คือ สนใจว่าคนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องไหนมากกว่ากัน แต่ผมว่าไม่ว่าจะเชื่อเรื่องไหนหนังก็สามารถแขวะเราได้ทั้งสองเรื่อง เช่น
เชื่อในเรื่องแรก = เชื่อในเรื่องเหลือเชื่องมงายแทบจะไม่มีความเป็นไปได้ เชื่อในพระเจ้า(ถ้าคิดแบบนี้ วิทยาศาสตร์ก็จะไม่เกิดขึ้น)
เชื่อในเรื่องทีสอง = ปิดตัวเองเลือกที่จะเชื่อและรับในสิ่งที่ตัวเองทำความเข้าใจได้เท่านั้น(ถ้าคิดแบบนี้ สิ่งใหม่ๆในวิทยาศาสตร์ก็จะไม่มี)
ตัวผมซึ่งตอนแรกดูหนังก็ไม่ได้คิดอะไรมากแต่ข้องใจเรื่องเสือตอนจบเลยลองหาอ่านบทวิจารณ์เลยพบว่าแต่ละคนนี่ตีความไปได้ขนาดนั้นเลยเหรอ เลยลองเอามานั่งตีความดูบ้าง พบว่าไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเพราะความบังเอิญที่หนังได้สอดแทรกคำสอนของศาสนาพุทธอยู่เป็นระยะๆแต่ไม่ได้ใส่ศาสนาพุทธเข้าไปตรงๆเพราะจะไปขัดแย้งคำสอนของของศาสนาต่างๆที่มีพระเจ้าชัดเจนเกินไป จากที่ได้สังเกตุพบว่า
- ชื่อของPI บ่งบอกได้ถึงความเที่ยงแท้และความไม่แน่นอนได้ทั้งสองอย่าง ซึ่งมันเป็นทั้งค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่แน่นอนแต่ตัวมันเองนั้นกลับเป็นสิ่งที่ไม่อาจหาค่าที่แน่นอนได้(ข้อนี้คงบังเอิญจริงๆ)
- ฉากตี๋ชาวพุทธเดินมาชวนกินกับน้ำเกรวี่อาจจะสื่อถึงการพบการคนละครึ่งทางระหว่างกินเนื้อและไม่กินเนื้อ
- ฉากบนเกาะบ่งบอกถึงฉากตอนแรกที่ถามว่าทำไมดอกบัวถึงอยู่ในป่า พร้อมทั้งฉากแสดงให้เห็นเกาะรูปทรงคล้ายพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพบฟันอยู่ในผลอะไรสักอย่างรูปร่างคล้ายดอกบัว ซึ่งเกาะนี้แสดงให้เห็นถึงวัฐจักรของชีวิตซึ่งฉากในบ่อน้ำทำให้ผมนึกถึงคำว่า "เวียนว่ายตายเกิด" ขึ้นมาเลยทีเดียวซึ่งทุกคนต้องพบเจอแต่ไม่อาจทำความเข้าใจได้ ซึ่งพายก็ไม่ได้เข้าใจข้อนี้เหมือนกัน(ไม่รู้ว่าตรงนี้ในหนังสือบรรยายรูปร่างเกาะไว้รึเปล่า อาจเป็นสิ่งที่ผู้กำกับจงใจใส่เพิ่มเข้ามา)
ส่วนตัวผมมองว่าพายเป็นคนที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวอะไรสักอย่างจึงจะสามารถมีชีวิตได้ เช่น เหตุการณ์ฆ่าปลายังโมเมว่าพระเจ้ามาช่วยเหลือ เพื่อลดความผิดภายในใจ ซึ่งตรงจุดนี้ผมมองว่าการที่มีริชาดทำให้สมเหตุสมผลมากในการที่พายมีจุดมุ่งหมายในการมีชีวิต ในทางกลับกันเมื่อมองไปที่เรื่องที่สองที่พายเล่ามาผมกลับมองว่าเหตุการณ์แบบนั้นอย่าว่าแต่พายซึ่งเดิมเป็นคนที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจมากๆอยู่แล้วเลย ต่อให้เป็นคนใจแข็งยังไงเจอเหตุการณ์แบบนั้นก็จิตตกแน่นอนและต่อให้ใช้สัญชาตญาณการเอาตัวรอดก็คงได้แค่สักพักเท่านั้น