ในความเห็นของผม ความน่าสนใจของ Life of Pi แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น
- เรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเล เรื่องไหนจริง?
- แล้วคุณชอบ หรือเชื่อเรื่องไหน?
การทิ้งประเด็นให้ตีความว่าอะไรจริงไม่จริง เป็นองค์ประกอบของหนังชั้นดี แบบคลาสสิค หนังเรื่องไหนทำได้แบบนี้มักได้รับยกยกว่าสุดยอด เพราะมันสุดยอดจริงๆ แต่ก็อย่างว่า มุขมันค่อนข้างเก่า (หนังชั้นยอด หลายๆ เรื่องก็ทำ)
เรื่องเล่าของ Pi ทั้งสองเรื่องเป็นไปได้หมด แล้วแต่การตีความ เพราะไม่มีใครพิสูจน์ได้จริงๆ แม้ว่าเรื่องแรกจะเหนือจริง แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ มันไม่ได้เป็นไปไม่ได้ มันแค่น่าเหลือเชื่อ ทำให้ทั้งสองเรื่อง เป็น"เรื่องจริง"ได้
ส่วน"ความจริง"ก็คือ เด็กหนุ่มคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุเรือล่ม เขาสูญเสียครอบครัวไป และทนทุกข์ทรมานอยู่ในทะเล เขามีชีวิตรอดมาได้ ด้วยการกระทำหลายอย่างของเขาบนเรือชูชีพในทะเล... และปัจจุบัน (ในเรื่อง) เขามีครอบครัว ลูกสองคน แมวหนึ่งตัว และภรรยาออีกหนึ่งคน
นับเป็นความจริงที่จบลงอย่างมีความสุข ?? ก็น่าจะเป็นแบบนั้น ถ้าไม่นับรวมบางสิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใจของเขา.. บางสิ่งที่เจ็บปวดเมื่อต้องคิดถึงมัน และถ้านับรวมถึงเสือด้วย ก็น่าจะพูดได้ว่า หลายสิ่งที่ยังคงอยู่ในใจเขา ซึ่งทำให้ตอนจบของ Pi น่ากังขาว่า "เรื่องของคุณ (Pi) ก็จบลงอย่างมีความสุข" ...
การจบด้วยการให้คนดูตีความว่าอันไหนจริงไม่จริง เป็นองค์ประกอบของหนังชั้นดี (ทั่วๆไป) แม้ว่าความจริงก็คือ เรื่องทั้งสองเรื่องนั้น ไม่มีเรื่องไหนจริง ... เพราะอย่างน้อยๆ มันก็เป็น(แค่)หนัง 
ประเด็นที่ 2 ต่างหากถึงค่อยน่าสนใจ
แล้วคุณชอบเรื่องไหนล่ะ? อันนั้นต่างหาก น่าสนใจ
ตอนแรกๆ ของหนังนักเขียนบอกว่าลุงของเขา (Pi) บอกว่า เขาสามารถทำให้นักเขียนเชื่อเรื่องพระเจ้าได้ (นักเขียนคงคิดว่า ก็เอาสิ... อยากลองเหมือนกันเลยมาหา Pi)
และสุดท้ายเมื่อ Pi เล่าเรื่องจบแล้วถามว่า แล้วคุณชอบ(เชื่อ)เรื่องไหน?
นักเขียนบอกว่าเรื่องแรก ... แล้วนักเขียนก็ยิ้ม... (อย่างนึกได้ ว่าเรื่องแรกมีพระเจ้า!! )
เป็นอันว่า Pi ทำให้นักเขียนเชื่อเรื่องพระเจ้าได้อย่างที่ว่าจริงๆ หรืออย่างน้อยๆก็ชอบเรื่องพระเจ้า
ประเด็นสุดยอดของหนังเรื่องนี้คือ ไม่ว่าคุณจะเชื่อยังไงก็ตาม แต่คุณก็ยังชอบเรื่องที่มีพระเจ้าอยู่ดี หรือคุณเชื่อเรื่องไหน นั่นก็เป็นคำตอบให้ตัวคุณแล้วว่าคุณเชื่อเรื่องพระเจ้าหรือไม่!!
