจ่ายในพื้นที่เมือง พื้นที่ปกติ แต่พี้นที่ถิ่นทุรกันดารยังเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
จากกระทู้ ที่รู้จักแพทย์เห็นวันๆนั่งแต่ทำคลีนิก แล้วได้เงินมาเปล่าๆ ผมว่าน่าจะตัดไปตั้งนานแล้วเงินพวกนี้ เดี๋ยวจะมีแพทย์พวก IQ สูงอีโก้ตำ่ำมาโพสว่าตัวเองทำงานหนัก ต้องเรียนหนัก ต้องรับผิดชอบเยอะ ทำไมแพทย์ถึงสำคัญตัวเองขนาดนั้นไม่เข้าใจ
หมอชนบทเดี๋ยวนี้ ไม่มีอุดมการณ์กันเหรอครับ
ชมรมแพทย์ชนบท แต่งดำเรียกร้อง “นพ.ประดิษฐ” ทบทวนลดเบี้ยทุรกันดาร
วันที่ 12 มี.ค. นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังจะเกิดปัญหาแพทย์ในชนบท ซึ่งอยู่ตามโรงพยาบาลชุมชน(รพช.)ต่างๆ กว่า 730 แห่งขาดแคลน เนื่องจากเกิดความไม่เป็นธรรมต่อวิชาชีพที่ทำงานในชนบทมานาน โดยเฉพาะในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะล่าสุด นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข(สธ.) และปลัด สธ.จะปลัดลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ฉบับที่ 4 และ 6 ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ ทำให้อาจมีบางฝ่ายไม่เห็นด้วยและต่อต้านมาตลอด โดยนโยบายการปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายกำหนดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2556 ให้ลดอัตราลงร้อยละ 50 และวันที่ 1 ต.ค. 2557 ให้ตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายทิ้งทั้งหมด โดยให้ใช้การพิจารณาจากภาระงาน หรือ P4P (Pay for Performance) แทน
“การทำลักษณะนี้ถือเป็นการผลักไสบุคลากรสาธารณสุขที่อยู่ในชนบท ซึ่งปัจจุบันก็แทบจะไม่มีใครอยากอยู่ ให้ยิ่งออกจากระบบสาธารณสุขภาครัฐมากยิ่งขึ้น ซึ่งสมาชิกในโรงพยาบาลชุมชนกว่า 730 แห่งจะขอแต่งชุดดำไปเรียกร้องความยุติธรรมกับรัฐมนตรี สธ.และปลัด สธ.ในวันที่ 13 มี.ค.นี้ เพื่อให้ทบทวนเรื่องดังกล่าว โดยหวังว่าพวกท่านจะยอมรับฟังและไม่ติดภารกิจจนไม่ยอมฟังข้อเรียกร้องของหมอ ในชนบทอีก” อดีตประธานแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวจะส่งผลต่อปัญหาขาดแคลนแพทย์แน่นอน เพราะนอกจากจะปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ซึ่งถือเป็นการดึงแพทย์ไว้ในชนบท ยังพบว่ารัฐมนตรี สธ.ยังส่งเสริมนโยบายเมดิคัล ฮับ โดยเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ตามชายแดน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งตรงนี้จะทำให้แพทย์ในชนบทที่ถูกปรับลดเบี้ยเลี้ยงไม่อยากอยู่ในระบบ และจะไปอยู่ภาคเอกชนมากขึ้น ดังนั้น นอกจากจะไปเรียกร้องเรื่องนี้ในวันที่ 13 มี.ค. จะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเป็นธรรมและขอเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีสธ.คนใหม่ เนื่องจากนพ.ประดิษฐ ไม่ให้ความสำคัญกับหมอในชนบท
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนวิธีจ่ายเบี้ยเหมาจ่ายสำหรับพื้นที่ทุรกันดารว่า ยินดีจะอธิบายให้กลุ่มแพทย์ที่จะเดินทางมาเรียกร้องได้เข้าใจ ซึ่งสิ่งที่ตนทำนั้นมีเหตุผลสามารถอธิบายได้ ว่าต้องการทำให้ระบบเกิดความมั่นคงและมีศักดิ์ศรี โดยเบี้ยที่ได้รับนั้นต้องเหมาะสมและทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวิชาชีพอย่างเ หมาะสม และไม่จำเป็นต้องฝากการทำงบดังกล่าวไว้ที่นักการเมืองเป็นคราวๆไป จึงพยายามนำมารวมกับงบเหมาจ่ายรายหัวและคิดพื้นที่ทุรกันดารกันใหม่ เพราะปัจจุบันพื้นที่ทุรกันดารในประเทศไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว สำหรับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวในปี 2557 จะนำส่วนที่เป็นเงินเดือนของข้าราชการสังกัดสธ. และเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่ทุรกันดาร มารวมไว้ในงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งจะเป็นงบที่ตายตัวและมั่นคงไม่ต้องเสนอขอเป็นช่วงเวลา รับงบประมาณเป็นก้อนๆ
“ผมเป็นเพื่อนแพทย์เหมือนกันจะตัดสิทธิทำไม และยิ่งเป็นนักการเมือง ถ้าหางบให้ได้ก็ได้คะแนนเสียง แต่สิ่งที่ทำเพราะอยากให้ระบบมันอยู่ได้มั่นคง และมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ต้องรอให้นักการเมืองมาขอให้เป็นรายปีๆ เหมือนเอาชีวิตไปฝากไว้กับนักการเมือง ซึ่งตนไม่อยากให้คนอื่นมาว่าแพทย์ได้ ค่าตอบแทนในอนาคตก็ต้องใช้งานแลกมาอย่างเหมาะสม และหากระบบมีปัญหาก็ต้องแก้ไขร่วมกัน ซึ่งระบบต่างๆที่วางไว้ ไม่ได้อยากเปลี่ยนแปลงองค์กร แต่อยากให้ทุกฝ่ายเปลี่ยนแปลงบทบาทเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและอยู ่อย่างมั่นคงเท่านั้น”นพ.ประดิษฐ กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า หากจะมีกาประท้วงจริง ทาง สธ.ก็มีหน้าที่ชี้แจงข้อเท็จจริงถึงแนวคิด หลักการที่ต้องเดินต่อไป โดยกรอบใหญ่ยังคงใช้วงเงินในเรื่องค่าตอบแทนเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนวิธีจ่ายในพื้นที่เมือง พื้นที่ปกติ แต่พี้นที่ถิ่นทุรกันดารยังเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
จากกระทู้ ที่รู้จักแพทย์เห็นวันๆนั่งแต่ทำคลีนิก แล้วได้เงินมาเปล่าๆ ผมว่าน่าจะตัดไปตั้งนานแล้วเงินพวกนี้ เดี๋ยวจะมีแพทย์พวก IQ สูงอีโก้ตำ่ำมาโพสว่าตัวเองทำงานหนัก ต้องเรียนหนัก ต้องรับผิดชอบเยอะ ทำไมแพทย์ถึงสำคัญตัวเองขนาดนั้นไม่เข้าใจ