คงไม่มีกำลังใจอยู่รอดมานานถึง 227 วันแน่ๆเพราะขาดเป้าหมายในการมีชีวิต และตัวผมนั้นไม่ได้ให้เครดิตกับพายขนาดที่จะสามารถทำใจจนปล่อยวางได้จากเรื่องร้ายๆต่างๆจนทำให้มีชีวิตอยู่ได้ รึตอนจบที่สามารถปลดปล่อยสัญชาตญาณที่ดุร้ายของตนโดยไม่ให้มันกลับมาได้ และตรงฉากท้ายๆผมแปลกใจมากตรงคำพูดของพายเมื่อผู้ชายที่ฟังไม่อาจทำใจเชื่อเรื่องที่เล่าเหล่านั้นได้ตอนนั้นพายได้พูดออกมาว่า "อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด ทำไมต้องมีความหมายด้วยละ" คำพูดนี้เหมือนลึกๆมันสื่อให้เห็นว่าจริงๆพายไม่ได้ศรัทธาในพระเจ้าเลย เพราะคนที่ศรัทธาในพระเจ้าส่วนใหญ่จะเชื่อว่าเรื่องทุกอย่างมันมีความหมายและเป็นไปตามการชี้นำของพระเจ้า ก็เลยงงตรงที่พายบอกว่ามันเชื่อมโยงกับพระเจ้า(ตรงนี้ผมตีความได้ว่าเพราะผู้คนไม่อาจจะเชื่อเรื่องที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ เลยเล่าอีกเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้มาแทน)
ป.ล. อะไรทำให้ชาวญี่ปุ่นเขียนรายงานเรื่องเสือทั้งทีโอกาสชวดเงินจากประกันมีมากสุดๆ รึอาจจะพบหลักฐานอะไรบนเรือหว่า เลยสรุปว่าหนังทั้งเรื่องมีจุดขัดแย้งในตัวเองหลายอย่างให้ได้คิด ส่วนเรื่องรูปร่างเกาะผมก็ไม่สังเกตุจรเพื่อนมันทักว่าเหมือนอะนะ
เพิ่งได้ดู life of pi เลยสนใจว่าคนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องไหนกัน
เชื่อในเรื่องแรก = เชื่อในเรื่องเหลือเชื่องมงายแทบจะไม่มีความเป็นไปได้ เชื่อในพระเจ้า(ถ้าคิดแบบนี้ วิทยาศาสตร์ก็จะไม่เกิดขึ้น)
เชื่อในเรื่องทีสอง = ปิดตัวเองเลือกที่จะเชื่อและรับในสิ่งที่ตัวเองทำความเข้าใจได้เท่านั้น(ถ้าคิดแบบนี้ สิ่งใหม่ๆในวิทยาศาสตร์ก็จะไม่มี)
ตัวผมซึ่งตอนแรกดูหนังก็ไม่ได้คิดอะไรมากแต่ข้องใจเรื่องเสือตอนจบเลยลองหาอ่านบทวิจารณ์เลยพบว่าแต่ละคนนี่ตีความไปได้ขนาดนั้นเลยเหรอ เลยลองเอามานั่งตีความดูบ้าง พบว่าไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเพราะความบังเอิญที่หนังได้สอดแทรกคำสอนของศาสนาพุทธอยู่เป็นระยะๆแต่ไม่ได้ใส่ศาสนาพุทธเข้าไปตรงๆเพราะจะไปขัดแย้งคำสอนของของศาสนาต่างๆที่มีพระเจ้าชัดเจนเกินไป จากที่ได้สังเกตุพบว่า
- ชื่อของPI บ่งบอกได้ถึงความเที่ยงแท้และความไม่แน่นอนได้ทั้งสองอย่าง ซึ่งมันเป็นทั้งค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่แน่นอนแต่ตัวมันเองนั้นกลับเป็นสิ่งที่ไม่อาจหาค่าที่แน่นอนได้(ข้อนี้คงบังเอิญจริงๆ)
- ฉากตี๋ชาวพุทธเดินมาชวนกินกับน้ำเกรวี่อาจจะสื่อถึงการพบการคนละครึ่งทางระหว่างกินเนื้อและไม่กินเนื้อ