ส่วนหนัง(สือ)ที่ทำออกมา แน่นอนก็ชี้นำอยู่แล้วว่าเรื่องจริงคือเรื่องที่สอง "การเชื่อซะทุกอย่าง ก็คือการไม่เชื่ออะไรเลย" นั่นคือความเชื่อทางศาสนาของ Pi (คำพูดของพ่อ Pi ที่พูดแทนว่า Pi เป็นคนแบบไหน)
การเถียงเรื่องกล้วยลอยน้ำได้หรือไม่ ก็คือการชี้นำโดยหลักความจริงง่ายๆ ว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องไม่จริง การเถียงเรื่องที่สามารถพิสูจได้ (ข้อเท็จจริงเรื่องกล้วยลอยน้ำ) คือการชี้นำให้คิด ส่วนการที่กล้วยจะลอยน้ำได้จริงหรือเปล่าไม่ใช่สาระหรือไม่ใช่ประเด็น มุขทางวรรณกรรมที่บอกให้คนคิดหน่อย เพราะอาจมีคนไม่ได้คิดเรื่องกล้วยลอยน้ำได้ เลยชี้นำให้คิดหน่อยเว้ย (สังเกตุว่าเป็นการตั้งคำถามที่โจ่งแจ้งที่สุด ทำให้ทุกคนต้องคิดตาม ซึ่งก็คือสำเร็จ ทุกคนคิดแล้ว และลังเลว่า เอ๊ะ... หรือเรื่องแรกไม่จริงวะ ... อย่าลังเล มันก็แค่เรื่องกล้วยๆ)
การที่เสือเดินเข้าป่าไปแล้วไม่หันกลับมาเลย (เพื่อสงสัญญาณว่า เราจบกันแค่นี้นะ) ก็แน่นอนว่านั่นคือสัญชาตญาณสัตว์ป่าของเขากลับเข้าป่าไป เขาอยู่ในความช่วยเหลือของมนุษย์แล้ว การร้องให้คร่ำครวญ ก็คือการเสียใจกับสัตว์ป่าตัวนั้น เสียใจกับการกระทำแบบสัตว์ป่าของตัวเองหรือเสียใจที่มันจากไป (ลึกๆแล้วเรารักที่จะเป็นอย่างสัตว์เพราะเราคือสัตว์ชนิดหนึ่ง) ก็คงปนๆกันไป
"ต้องขอบคุณพ่อผมมาก ถ้าไม่มีคำสอนของพ่อผมคงไม่รอดมาได้" คำสอนอะไร?
คำสอนเรื่องเสือ... รวมทั้งคำพูดของพ่อที่ว่า "เมื่อเรามองไปที่ตาของมัน(เสือ) สิ่งที่เราเห็นก็คือเงาสะท้อนของตัวเราเอง" ... นี่เรียกว่าการชี้นำ
ถึงแม้ว่าเรื่องที่สองจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องแรกจะเป็นเรื่องที่เราชอบก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วความจริงก็คือ การสูญเสีย ความทุกข์ทรมาน และความทรงจำ(อันเลวร้าย)ที่ติดอยู่ในใจ ซึ่งไม่มีใครสนใจ ทุกคนเพียงอยากฟังหรืออยากรู้เรื่องจริง (ไม่ใช่สิ่งที่เรื่องจริงนั้นทำให้เกิดขึ้น นั่นก็คือความจริง ความจริงที่ Pi สูญเสียและทุกข์ทรมานหรือแม้กระทั่งสาเหตุที่เรือล่ม) หรือเรื่องที่เราชอบ
บทสุดท้ายของ Pi ส่วนตัวเขาแล้วคงอยู่กับความเป็นจริง ดอกบัวที่อยู่กลางป่า (เกาะสวรรค์รูปพระวิษณุกลางทะเล) ก็คือความจริงที่อยู่ในมายาหรือแสงว่างที่อยู่ในความมืด
Pi มองเห็นความตายในขณะที่อยู่ในภาวะของความสุข นั่นคือการมองเห็นสัจจธรรม หรือแสงสว่าง ซึ่งทำให้เขารอดชีวิตมาได้
บทนั้น Pi คงได้สติกลับมาจากการเห็นภาพหลอน หรือการยอมแพ้ต่อชีวิต และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้าตามความหวังสูงสุดของฮินดู หรือการเข้าสู่ดินแดนสวรรค์ของคนที่เชื่อในพระเจ้า
Pi ได้รับคำตอบของคำถามของเขาเองเมื่อตอนต้นเรื่องว่า "อะไรคือดอกบัวที่อยู่ในป่า"
ปล. ไม่ได้อ่านฉบับที่เป็นหนังสือ (แล้วคนอื่นคิดว่าไง)
Life of Pi (2012) : ความเห็นส่วนตัวหลังจากที่ดูจบแล้ว
- เรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเล เรื่องไหนจริง?