- ฉากบนเกาะบ่งบอกถึงฉากตอนแรกที่ถามว่าทำไมดอกบัวถึงอยู่ในป่า พร้อมทั้งฉากแสดงให้เห็นเกาะรูปทรงคล้ายพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพบฟันอยู่ในผลอะไรสักอย่างรูปร่างคล้ายดอกบัว ซึ่งเกาะนี้แสดงให้เห็นถึงวัฐจักรของชีวิตซึ่งฉากในบ่อน้ำทำให้ผมนึกถึงคำว่า "เวียนว่ายตายเกิด" ขึ้นมาเลยทีเดียวซึ่งทุกคนต้องพบเจอแต่ไม่อาจทำความเข้าใจได้ ซึ่งพายก็ไม่ได้เข้าใจข้อนี้เหมือนกัน(ไม่รู้ว่าตรงนี้ในหนังสือบรรยายรูปร่างเกาะไว้รึเปล่า อาจเป็นสิ่งที่ผู้กำกับจงใจใส่เพิ่มเข้ามา)
ส่วนตัวผมมองว่าพายเป็นคนที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวอะไรสักอย่างจึงจะสามารถมีชีวิตได้ เช่น เหตุการณ์ฆ่าปลายังโมเมว่าพระเจ้ามาช่วยเหลือ เพื่อลดความผิดภายในใจ ซึ่งตรงจุดนี้ผมมองว่าการที่มีริชาดทำให้สมเหตุสมผลมากในการที่พายมีจุดมุ่งหมายในการมีชีวิต ในทางกลับกันเมื่อมองไปที่เรื่องที่สองที่พายเล่ามาผมกลับมองว่าเหตุการณ์แบบนั้นอย่าว่าแต่พายซึ่งเดิมเป็นคนที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจมากๆอยู่แล้วเลย ต่อให้เป็นคนใจแข็งยังไงเจอเหตุการณ์แบบนั้นก็จิตตกแน่นอนและต่อให้ใช้สัญชาตญาณการเอาตัวรอดก็คงได้แค่สักพักเท่านั้น คงไม่มีกำลังใจอยู่รอดมานานถึง 227 วันแน่ๆเพราะขาดเป้าหมายในการมีชีวิต และตัวผมนั้นไม่ได้ให้เครดิตกับพายขนาดที่จะสามารถทำใจจนปล่อยวางได้จากเรื่องร้ายๆต่างๆจนทำให้มีชีวิตอยู่ได้ รึตอนจบที่สามารถปลดปล่อยสัญชาตญาณที่ดุร้ายของตนโดยไม่ให้มันกลับมาได้ และตรงฉากท้ายๆผมแปลกใจมากตรงคำพูดของพายเมื่อผู้ชายที่ฟังไม่อาจทำใจเชื่อเรื่องที่เล่าเหล่านั้นได้ตอนนั้นพายได้พูดออกมาว่า "อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด ทำไมต้องมีความหมายด้วยละ" คำพูดนี้เหมือนลึกๆมันสื่อให้เห็นว่าจริงๆพายไม่ได้ศรัทธาในพระเจ้าเลย เพราะคนที่ศรัทธาในพระเจ้าส่วนใหญ่จะเชื่อว่าเรื่องทุกอย่างมันมีความหมายและเป็นไปตามการชี้นำของพระเจ้า ก็เลยงงตรงที่พายบอกว่ามันเชื่อมโยงกับพระเจ้า(ตรงนี้ผมตีความได้ว่าเพราะผู้คนไม่อาจจะเชื่อเรื่องที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ เลยเล่าอีกเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้มาแทน)
ป.ล. อะไรทำให้ชาวญี่ปุ่นเขียนรายงานเรื่องเสือทั้งทีโอกาสชวดเงินจากประกันมีมากสุดๆ รึอาจจะพบหลักฐานอะไรบนเรือหว่า เลยสรุปว่าหนังทั้งเรื่องมีจุดขัดแย้งในตัวเองหลายอย่างให้ได้คิด ส่วนเรื่องรูปร่างเกาะผมก็ไม่สังเกตุจรเพื่อนมันทักว่าเหมือนอะนะ