- แล้วคุณชอบ หรือเชื่อเรื่องไหน?
การทิ้งประเด็นให้ตีความว่าอะไรจริงไม่จริง เป็นองค์ประกอบของหนังชั้นดี แบบคลาสสิค หนังเรื่องไหนทำได้แบบนี้มักได้รับยกยกว่าสุดยอด เพราะมันสุดยอดจริงๆ แต่ก็อย่างว่า มุขมันค่อนข้างเก่า (หนังชั้นยอด หลายๆ เรื่องก็ทำ)
เรื่องเล่าของ Pi ทั้งสองเรื่องเป็นไปได้หมด แล้วแต่การตีความ เพราะไม่มีใครพิสูจน์ได้จริงๆ แม้ว่าเรื่องแรกจะเหนือจริง แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ มันไม่ได้เป็นไปไม่ได้ มันแค่น่าเหลือเชื่อ ทำให้ทั้งสองเรื่อง เป็น"เรื่องจริง"ได้
ส่วน"ความจริง"ก็คือ เด็กหนุ่มคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุเรือล่ม เขาสูญเสียครอบครัวไป และทนทุกข์ทรมานอยู่ในทะเล เขามีชีวิตรอดมาได้ ด้วยการกระทำหลายอย่างของเขาบนเรือชูชีพในทะเล... และปัจจุบัน (ในเรื่อง) เขามีครอบครัว ลูกสองคน แมวหนึ่งตัว และภรรยาออีกหนึ่งคน
นับเป็นความจริงที่จบลงอย่างมีความสุข ?? ก็น่าจะเป็นแบบนั้น ถ้าไม่นับรวมบางสิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใจของเขา.. บางสิ่งที่เจ็บปวดเมื่อต้องคิดถึงมัน และถ้านับรวมถึงเสือด้วย ก็น่าจะพูดได้ว่า หลายสิ่งที่ยังคงอยู่ในใจเขา ซึ่งทำให้ตอนจบของ Pi น่ากังขาว่า "เรื่องของคุณ (Pi) ก็จบลงอย่างมีความสุข" ...
การจบด้วยการให้คนดูตีความว่าอันไหนจริงไม่จริง เป็นองค์ประกอบของหนังชั้นดี (ทั่วๆไป) แม้ว่าความจริงก็คือ เรื่องทั้งสองเรื่องนั้น ไม่มีเรื่องไหนจริง ... เพราะอย่างน้อยๆ มันก็เป็น(แค่)หนัง 
ประเด็นที่ 2 ต่างหากถึงค่อยน่าสนใจ
แล้วคุณชอบเรื่องไหนล่ะ? อันนั้นต่างหาก น่าสนใจ
ตอนแรกๆ ของหนังนักเขียนบอกว่าลุงของเขา (Pi) บอกว่า เขาสามารถทำให้นักเขียนเชื่อเรื่องพระเจ้าได้ (นักเขียนคงคิดว่า ก็เอาสิ... อยากลองเหมือนกันเลยมาหา Pi)
และสุดท้ายเมื่อ Pi เล่าเรื่องจบแล้วถามว่า แล้วคุณชอบ(เชื่อ)เรื่องไหน?
นักเขียนบอกว่าเรื่องแรก ... แล้วนักเขียนก็ยิ้ม... (อย่างนึกได้ ว่าเรื่องแรกมีพระเจ้า!! )
เป็นอันว่า Pi ทำให้นักเขียนเชื่อเรื่องพระเจ้าได้อย่างที่ว่าจริงๆ หรืออย่างน้อยๆก็ชอบเรื่องพระเจ้า
ประเด็นสุดยอดของหนังเรื่องนี้คือ ไม่ว่าคุณจะเชื่อยังไงก็ตาม แต่คุณก็ยังชอบเรื่องที่มีพระเจ้าอยู่ดี หรือคุณเชื่อเรื่องไหน นั่นก็เป็นคำตอบให้ตัวคุณแล้วว่าคุณเชื่อเรื่องพระเจ้าหรือไม่!!
ส่วนหนัง(สือ)ที่ทำออกมา แน่นอนก็ชี้นำอยู่แล้วว่าเรื่องจริงคือเรื่องที่สอง "การเชื่อซะทุกอย่าง ก็คือการไม่เชื่ออะไรเลย" นั่นคือความเชื่อทางศาสนาของ Pi (คำพูดของพ่อ Pi ที่พูดแทนว่า Pi เป็นคนแบบไหน)
การเถียงเรื่องกล้วยลอยน้ำได้หรือไม่ ก็คือการชี้นำโดยหลักความจริงง่ายๆ ว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องไม่จริง การเถียงเรื่องที่สามารถพิสูจได้ (ข้อเท็จจริงเรื่องกล้วยลอยน้ำ) คือการชี้นำให้คิด ส่วนการที่กล้วยจะลอยน้ำได้จริงหรือเปล่าไม่ใช่สาระหรือไม่ใช่ประเด็น มุขทางวรรณกรรมที่บอกให้คนคิดหน่อย เพราะอาจมีคนไม่ได้คิดเรื่องกล้วยลอยน้ำได้ เลยชี้นำให้คิดหน่อยเว้ย (สังเกตุว่าเป็นการตั้งคำถามที่โจ่งแจ้งที่สุด ทำให้ทุกคนต้องคิดตาม ซึ่งก็คือสำเร็จ ทุกคนคิดแล้ว และลังเลว่า เอ๊ะ... หรือเรื่องแรกไม่จริงวะ ... อย่าลังเล มันก็แค่เรื่องกล้วยๆ)
การที่เสือเดินเข้าป่าไปแล้วไม่หันกลับมาเลย (เพื่อสงสัญญาณว่า เราจบกันแค่นี้นะ) ก็แน่นอนว่านั่นคือสัญชาตญาณสัตว์ป่าของเขากลับเข้าป่าไป เขาอยู่ในความช่วยเหลือของมนุษย์แล้ว การร้องให้คร่ำครวญ ก็คือการเสียใจกับสัตว์ป่าตัวนั้น เสียใจกับการกระทำแบบสัตว์ป่าของตัวเองหรือเสียใจที่มันจากไป (ลึกๆแล้วเรารักที่จะเป็นอย่างสัตว์เพราะเราคือสัตว์ชนิดหนึ่ง) ก็คงปนๆกันไป
"ต้องขอบคุณพ่อผมมาก ถ้าไม่มีคำสอนของพ่อผมคงไม่รอดมาได้" คำสอนอะไร?
คำสอนเรื่องเสือ... รวมทั้งคำพูดของพ่อที่ว่า "เมื่อเรามองไปที่ตาของมัน(เสือ) สิ่งที่เราเห็นก็คือเงาสะท้อนของตัวเราเอง" ... นี่เรียกว่าการชี้นำ
ถึงแม้ว่าเรื่องที่สองจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องแรกจะเป็นเรื่องที่เราชอบก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วความจริงก็คือ การสูญเสีย ความทุกข์ทรมาน และความทรงจำ(อันเลวร้าย)ที่ติดอยู่ในใจ ซึ่งไม่มีใครสนใจ ทุกคนเพียงอยากฟังหรืออยากรู้เรื่องจริง (ไม่ใช่สิ่งที่เรื่องจริงนั้นทำให้เกิดขึ้น นั่นก็คือความจริง ความจริงที่ Pi สูญเสียและทุกข์ทรมานหรือแม้กระทั่งสาเหตุที่เรือล่ม) หรือเรื่องที่เราชอบ
บทสุดท้ายของ Pi ส่วนตัวเขาแล้วคงอยู่กับความเป็นจริง ดอกบัวที่อยู่กลางป่า (เกาะสวรรค์รูปพระวิษณุกลางทะเล) ก็คือความจริงที่อยู่ในมายาหรือแสงว่างที่อยู่ในความมืด
Pi มองเห็นความตายในขณะที่อยู่ในภาวะของความสุข นั่นคือการมองเห็นสัจจธรรม หรือแสงสว่าง ซึ่งทำให้เขารอดชีวิตมาได้
บทนั้น Pi คงได้สติกลับมาจากการเห็นภาพหลอน หรือการยอมแพ้ต่อชีวิต และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้าตามความหวังสูงสุดของฮินดู หรือการเข้าสู่ดินแดนสวรรค์ของคนที่เชื่อในพระเจ้า
Pi ได้รับคำตอบของคำถามของเขาเองเมื่อตอนต้นเรื่องว่า "อะไรคือดอกบัวที่อยู่ในป่า"
ปล. ไม่ได้อ่านฉบับที่เป็นหนังสือ (แล้วคนอื่นคิดว่าไง)